หลากมุม ต่างมอง! เห็นด้วยหรือไม่…"ไร้ใบประกอบแต่สอบครูได้"?

     ถือว่าเป็นประเด็นร้อนที่กำลังได้รับความสนใจและเป็นที่พูดถึงกันอย่างมากมาย สำหรับเกณฑ์การรับสมัครครูผู้ช่วยแบบใหม่ ที่ปีนี้ได้เปิดรับคนที่จบปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู ก็สามารถสมัครสอบเป็นครูผู้ช่วยได้ พอมีระเบียบการใหม่ออกมาแบบนี้ ก็มีหลายกระแสวิพากษ์ วิจารณ์กันอย่างท่วมท้น วันนี้ พี่วุฒิ เลยรวบรวมเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับการสอบครูผู้ช่วยแบบใหม่มาให้น้องๆ ชาว Dek-D.com ได้อ่านกันครับ 


 

 
     ย้อนกลับไปเมื่อช่วงปี 2556 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับวงการครู เพราะว่าทางคุรุสภาได้ประกาศว่า นิสิต นักศึกษาที่เรียนครู ที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป (ถ้าเทียบตอนนี้คือ นิสิต นักศึกษาครูปี 3) จะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพครูก่อน ถึงจะสามารถไปสมัครสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยได้ ซึ่งแต่ก่อนไม่ต้องสอบใบประกอบวิชาชีพ ก็สามารถสมัครสอบเพื่อบรรจุเป็นครูได้เลย 
 
     ในตอนนั้นทางคุรุสภาเองก็ได้บอกว่า “เพราะว่าครูนั้นเป็นวิชาชีพชั้นสูง” และการสอบใบอนุญาตนี้ก็เป็นการทดสอบความสามารถว่าสามารถเป็นครูได้หรือไม่  ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของวิชาชีพครูที่ต้องตรวจสอบและดูแลคุณภาพวิชาชีพอย่างเข้มข้น อีกทั้งยังกำหนดอีกว่า สถาบันผลิตครูแต่ละแห่งนั้น จะต้องรับเด็กต่อห้องไม่เกิน 30 คนอีกด้วย 
 

 
     หลังจากมีการประกาศระเบียบการ ก็มีทั้งกระแสเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย แต่ส่วนใหญ่ก็บอกว่าดีแล้วที่ทำแบบนี้ ‘เพราะว่าจะได้คัดคนที่พร้อมเป็นครูจริงๆ และเป็นผลดีต่อวงการการศึกษาไทยด้วย ที่ได้จะคัดครูที่มีคุณภาพ’ เพราะว่าวิชาชีพอื่นๆ ก็ต้องมีการสอบใบประกอบวิชาชีพเช่นกัน เช่น แพทย์ วิศวกร สัตวแพทย์ พยาบาล เป็นต้น 
 
     แต่ก่อนคนที่เรียนจบ ป.ตรี ที่ไม่ได้เรียนศึกษาศาสตร์ หรือครุศาสตร์มา ถ้าอยากจะเป็นครู ก็มี 2 ทางเลือกที่จะได้ใบประกอบวิชาชีพมา วิธีแรกคือ เรียน ป.บัณฑิต เป็นเวลา 1 ปี ก็จะได้ใบประกอบวิชาชีพครู ส่วนวิธีที่ 2 ก็คือ การสอบ 9 มาตรฐาน ซึ่งจะต้องสอบข้อสอบ 9 ชุด หลังจากนั้นก็จะต้องไปทำงานในสถานศึกษาหรือฝึกสอนเป็นเวลา 1 ปี ก็จะได้ใบประกอบวิชาชีพมา แต่วิธีนี่จะค่อนข้างยากนิดนึงครับ    
 

 
     และล่าสุด เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ ได้ประชุมหารือกับคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษา หรือ ก.ค.ศ. และได้มีมติว่า ในการสอบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี 2560 “คนที่จบ ป.ตรี ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู สามารถเข้าสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยได้”
 
     งงเด้ๆ …พอประกาศเกณฑ์ออกมาใหม่เช่นนี้ นิสิต นักศึกษาครู รวมไปถึงอาจารย์และบุคลากรคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างไม่เห็นด้วย เพราะการทำแบบนี้มันไม่แฟร์กับคนที่เรียนครู ที่ต้องเรียน 5 ปี และผ่านกระบวนการที่เข้มข้นตามหลักสูตรที่คัดกรอง ขัดเกลา ถ่ายทอดจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างเต็มเปี่ยม พร้อมทั้งฝึกสอนที่โรงเรียนอีก 1 ปี …แล้วทำแบบนี้ เราจะมีคณะศึกษาศาสตร์-ครุศาสตร์ไปทำไมกันล่ะ? นี่คือเสียงส่วนใหญ่ของคนที่เรียนครูต่างบอกว่า ‘มันไม่แฟร์เอาซะเลย’
 
       ฝั่ง นพ.ธีระเกียรติ ก็ได้บอกว่า เกณฑ์คุณสมบัติในครั้งนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ยังไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูสามารถเข้าสมัครสอบได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ที่มีอัตรารับบรรจุจำนวนมาก และถ้าสามารถสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูผู้ช่วยได้ ก็จะต้องไปเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อให้ได้ใบประกอบวิชาชีพครู ซึ่งจะกำหนดกรอบระยะเวลาไว้ ถ้าไม่สามารถได้ใบประกอบวิชาชีพมาในเวลาที่กำหนด ก็เป็นอันต้อง say goodbye ไป
 

 
     พอบอกแบบนี้ ก็เกิดกระแสวิพากษ์ วิจารณ์กันหลากหลาย โดยเฉพาะเหล่านิสิต นักศึกษา และนักวิชาการ ที่ต่างไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ เพราะการทำแบบนี้ เหมือนเป็นการมองว่า “วิชาชีพครูเหมือนวิชาชีพทั่วไป ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นครูได้” แน่นอนว่า คนที่ไม่ได้เรียนจบครูมาโดยตรง แต่อาจจะเก่งในเนื้อหาวิชาเอก แต่ในเรื่องการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการสอนเด็ก ก็อาจจะไม่ได้มีเหมือนคนที่เรียนครู และถึงแม้ว่าทางคุรุสภาได้กำหนดกรอบกระบวนการในการอบรม แต่ถ้าเทียบกันแล้ว ระยะเวลา 1 ปี กับเวลาเรียน 5 ปีของคนเรียนครู มันต่างกันโดยสิ้นเชิง 
 
     แล้วฝั่งคนที่ไม่ได้เรียนครูมาล่ะ เค้ามองเรื่องนี้กันอย่างไรบ้าง? จากการที่ได้ฟังความคิดเห็นของคนที่ไม่ได้เรียนครู หลายคนบอกว่า “นโยบายนี้ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสมากขึ้น” เพราะว่าหลายคนก็อยากที่จะเป็นครู แต่ไม่สามารถสอบเข้าคณะครุฯ-ศึกษาฯ ได้ตั้งแต่แรก และเหตุผลที่มาสมัครสอบครู เพราะว่าพวกเขาก็อยากเป็นครูเหมือนกัน และอยากให้เปิดใจ อยากให้วัดที่ผลงาน ความรู้ ความสามารถมากกว่า อีกทั้งหลายคนยังยกตัวอย่างอีกว่า ในสถาบันติวเตอร์หลายแห่งที่เด็กนักเรียนแห่แหนไปเรียนกัน ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เรียนจบครู แต่กลับมีความเชี่ยวชาญและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนอย่างเข้าใจ และก็มีความสามารถมากๆ การที่เด็กๆ ไปเรียนกับติวเตอร์ที่ไม่ได้จบครู ก็น่าจะบ่งบอกอะไรได้หลายๆ อย่าง ดังนั้นเราไม่ควรมากีดกันกันเอง เพราะทำแบบนั้น ประเทศก็จะไม่เกิดการพัฒนาสักที 
 

 
     พอฟังแบบนี้แล้ว กระแสก็โจมตีกลับไปอีกว่า การจะเป็นครูนั้นไม่ใช่แค่สอนหรือถ่ายทอดเนื้อหาได้ แต่การเป็นครูมันมีอะไรมากกว่านั้น ทั้งเขียนแผนการสอน ทั้งเข้าไปทำหน้าที่อื่นๆ ในโรงเรียน และยังต้องคอยดูแลเด็กนักเรียนอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของเด็กนักเรียน คุณพร้อมหรือเปล่าที่จะเข้าไปอยู่ในจุดนั้น ไม่ใช่แค่สอนดี สอนเก่ง แต่ยังต้องรับผิดชอบอีกหลายชีวิตที่ถือว่าเป็นอนาคตของประเทศด้วย  ถ้าเด็กไม่ได้รับการดูแลที่ดี หรือเรียนไม่รู้เรื่อง คนส่วนใหญ่ก็โทษว่าเป็นความผิดของครูอยู่แล้ว (อะไรๆ ก็ครู)
 
     ปิดท้ายที่ นพ.ธีระเกียรติ ล่าสุดได้ออกมาบอกว่า “ถ้าคุณเรียนมาตั้ง  5 ปี คุณก็ต้องเก่งพอที่จะแข่งกับเค้าได้ เรียนมา 5 ปี ก็ต้องแข่งได้ ทั้งความเป็นครูและวิชาการด้วย”  และอยากให้มองว่า นี่ไม่ใช่กระบวนการกีดกันคนที่เรียนครู แต่มันคือกระบวนการสรรหาครูเข้ามา เพราะว่าในอนาคตข้างหน้า จะมีครูที่เกษียณกว่า 270,000 คน ทุกอย่างเป็นเรื่องของกระบวรการสรรหาครู ไม่ใช่การไปทำลายศักดิ์ศรีของใคร อยากให้ใช้เหตุผลมากกว่าที่จะมาเถียงกันเรื่องจิตวิญญาณความเป็นครู ซึ่งมันเป็นสิ่งที่วัดกันได้ไหม?  “คนที่เสียเปรียบจริงๆ ไม่ใช่คนที่เรียนจบครู แต่เป็นกลุ่มที่ไม่ได้เรียนครู ที่จะต้องไปเรียนเพิ่มเติมเพื่อให้ได้มาซึ่งใบประกอบวิชาชีพ” และจากกระแสดราม่าเรื่องจำนวนปีที่เรียน ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการยังบอกอีกว่า “อย่านำประเด็นเรียน 4 ปี หรือ 5 ปี มาเถียงกัน เรื่องนี้อยากให้เราช่วยกันแก้ปัญหา ไม่ใช่แค่โวยวายอย่างเดียว”  
 
1. เกณฑ์ในการสมัครสอบสำหรับคนไม่มีใบประกอบวิชาชีพ มีกระบวนการอย่างไรบ้าง?
 
     คนที่ไม่มีใบประกอบสามารถสมัครสอบครูผู้ช่วยได้เลย ถ้าสอบบรรจุได้ ก็จะได้สอนในโรงเรียนในตำแหน่งครูผู้ช่วย และภายในตามกรอบระยะเวลาที่คุรุสภากำหนด (2 ปี) ต้องไปอบรมจาก ป.บัณฑิต หรือเรียนต่อ ป.โท เกี่ยวกับครู เพื่อให้ได้ใบประกอบวิชาชีพครู ถ้าไม่ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด การบรรจุก็จะถือว่าเป็นโมฆะ
 
2. ในการสอบบรรจุครูผู้ช่วยต้องสอบอะไรบ้าง?
 
     ในการสอบบรรจุข้าราชการครูตำแหน่งครูผู้ช่วย จะต้องสอบ 3 ภาค ได้แก่
     - ภาค ก ความรอบรู้ ความสามารถทั่วไป และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม  และอุดมการณ์ของความเป็นครู มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (คะแนนเต็ม 150 คะแนน)
     - ภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 150 คะแนน) 
     - ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่งและวิชาชีพ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
     ผู้ที่ถือว่าเป็นผู้สอบแข่งขันได้ จะต้องได้คะแนนในแต่ละภาคตามหลักสูตร ไม่ต่ำกว่ำ 60% และในการเรียกบรรจุ จะเรียกตามลำดับคะแนนสอบ คนที่มีคะแนนสอบถึงเกณฑ์ก็จะได้รับการขึ้นบัญชีไว้ และภายในระยะเวลา 2 ปี ถ้ายังไม่เรียกบรรจุถึงลำดับของตัวเอง ก็จะถือเป็นโมฆะ (ไม่ได้ง่ายๆ เลยแฮะ)
 
3. คนที่จบ ป.ตรี ไม่ว่าสาขาใดก็สามารถสมัครได้ใช่หรือไม่?
 
     หลายคนเข้าใจว่า จบ ป.ตรี สาขาอะไรก็ได้ ก็สามารถสมัครได้ ความจริงไม่ใช่นะครับ ในการสมัครแต่ละเอก ต้องตรงตามวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง เช่น ครูเคมี จะรับคนที่จบสาขาเหล่านี้ อาทิ การสอนเคมี เคมีเทคนิค เคมีศึกษา เคมีเทคนิค ชีวเคมี เคมีทั่วไป วิศวกรรมเคมี อินทรีย์เคมี วัสดุศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งสามารถเข้าไปเช็กวุฒิการศึกษาที่เปิดรับ คลิกตรงนี้ ได้เลยครับ  
 


 
     พอได้อ่านหลากหลายความคิด หลากหลายมุมมอง แต่ละความเห็นก็น่าขบคิดเป็นอย่างมาก ส่วนตัวพี่พี่เองนั้นก็ไม่รู้จะพูดอย่างไรดี แต่พี่เชื่อว่า ถ้าพวกเราร่วมมือกันและช่วยกันแก้ไขปัญหา ก็จะทำให้ระบบการศึกษาของไทยนั้นดีขึ้นแน่นอน แล้วน้องๆ ล่ะครับ มีความคิดเห็นอย่างไรบ้างกับเรื่องนี้? (ขอเหตุผลนะ ไม่เอาอารมณ์ อิอิ) 

 

 
繴? . 㺻СͺԪҪվ öͺ

โหวดทั้งหมด 557 คน

พี่วุฒิ
พี่วุฒิ - Columnist มนุษย์ 4 มิติผู้หลงใหลในเพลงเกาหลี ชาเนสที และหมูกระทะ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

สวัสดี 25 มี.ค. 60 13:30 น. 7

เราเห็นด้วยนะ เพราะที่เราเห็นครูบางคนเพิ่งมาเรียนครูเพิ่ม 1 ปีเพราะไม่ได้จบสายครูมา แต่คือเขาสอนดีมากกก แบบมีความชำนาญในการสอนไม่แพ้กับคนที่จบครูมาเลย ขยันสอนด้วย ในขณะที่บางคนเราเห็นจบครูมาแต่ดูเหมือนไม่อยากสอนอะ สอนไปวันๆและบางรายสอบบรรจุได้ก็จริงแต่ละทิ้งเด็ก จงใจไม่สอนเด็กเพราะเห็นเด็กไม่ตั้งใจเรียน เกริ่นมายาวเลย สิ่งที่เราจะบอกก็คือการเป็นครูจริงๆมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าจบอะไรมา สอบบรรจุได้รึเปล่า มันขึ้นอยู่กับตัวครูคนนั้นมากกว่าว่ามีใจรักที่จะสอนเด็กจริงๆไหม #ยังไงก็เป็นความคิดเห็นเรา #ที่เรายกตัวอย่างมาก็คือบางคนเท่านั้นไม่ใช่เหมารวมถึงครูทุกคน #ขอระบายนิดนึงเพราะเจอมากับตัว #ยังไงนี่ก็เป็นความเห็นเราเท่านั้นเน้อ

1
นาน่า 5 พ.ค. 60 16:13 น. 7-1

เห็นด้วยเหมือนกันค่ะ คือเอาจริงๆเเค่เราสามารถถ่ายทอดให้เด็กเข้าใจก็ถือว่าบรรลุเเล้ว อย่าโรงเรียนเราครูท่านนึงท่านไม่ได้จบครูมาเเต่มาเรียนต่อครูอีก1ปีสอนดีกว่าครูบางท่านที่เรียนจบครูมาอีกค่ะ เเต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่เรียนจบครูจะสอนไม่ดีนะคะ คืออยากสะท้อนให้เห็นว่าไม่ว่าจะจบอะไรขอเเค่มีความรู้เข้าใจในการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถให้เด็ก ใส่ใจการสอนเเค่นี้ก็โอเเล้วค่ะ

0
กำลังโหลด
Tee 25 มี.ค. 60 10:51 น. 3

เห็นด้วยครับ เราก็จะได้คนที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาสอนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น คนจบเศรษศาสตร์มา เคยฝึกงานหรือทำงานด้านธุรกิจ แล้วมาสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ ก็จะสามารถถ่ายทิดความรู้ความสามารถในราชวิชานั้น เชิงลึกมากขึ้น หรือ คนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์มา แล้ว มาสอนในรายวิชาคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์ ก็จะสามารถถ่ายทอด ในรายวิชานั้นเชิงลึกมากขึ้นแล้วยังสอดแทรก วิชาชีพที่ตัวเองเรียนมาแก่เด็ก และสามารถให้เด็กเกิดแรงบรรดาลใจ และต่อยอดในอนาคตได้อีกด้วย

1
Tee 25 มี.ค. 60 10:58 น. 3-1

หรือ ตัวอย่างเช่นคนจบรัฐศาสตร์มานะครับ คนที่เขามี passion ทางด้านการเมือง และ ประวัติศาสตร์ แล้วให้เขามาถ่ายทอดความรู้แก่เด็ก ถ่ายทอดออกมาจากความหลงใหล ความเข้าใจของเขาจริงๆ สอนให้เด็กคิดวิเคราะห์ด้านการเมือง หรือ ด้าน ประวัติศาสตร์ชาติไทยจริงๆ ไม่ใช่สิ่งที่ให้ท่องจำ และ เรียนเพียงด้านเดียว ผมเชื่อว่าจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จะส่งผลให้การศึกษาของประเทศไทยที่ขึ้นครับ


//ทั้งหมดนี้เป็นเพียง คหสต.

0
กำลังโหลด
นักศึกษาตัวน้อย 25 มี.ค. 60 11:06 น. 4

เห็นด้วยนะ เราว่ามันเกี่ยวกับใครจะมีวิธีการถ่ายทอดข้อมูลความรู้ที่ตนมีให้ลูกศิษย์เข้าใจได้มากที่สุด อาจจะไม่ได้เรียนครูมาโดยตรงแต่ถ้าคุณถ่ายทอดความรู้ที่มีเเละอุทิศตนเพื่อลูกศิษย์ด้วยใจจริงเราว่าแบบนี้ก็ควรเรียกว่าครู เราควรเปิดโอกาสให้พวกเขามาทำในหน้าที่ครูดูเพื่อมันรุ่งกว่าที่มีอยู่ #มันก็แค่เป็นเเค่ความคิดฉบับนักศึกษาน้อยๆคนนึง

0
กำลังโหลด
ผมคนนึงนะ 25 มี.ค. 60 12:16 น. 5

เห็นด้วย ผมคนนึงที่พึ่งรู้ตัวว่าอยากเป็นครูเคมี ตอนอยู่ม.6 แต่ไม่มีโอกาสได้เรียนเนื่องจากสอบติดคณะแพทยศาสตร์ก่อน พ่อกับแม่เลยอยากให้ไปทางสายแพทย์มากกว่าการเป็นครู แต่ส่วนแล้วอยากเป็นครูมากเพราะตอนเรียนที่โรงเรียนไม่ค่อยชอบคุณครูในบางอย่าง เลยอยากเป็นครูเอง ถ้าให้มีการเปิดครูผู้ช่วยให้จบจากคณะอื่น ผมคนนึงก็จะสอบครับ และถ้าไม่เปิดจริงๆก็คงเรียนแพทย์ ใช้ทุนให้หมด แล้วคงไปเรียนต่อครู มันอาจจะใช้เวลานาน แต่มันคือความชอบ อยากให้ความรู้แก่เด็ก ให้กำลังใจ อยากให้รู้ว่าวิชาเคมีนั้นไม่ได้ยากเกินความสามารถ อยากให้สนุกและรักในวิชาเคมี และอยากเป็นครูที่เข้าใจเด็กห้องวิทย์ที่จะเข้าสายศิลป์ด้วย ว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่ได้ใช้สอบในวิชาส่วนนี้ ก็จะให้คำแนะนำและเทคนิคการเตรียมตัวด้วย

2

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
มัณทนา Member 24 มี.ค. 60 22:33 น. 1

คนที่อยากเป็นครู แต่ไม่ได้เรียนจบครู

บางคนมีความฝันว่าอยากจะเป็นครูมาตั้งแต่เด็กแล้วค่ะ

แต่โอกาสไม่เอื้ออำนวย ทางบ้านไม่สนับสนุน

พวกเขาจะมาสอบครูผู้ช่วยผิดตรงไหนคะ ?

1
กำลังโหลด

11 ความคิดเห็น

มัณทนา Member 24 มี.ค. 60 22:33 น. 1

คนที่อยากเป็นครู แต่ไม่ได้เรียนจบครู

บางคนมีความฝันว่าอยากจะเป็นครูมาตั้งแต่เด็กแล้วค่ะ

แต่โอกาสไม่เอื้ออำนวย ทางบ้านไม่สนับสนุน

พวกเขาจะมาสอบครูผู้ช่วยผิดตรงไหนคะ ?

1
กำลังโหลด
pupat Member 25 มี.ค. 60 10:44 น. 2

เห็นด้วยครับ ในฐานะนักเรียนคนนึงก็อยากมีครูที่มีคุณภาพมาสอน ใครๆก็สอนคุณธรรมได้ครับถ้าเขาเป็นคนดี แต่วิชาการไม่มีคุณภาพก็คงไม่ต่างกับโรงเรียนอนาล็อคนะครับ

0
กำลังโหลด
Tee 25 มี.ค. 60 10:51 น. 3

เห็นด้วยครับ เราก็จะได้คนที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาสอนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น คนจบเศรษศาสตร์มา เคยฝึกงานหรือทำงานด้านธุรกิจ แล้วมาสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ ก็จะสามารถถ่ายทิดความรู้ความสามารถในราชวิชานั้น เชิงลึกมากขึ้น หรือ คนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์มา แล้ว มาสอนในรายวิชาคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์ ก็จะสามารถถ่ายทอด ในรายวิชานั้นเชิงลึกมากขึ้นแล้วยังสอดแทรก วิชาชีพที่ตัวเองเรียนมาแก่เด็ก และสามารถให้เด็กเกิดแรงบรรดาลใจ และต่อยอดในอนาคตได้อีกด้วย

1
Tee 25 มี.ค. 60 10:58 น. 3-1

หรือ ตัวอย่างเช่นคนจบรัฐศาสตร์มานะครับ คนที่เขามี passion ทางด้านการเมือง และ ประวัติศาสตร์ แล้วให้เขามาถ่ายทอดความรู้แก่เด็ก ถ่ายทอดออกมาจากความหลงใหล ความเข้าใจของเขาจริงๆ สอนให้เด็กคิดวิเคราะห์ด้านการเมือง หรือ ด้าน ประวัติศาสตร์ชาติไทยจริงๆ ไม่ใช่สิ่งที่ให้ท่องจำ และ เรียนเพียงด้านเดียว ผมเชื่อว่าจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จะส่งผลให้การศึกษาของประเทศไทยที่ขึ้นครับ


//ทั้งหมดนี้เป็นเพียง คหสต.

0
กำลังโหลด
นักศึกษาตัวน้อย 25 มี.ค. 60 11:06 น. 4

เห็นด้วยนะ เราว่ามันเกี่ยวกับใครจะมีวิธีการถ่ายทอดข้อมูลความรู้ที่ตนมีให้ลูกศิษย์เข้าใจได้มากที่สุด อาจจะไม่ได้เรียนครูมาโดยตรงแต่ถ้าคุณถ่ายทอดความรู้ที่มีเเละอุทิศตนเพื่อลูกศิษย์ด้วยใจจริงเราว่าแบบนี้ก็ควรเรียกว่าครู เราควรเปิดโอกาสให้พวกเขามาทำในหน้าที่ครูดูเพื่อมันรุ่งกว่าที่มีอยู่ #มันก็แค่เป็นเเค่ความคิดฉบับนักศึกษาน้อยๆคนนึง

0
กำลังโหลด
ผมคนนึงนะ 25 มี.ค. 60 12:16 น. 5

เห็นด้วย ผมคนนึงที่พึ่งรู้ตัวว่าอยากเป็นครูเคมี ตอนอยู่ม.6 แต่ไม่มีโอกาสได้เรียนเนื่องจากสอบติดคณะแพทยศาสตร์ก่อน พ่อกับแม่เลยอยากให้ไปทางสายแพทย์มากกว่าการเป็นครู แต่ส่วนแล้วอยากเป็นครูมากเพราะตอนเรียนที่โรงเรียนไม่ค่อยชอบคุณครูในบางอย่าง เลยอยากเป็นครูเอง ถ้าให้มีการเปิดครูผู้ช่วยให้จบจากคณะอื่น ผมคนนึงก็จะสอบครับ และถ้าไม่เปิดจริงๆก็คงเรียนแพทย์ ใช้ทุนให้หมด แล้วคงไปเรียนต่อครู มันอาจจะใช้เวลานาน แต่มันคือความชอบ อยากให้ความรู้แก่เด็ก ให้กำลังใจ อยากให้รู้ว่าวิชาเคมีนั้นไม่ได้ยากเกินความสามารถ อยากให้สนุกและรักในวิชาเคมี และอยากเป็นครูที่เข้าใจเด็กห้องวิทย์ที่จะเข้าสายศิลป์ด้วย ว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่ได้ใช้สอบในวิชาส่วนนี้ ก็จะให้คำแนะนำและเทคนิคการเตรียมตัวด้วย

2

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
555 25 มี.ค. 60 12:56 น. 6

เราเห็นด้วยนะ

ครูสมัยนี้เราบอกตรงๆ บางโรงเรียนครูยังฉลาดสู้เด็กไม่ได้เลย

ข้อสอบGAT PAT โรงเรียนเราอจก็ไม่ค่อยสอนสอนแต่พื้นฐานพวกโอเน็ต แล้วแกทแพทหล่ะเด็กจะสอบติดยังไงถ้าไม่เรียนพิเศษ?? อจ.ทำข้อสอบได้ก็มาจากการดูเฉลย บางครั้งเอาข้อสอบนอกรอบให้ทำแต่ไม่มีเฉลยแบบละเอียดให้อจ.ก็ทำไม่ได้ บางครั้งเราก็เรียนกวดวิชาจากวีดีโอถามในคอมก็ไม่สู้ถามกับอจ. ซึ่งอจ.ตอบปัญหานั้นไม่ได้

อจ.หลายคนอยู่มานานมากแต่ความรู้ไม่อัปเดต การศึกษาไปไกลแล้วนะคะ ครูก็ต้องตามทันข้อสอบสิ

ส่วนเรื่องจริยธรรม หลายคนจบครูมาแต่ก็ไม่ได้พฤติกรรมดี อคติกับเด็ก เปิดโลกไม่กว้างพอ บอกตัวเองจบครูมา แต่พอเข้าที่ประชุมชี้หน้าด่าเด็กคนนั้นกลางที่ประชุมกันในระดับชั้น

ได้เวลาทำให้ครูแอ็คทีพ มีตัวแข็งขันเพิ่มให้เริ่มก้าวหน้าได้ซะที ไม่ใช่จมปลักกับอจ.ที่เรียนจบครู

แถมความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านก็รู้ลึกมากขึ้นเป็นเรื่องๆอีกด้วย

อจ เคยบอกให้เด็กมองโลกให้กว้างขึ้น หวังว่าคราวนี้อจ จะเห็นโลกที่กว้างกว่าเดิม...

0
กำลังโหลด
สวัสดี 25 มี.ค. 60 13:30 น. 7

เราเห็นด้วยนะ เพราะที่เราเห็นครูบางคนเพิ่งมาเรียนครูเพิ่ม 1 ปีเพราะไม่ได้จบสายครูมา แต่คือเขาสอนดีมากกก แบบมีความชำนาญในการสอนไม่แพ้กับคนที่จบครูมาเลย ขยันสอนด้วย ในขณะที่บางคนเราเห็นจบครูมาแต่ดูเหมือนไม่อยากสอนอะ สอนไปวันๆและบางรายสอบบรรจุได้ก็จริงแต่ละทิ้งเด็ก จงใจไม่สอนเด็กเพราะเห็นเด็กไม่ตั้งใจเรียน เกริ่นมายาวเลย สิ่งที่เราจะบอกก็คือการเป็นครูจริงๆมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าจบอะไรมา สอบบรรจุได้รึเปล่า มันขึ้นอยู่กับตัวครูคนนั้นมากกว่าว่ามีใจรักที่จะสอนเด็กจริงๆไหม #ยังไงก็เป็นความคิดเห็นเรา #ที่เรายกตัวอย่างมาก็คือบางคนเท่านั้นไม่ใช่เหมารวมถึงครูทุกคน #ขอระบายนิดนึงเพราะเจอมากับตัว #ยังไงนี่ก็เป็นความเห็นเราเท่านั้นเน้อ

1
นาน่า 5 พ.ค. 60 16:13 น. 7-1

เห็นด้วยเหมือนกันค่ะ คือเอาจริงๆเเค่เราสามารถถ่ายทอดให้เด็กเข้าใจก็ถือว่าบรรลุเเล้ว อย่าโรงเรียนเราครูท่านนึงท่านไม่ได้จบครูมาเเต่มาเรียนต่อครูอีก1ปีสอนดีกว่าครูบางท่านที่เรียนจบครูมาอีกค่ะ เเต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่เรียนจบครูจะสอนไม่ดีนะคะ คืออยากสะท้อนให้เห็นว่าไม่ว่าจะจบอะไรขอเเค่มีความรู้เข้าใจในการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถให้เด็ก ใส่ใจการสอนเเค่นี้ก็โอเเล้วค่ะ

0
กำลังโหลด
0618248353 Member 26 มี.ค. 60 00:25 น. 8

มันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียคะ แต่ส่วนมากจะเป็นข้อเสียเพราะบางก็จำใจมาสอบทั้งๆที่ไม่ได้ชอบในวิชาชีพครูเลย อนาคตของอยู่ที่ครูไม่ใช่หรอคะ ถ้าครูคนนั้นโมโหแล้วบอกเด็กว่าฉันไม่อยากเป็นครูแต่ต้องมาจำใจสอนหรอคะ?

0
กำลังโหลด
หารือสายกลางดี 26 มี.ค. 60 08:13 น. 9

เดินสายกลางดีไหมครับ เหมือนสอบบรรจุนายสิบ. หรือ สัญญาบัตร ก็มีคะแนนเพิ่มสำหรับลูกหลาน. ถ้าใครเรียนครูมาตรงๆ 5 ปี ก็ควรให้คะแนนความตั้งใจเป็นครู. เสียเวลาเรียน มากกว่าคนอื่นๆ. และการเรียนระดับมัธยมก็ไม่ต้องใช้ความรู้ลึกขนาดนั้น. เพราะมีหลายวิชาหลายกิจกรรมที่ต้องเรียนรู้เช่นกัน. ถ้าใครมีจิตวิญญานเป็นครูก็ควรเรียนมาตั้งแต่แรกแล้ว. ไม่ใช่มาหางานแย่งงานกัน. และเด็กในชั้นเรียนที่อยากรู้ลึกชอบจริงๆเท่านั้นที่จะชอบครูแบบติวเตอร์เก่งๆ. ถ้าเด็กตามไม่ทันจะต้องทำไง. ก็เป็นแนวคิดแบบมองหลายๆมุมนะ. ถ้าหารือกันก็น่าจะมีทางออกสายกลางนะครับ. เพราะอย่างไรครูก็เป็นที่เคารพเป็นวิชาชีพที่ค้องมีจรรยาบรรณและสอนคนเก่งๆในห้องจนได้ดีมีมากมายมาแล้วครับ

0
กำลังโหลด
1125 30 มี.ค. 60 19:50 น. 10

เห็นด้วยค่ะ

แต่ควรมีกฎข้อบังคับให้เรียนบางอย่างเพิ่มเติม ให้เท่ากับคณะที่ครุศาสตร์เรียนมา

อย่างเช่น จิตวิทยาเด็ก และวิชาบางตัวที่สำคัญสำหรับการเป็นครู

และอยากให้มีการทดสอบแยกกัน ระหว่างคนที่จบจากคณะครุศาสตร์โดยตรง และคนที่ไม่ได้จบจากคณะนี้ ใช้เกณฑ์คิดต่างกัน เพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายค่ะ

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
กำลังโหลด