หลักสูตรแรกในไทย! แพทย์อินเตอร์ จุฬาฯ 4 ปี จบปริญญาตรีสาขาไหน ก็เรียนแพทย์ได้

          สวัสดีค่ะ น้อง ๆ หลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับหลักสูตรใหม่แพทยศาสตรบัณฑิตนานาชาติ 4 ปี กันมาบ้างแล้ว เรียกได้ว่าเป็นหลักสูตรที่น่าสนใจมาก เพราะจบปริญญาตรีสาขาไหนก็เรียนแพทย์ได้ วันนี้พี่เฟิร์นได้รับเกียรติจาก ศ.พญ. นิจศรี ชาญณรงค์ ผู้อำนวยการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ) จุฬาฯ มาพูดถึงหลักสูตรนี้ ให้รู้จักกันมากขึ้นค่ะ
 

 
เป้าหมายหลัก เพื่อการผลิตแพทย์ที่เป็นนานาชาติ
          ศ.พญ. นิจศรี ชาญณรงค์ ผู้อำนวยการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ) จุฬาฯ กล่าวว่า “หนึ่งในพันธกิจ และวิสัยทัศน์ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คือ การผลิตแพทย์ที่มีความเป็นนานาชาติ ซึ่งการที่ผลิตแพทย์ที่เป็นนานาชาติก็ต้องเป็นแพทย์ที่มีความแตกต่างจากแพทย์ที่มีอยู่เดิม อย่างความเป็น Global Doctor ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมโลก เน้นให้แพทย์ทุกคนสามารถรับใช้สังคมโลกได้ในบริบทแตกต่างกัน 
          หลักสูตรนี้จะรับผู้ที่จบปริญญาตรีมาแล้ว มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่หลากหลาย พร้อมที่จะพัฒนาตนเองไปในทิศทางที่อยากจะเป็น และมีความรู้เท่าทันเทคโนโลยี เหมาะกับการเป็นแพทย์ในศตวรรษนี้ ซึ่งอาจจะพัฒนาให้เป็นแพทย์ที่สามารถผลิตนวัตกรรมได้ ฉะนั้นรูปแบบการเรียนรู้ในหลักสูตรใหม่ จะไม่ใช่แค่การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยแล้วจบ ต้องมีการเรียนรู้ตลอดเวลา มีความพร้อมในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อรองรับความรู้ที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต”
 
ความแตกต่างระหว่างหลักสูตรแพทยศาสตร์ 6 ปี และหลักสูตรใหม่ 4 ปี (นานาชาติ)
          หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต นานาชาตินี้ ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 4 ปี ได้วุฒิแพทยศาสตรบัณฑิต เหมือนกับการเรียนหลักสูตรแพทยฯ ปกติ  แต่รูปแบบการเรียนไม่ได้แบ่งการเรียนชั้นพรีคลินิกและชั้นคลินิกตามหลักสูตรปกติ เพราะหลักสูตรนี้ บูรณาการมาแล้ว  โดยจุดที่แตกต่างจากหลักสูตร 6 ปี คือ จะเว้นการเรียนในระยะเวลา 2 ปีแรก ซึ่งเป็นพาร์ทของการเตรียมความพร้อมการเป็นแพทย์ ซึ่งคนที่เข้ามาเรียนจะจบปริญญาตรีมาแล้ว มีความเป็นผู้ใหญ่ มีวุฒิภาวะ  การเรียนก็จะเป็นการเรียนรู้เอง ร่วมกับการทำงานกลุ่ม  เน้นปฏิบัติจริงเป็นส่วนใหญ่ และไม่ว่าจะจบมาจากคณะอะไร ก็จะมีแนวทางต่อยอด มีความสามารถที่แตกต่างกัน เช่น หากเรียนด้านดนตรีมา ก็อาจนำไปประยุกต์กับทางการแพทย์ เรื่องการใช้ดนตรีบำบัดได้ อย่างไรก็ตามถึงแม้จะจบสายอะไรมา แต่ก็ต้องผ่านการสอบวัดพื้นฐานความรู้เบื่องต้น ซึ่งจะต้องมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์อยู่มากพอสมควร
 
รูปแบบการเรียนของหลักสูตร
          โดยปกติแล้วแพทย์ 6 ปีทั่ว ๆ จะมีแผนการเรียน คือ การเรียนคณะแพทย์ปีแรก จะเรียนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไป จากนั้นปี 2-3 แพทย์ระดับชั้นพรีคลินิก จะเป็นจะได้เรียนเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานทางการแพทย์ และได้เข้าสู่ชั้นคลินิกในช่วงชั้นปี 4 และปี 5 เป็นการเรียนรู้กับผู้ป่วยจริง ๆ หรือเข้าวอร์ดนั่นเอง และสำหรับชั้นปีที่ 6 ปีสุดท้ายของการเรียนแพทย์ เรียกกันว่า Extern เรียนเหมือนแพทย์จริง ๆ ได้ตรวจผู้ป่วย และรักษาด้วยตนเอง แต่ในหลักสูตร 4 ปี จะแบ่งแผนการเรียนเป็น 3 ช่วง ดังนี้
           ทดสอบ Icon ช่วงแรก เรียกว่า pre-clerkship การเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการเป็นแพทย์ มีการเรียนรู้จากผู้ป่วยจริง เป็นการเรียนโดยนำปัญหามาก่อนแล้วย้อนกับไปหาพื้นฐาน โดยจะเรียนเป็น module เกี่ยวกับระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เรียนประมาณปีครึ่ง
           ทดสอบ Icon ช่วงที่สอง เรียกว่า clerkship  ฝึกปฏิบัติจริง เป็นการดูคนไข้จริง ๆ ก็จะได้ไปสัมผัสคนไข้ ไปตรวจร่างกายคนไข้ ประมาณ 2 เทอม หรือประมาณ 1 ปี
           ทดสอบ Icon ช่วงสุดท้าย เรียกว่า Externship คือการฝึกปฏิบัติงานที่ต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาและ สหราชอาณาจักร ได้ไปฝึกกับคนไข้จริง เป็นเวลา 2 เดือน และนิสิตสามารถเลือกได้ว่าตัวเองอยากทำอะไร เช่น อาจทำวิจัยต่อยอด ดูเรื่องนวัตกรรม สามารถทำอะไรก็ได้ที่มีความถนัดและสนใจ ทำให้นิสิตมีศักยภาพที่ได้พัฒนาตรงตามที่ต้องการ และเป็นรูปแบบเฉพาะตัว
 

สถานที่เรียน
1.   โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จะใช้สำหรับการเรียนในช่วงแรก ๆ อย่างช่วง pre-clerkship และ clerkship 
2.   โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา โรงพยาบาลในเครือสภากาชาดไทย นิสิตจะได้ไปฝึกในส่วนที่เป็นวอร์ดหลัก คือคนไข้ที่อยู่ในกลุ่มอยุรศาสตร์  ศัลยศาสตร์ สูติศาสตร์ กุมารเวทศาสตร์ ที่นั่น

3.   สถาบันต่างประเทศ นิสิตจะได้มีโอกาสไปอย่างน้อย 2 เดือน ที่จะได้ไปฝึกเหมือนกับนิสิตแพทย์ต่างประเทศ
 
ค่าใช้จ่าย
          ประมาณปีละ ล้านกว่าบาท เหมือนหลักสูตรอินเตอร์ทั่วไป ตลอดหลักสูตรจะอยู่ที่ประมาณ 4.5 ล้านบาท รวมช่วงที่ไปต่างประเทศ 2 เดือนด้วย
 
คุณสมบัติผู้สมัคร
          รับสมัครจำนวน 40 คน จะเปิดรับสมัครช่วงเดือน ตุลาคม ปี 2563 และสอบสัมภาษณ์ช่วงเดือน ธันวาคม ปี 2563 โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้
 ทดสอบ Icon ไม่มีกำหนด GPAX 
 ทดสอบ Icon มีผลสอบ The Medical College Admission Test (MCAT) ในเกณฑ์ดี
 ทดสอบ Icon มีผลสอบ TOEFL (Internet based test) หรือ IELTS ในเกณฑ์ดี
 ทดสอบ Icon Portfolio ที่เกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือว่าความถนัด ความสามารถพิเศษ
 ทดสอบ Icon จดหมายแนะนำตัวจากผู้ที่ผู้สมัครไปขอมา

 
เส้นทางอาชีพในอนาคต
          เมื่อเรียนจบจะมีสิทธิ์สอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ได้เหมือนแพทย์หลักสูตรปกติ หรือหากอยากเป็นแพทย์ต่างประเทศ ก็สามารถไปสอบประเทศอื่นได้
          แพทย์ที่จบมาจะมีความเป็นสากล และมีความพิเศษเฉพาะตัว แต่ละคนสามารถเลือกสายงานแพทย์ที่อยากจะเป็นได้ ไ่ม่ว่าจะเป็นด้านวิจัย แพทย์นักสร้างนวัตกรรม อาจารย์แพทย์ หรือเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ    โดยนำความรู้ที่มีอยู่เดิมมาและพัฒนาตนเองไปเป็นแพทย์แบบที่ตนเองต้องการได้ในอนาคต
 
ฝากถึงผู้ที่สนใจ
          ศ.พญ. นิจศรี ชาญณรงค์ ผู้อำนวยการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ) จุฬาฯ กล่าวว่า “ก็อยากจะเชิญชวนนะคะ เป็นการผลิตแพทย์ที่แบบใหม่ ก็จะมีความเป็นนานาชาติ และก็ใช้เวลาเรียนอยู่ 4 ปี แต่ว่าก็จะต้องมีลักษณะพิเศษบ้างอย่าง ก็อยากจะขอเชิญชวน ท่านที่จบปริญญาตรีแล้วนะคะ หรือว่ากำลังจบปริญญาตรีในปีหน้า และมีความสนใจอยากจะเป็นแพทย์ เป็นแพทย์ที่มีความถนัดพิเศษ เป็นความสามารถเฉพาะตัว ที่จะเป็นแพทย์นักวิจัย แพทย์ที่เป็นแพทย์เฉพาะทาง หรือจะเป็นแพทย์อาจาร์ยแพทย์ หรือเป็นแพทย์ที่ไปสู่สากล ก็อยากจะให้มาสมัครกันมาก ๆ นะคะ ก็ยินดีรับนะคะ”
         เป็นยังไงกันบ้างคะ กับหลักสูตรใหม่ที่พี่เฟิร์นนำมาฝากกัน อย่างหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตนานาชาติ 4 ปี เป็นหลักสูตรที่น่าสนใจมากเลยนะคะ เพราะไม่ว่าจะเรียนจบปริญญาตรีคณะไหน สาขาอะไร ก็สามารถเข้าเรียนได้ หากใครสนใจก็เตรียมตัวให้พร้อมเลยค่ะ 
พี่ใบเฟิร์น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

7 ความคิดเห็น

qxxpx 17 มี.ค. 63 00:00 น. 1-1

คือหนูไม่แน่ใจว่าหมายถึงไม่กำหนด GPAX มัธยมอย่างเดียวหรือเปล่าอะค่ะ ก็เลยอยากทราบว่า GPAX มหาลัยมีผลไหมคะ

0
กำลังโหลด
ธิดาอัปสร 19 มี.ค. 63 14:02 น. 2

จบ ป.ตรีแล้ว มาสมัครเรียน และหากเรียนหลักสูตรนี้จบแล้ว ได้ปริญญาอะไรคะ บัณฑิตหรือมหาบัณฑิตคะ

0
กำลังโหลด
PIKARI 25 มี.ค. 63 06:18 น. 3-1

เอาอันนี้ไปเปิดอ่านดูนะละเอียดสุดเท่าที่มีตอนนี้แล้ว

เป็นรายละเอียดภาษาอังกฤษของเว็บจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยตรง

สงสัยป่วยไม่มีแรงหาข้อมูลเพิ่มเติม555


https://www.md.chula.ac.th/wp-content/uploads/2020/02/FAQ_CU-MEDi-13.02.20-Revise5.pdf

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
หมอบอย 27 เม.ย. 63 17:09 น. 5

pre-clerkship cherkship externship ในระยะเวลา 4ปี เรียนแบบ PBL (problem based learning) ด้วย มีจัดการเรียนแบบ module

ในฐานะที่เป็นปู่หมอ เคยเรียนแบบดั้งเดิมมาก่อน และจบใน 6ปี ต่อเฉพาะทางอีก 3 ปี ต่อยอดอีก2 ปี บอกได้คำเดียว เรียน พบ. 4 ปีตายแน่ๆ

คนสอนน่ะสอนได้นะ คนเรียนสมองจะรับไหมถามใจดู ยิ่งจบป.ตรีคณะอะไร สายไหนก็ได้ พื้นฐานผู้เรียนก็ต่างกัน ต่อให้ปรับbasic แล้วก็ตาม แทบไม่มีทางเก็บความรู้ในแต่ละ ward ได้หมดได้ทันแน่ๆ หรือหลักสูตรนี้มาแนว จ่ายครบก็จบได้ กระนั้นก็ระวังปัญหาที่จะเกิดตอนทำงานนะครับ รุนแรงยิ่งกว่าตอนสอบไม่ผ่านเสียอีกร้อยพันเท่า ขนาดหลักสูตรปกติ 6ปี จบมาเป็น intern ยังต้องจำ้จี้จ้ำไชกันเหนื่อยมาก กว่าจะทำงานเป็น ทุกวันนี้ยังอยากให้เป็นหลักสูตรที่เรียนมากกว่า 6ปีเลยครับ สำหรับ พบ. ถึงจะพร้อมทำงานจริงๆ(เหมือนสมัยก่อนๆเรียน 7ปี)

1
Bang 8 พ.ค. 63 00:05 น. 5-1

ขอโทษนะคะคือเข้าใจประเด็นที่คุณต้องการจะสื่อ แต่ของทางอเมริกาเขาก็สอนเป็นหลักสูตร4ปีอย่างนี้นะคะ ไม่มีหลักสูตร6ปี คุณจะต้องจบป.ตรีมาก่อนก่อนที่จะมาสมัครเข้าเรียนmedical schoolได้

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด