วัสดีค่า... เชื่อว่าก่อนที่น้องๆ จะเรียนในคณะใดคณะหนึ่ง นอกจากจะต้องรู้แล้วว่าตัวเองอยากเรียนอะไร ส่วนหนึ่งก็ต้องตั้งหน้าตั้งตาหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะนั้นๆ ด้วย แต่พอเอาทุกคณะจากทุกมหาวิทยาลัยรวมกัน เรียกว่ารายชื่อคณะยาวเป็นกำแพงเมืองจีน แถมบางที่ชื่อคณะคล้ายๆ กัน แต่ไม่เหมือนกัน!!


                  ใช่แล้วค่ะน้องๆ รายชื่อคณะหรือสาขาในประเทศไทยมีเป็นพันๆ สาขาเลยทีเดียว ซึ่งบางที่อาจจะเรียนเหมือนกัน แต่ชื่อคณะต่างกัน แต่บางที่ชื่อคณะคล้ายๆ กัน แต่เรียนต่างกันซะอย่างนั้น
เป็นใครก็งงใช่มั้ยล่ะคะ พี่มิ้นท์ก็เคยงงมาก่อนค่ะ ฮ่าๆๆ แต่พอได้ลองดูรายละเอียดลึกๆ แล้วก็รู้ว่าต่างกันจริงๆ สำหรับวันนี้พี่มิ้นท์ก็รวมคณะที่ขึ้นชื่อว่างงสุดๆ มาดูพร้อมๆ กันค่ะว่า มันต่างกันยังไง


 

           วิทยาการคอมฯ - วิศวะ คอมฯ - เทคโนโลยีสารสนเทศ

                  สามสาขานี้ มีน้องๆ ถามมาเยอะมากๆ ซึ่งบางทีจะให้ตอบภายใน 1-2 ประโยคก็คงจะอธิบายยาก พี่มิ้นท์เลยขอมาอธิบายในนี้ทีเดียวเลยแล้วกัน ซึ่งทั้งสามสาขานี้เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมดแต่จุดโฟกัสของแต่ละสาขาแตกต่างกันค่ะ

"วิศวะฯ คอม"

         เป็นสาขาที่เน้นเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์เป็นหลัก(แต่ซอฟท์แวร์ก็เรียนนะคะ) เน้นลึกไปถึงตัวคอมพิวเตอร์ โครงสร้างคอมพิวเตอร์ ระบบการทำงาน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ การออกแบบวงจรคอมพิวเตอร์เน้นการพัฒนาระบบ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เราเข้าใจว่าระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์มันเป็นยังไง ดังนั้นเรียนจบออกมาก็จะเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ หรือทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพัฒนาระบบงาน พัฒนาระบบฮาร์ดแวร์ ค่ะ หรือจะเป็นโปรแกรมเมอร์ก็ได้ ถือได้ว่าเป็นสาขาที่ค่อนข้าง เรียนหนักพอสมควรและฟิสิกส์ก็เป็นหัวใจสำคัญเลยล่ะ


"วิทยาฯ คอม"

             ส่วนใหญ่จะอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ จะเน้นไปที่ซอฟท์แวร์ พวกโปรแกรมต่างๆ การจัดการฐานข้อมูล การเขียนโปรแกรม ออกแบบและพัฒนาซอฟท์แวร์ ดังนั้นจบสาขานี้มาส่วนใหญ่จะเป็นโปรแกรมเมอร์ค่ะ


            ซึ่งทั้งสองสาขาด้านบนถือได้ว่าเป็นนักวิเคราะห์และผู้สร้างค่ะ

          "ICT"

          ถัดมาที่คณะ/สาขาสุดท้าย คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะมาในแง่ของผู้ใช้ หรือ user บ้าง ก็จะเรียนเกี่ยวกับสารสนเทศทั้งหลาย ระบบการสื่อสาร รวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารใช้โปรแกรมกราฟฟิค การออกแบบต่างๆ  จริงๆ หากมองในสาขานี้ก็ดูเป็นสาขาที่ใกล้ชิดกับแวดวงธุรกิจมากที่สุดด้วย ซึ่งในสาขานี้น้องๆ ก็จะได้เรียนทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ค่ะ เพียงแต่จะไม่ลึกเท่าสองคณะด้านบน ส่วนใหญ่คนที่จบด้านนี้มาจะเป็นกราฟฟิคดีไซนเนอร์ นักออกแบบแอนนิเมชั่น แต่ถ้าจะเป็นโปรแกรมเมอร์ก็ได้ค่ะ แต่ทั้งนี้อาจจะต้องขึ้นอยู่กับสาขาหรือรายวิชาที่เราเรียนว่าจะเน้นไปด้านไหน


 

                     สาขาภาษาอังกฤษ - สาขาภาษาเพื่ออาชีพ

          

                  สำหรับสองสาขานี้ เป็นสาขาของคณะมนุษยศาสตร์ มศว ค่ะ แต่รับตรง มศว ในปีนี้ดันไม่ได้เปิดรับเอกภาษาอังกฤษ ก็มีน้องๆ หลายคนบอกว่างั้นก็สอบเข้าเอกภาษาเพื่ออาชีพสิ ลองมาดูกันว่าสองสาขานี้เหมือนกันจริงๆ มั้ย

  "ภาษาอังกฤษ"

          เป็นสาขาที่เน้นเรียนภาษาอังกฤษเพียวๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวภาษาก็จะลงไปถึงภาษาศาสตร์ วรรณคดี การอ่าน การเขียน ทุกอย่างที่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาโท สามารถเลือกได้ตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย สำหรับการทำงานก็แน่นอนว่า ได้ภาษาหลักของโลกแบบนี้ จะไปทำงานอะไรก็สบายเลยค่ะ แล้วแต่น้องๆ จะเอาความรู้ไปประยุกต์


"ภาษาเพื่ออาชีพ"

           สาขาภาษาเพื่ออาชีพ แม้ว่าจะคล้ายๆ กัน คือ เป็นเอกภาษาอังกฤษ แต่ต่างกันตรงที่จะบังคับวิชาโทเป็นภาษาไทย นอกจากนี้ยังบังคับเรียนภาษาต่างประเทศอีกหนึ่งภาษา คือ ภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฝรั่งเศส เยอรมันและเขมร สำหรับรายวิชาก็จะเป็นวิชาที่นำไปประยุกต์ใช้เพื่อประกอบอาชีพ เช่น ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว การแปล เป็นต้น ซึ่งจะไม่ได้เรียนเนื้อหาที่เป็นศาสตร์เหมือนเอกภาษาอังกฤษ สำหรับการทำงานก็ได้หลากหลายเช่นเดียวกัน
    สรุปแล้วก็น่าเรียนทั้งคู่ค่ะ^^


 

    คณะเภสัชฯ สาขาเภสัชศาสตร์ - สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม

       

          สำหรับน้องๆ ที่อยากเรียนคณะเภสัชฯ แต่พอเจอชื่อสาขาถึงกับผงะ เพราะไม่รู้ว่ามันต่างกันยังไง แล้วฉันจะเรียนอะไรดี?? สำหรับสาขาหลักๆ ของคณะเภสัช มีอยุ่ 2 สาขาด้วยกัน  คือ สาขาเภสัชศาสตร์ และ สาขาการบริบางทางเภสัชกรรม แต่ก่อนอื่นต้องบอกว่าทั้งสองสาขาเรียนเหมือนกันเกือบหมดทุกวิชา แต่จะมาแยกลงลึกในวิชาของสาขาก็ตอนปีท้ายๆ เน้นกันไปคนละด้าน ดังนี้

  "เภสัช - เภสัช"

           เป็นสาขาที่ตรงกับชื่อคณะเลย สาขานี้เน้นเรียนเกี่ยวกับตัวยาล้วนๆ ตั้งแต่การวิจัยตัวยา พัฒนายา เข้าห้องแลป ดีเทลยาา และจะลงลึกในปีสูงๆ สายงานของสาขานี้อาจจะไปอยู่ตามบริษัทยา โรงงานผลิตยา แล็ป หรือเป็นนักวิจัย ในสาขานี้ก็ทำงานในโรงพยาบาลได้เหมือนกันนะ
     


 "เภสัช - บริบาล"

              ในสาขาก็จะต้องเรียนพื้นฐานเกี่ยวเภสัชเหมือนกัน แต่ช่วงปีท้ายๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับการทำงานในโรงพยาบาล คือ เพิ่มเติมในส่วนของการทำงานกับผู้ป่วย การจ่ายยา ดูแลคนไข้แต่ละราย การทำงานกับทีมแพทย์ ส่วนใหญ่ก็จะทำงานในโรงพยาบาลหรืองานคลินิก
             จริงๆ แล้วทั้งสองสาขานี้ก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก อาชีพหลังเรียนจบก็ไม่ได้แยกเฉพาะเจาะจงเท่าไหร่ เรียกว่าสายงานอาจจะทับซ้อนกันได้ค่ะ แต่ที่แน่ๆ คือ เปิดร้านขายยาได้ทั้งคู่ค่ะ


   

            สัตวแพทย์ - สัตวศาสตร์ - เทคนิคการสัตวแพทย์

                

                  มาที่คู่สุดท้าย คือ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะสัตวศาสตร์ และคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ สองคณะหลังอาจจะไม่ค่อยคุ้นกันเท่าไหร่ เพราะมีเพียงไม่กี่แห่งที่เปิด ซึ่งทั้งสามสาขานี้ แม้ชื่อจะใกล้เคียงกันม๊ากมาก แต่รายละเอียดและอาชีพในการทำงานค่อนข้างแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเลยค่ะ

   "สัตวแพทย  ศาสตร์"

          ก็เหมือนคณะแพทย์ แต่เปลี่ยนผู้ป่วยจากคนไปเป็นสัตว์นั่นเอง ดังนั้นจึงเรียนเกี่ยวกับการดูแลรักษาสัตว์ การป้องกันโรค การวินิจฉัยโรคที่เกิดกับสัตว์ รวมไปถึงยาที่ใช้สำหรับสัตว์ เรียน 6 ปีจบออกมาก็จะเป็นสัตวแพทย์นั่นเอง ซึ่งจะไปเปิดคลินิกของตัวเองก็ได้ด้วย


   "สัตวศาสตร์"

             จะเรียนเกี่ยวกับการดูแล การจัดการสัตว์ในเชิงสุขาภิบาล เทคโนโลยีผลิตสัตว์ เทคโนโลยีเกี่ยวกับอาหาร โภชนศาสตร์สัตว์ จะเน้นไปที่สัตว์ฟาร์มเป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างรายวิชาจากคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ม.ศิลปากร เช่น วิชาหลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วิชาการผลิตโคนมและโคเนื้อ วิชาการจัดการดูแลม้า เป็นต้น จบมาก็ทำงานเกี่ยวกับปศุสัตว์หรือจัดการฟาร์ม ใช้เวลาเรียนแค่ 4 ปีค่ะ


  "เทคนิคการสัตวแพทย์"

             ก็คล้ายๆ กับคณะเทคนิคการแพทย์อีกเช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นสาขาที่น่าสนใจนะ โดยหลักๆ จะเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ตรวจวินิจฉัยโรคสัตว์ เช่น งานด้านเคมีคลินิก ปรสิตวิทยา รวมไปถึงการพยาบาลสัตว์ด้วย เรียนจบออกมาก็เป็นนักเทคนิคการสัตวแพทย์ในกรมปศุสัตว์ โรงพยาบาลสัตว์ หรืออยู่ห้องปฏิบัติการในหน่วยงานต่างๆ เป็นอาชีพที่ทำงานควบคู่กับสัตวแพทย์ค่ะ สำหรับคลินิกรักษาสัตว์นั้นคนที่จบจากคณะนี้จะเปิดไม่ได้นะคะ

                 เอาล่ะค่ะ ไม่รู้ว่าคณะที่พี่มิ้นท์หยิบมาพูดในวันนี้ จะตรงกับข้อสงสัยของน้องๆ บ้างหรือเปล่า ซึ่งพี่มิ้นท์ก็พูดในภาพรวมคร่าวๆ เท่านั้นนะคะ ถ้าใครอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมในเชิงลึกว่าแต่ละคณะ จะต้องเรียนวิชาอะไรบ้าง ก็สามารถไปหาหลักสูตรมาอ่านได้เลยค่ะ
                 และถ้าน้องๆ คนไหนมีกลุ่มสาขา/คณะที่ยังมึนๆ อยู่ ลองโพสทิ้งไว้ก็ได้นะคะ ถ้ามีโอกาสพี่มิ้นท์จะแวะมาอธิบายจ้า^^

เด็กดีดอทคอม :: เด็กมัธยมงานเข้า!! ศธ.เอา O-NET มาคิดเกรดโรงเรียน

แจ้งน้องๆ ที่สมัครรับข่าวแอดฯผ่าน SMS ในเดือน มิ.ย. รอพบ SMS เด็ดๆ ดังนี้
       - อัพเดทไว!! ข่าวรับตรงปี 56 ของ 3 ม.แรกของปี จุฬา มศว และ มข.
      - รู้ก่อนใคร ระเบียบการสอบ GAT PAT ทั้ง 2 รอบ (เด็ดจาก สทศ.)
     - ตามข่าววงใน ทุกเหตุการณ์สอบตรง และแอดมิชชั่นที่รุ่น 56 ต้องรู้!!
      - รวมงานติวฟรีของทุกคณะ ทุกมหาวิทยาลัย ที่เด็ก ม.6 ไม่ควรพลาด!!

        (อยากรับข่าว SMS บ้าง มาอ่านวิธีสมัคร คลิกที่นี่ เลย)
           
                     ข่าวดี !! น้องที่ใช้เครือข่าย truemove H ก็สมัคร Dek-D'S SMS ได้แล้วจ้า

 

พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

20 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
ปรัสรา-เกิร์ล Member 16 มิ.ย. 55 15:17 น. 2
 อยากเรียนวิทยาคอมมากกว่า


อ้อ ขอถามค่ะ  ถ้าเป็นพวกกราฟฟิคอะไรทำนองนี้ก็ถือเป็นซอฟแวร์และอยู่สายวิทยาคอมใช่ไหมคะ


หรือว่าเหมือนกันทั้งสองอัน



Edit

อ๋อ เข้าใจแล้วค่ะ  พอดีเลื่อนลงมาแค่สองอัน  ขอโทษที่อ่านไม่ละเอียดค่ะ


งั้นสนใจ ICT มากกว่า 555+


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 16 มิถุนายน 2555 / 15:20
0
กำลังโหลด
ผู้ปกครองคนหนึ่ง 16 มิ.ย. 55 15:44 น. 3
เห็นหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์มหาลัยหนึ่งที่รหัส 55 จะลงทะเบียนอาทิตย์หน้ามีเอกเลือก 3 กลุ่มวิชา...Computer Science...Software Engineering...Computer Graphics...
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Design ❤ Member 16 มิ.ย. 55 17:35 น. 5
เราเรียนวิทย์คอมปี 3 มันจะมีกลุ่มวิชาเลือก ถ้าอยากเรียนเน้นด้านไหนก็เลือกด้านนั้น
เอามาให้ดูคร่าวๆ แต่ละมหาลัยสอนไม่เหมือนกันหมดหรอก เพราะเพื่อนเราเรียนอีกมหาลัย
คุยกันก็เรียนบางวิชาไม่ตรงกัน อย่างแคล เราก็ไม่ได้เรียน แต่เพื่อนที่เรียน bu ได้เรียน

กลุ่มวิชาชีพเลือก 18 หน่วย
           กลุ่มการจัดการฐานข้อมูล 18 หน่วย
ระบบฐานข้อมูลทางธุรกิจ 1
Commercial Database System 1
3 (2-2-5)
4122210 คลังข้อมูลและเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล
Data Warehousing and Data Mining Techniques
3 (2-2-5)
4122206 การสำรองและการกู้คืน
Backup & Recovery
3 (2-2-5)
4122208 ระบบฐานข้อมูลระดับสูง
Advanced Database Systems
3 (2-2-5)
4122201 การบริหารฐานข้อมูล
Database Administration
3 (2-2-5)
4122205 ระบบเว็บฐานข้อมูล
Web Based Database Systems
3 (2-2-5)
4122203 ระบบฐานข้อมูลทางธุรกิจ 2
Commercial Database System 2
3 (2-2-5)
4122209 เอสคิวเอลชั้นสูง
Advanced SQL
3 (2-2-5)
4122207 การปรับแต่งประสิทธิภาพของฐานข้อมูล
Database Performance Tuning
3 (2-2-5)
ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย
Distributed Databases
3 (2-2-5)
           กลุ่มระบบเครือข่าย 18 หน่วย
4123506 เทคโนโลยีเครือข่ายชั้นสูง
Advanced Network Technology
3 (2-2-5)
4123901 หัวข้อเฉพาะเรื่องทางเทคโนโลยีเครือข่าย
Selected Topic in Network Technology
3 (2-2-5)
4123505 ความปลอดภัยของเครือข่าย
Network Security
3 (2-2-5)
4123502 ปฏิบัติการเทคโนโลยีเครือข่าย
Network Technology Practice
3 (2-2-5)
4123504 เครือข่ายข้อมูล
Data Networking
3 (2-2-5)
4123503 การจัดการเครือข่าย
Network Management
3 (2-2-5)
4123501 ระบบปฏิบัติการเครือข่ายและเกณฑ์วิธี
Network Operating Systems and Protocol
3 (2-2-5)
4123507 การออกแบบและการจัดทำเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Computer Network Design and Implementation
3 (2-2-5)
4123508 การสื่อสารแบบไร้สายและเคลื่อนที่
Wireless and Mobile Communication
3 (2-2-5)
           กลุ่มการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ 18 หน่วย
4124301 การเขียนโปรแกรมอินเทอร์เน็ตชั้นสูง
Advanced Internet Programming
3 (2-2-5)
4124501 การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
Web Design And Development
3 (2-2-5)
4123505 ความปลอดภัยของเครือข่าย
Network Security
3 (2-2-5)
4124502 วิศวกรรมอินเทอร์เน็ต
Internet Engineering
3 (2-2-5)
4124903 หัวข้อเฉพาะเรื่องทางการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
Selected Topic in Web Design And Development
3 (2-2-5)
4124602 ระบบกราฟิกเชื่อมต่อผู้ใช้งาน
Graphics User Interface System
3 (2-2-5)
4124601 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
Electronic Commerce
3 (2-2-5)
4123508 การสื่อสารแบบไร้สายและเคลื่อนที่
Wireless and Mobile Communication
3 (2-2-5)
           กลุ่มมัลติมีเดียและแอนนิเมชั่น 18 หน่วย
4125608 การจัดการศูนย์วิทยบริการโดยใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
Multimedia Technology for Library Management
3 (2-2-5)
4125609 การประมวลเสียงและภาพระบบดิจิตอล
Audio and Visual Digital System Processing
3 (2-2-5)
4125604 พื้นฐานการออกแบบมัลติมิเดียเบื้องต้น
Introduction to Multimedia Design
3 (2-2-5)
4124602 ระบบกราฟิกเชื่อมต่อผู้ใช้งาน
Graphics User Interface System
3 (2-2-5)
4125901 หัวข้อเฉพาะเรื่องทางมัลติมีเดียและแอนนิเมชั่น
Selected Topic in Multimedia And Animation
3 (2-2-5)
4125605 โปรแกรมสำเร็จรูปทางเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
Application Software in Multimedia Technology
3 (2-2-5)
4125606 คอมพิวเตอร์ประยุกต์ทางการศึกษา
Computer Application in Education
3 (2-2-5)
4125607 ชุดการสอนสำเร็จรูปทางเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
Instructional Package in Multimedia Technology
3 (2-2-5)



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 16 มิถุนายน 2555 / 17:36
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
~ In Memorials ~ Member 16 มิ.ย. 55 21:46 น. 9
 ตอบ คห.7-8 นะครับ
วิทยาการคอมคือ ซอฟแวร์ทั่วไป การออกแบบ รวมไปถึงการใช้ ข้อกำหนด รูปแบบ โครงสร้างขั้นพื้นฐาน ความสัมพันธ์ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ พูดง่ายๆก็คือ ใช้เป็น และสร้างเป็น ดูแลเป็น เข้าใจ อะไรทำนองนี่อ่ะครับ
วิศวะกรรมซอฟแวร์ คือ เจาะลึกไปถึงโครงสร้างของซอฟแวร์ คือ สายนี้ เรียนมาเพื่อโปรแกรมเมอร์เท่านั้นครับ เน้นหลักการซอฟแวร์และกลไกการทำงานทั้งระดับทั่วไปและระดับสูง 
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
DreamCatcher Member 17 มิ.ย. 55 12:33 น. 13

วิศวะเคมี-วิทยาศาสตร์เคมี

ถ้าเราเปรียบการทำงานคือการคั้นส้ม
วิศวเคมี มีหน้าที่ ดูแลและควบคุมเครื่องจักรเพื่อทำให้ได้น้ำส้มที่คุ้มทุนที่สุด
วิทยาศาสตร์เคมี มีหน้าที่ ศึกษาโครงสร้าง องค์ประกอบทางเคมีของน้ำส้ม

แต่เมื่อเรียนไปแล้ว สังคมก็จะต่างกันไป กล่าวคือ
วิศวะก็จะพี่น้องแนบแน่น(จนหายใจไม่ออก = =)ตามระบบSOTUS และกิจกรรมแน่นมากๆ
ส่วนวิทยาศาสตร์ ก็จะเน้นไปทางเรียน(ขอเน้นว่าหนักมว๊ากกก) จับกลุ่มกันติวอย่างเป็นระบบ กิจกรรมน้อย...

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เพลีย 18 มิ.ย. 55 11:12 น. 16
ฝากพี่มิ้นท์นิดนึงนะคะ

สัตวศาสตร์ สามารถเรียนต่อเพื่อเป็นสัตวแพทย์ได้ แต่ใช้เวลาเรียน 6 ปีเหมือนกันกับสัตวแพทย์

ไม่ใช่เรียนต่ออีก 2 ปีก็เป็นสัตวแพทย์ได้อย่างที่เข้าใจนะคะ

และสามารถนำวิชาที่เรียนในสัตวศาสตร์มาเทียบโอนหน่วยกิตได้ ช่วยให้เรียนเร็วขึ้น แต่ก็จบตามเกณฑ์ค่ะ ^^
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ญิญา 18 มิ.ย. 55 20:01 น. 18
วิศวะฯคอมกับวิทฯคอมไม่ต่างกันเท่าไหร่ แค่วิศวะฯมีพวกวิชาช่างเพิ่งเข้ามา วิศวะคอมก็สามารถเลือกแขนงวิชาที่เจาะวิชานั้นจริงๆ อย่างเราจะเรียน ซอฟแวร์ เราก็จะเรียนซอฟแวร์เป็นวิชาหลัก
(อันนี้มหาวิทยาลัยที่เรียนอยู่ค่ะ)
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
PPP 20 มิ.ย. 55 23:00 น. 20
สัตวศาสตร์ หรือ เทคโนโลยีการผลิตสัตว์(แล้วแต่ละม.จะตั้ง) ส่วนใหญ่จะไม่เปิดเป็นคณะนะ

แต่จะเป็นสาขาหนึ่งในคณะเกษตร อย่างคณะสัตวศาสตร์ ม.ศิลปากร ก็คือคณะเกษตรนั้นแหละ

ซึ่งสาขานี้มักจะเป็นสาขาที่คะแนนสูงสุด ในคณะเกษตร....
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด