‘BTS’ ไอดอลนักปฏิวัติ กับการทลายเส้นแบ่งความงามทางเพศ!

สวัสดีน้องๆ Dek-D ทุกคนค่ะ~ นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก BTS หรือ 방탄소년단 ไอดอลชายเกาหลีที่กำลังได้รับความนิยมไปทั่วโลก ทั้งจากบทเพลง การแสดงบนเวที มุมมองและความพยายามในการเปลี่ยนแปลงสังคมของพวกเขา!  ความน่าสนใจคือตั้งแต่พวกเขาเดบิวต์ในปี 2013 BTS ก็เริ่มนำเสนอบทเพลงที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์สังคมเกาหลีใต้ และแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความร่ำรวยจากรุ่นสู่รุ่น (Generational Wealth) ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาสุขภาพจิต และรวมไปถึง “ค่านิยมทางเพศในวงการแฟชั่น” ด้วยค่ะ

Photo Credit: ig @bighit_ent
Photo Credit: ig @bighit_ent

ก่อนจะไปดูความงามฉบับใหม่ของหนุ่มๆ BTS เรามาย้อนรอยความงามชายเกาหลีในอดีตกันก่อน..

สืบเนื่องมาจากระบบสังคมชายเป็นใหญ่นช่วงสมัยราชวงศ์โชซอน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อใหม่ (Neo-Confucianism) ทำให้เกิดค่านิยมอันเข้มงวดเกี่ยวกับ “ความเป็นชาย” ที่แข็งแกร่งและมีอำนาจเหนืออีกฝ่าย 

Photo Credit: Wikiwand
Photo Credit: Wikiwand

และในปี 1896 ช่วงปลายยุคราชวงศ์โชซอน ก็เคยเกิดการปฏิรูปที่เป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดสำหรับชายเกาหลี (เรียกว่า Gabo Reforms) เพราะทางราชสำนักได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติผมสั้นโดยให้ชายเกาหลีที่มาจากตระกูลชั้นสูง (양반 / ยังบัน) ตัดผมส่วนที่ได้รวบตึงมัดจุกเหนือหัวเอาไว้ (เรียกว่า 상투 / ซังทู) ทิ้ง  ซึ่งซังทูที่ว่านี้ถือเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกสถานะทางสังคมและความเป็นชายค่ะ ทำให้เหล่าชนชั้นสูงมองว่านี่เป็นการกระทำที่ล่วงเกินศักดิ์ศรีของตระกูล กฎนี้จึงนำไปสู่การฆ่าตัวตายหลายต่อหลายหนเลยทีเดียว

Photo Credit: NAVER
Photo Credit: NAVER

ต่อมาในช่วงหลังการสิ้นสุดของยุคอาณานิคมญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาก็มีอิทธิพลอย่างมากต่อเกาหลีใต้ ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าการทำศัลยกรรมในช่วงสงครามเกาหลีเพื่อให้ทีมแพทย์ทำการผ่าตัดเสริมสร้างใบหน้าของทหารเกาหลีที่ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม และในทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ยุคที่มักถูกมองว่าเป็น “ยุคมืดของประชาธิปไตยในเกาหลี” เพราะอยู่ภาคใต้การปกครองของระบอบเผด็จการทหาร อันมีกฎระเบียบที่ล่วงล้ำชีวิตประจำวันของประชาชน และมีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดเรื่องการแต่งกายเพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการปราบปรามทั้งชายและหญิงชาวเกาหลีในยุคนั้น แม้จะมีกฎหมายที่เข้มงวดเพียงใด ผู้ชายบางคนก็ลักลอบนำผ้าจากมาเก๊าและฮ่องกง และสร้างค่านิยมสวมสูทสั่งตัดย้อมสีดำอย่าง “สุภาพบุรุษชาวมาเก๊า”

Photo Credit: Barefooted Youth
Photo Credit: Barefooted Youth

Note: ข้อมูลแน่นๆ จากคอร์ส “Gender, Family, and Social Change in Contemporary” ของ Yonsei University > ใครสนใจศึกษาเพิ่มเติม คลิกเลย! สายเกาห้ามพลาด! 5 คอร์สเรียนฟรี เพิ่มความรอบรู้เรื่อง 'เกาหลี' แบบแน่นๆ (เรื่องเพศ, สังคม, การเมือง, ฯลฯ) 

และเมื่อเข้าสู่ทศวรรษใหม่ มาตรฐานความงามชายเกาหลีก็ได้ถูกร่วมออกแบบจากกระแสไอดอล K-POP ที่เข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กำแพงมาตรฐานความงามในอดีตค่อยๆ ทลายลง  อย่างเช่นวงที่เรากำลังจะพูดถึงต่อไปนี้ค่ะ!

BTS กับมาตรฐานความงามชายฉบับใหม่

Photo Credit: twitter @BTS_bighit
Photo Credit: twitter @BTS_bighit

ความงามของไอดอลชายที่ถูกเรียกว่า “꽃미남 (ก๊ดมีนัม)” ซึ่งเป็นการรวมคำในภาษาเกาหลี (ดอกไม้ + ชายหนุ่มรูปงาม = หนุ่มดอกไม้) กำลังเป็นกระแสอย่างมากในประเทศเกาหลี ปรากฏการณ์นี้เป็นการผสมผสานระหว่างความอ่อนโยนและความแข็งแกร่งเข้าด้วยกัน ทำให้หลายคนตระหนักเรื่องความหลากหลายของคำว่า “ความงาม” ได้ดีมากขึ้น

และหากเราลองสังเกตจะเห็นว่าสไตล์การแต่งตัวของ BTS ได้ก้าวข้ามขีดจำกัดทางเพศไปแล้ว เพราะทั้งเสื้อผ้า และเครื่องประดับของพวกเขานั้น ไม่สอดคล้องกับขนบแบบเดิมของเสื้อผ้าชายเกาหลีในสมัยก่อนสักเท่าไหร่เลย (ทุกคนรู้ แฟนคลับ ‘Army’ รู้...BTS แปลว่า นักปฏิวัติกรอบสังคม!)  อย่างเช่น ในระหว่างการถ่ายแบบให้กับนิตยสาร 'The Singles' ในปี 2016 BTS ได้สวมใส่เสื้อผ้าผู้หญิงแบบดั้งเดิมอย่าง ถุงน่องตาข่าย กระโปรง เสื้อรัดรูป Corsets และสร้อยรัดคอ Chokers

Photo Credit: The Singles 2016
Photo Credit: The Singles 2016

หรือในปี 2019 กับอัลบั้ม MAP OF THE SOUL: Persona ทั้งธีมและทั้งเสื้อผ้าใน Music Video 'Boy with Luv' ก็คุมโทนเป็นสีชมพูทั้งหมด (สีชมพูมักถูกสังคมเข้าใจว่าเป็นสีของผู้หญิง) อีกด้วยค่ะ! 

และเจโฮป BTS กับ 'Ego' เพลงเดี่ยวล่าสุดในปี 2020 ที่เครื่องประดับต่างๆ ทั้งสร้อยคอ กำไล และแหวน หรือจะเป็นการเพนต์ลายเล็บที่ดูเป็นแฟชั่นผู้หญิง

และเป็นที่ทราบกันดีว่า BTS จะสวมใส่เสื้อผ้าของดีไซเนอร์จากหมวดผู้หญิงเป็นหลัก และไม่ใช่แค่ในคอนเซปต์อัลบั้มเท่านั้นนะคะ แต่ในชีวิตประจำวัน สมาชิกของวงก็เลือกที่จะใส่เสื้อผ้าแบบไร้เส้นแบ่งทางเพศด้วยเหมือนกันค่ะ อย่างในการให้สัมภาษณ์ 'Vanity Fair' เมื่อถูกถามว่า “อะไรคือสไตล์ที่ยอดเยี่ยม?” ‘จองกุก’ น้องเล็กแห่ง BTS ก็ได้ตอบกลับไปว่า 

“ใส่อะไรก็ได้ที่อยากใส่ โดยที่ไม่ต้องไปสนเรื่องเพศ” :-) 

Photo Credit: Vanity Fair 2019
Photo Credit: Vanity Fair 2019

ยิ่งไปกว่านั้น BTS ยังได้ช่วยสร้าง Makeup Line และ Lipstick Line ร่วมกับแบรนด์เครื่องสำอาง “VT Cosmetics” อีกด้วย! ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่านอกจากเสื้อผ้าจะไร้เพศแล้ว เครื่องสำอางก็ไม่มีเส้นแบ่งเหมือนกัน เพราะผู้ชายก็สามารถแต่งหน้าได้เป็นเรื่องปกติ   

Photo Credit: VT Cosmetics
Photo Credit: VT Cosmetics

เห็นได้ชัดว่า BTS และวงการ K-POP ในภาพรวม กำลังท้าทายมุมมองของคนทั่วไปต่อค่านิยมความงามของเพศชายอยู่ และการต่อต้านบรรทัดฐานทางเพศอย่างโจ่งแจ้งของพวกเขากำลังค่อยๆ ทำลายกรอบแนวคิดเดิม และได้สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ อีกด้วย 

EXO’s Kai/ ATEEZ’s San/ EXO’s Beakhyun/ Stray Kids’ Hyunjin
EXO’s Kai/ ATEEZ’s San/ EXO’s Beakhyun/ Stray Kids’ Hyunjin
Photo Credit: twitter @weareoneExo, @ATEEZofficial, @weareoneExo, ig @realstraykids

ในอีกแง่มุมหนึ่ง อาจารย์ Yoo Theodore Jun จาก ม.ยอนเซ ได้ให้ความคิดเห็นไว้ว่า ส่วนหนึ่งที่ทำให้ไอดอลเกาหลีในปัจจุบัน มีภาพลักษณ์ที่ผสมผสานทั้งความเป็นชาย (Masculinity) และความเป็นหญิง (Feminine) เข้าด้วยกัน และการลบเส้นแบ่งทางเพศออกนั้นอาจได้แรงบันดาลใจมาจาก "Hwarang (ฮวารัง)" กองกำลังทหารในสมัยราชวงศ์ชิลลา ที่ประกอบไปด้วยบุตรชายของชนชั้นสูงในช่วงปี 57 ก่อนคริสตศักราช ถึงปี 935 ก็เป็นได้ค่ะ เพราะพวกเขาเหล่านั้นเป็นที่รู้จักทั้งในด้านความกล้าหาญและความงามทางกายภาพจนได้รับการขนานนามว่าเป็น “ไอดอลแห่งยุคนั้น” เลยก็ว่าได้

 และถ้าอยากรู้จักฮวารังเพิ่มมากขึ้น เขามีเป็นซีรีส์ด้วยนะ และหนุ่มวี BTS ก็เป็นหนึ่งในนักแสดงเรื่องนี้ด้วยค่ะ

Photo Credit: KBS
Photo Credit: KBS

.......    

นอกจากฝั่งเกาหลีแล้ว คนดังทั่วโลกอย่าง Harry Styles และ Matty’s The 1975 ก็ออกมาแต่งกายโดยไร้เส้นแบ่งทางเพศ หรือที่เรียกกันว่า “Genderless Fashion” เหมือนกันนะคะ เพราะขั้วตรงข้ามทางเพศในวงการแฟชั่นกำลังล้าสมัยไปแล้ว! 

 เหล่าคนดังที่ไม่ได้ระบุเพศถูกได้ยินมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากแบรนด์ต่างๆ กำลังออกแบบคอลเลกชันที่เป็นกลางทางเพศ (Gender-neutral) เพื่อลดบรรทัดฐานทางเพศที่เก่าแก่และเปิดรับความลื่นไหลทางเพศมากขึ้น เพื่อคัดเลือกโมเดลทุกเพศสำหรับงานแฟชั่นโชว์ของพวกเขา

 “เมื่อคุณนำคำว่า ‘เสื้อผ้าสำหรับผู้หญิงหรือเสื้อผ้าสำหรับผู้ชาย’ ออกไป เมื่อนั้นคุณจะสามารถกำจัดทุกอุปสรรค และพบกับพื้นที่ให้แสดงออกอีกเยอะเลย” —Harry Styles

Photo Credit: Courtesy of Jenny Longworth & Vogue
Photo Credit: Courtesy of Jenny Longworth & Vogue
Photo Credit: Vice UK & Sydney Morning Herald
Photo Credit: Vice UK & Sydney Morning Herald

คนดังประเทศไทยก็มีนะคะ อย่างนักแสดงวัยรุ่นชาย ‘ต้นหน’ ตันติเวชกุล และ ‘เจมส์’ ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ  ต่างก็สนับสนุนแนวคิดแฟชั่นไร้เพศเช่นเดียวกัน 

Photo Credit: ig @tonhon
Photo Credit: ig @tonhon
Photo Credit: ig @jamyjamess
Photo Credit: ig @jamyjamess

 

จะเห็นว่าที่ผ่านมามาตรฐานความงามได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ ตามยุคสมัยและค่านิยมของยุคนั้นๆ เลยค่ะ จนมาถึงความงามชายในปัจจุบันที่ถูกร่วมสร้างโดยเหล่าคนดังทั่วโลก ที่มีความตั้งใจจะเบลอเส้นแบ่งความงามทางเพศนี้ให้จางลง และประเด็นเหล่านี้กำลังได้รับความสนใจเป็นวงกว้าง ไม่แน่ว่าในอนาคตข้างหน้า เส้นแบ่งความงามทางเพศก็อาจจะเลือนหายไปจนหมด เหลือไว้เพียงรสนิยมความชอบของเราจริงๆ ก็เป็นได้นะคะ :-) 

 

 

 

Source: 
 
“Gender, Family, and Social Change in Contemporary” by Yonsei University https://www.altmagazine.org/blog-post/bts-deconstructing-male-beautyhttps://bangtan.online/bts-breaking-gender-norms/https://www.koreaboo.com/lists/times-bts-didnt-give-fck-fashion-gender-norms-skirts/https://www.thailandtatler.com/style/breaking-gender-norms-with-genderless-fashionhttps://www.abc.net.au/triplej/programs/hack/harry-styles-vogue-dress/12905354https://www.instagram.com/bighit_ent/https://www.wikiwand.com/en/Neo-Confucianismhttps://m.blog.naver.com/antasan/100141963623https://www.koreanfilm.org/kfilm60s.htmlhttps://twitter.com/bts_bighithttps://www.vanityfair.com/style/2019/09/best-dressed-list-2019https://twitter.com/weareoneExo,https://twitter.com/ATEEZofficialhttps://www.instagram.com/realstraykidshttps://kstar.kbs.co.kr/list_view.html?idx=18675https://www.vice.com/en/article/wjwbam/matty-healy-1975-interview-noisey-cover-autumn-2019 https://www.smh.com.au/culture/music/nothing-to-prove-20190923-p52tzk.htmlhttps://www.instagram.com/tonhonhttps://www.instagram.com/jamyjamess 
พี่ชีตาร์
พี่ชีตาร์ - Columnist Once a Literature Student, Always a Literature Student

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด

3 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด