ถ้าเป็นนักเขียนมันเหนื่อยนัก ลองมาฟังเคล็ดลับจาก “อลิซาเบธ กิลเบิร์ต” สิ

 


ถ้าเป็นนักเขียนมันเหนื่อยนัก
ลองมาฟังเคล็ดลับจาก "อลิซาเบธ กิลเบิร์ต" สิ


สวัสดีชาวไรเตอร์ทุกคน น้องๆ รู้มั้ยคะว่าจริงๆ แล้วการเขียนนิยายก็ถือว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์อย่างหนึ่งที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้ พอเขียนนิยายตอนสมองปลอดโปร่งก็ไหลปรื๊ดๆ แต่พอตันล่ะ เป็นยังไง? บางคนคงบ่นว่าเหนื่อยจัง คิดอะไรไม่ออกเลย ตันแล้ว ไม่อยากเขียนแล้ว อะไรแบบนี้ใช่มั้ยละคะ?

ถ้าน้องๆ เคยเป็น ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ น้องมาถูกทางแล้ว เพราะวันนี้พี่นำแนวคิดดีๆ บนเวที TED Talk จากอลิซาเบธ กิลเบิร์ต นักเขียนชื่อดังเจ้าของผลงานนวนิยายเรื่อง Eat, Pray, Love ที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์มาฝากค่ะ ซึ่งแนวคิดนี้รับรองได้ว่าอ่านจบปุ๊ปหัวโล่งปั๊ป นึกอยากเขียนนิยายทันทีเลย


ขอบอกก่อนว่ากว่าเธอจะมาถึงจุดนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยะนะคะ เพราะตอนแรกกิลเบิร์ตเป็นแค่สาวเสิร์ฟไร้ผลงานตีพิมพ์ โดนดูถูกสารพัด แต่เธอก็เจออุปสรรคต่างๆ มามากมายกว่าจะประสบความสำเร็จได้ ในวันนี้นักเขียนสาวก็มาแชร์เทคนิคดีๆ ที่ทำให้เธอประสบความสำเร็จและมาถึงจุดที่โด่งดังเป็นพลุแตกได้ รับรองว่าอ่านแล้วน้องๆ จะต้องมีแรงฮึดแน่นอน

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ตามมาดูเลยดีกว่าค่ะ ^_^

 



อลิซาเบธ กิลเบิร์ตบนเวที TED Talk
(ขอบคุณรูปภาพ : Ted.com)


 

ถ้าเรายังมีชีวิต เราคือนักครีเอทีฟ

กี่ครั้งแล้วคะที่เราได้ยินคนพูดว่า “เราเขียนนิยายไม่ได้อ่ะ เราไม่มีความคิดสร้างสรรค์” หรือ "เราทำไม่ได้ เราไม่เจ๋งพอ"

ในวัยเด็ก คนส่วนมากมักจะถูกแขวนป้ายไว้อยู่แล้วว่าโตมาจะต้องเป็นอะไร จะต้องทำอาชีพไหน ซึ่งนั่นก็ทำให้เราเติบโตมากับกรอบจำกัดของป้ายนั้นแทนที่จะได้ค้นหาความฝันจริงๆ ด้วยตัวเอง

กิลเบิร์ตบอกให้เราใช้คำว่า “สงสัย” แทนคำว่า “สร้างสรรค์” เพื่อเอาความกังวลและภาระของการอยากมีความคิดสร้างสรรค์ออกไปค่ะ ปกติเวลาถ้าเราต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ เราจะเริ่มรู้สึกเครียดเพราะมันดูมืออาชีพและยากไป คำว่าสงสัยจะทำให้เราเห็นว่า จริงๆ แล้วเราก็หัวครีเอทีฟนี่นา เนื่องจากทุกความสร้างสรรค์ย่อมเกิดจากความสงสัยอยากรู้ หากเราปล่อยให้ความสงสัยทำงานบ้าง เราก็จะพบว่าเราใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์มากกว่าเมื่อก่อนแน่นอนค่ะ

 

เราไม่ได้อัจฉริยะ แต่เราคือคนอัจฉริยะ

เรื่องวิเศษก็คือกิลเบิร์ตไม่เคยออกไปหาไอเดีย แต่ว่าไอเดียต่างหากที่เข้ามาหาเธอต่างหาก เธอให้เหตุผลที่เชื่อแบบนั้นไว้ 2 ข้อค่ะ ข้อแรกคือเธอรู้สึกว่ามันเป็นอย่างนั้น (...) และข้อสอง มันคือวิธีที่คนส่วนใหญ่เป็นเมื่อปิ๊งไอเดียดีๆ ค่ะ เหมือนพวกนักวิทยาศาสตร์ก็มักจะบอกว่า “สุดท้ายแล้วคำตอบมันก็มาหาฉัน” ทั้งๆ ที่พวกเขาเองต่างหากที่พบคำตอบเพราะความสามารถตัวเอง

สิ่งที่เธอต้องการจะสื่อก็คือไม่มีใครอัจฉริยะตั้งแต่เกิดค่ะ เพียงแค่ทุกคนมีความอัจฉริยะในตัวเอง พอถูกกระตุ้นขึ้นมา เราก็จะเชื่อว่ามันเป็นเรื่องวิเศษนั่นเอง 

 

สร้างบางอย่าง ทำบางอย่าง หรือทำอะไรก็ได้

ถ้าหากเรามีใจครีเอทีฟ มันก็เหมือนกับเราเลี้ยงหมานั่นแหละค่ะ ทำไมน่ะเหรอ? ก็เพราะเวลาเราเลี้ยงหมา เราก็อยากให้มันทำอะไรสักอย่าง หรือไม่มันก็จะหาอะไรสักอย่างหนึ่งทำเอง ซึ่งเราจะต้องไม่ชอบอะไรสักอย่างหนึ่งที่ว่านั่นแน่ๆ ค่ะ อย่างเช่นเวลาเราไปข้างนอกแล้วทิ้งน้องหมาไว้เฉยๆ พอกลับมาเราก็จะพบว่ามันหาอะไรแปลกๆ ทำ ทั้งการกัดที่นอนจนขาดวิ่นหรือรื้อกระดาษทิชชู่ออกมาจนบ้านเละเทะ T^T

ความคิดสร้างสรรค์ก็เช่นกันค่ะ เราจะต้องเริ่มต้นทำอะไรสักอย่างดีกว่าการอยู่เฉยๆ โดยไม่ต้องแคร์ว่าผลลัพธ์จะเป็นยังไง ไม่ต้องแคร์ว่ามันจะเปลี่ยนวิถีชีวิต เปลี่ยนโลก เปลี่ยนตัวเราเองมั้ย ไม่แคร์ว่ามันธรรมดาหรือแหวกแนว แค่เราให้หมาของเราทำอะไรสักอย่าง เท่านั้นเราก็จะมีความสุขขึ้นกว่าตอนให้มันอยู่เฉยๆ แล้วเนอะ ที่สำคัญนิยายของเราก็คืบหน้าด้วยนะ

 


(ขอบคุณรูปภาพ : popsugar.com)

 

เลิกบ่นแล้วตั้งใจทำงาน

เราจะไม่ได้ยินเสียงบ่นจากปากคนที่ตกอยู่ในห้วงความคิดสร้างสรรค์เลยล่ะค่ะ เว้นก็แต่ว่าเขากำลังพยายามมีความคิดสร้างสรรค์

โดยทั่วไป เวลาเจองานหนัก แต่งนิยายแล้วตัน เรามักจะบ่นๆๆ แล้วก็บ่น ยิ่งถ้างานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ก็ยิ่งเครียด ซึ่งรู้มั้ยคะว่าจริงๆ แล้วการบ่นแบบนี้ไม่ได้ช่วยอะไร แต่จะทำให้เรารู้สึกว่ามีภาระเพิ่มขึ้น และสุดท้ายเราก็จะกลัวว่าแรงบันดาลใจจะหายไป

น้องๆ เคยได้ยินมั้ยคะว่าแรงบันดาลใจเกิดขึ้นได้ทุกที่ ฉะนั้น เราควรทำใจให้สงบ มีสมาธิกับตัวเอง ลองหาข้อดีหรือหาความชอบในงานนั้นๆ เราก็จะตั้งใจทำงานมากขึ้น แฮปปี้มากขึ้น แล้วงานที่เราทำก็จะสำเร็จโดยที่ไม่ต้องมาบ่นให้ยืดยาวเลยล่ะ

 

ความผิดหวังไม่ได้ขัดขวางเส้นทาง แต่ความผิดหวังคือเส้นทาง

เคยมั้ยคะ ที่ต้องเลิกทำอะไรสักอย่างเพียงเพราะเคยผิดหวังมาแล้ว พยายามกี่ครั้งต่อกี่ครั้งแต่ก็ยังนก ยิ่งทำก็รู้สึกว่ามันยิ่งแย่และเป็นไปไม่ได้

กิลเบิร์ตบอกว่า เรากำลังเข้าใจผิดอย่างรุนแรงค่ะ ตอนที่เราผิดหวังจากสิ่งที่เรารักเราชอบหรือสิ่งที่เราตั้งใจทำนั้น มันคือช่วงเวลาของการสร้างแรงบันดาลใจที่ดี ถ้าเรานำข้อผิดพลาดมาแก้ไขแล้วเริ่มต้นใหม่ได้ เราก็จะรู้สึกว่ามันง่ายขึ้น สนุกและแฮปปี้กับมัน

จริงๆ แล้วความเฟล ความนก อุปสรรคที่แสนยากลำบากจนเราไม่รู้ว่าจะทำยังไงต่อไปดี มันคือปาฏิหาริย์ที่จะเกิดขึ้นนานๆ ครั้งในตอนที่เราโชคดีมากๆ ถ้าหากเราหวังจะทำงานให้สำเร็จโดยไม่เกิดข้อผิดพลาดเลย เราจะไม่มีทางทำสำเร็จเลยค่ะ

 

ทิ้งจินตนาการเพอร์เฟคต์ออกไป

น้องๆ คงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า บนโลกนี้ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ใช่มั้ยล่ะคะ

กิลเบิร์ตบอกว่า ความสมบูรณ์แบบคือหนทางสู่ความตายของสิ่งดีๆ ทั้งหมด เป็นความตายของความสุข ความสนุก ผลงานที่เยี่ยมยอด ความสมบูรณ์แบบไม่ต่างจากกระบองที่คอยปัดสิ่งดีๆ ทุกอย่างออกไป เธอบอกเสมอว่าคำว่า “เพอร์เฟคต์” และ “ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้” นั้นแตกต่างกันอย่างมากเลยค่ะ ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ หมายถึง ยังมีข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้ดีงามไปเสียทั้งหมด แต่ตรงนี้แหละค่ะที่จะทำให้เราได้พบกับความสุข

 



อลิซาเบธ กิลเบิร์ต
(ขอบคุณรูปภาพจาก : 
Chatelaine.com)

 

เราไม่สามารถกำจัดความกลัวได้ แต่จำไว้ว่าความกลัวมันน่าเบื่อ

ถ้าหากน้องๆ คิดว่าการปราศจากความกลัวคือสิ่งที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นกลัวนก กลัวถูกเท กลัวนิยายไม่มีคนอ่าน บอกเลยค่ะว่านั่นเป็นความคิดที่ผิดอย่างแรง!

เราไม่จำเป็นต้องกำจัดความกลัว เพราะความกลัวคือสิ่งที่ทำให้เรายังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นเราจึงรู้สึกกลัวเวลาเราบอกว่าเราจะไม่กลัว แต่จงอย่าลืมว่า ความกลัวคือสิ่งที่เก่าที่สุด อยู่ลึกที่สุด และบอบบางที่สุด เพราะฉะนั้นความกลัวก็เลยเป็นเรื่องที่น่าเบื่อที่สุดเช่นกัน

เวลาที่เราเริ่มจะรู้สึกกลัวอะไรสักอย่าง กิลเบิร์ตแนะนำให้เราพูดคุยกับมัน ซึ่งมันที่ว่าก็คือใจของเราเองนี่ล่ะค่ะ เราไม่ต้องไปสู้รบกับมันให้สิ้นเปลืองพลังงานเปล่าๆ แค่บอกมันว่า “ฉันแค่จะเขียนบทกวี ยังไม่มีใครตายสักหน่อย” เราก็จะผ่านมันไปได้ด้วยดี

 

อะไรที่เหมือนมากไป ทำให้รู้สึกธรรมดา

กิลเบิร์ตไม่ชอบที่จะทำงานตามแบบใคร เพราะเธอจะรู้สึกกังวลและมันก็เป็นความทะเยอทะยานที่เป็นไปไม่ได้หากจะทำอะไรสักอย่างให้เหมือนกับของเดิมเป๊ะๆ

วิธีสร้างงานที่สมจริงก็คือการทำตามความอยากรู้อยากเห็นของเราเองค่ะ และเชื่อว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจะทำให้เรารู้สึกแบบเดิม ไม่ว่าจะทำอะไร ก็ควรที่จะใส่ความเป็นตัวเราไว้ด้วยนั่นเอง

ในขณะที่คนอื่นทำสิ่งเดียวกันสำเร็จแล้วแต่เรายังไม่เริ่มลงมือเลย เราก็ไม่จำเป็นต้องลนหรือกระวนกระวายไป แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องล่าช้าจนเดดไลน์แล้วก็ยังไม่เสร็จนะคะ แบบนั้นเขาเรียกว่าไร้ความรับผิดชอบ

 

แค่มีเงินอยู่ได้ก็พอ

หลายคนเลยล่ะค่ะที่อยากทำงานสายครีเอทีฟเอย อยากเป็นนักเขียนเอย แต่สุดท้ายก็ไปจมอยู่กับงานที่แทบจะตรงกันข้ามกับสิ่งที่ฝันไว้ หรือพอได้ทำจริงๆ เงินก็น้อย ความมั่นคงก็ต่ำ กิลเบิร์ตบอกให้เราแยก 2 เรื่องนี้ออกจากกันค่ะ

หากเราเลือกที่จะทำงานด้านนี้แล้ว ก็จงนำจิตวิญญาณ ความฝัน ความต้องการของเราออกมาให้มันสมบูรณ์แบบ แล้วค่อยหาวิธีอื่นไว้จ่ายค่าไฟก็ได้ (แต่จนจนไม่มีอะไรกินก็ไม่โอนะ TT)

ตอนที่กิลเบิร์ตเริ่มเขียนนิยายแรกๆ เธอสัญญาว่าจะเป็นนายตัวเอง สุดท้าย พอเธอมีความสุขกับมันโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีรายได้เท่าไร เธอก็พัฒนาความสามารถตัวเองจนกลายเป็นนักเขียนที่โด่งดังมากๆ นี่แหละค่ะ

 

ความอยากรู้อยากเห็นคือหนทางของการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์         

เวลาได้ยินคำว่า “จงทำตามความชอบของตัวเอง” เราจะรู้สึกว่ามันฟังดูคลุมเครือเพราะบางครั้งความชอบก็มาเป็นบางครั้งบางคราว บางครั้งก็เปลี่ยนไปตามอารมณ์ ความชอบก็เลยเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าถึง อย่างที่พี่เขียนไว้ในข้อแรก ความอยากรู้อยากเห็นต่างหากค่ะที่ตรงไปตรงมา จริงใจ และฟังดูเข้าถึงง่ายกว่า

ความชอบผูกมัดเราให้ทำแค่ในสิ่งที่เราคิดว่าเราชอบ อย่างเช่น การเปลี่ยนชื่อ โกนผมทิ้ง หรือไปเนปาลแล้วสร้างสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ซึ่งจริงๆ แล้วเราไม่จำเป็นต้องทำในทุกๆ สัปดาห์ซะหน่อย

แต่ถ้าเป็นความอยากรู้อยากเห็นไม่ได้บังคับให้เราทำทุกอย่าง มันแค่ให้ไอเดียที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ ช่วยเปิดกรอบความคิดให้มากกว่าสิ่งที่เราชอบ และทำให้ชีวิตของเราไม่รู้สึกน่าเบื่ออีกต่อไปค่ะ

 

(ขอบคุณรูปภาพ : popsugar.com)

 

เป็นยังไงกันบ้างคะกับ 10 ข้อสู่การใช้ชีวิตการเป็นครีเอทีฟจากอลิซาเบธ กิลเบิร์ต ที่พี่น้ำผึ้งนำมาฝาก หวังว่าน้องๆ จะนำไปปรับใช้กันแล้วเปลี่ยนมาเป็นคนใหม่ที่ใช้ชีวิตแฮปปี้กว่าเดิม น้องๆ คนไหนที่กำลังท้อก็จะฮึดสู้ต่อไปได้ หรือน้องที่เขียนนิยายก็จะได้ไอเดียดีๆ ไปนะคะ

ก่อนจากกันพี่ก็นำ infographic สรุปสิ่งที่อลิซาเบธ กิลเบิร์ตบอกเราเกี่ยวกับการใช้ชีวิตให้ครีเอทีฟสุดๆ ค่ะ ซึ่งอยู่ด้านล่างเลย อย่าลืมเลื่อนมาอ่านด้วยนะ ส่วนคราวหน้าพี่น้ำผึ้งจะนำเรื่องอะไรมาฝาก อย่าลืมติดตามกันนะคะ ^^

 



(ขอบคุณรูปภาพจาก : http://ideas.ted.com)


 

พี่น้ำผึ้ง :)


ขอบคุณข้อมูลจาก
http://ideas.ted.com/
Deep Sound แสดงความรู้สึก
พี่น้ำผึ้ง
พี่น้ำผึ้ง - Columnist นักเขียนที่ชอบส่งต่อพลังบวกให้ทุกคน

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

17 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
namhom25636-ACT Member 23 เม.ย. 60 15:13 น. 6

เราออกไปหาไอเดียไม่ได้อยู่แล้ว เพราะพ่อแม่ไม่อนุญาติเด็กป.4 ไปหาไอเดียมาแต่งนิยายค่ะ 555(เราป.4)

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Momeller Member 24 เม.ย. 60 15:28 น. 8

เอาล่ะ! เริ่มมีไฟซะแล้ว! ถึงในนิยายจะไม่มีคนอ่าน ไม่มีคนเฟ้บ หรือคอมเม้นก็ตาม รู้สึกมีกำลังใจมากขึ้นกว่าเดิมค่ะ! ขอบคุณพี่น้ำผึ้งที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาค่ะ ได้แนวคิดมาจากคุณอลิซาเบธ กิลเบิร์ต มาเยอะมากๆค่ะ ขอบคุณค่ะ

0
กำลังโหลด
onesight Member 27 เม.ย. 60 23:39 น. 9

พอได้อ่านบทความนี้ มันมาช่วยให้กำลังใจผมมากเลยล่ะครับ ผมเองก็ใช่ว่าจะมีคนมาอ่านมาก อัพไปเกือบจะถึงครึ่งร้อยตอนแล้ว คนอ่านยังไม่ขึ้นหลักหมื่นเหมือนเรื่องอื่นเลย จนรู้สึกว่าผมทำอะไรพลาดรึเปล่า มันไม่ดีเหรอ พออ่านถึงได้รู้ว่าอย่าไปสนใจเรื่องอื่นแค่ทำของตัวเองไปให้ดีที่สุดก็พอ///รูปก่อนสุดท้ายนี่แบบได้ใจมาก

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด