สวัสดีน้องๆ ชาว Dek-D ค่ะ มีเสียงเรียกร้องจากน้องๆ ให้แนะแนวเส้นทางสอบเข้าของคณะรัฐศาสตร์บ้าง ต้องมีแน่นอนอยู่แล้วค่ะ เพราะรัฐศาสตร์เป็นคณะในฝันของเด็กสายศิลป์ (รวมถึงสายวิทย์) หลายๆ คน ซึ่งแต่ละสาขาของคณะนี้ก็มีความน่าสนใจไม่เบา ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การเมืองการปกครอง ฯลฯ จะว่าไปแล้วคณะนี้ไม่มีทางตกเทรนด์ เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตของคนในสังคมโดยตรงเลย เอาล่ะ ไปเตรียมตัวพร้อมๆ กันเลยดีกว่า


รัฐศาสตร์ เรียนอะไร
         ถ้าถามว่ารัฐศาสตร์เรียนอะไร เกิน 80% คงตอบในแนวว่าเรียนไปเป็นนักการเมือง อบต. อบจ. สส. ปลัด คำตอบนี้ไม่ผิด แต่ไม่ครบเท่านั้นเอง รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับ "รัฐ" คือ ครอบคลุมทั้งสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ปรัชญาทางการเมือง เพื่อศึกษาแนวคิด วิวัฒนาการและความสัมพันธ์กันในรัฐหรือสังคม
         ซึ่งรัฐศาสตร์ จะมีสาขาแยกย่อยอีกหลายสาขา เพื่อศึกษาในศาสตร์ที่ลึกลงไป เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การเมืองการปกครอง รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นต้น

สาขาที่เปิดสอนในประเทศไทย
         จากหัวข้อด้านบน น้องๆ ก็คงพอเห็นภาพการเรียนรัฐศาสตร์ในแขนงต่างๆ แล้ว จะอธิบายให้เห็นภาพมากขึ้น
         1. สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันว่า IR นอกจากจะต้องเรียนเกี่ยวกับการเมืองไทยแล้ว ที่เน้นจริงๆ คือ การศึกษาไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้เรียนการเมืองการปกครองของประเทศต่างๆ บริษัทข้ามชาติ นโยบายของประเทศต่างๆ กฎหมายระหว่างประเทศ  เรียกว่าได้เปิดหูเปิดตาเยอะเลยทีเดียว ซึ่งสาขานี้เป็นสาขาที่แข่งขันกันโหดและคะแนนสูงมากค่ะ
         2. สาขาวิชาการเมืองการปกครอง จะได้เรียนเกี่ยวกับปรัชญา แนวคิดทางการเมืองการปกครอง ทั้งอดีตและสมัยใหม่ เศรษฐกิจ สังคม และโครงสร้างของสถาบันและองค์กรทางการเมืองต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญ รัฐสภา เป็นต้น นอกจากการปกครองของไทยแล้ว ยังได้ศึกษาการปกครองของประเทศต่างๆ ด้วย
         3. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บางที่เรียกว่าสาขาบริหารรัฐกิจ คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการบริหารแผ่นดิน หากจะพูดให้ง่ายก็คือ วิชานี้เป็นการเรียนสาขาบริหารแต่นำมาประยุกต์กับองค์กรของรัฐ หน่วยงานของราชการต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับคนในสังคมมากที่สุดนั่นเอง
         4. สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ เพื่อให้เข้าใจว่าแต่ละสิ่ง แต่ละปรากฏการณ์มันมีผลเกี่ยวข้องกันอย่างไร รวมไปถึงการดูสถิติ โครงสร้างสังคม การจัดระเบียบสังคม ซึ่งน้องๆ จะได้ทำวิจัยและลงพื้นที่ภาคสนามกันด้วย

แต่ละมหาวิทยาลัย เปิดรับรอบไหนบ้าง
 

ยกตัวอย่างโครงการที่น่าสนใจในแต่ละรอบ
รอบที่ 1 Portfolio
1.1 โครงการเด็กดีมีที่เรียน ม.เชียงใหม่
เกณฑ์คัดเลือก : Portfolio + สอบสัมภาษณ์
1.2 รับตรง portfolio ม.ธรรมศาสตร์
เกณฑ์คัดเลือก :
GPAX > 3.75 + Portfolio + ผลคะแนนภาษาอังกฤษ เช่น TOEFL, IELTS + สอบสัมภาษณ์
1.3 โครงการนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทั่วประเทศ ม.บูรพา
เกณฑ์คัดเลือก :
GPAX 5 เทอม + Portfolio

รอบที่ 2 โควตา
2.1 โครงการจุฬาชนบท จุฬาฯ
เกณฑ์คัดเลือก :
GAT 100%
2.2 โควตาภาคเหนือ ม.นเรศวร
เกณฑ์คัดเลือก :
GPAX 20% + GAT 80%
2.3 โควตา ม.มหาสารคาม
เกณฑ์คัดเลือก :
GAT 100%

รอบที่ 3 รับตรงทั่วไป
3.1 โครงการรับตรงทั่วไป ม.ธรรมศาสตร์
เกณฑ์คัดเลือก :
วิชาเฉพาะ (ความรู้ทั่วไปทางรัฐศาสตร์ + เรียงความ) + สัมภาษณ์
3.2 โครงการรับตรงทั่วไป ม.เชียงใหม่
เกณฑ์คัดเลือก :
วิชาสามัญ โดยแบ่งเป็นกลุ่มวิทย์และศิลป์
วิทย์ : วิชาสามัญ ภาษาไทย, สังคมศึกษา, อังกฤษ, คณิตศาสตร์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา
ศิลป์ : วิชาสามัญ ภาษาไทย, สังคมศึกษา, อังกฤษ, คณิตศาสตร์ 2, วิทยาศาสตร์ทั่วไป
3.3 โครงการรับตรงทั่วไป ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
เกณฑ์คัดเลือก :
GAT + PAT 1/7 + วิชาสามัญ (สังคม อังกฤษ)

รอบที่ 4 แอดมิชชั่น
ทุกมหาวิทยาลัยใช้เกณฑ์เดียวกัน (แต่สามารถเลือกใช้รูปแบบใดก็ได้) โดยหลักๆ จะแบ่งเป็น 3 รูปแบบคือ
4.1 พื้นฐานวิทยาศาสตร์ : GPAX + O-NET + GAT + PAT 1
4.2 พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 : GPAX + O-NET + GAT
4.3 พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 2 : GPAX + O-NET + GAT + PAT 7

รอบที่ 5 รับตรงอิสระ
5.1 รับตรงอิสระ ม.ศิลปากร
เกณฑ์คัดเลือก :
O-NET 4 วิชา คือ ภาษาไทย, สังคม, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ รวม 100%
5.2 รับตรงอิสระ ม.เกษตรศาสตร์
เกณฑ์คัดเลือก :
GPAX 20% + O-NET 30% + PAT 1 หรือ PAT 7 20% + สอบสัมภาษณ์
5.3 รับตรงอิสระ ม.วลัยลักษณ์
เกณฑ์คัดเลือก :
GPAX + Portfolio

Q&A คำถามยอดฮิต
1. จะเรียนสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแต่ไม่เก่งภาษาอังกฤษ เรียนได้มั้ย
ตอบ คำถามยอดฮิต เพราะเด็กไทยหลายคนอยากเรียนสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่มีจุดอ่อนในเรื่องภาษาอังกฤษ หากน้องๆ สามารถสื่อสารได้พอสมควร ก็เรียนสาขานี้ได้แน่นอนค่ะ เพราะยังไงแล้ว รัฐศาสตร์เป็นการเรียนเชิงสังคม การเมือง ไม่ได้เรียนภาษาแบบกลุ่มคณะอักษรฯ จึงไม่จำเป็นต้องเก่งเว่อร์อะไรขนาดนั้น แต่ภาษาอังกฤษจะจำเป็นก็ต่อเมื่อต้องหาข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่เป็นภาษาอังกฤษ หรือ การติดต่อกับหน่วยงานอื่นๆ เป็นต้น แต่ถ้ามีทักษะภาษาอังกฤษและภาษาที่สามอยู่แล้ว ก็ค่อนข้างได้เปรียบค่ะ

2. เรียนสายวิทย์ เข้ารัฐศาสตร์ได้มั้ย

ตอบ ได้แน่นอนค่ะ ไม่ว่าจะเรียนคณะอะไรมาก็สามารถสอบเข้ารัฐศาสตร์ได้ทุกสาขา ขอแค่มีคะแนนครบตามที่กำหนดในแต่ละรอบก็พอ (ซึ่งรอบ1-3 และรอบ 5 แต่ละมหาวิทยาลัยใช้เกณฑ์ต่างกัน เช็กกันด้วยนะคะ)

3. อยากเรียนรัฐศาสตร์ ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ

ตอบ หากดูที่วิชาสอบเป็นหลัก จะต้องเน้น GAT, PAT1 หรือ PAT 7 ( PAT สามารถเลือกยื่นวิชาใดวิชาหนึ่งได้) ส่วนวิชาสามัญ จะเน้นไปที่กลุ่มวิชาทางสายศิลป์คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ อาจจะมีบ้างที่ติดวิชาคณิตศาสตร์ด้วย แต่มีให้เห็นไม่่ค่อยเยอะค่ะ

นอกจากวิชาหลักที่พูดมาแล้ว บางรอบก็อาจจะเจอการสอบวิชาเฉพาะด้วย เช่น รอบ 3 ของ ม.ธรรมศาสตร์ จะมีสอบเรียงความและความรู้ทั่วไปทางรัฐศาสตร์ ก็ต้องเตรียมตัวสอบวิชาเฉพาะมาด้วย
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด

9 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เด็กมหาลัยน่ารัก 18 ต.ค. 62 10:23 น. 4

ฝากห้องโอเพนแชทสำหรับพูดคุยเกี่ยวกับชีวิตมหาลัย แชร์ทริคต่างๆ คุยเกี่ยวกับชีวิตมหาลัย จบแล้วทำอะไรดี สามารถแชร์กันแบบ real time ได้เลยค่ะ โปรดแตะลิงก์ด้านล่างเพื่อเข้าร่วมโอเพนแชทนี้

https://line.me/ti/g2/XJ7oXsYSqEop01KaavRBRw #ชีวิตเด็กมหาลัย #จบแล้วทำอะไรดี #เด็กมหาลัย #ใต้โต๊ะเด็กมหาลัย

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ตอบด้วยคับ 9 พ.ค. 63 23:37 น. 7

รอบ4 มศว มีพื้นฐานวิทย์มั้ยคะ ในtcasให้กดเลือกได้ แต่ไปดูคะเเนนต่ำสุด62 พื้นฐานวิทย์ไม่มี

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด