เขียนเรื่องย่ออย่างไรให้เป็นเรื่องย่อ

 

            เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว พี่แบงค์ได้เล่าให้น้องๆ นักเขียน Dek-D.com รู้ถึงสิ่งที่ต้องเช็กก่อนส่งต้นฉบับให้บ.ก. วันนี้พี่แบงค์จะมาพูดถึงการเขียนเรื่องย่ออีกสักหน่อย

            น้องๆ ลองนึกภาพดูนะครับ ใน 1 เดือนจะมีต้นฉบับนิยายถึง 20-30 เรื่อง มีทั้งเรื่องที่ดีบ้าง พอใช้บ้าง น่าสนใจบ้าง และไม่เข้าขั้นบ้าง การจะอ่านให้หมดคงเป็นไปได้ยาก (บ.ก. ตาลายซะก่อน ฮ่าๆๆ) และนั่นจึงทำให้ บ.ก.ต้องอ่านเรื่องย่อ เพื่อคัดต้นฉบับที่มีพล็อตน่าสนใจน้อยที่สุดออกไป ให้เหลือแต่ต้นฉบับที่เข้าขั้นน่าอ่าน น่าพิจารณาที่สุด

            ใช่แล้วครับ ปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้ บ.ก.ไม่ให้ต้นฉบับนิยายบางเรื่องผ่าน (หรือถ้าพูดในวงการนักเขียนคือ "โยนลงตะกร้า") อาจจะไม่ใช่นิยายที่เขียนยังไม่ดีพอ แต่เป็นเรื่องย่อที่เขียนไปนั้นยังไม่ชัดเจนพอที่จะทำให้ บ.ก.รู้สึกว่าเรื่องนี้น่าหยิบมาอ่าน คืออ่านแล้วรู้สึกไม่รู้เรื่องและไม่น่าสนใจ

 

            ปัญหาเรื่องย่อที่ บ.ก. พบเป็นประจำเลยก็คือ

              1. ลำดับใจความสำคัญไม่ตรงกับเหตุการณ์ในต้นฉบับต้นฉบับเล่าอย่างหนึ่ง แต่เรื่องย่อกลับเล่าไปอีกทางหนึ่ง

              2. สั้นห้วนเกินไป ประมาณว่าเล่าแค่ นาย A กับนาย B เป็นเพื่อนกัน  ทั้งคู่ต้องผ่านอุปสรรคต่างๆ นานา จนทำให้พวกเขามีวันนี้ได้ คำถามก็คือ พวกเขาต้องเจออุปสรรคอะไรบ้าง ผ่านมาได้ยังไง และที่มีทุกวันนี้มันเป็นอย่างไร ควรจะเล่าให้ชัดเจนกว่านี้ครับ

              3. ใส่รายละเอียดปลีกย่อยมากเกินไป บางคนส่งเรื่องย่อละเอียดมาดีมาก ดีชนิดที่เรียกว่า "เกินไป" ด้วย คือใส่ละเอียดตั้งแต่บทสนทนา บรรยายลักษณะตัวละคร ผมสีอะไร ตาสีอะไร แถมยังพรรณนาถึงกริยาท่าทางตามในต้นฉบับนิยายด้วย (จากเรื่องย่อกลายเป็นเรื่องสั้นเสียอย่างนั้น)

              4. กั๊กตอนจบ ไม่ยอมสปอยล์ปริศนาทั้งเรื่องให้รู้ บางคนเขียนเรื่องย่อมาชัดเจนตั้งแต่ต้นจนจบ แต่บอกให้ บ.ก.ไปอ่านเอาเอง ต้องอย่าลืมว่า บ.ก.ไม่ใช่ผู้อ่านทั่วไปที่ต้องการอ่านเอาสนุกอย่างเดียว แต่เป็นผู้อ่านอีกระดับหนึ่งที่จะพิจารณาพล็อตว่าเรื่องที่น้องเขียนดีไหม น่าสนใจไหม มีจุดเชื่อมโยงที่ขัดแย้งหรือสมเหตุสมผลแค่ไหน และออกสิทธิ์ชี้ขาดว่าควรให้ผ่านหรือไม่ ดังนั้นถ้ามีอะไรจงสำแดงออกมาให้หมด อย่ากั๊กเลยครับ

 

            สรุปก็คือ เรื่องย่อที่ดี ต้องทำหน้าที่ได้เหมือนแผนที่ที่กางแล้วบอกเส้นทางข้ามผ่านได้ชัดเจนเพื่อที่ บ.ก.จะได้ไม่หลงเวลาเวลาต้องเดินเข้าป่าครับ

 


 

            ที่จริงพี่แบงค์เองก็เห็นใจน้องๆ นักเขียนหลายคนที่เขียนนิยายดีแต่เขียนเรื่องย่อไม่ดีเหมือนกันครับ ยิ่งนิยายที่มีปริศนาเยอะและความสัมพันธ์ของตัวละครเชื่อมโยงไปโน่นนี่นั่นอย่างซับซ้อน ก็ยิ่งทำให้เขียนย่อให้กระชับใจความภายใน 2-3 หน้าลำบากไม่ใช่น้อย แต่ไม่ต้องเป็นห่วงครับ พี่แบงค์มีเคล็ดลับการเขียนเรื่องย่อมาฝากน้องๆ ซึ่งพี่ต้องขอขอบคุณ KennyHass มากๆ ที่เผยเคล็ดลับดีๆ นี้ให้แก่เพื่อนๆ นักเขียน Dek-D.com ทุกคน

            1. อ่านทำความเข้าใจนิยายที่เขียนจบอย่างน้อยซัก 1 รอบ (3 รอบได้ยิ่งดี)

            2. วิเคราะห์ส่วนสำคัญของเรื่อง
                - ใคร? (พระเอก นางเอก ตัวละครหลัก ฯลฯ)
                - อะไร? (สถานการณ์ในเรื่อง)
                - ที่ไหน? (สถานที่ต่างๆ)
                - เมื่อไหร่? (อดีต ปัจจุบัน อนาคต กลางวัน กลางคืน)
                - ทำไม? (แรงจูงใจที่ทำให้ตัวเอกต้องตกอยู่ในสถานการณ์นั้น)
                - อย่างไร? (การแก้ไขและเหตุการณ์หลังคลี่คลาย)

            3. ตัดรายละเอียดปลีกย่อยในส่วนนี้ออกไป
                - รูปร่างหน้าตาตัวละคร : สวย ขี้เหร่ เป้ ตุ๊กกี้ ไม่จำเป็นต้องอธิบาย เอาแค่รู้ชื่อตัวละครก็พอ
                - ความเป็นมาของตัวละคร : เล่าแค่ว่ามีหน้าที่หรืออาชีพอะไรก็พอแล้ว
                - บทสนทนา : ตัดส่วนที่ขำๆ ออกไป เอาแต่ส่วนที่เป็นเบาะแส เกี่ยวโยงกับพล็อตเรื่อง
                - กลอนหรือบทร้อยกรองต่างๆ : ตีความหมายเป็นร้อยแก้ว บอกไปเลยว่าต้องการจะสื่ออะไร
                - ชีวิตประจำวัน อาหารการกิน วัฒนธรรม ค่านิยม ตารางชีวิต : ถ้าหากมันไม่ได้เกี่ยวโยงกับพล็อตโดยตรง ก็ไม่ต้องเขียน

            4. นำข้อ 1-3 สรุปลงไปอย่างที่เราเข้าใจ เคล็ดลับก็คือ ให้คิดว่าเรากำลังทำตัวนิสัยเสีย สปอยล์หนังให้คนรู้จักที่ยังไม่ได้ดู ตั้งแต่ต้นจนจบ (ทำนองว่า “นักจิตแพทย์คนหนึ่งต้องการจะบำบัดจิตเด็กที่เชื่อว่าตัวเองมองเห็นผี โดยที่แพทย์ไม่รู้ตัวเลยว่าแท้จริงตนน่ะตายเป็นผีมาตั้งแต่เริ่มจนจบแล้ว...” เป็นต้น)

            5. เรื่องย่อที่ดี ต้องไม่เกิน 2 หน้า ถ้าเกินแสดงว่าเรายังมีน้ำเยอะอยู่ ให้ย้อนกลับไปแก้ใหม่ (หากจำเป็นก็อนุโลมให้เกินได้เกิน 2 หน้าได้ประมาณ 1/3 หน้า)

            6. ถ้าใจกล้าพอลองเอาเรื่องย่อไปให้เพื่อนหรือใครก็ได้ที่ไว้ใจอ่าน ถ้าเขามีปฏิกิริยาบอกว่าน่าสนใจ แสดงว่าที่เราเขียนนั้นใช้ได้เลย

 

 

 

           หวังว่าแนวทางดังที่ว่านี้ จะช่วยให้เพื่อนๆสามารถเขียนเรื่องย่อส่ง บ.ก.ได้นะครับ ส่วนน้องๆ คนไหนมีกลเม็ดการเขียนเรื่องย่ออย่างไรอีกบ้าง ก็มาเล่ามาแชร์กันได้เลยนะครับ

 


 

พี่แบงค์
พี่แบงค์ - Community Master Community Master ประจำเว็บไซต์ Dek-D.com

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

36 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
แป้งโกกิ Member 29 เม.ย. 54 19:18 น. 4
เรื่องย่อนี่สำคัญอย่างยิ่ง
เพราะเป็นประตูด่านแรกเลยที่จะทำให้พี่บก. สนใจนิยายของเรา

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆ นะคะ
แต่ก็ยังยากสำหรับแป้งมากมาย T-T
ยังไงก็จะพยายามค่ะ สู้ๆ สู้ตาย~!!

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Arsklin_อาร์คสกิริน Member 29 เม.ย. 54 23:49 น. 7
กั๊กตอนจบ ไม่ ยอมสปอยล์ปริศนาทั้งเรื่องให้รู้ บางคนเขียนเรื่องย่อมาชัดเจนตั้งแต่ต้นจนจบ แต่บอกให้ บ.ก.ไปอ่านเอาเอง ต้องอย่าลืมว่า บ.ก.ไม่ใช่ผู้อ่านทั่วไปที่ต้องการอ่านเอาสนุกอย่างเดียว แต่เป็นผู้อ่านอีกระดับหนึ่งที่จะพิจารณาพล็อตว่าเรื่องที่น้องเขียนดีไหม น่าสนใจไหม มีจุดเชื่อมโยงที่ขัดแย้งหรือสมเหตุสมผลแค่ไหน และออกสิทธิ์ชี้ขาดว่าควรให้ผ่านหรือไม่ ดังนั้นถ้ามีอะไรจงสำแดงออกมาให้หมด อย่ากั๊กเลยครับ

สำแดงนี่คือ...เล่าเรื่องย่อไว้ถึงจุดไคลแมกซ์ใหญ่สุดของเรื่องใช่ไหม แล้วให้คนไปอ่านเองหรือ ?
หรือจะเล่าถึง ไคลแมกซ์เล็กๆ แต่มีความสำคัญดีล่ะ ได้ทั้งสองอย่าง !? =[]=


0
กำลังโหลด
พีพี/รัก Yuri สุดใจ Member 30 เม.ย. 54 10:55 น. 8
ขอบคุณมากเลยค่ะ
แต่ก็ยังมึนๆอยู่นิดๆ...

เรื่องย่อ = 1 หน้า?

คือว่า...หนูดั๊น...เขียนสั้นกว่านั้นง่ะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
BY Ertasd Member 5 พ.ค. 54 15:07 น. 19
ตามตัวอย่างที่พี่ให้มา (ก็พอรู้ว่าเรื่องอะไร ถึงยังไม่เคยดูก็เถอะ)
ความจริงน่าจะเป็นแบบนี้มากกว่า
“นักจิตแพทย์คนหนึ่งต้องการจะบำบัดจิตเด็กที่เชื่อว่าตัวเองมองเห็นผี โดยที่แพทย์ไม่รู้ตัวเลยว่าแท้จริงตนน่ะตายเป็นผีมาตั้งแต่เริ่มจนจบแล้ว ซึ่งผีที่เด็กคนนั้นเห็นก็คือตัวจิตแพทย์นั่นเอง”
ผมว่าเขียนแบบนี้น่าสนใจกว่าเดิมเยอะเลย
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด