ชวนผ่าสมองนักเขียน นี่แหละคือ ‘สมอง’ ของคุณตอนเขียนนิยาย!


ชวนผ่าสมองนักเขียน นี่แหละคือ 'สมอง' ของคุณตอนเขียนนิยาย!

 

สวัสดีค่ะชาวเด็กดีทุกคน การเขียนนิยายเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความเงียบเพื่อให้มีสมาธิในการเขียนอย่างจริงจัง ตรงข้ามกับการเล่นฟุตบอลที่ต้องเล่นกันเป็นทีม แม้รอบสนามจะเต็มไปด้วยเสียงเชียร์แต่ก็ยังเล่นกันต่อไปได้ เห็นได้ชัดว่าสองกิจกรรมนี้แตกต่างกันอย่างสิิ้นเชิง ดูยังไงก็ไม่น่าเหมือนกันเลยสักนิด แต่ชาวเด็กดีรู้มั้ยคะว่าถ้าเราสามารถมองเข้าไปในหัวของพวกเขาได้ เราอาจเห็นความคล้ายคลึงกันบางอย่างในสมองที่กำลังปั่นป่วนอยู่ ฟังดูน่ามหัศจรรย์ใช่มั้ยล่ะ

นั่นเป็นหนึ่งในความหมายของงายวิจัยชิ้นใหม่ด้านประสาทวิทยาของการเขียนเชิงสร้างสรรค์ (Neuroscience of Creative Writing) ที่นักประสาทวิทยาชาวเยอรมัน นำทีมโดย “ศาสตราจารย์ ดร. มาร์ติน ล็อตเซอ (Martin Lotze)” จาก University of Greifswald ได้จับนักเขียนมือฉมังและนักเขียนมือใหม่จำนวนกว่า 40 คนมาเข้าเครื่องสแกนสมอง fMRI เพื่อติดตามการทำงานของสมองเมื่อพวกเขานั่งลง หรือในกรณีนี้... นอนและเขียนนิยาย จนเกิดเป็นงานวิจัย Neural correlates of verbal creativity: differences in resting-state functional connectivity associated with expertise in creative writing” ที่ตีพิมพ์ลงในเว็บไซต์งานวิจัย Frontiers in Human Neuroscience ในปี 2014

 


(via: freepik.com)

 

เพราะสมองนักเขียนเป็นเรื่องลึกลับ 

ดร.ล็อตเซอได้เปิดเผยกับสำนักงานข่าว The New York Times ถึงผลลัพธ์สุดทึ่งของงานวิจัยชิ้นนี้ว่า การทำงานด้านในสมองของนักเขียนที่ได้รับการฝึกฝนจนเป็นมืออาชีพมีความคล้ายคลึงกันบางอย่างกับผู้ที่มีทักษะที่ซับซ้อนด้านอื่นๆ เช่น เล่นดนตรี, ร้องเพลงหรือกีฬา

แรกเริ่มก่อนทำวิจัย มีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์บางส่วนไม่เห็นด้วยกับการทำวิจัยเรื่องนี้ เพราะคิดว่าเป็นการจาบจ้วงมากเกินไปที่จะเปิดเผยถึงความลึกลับของความคิดสร้างสรรค์หรือแรงบันดาลใจ ขณะที่บางส่วนยกย่องว่านี่คือความก้าวหน้าที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้คนเข้าใจถึงการเขียนและความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ดร.ล็อตเซอมีความสนใจในด้านศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ ในงานวิจัยชิ้นก่อน เขาได้จับนักเปียโนและนักร้องโอเปร่ามาเข้าเครื่องสแกน fMRI เพื่อระบุบริเวณที่มีการใช้งานผิดปกติในสมองขณะที่พวกเขาต้องร้องเพลงหรือเล่นเปียโน ซึ่งเครื่องสแกนเนอร์ที่ใช้นั้นก็คล้ายกับกล้องในยุคศตวรรษที่ 19 นั่นแหละค่ะ คือสามารถถ่ายภาพที่คมชัดได้หากวัตถุยังคงอยู่ ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ดร.ล็อตเซอจึงได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่สามารถพิจารณาความผันผวนที่เกิดจากการหายใจและการเคลื่อนไหวของศีรษะ ด้วยความสนใจในศาสตร์ลึกลับของความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจนี่แหละ ดร.ล็อตเซอและทีมงานจึงตัดสินใจทำวิจัยเกี่ยวกับ “สมองของนักเขียน”

 

เริ่มต้นเจาะสมองนักเขียน 

สำหรับนักเขียนเองก็เช่นกัน เขาพบว่ามีปัญหาบางอย่างที่คล้ายคลึงกับงานวิจัยชิ้นที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่านักเขียนมักเริ่มจากการทำสิ่งเล็กๆ ก่อน เช่นการคิดวางแผนในหัวของพวกเขา (คิดพล็อตนั่นเอง)

อันที่จริงแล้วดร.ล็อตเซอต้องการสแกนสมองของนักเขียนขณะที่กำลังเขียนนิยาย แต่โชคร้ายที่ไม่สามารถนำคอมพิวเตอร์และคีย์บอร์ดเข้าไปได้ เนื่องจากสนามแม่เหล็กที่สร้างขึ้นโดยเครื่องสแกนเนอร์จะเหวี่ยงมันไปข้ามห้อง มันอันตรายมาก

ดังนั้นดร.ล็อตเซอร์จึงจบลงด้วยการสร้างโต๊ะเขียนหนังสือ วางกระดาษแผ่นหนึ่งที่ถูกตัดเป็นรูปลิ่มไว้บนนั้น ขณะที่อาสาสมัครของเขาเอนตัวลง พวกเขาจะสามารถวางแขนที่ใช้เขียนไว้บนโต๊ะและลงมือเขียนลวกๆ บนหน้ากระดาษนั้น ระบบกระจกช่วยให้พวกเขาเห็นสิ่งที่ตัวเองกำลังเขียนขึ้นแม้ว่าหัวของพวกเขาจะยังคงติดอยู่ภายในเครื่องสแกนเนอร์ก็ตาม

 


เมื่อนักเขียนต้องเข้าเครื่องสแกนสมอง ภาพจากการทดลองจริง 
(via: nytimes.com)


 

เกิดอะไรขึ้นกับสมองนักเขียนมือใหม่!? 

ดร.ล็อตเซอขอร้องให้อาสาสมัครจำนวน 28 คนคัดลอกบางข้อความ รวมทั้งให้อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองที่เกิดขึ้นระหว่างการเขียน จากนั้นเขาได้ให้อาสาสมัครแต่งเรื่องสั้นต่อจากเนื้อเรื่องเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งบรรดาอาสาสมัครนักเขียนทั้งหลายต่างพากันระดมความคิดสักพักก่อนลงมือเขียนอย่างสร้างสรรค์เป็นเวลาสองนาที

นักวิจัยพบว่าพื้นที่บางส่วนของสมองเริ่มมีบทบาทเฉพาะตอนที่พวกเขากำลังใช้ความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น ขณะที่สมองจะหยุดนิ่งเมื่อตอนที่พวกเขากำลังคัดลอกข้อความ นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า พื้นที่ของสมองบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลเองก็ได้ถูกใช้งานในตอนระดมความคิดด้วยเช่นกัน มีความเป็นไปได้ว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะพวกเขาได้เห็นฉากที่ต้องการเขียน

ยิ่งไปกว่านั้นในตอนที่นักเขียนลงมือจดเรื่องราวของพวกเขาอย่างรวดเร็วลงในกระดาษ พื้นที่ส่วนอื่นๆ ในสมองเริ่มมีบทบาทและถูกใช้ ดร.ล็อตเซอสงสัยว่าสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) กำลังดึงข้อมูลที่แท้จริง (Factual Information) ที่อาสาสมัครสามารถนำมาใช้ได้อยู่

ขณะที่บริเวณที่ใกล้กับสมองส่วนหน้า หรือส่วนที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นพื้นที่สำคัญต่อการเก็บข้อมูลหลายอย่างพร้อมๆ กันเองก็เริ่มมีบทบาทด้วย การคิดคาแร็กเตอร์และพล็อตได้น่าจะมาจากคำสั่งของสมองส่วนนี้

 


การเชื่อมต่อของพื้นที่แต่ละส่วนในสมองของอาสาสมัครแต่ละคน
(via: frontiersin.org)

 

อย่างไรก็ตามงานวิจัยของดร.ล็อตเซอยังไม่สมบูรณ์เนื่องจากขาดสมองของนักเขียนที่มากประสบการณ์ ดังนั้นเพื่อดูความแตกต่างของการตอบสนองของสมองนักเขียนทั้งสองแบบ ดร.ล็อตเซอและทีมวิจัยจึงได้บุกไปยังมหาวิทยาลัยที่ขึ้นชื่อเรื่องหลักสูตรการเขียนเชิงสร้างสรรค์อย่าง “University of Hildesheim” โดยนักวิจัยได้เลือกนักเขียนจำนวน 20 คน (อายุเฉลี่ย 25 ปี) และนำพวกเขาไปทดสอบเพื่อเปรียบเทียบผลกับเหล่ามือใหม่

 

เกิดอะไรขึ้นกับสมองนักเขียนมือฉมัง!?

ตามที่ระบุในงานวิจัยชื่อProfessional training in creative writing is associated with enhanced fronto-striatal activity in a literary text continuation taskที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร  NeuroImage พบว่า สมองของนักเขียนที่เชี่ยวชาญจะมีการทำงานที่แตกต่างกันออกไป แม้แต่ตอนที่พวกเขาคิดว่าจะลงมือจับปากกาและเขียนบนกระดาษแล้ว

ในการทดลองของดร.ล็อตเซอพบว่า สมองของนักเขียนมากประสบการณ์กับสมองของนักเขียนมือใหม่ต่างกัน โดยในตอนที่ระดมความคิด นักเขียนมือใหม่จะใช้คอร์เทกซ์สายตา (visual cortex) ในสมองส่วนกลีบท้ายทอยที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น ขณะที่นักเขียนผู้เชี่ยวชาญจะใช้สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพูด

ซึ่งดร.ล็อตเซอตั้งข้อสันนิษฐานว่าทั้งสองกลุ่มกำลังใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกัน มีความเป็นไปได้ว่าเหล่ามือใหม่มองเรื่องราวของพวกเขาเหมือนกับเป็นภาพยนตร์ที่โลดแล่นอยู่ในหัว ขณะที่นักเขียนมือฉมังกำลังเล่าเรื่องด้วยเสียงที่อยู่ภายใน

 


ความแตกต่างของสมองนักเขียนมือโปรกับนักเขียนมือใหม่
(via: frontiersin.org)

 

เมื่อทั้งสองกลุ่มเริ่มถ่ายทอดเรื่องราวออกมาเป็นตัวหนังสือ ความแตกต่างก็ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน ลึกลงไปในสมองของนักเขียนมือฉมัง พื้นที่ของสมองส่วนที่เรียกว่า “นิวเคลียสมีหาง (Caudate Nucleus)” ที่อยู่ในปมประสาทฐานกำลังมีบทบาท ขณะที่นิวเคลียสมีหางของเหล่านักเขียนมือใหม่กับเงียบเชียบ

ดร.ล็อตเซออธิบายว่า นิวเคลียสมีหางมีบทบาทสำคัญสำหรับทักษะที่ต้องใช้การปฏิบัติ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ เช่น เกมกระดาน เมื่อเราเริ่มเรียนรู้ทักษะครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นเล่นเปียโนหรือเล่นฟุตบอล เราต้องใช้ความพยายามอย่างมาก แต่ด้วยการฝึกฝน มันจึงทำให้การทำกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้กลายเป็นเรื่องง่ายและสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการเขียนเชิงสร้างสรรค์เป็นทักษะที่เราสามารถฝึกฝนได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกับการเล่นกีฬา

 

เราได้อะไรจากการทดลองนี้?

ในฐานะนักเขียน ถ้าหากต้องการสร้างสรรค์นิยาย ให้ลองคิดว่าเราจะเล่าเรื่องออกมายังไงมากกว่าจินตนาการถึงตัวละครและการกระทำของพวกเขาอยู่ในหัว รวมทั้ง “การเขียนบ่อยๆ” อาจเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าการเขียนเชิงสร้างสรรค์ (หรือการเขียนนิยาย) เป็นทักษะที่สมองของเราสามารถเรียนรู้ได้เช่นเดียวกับกิจกรรมอื่นๆ ดังนั้นเราก็ควรเขียนมันบ่อยๆ ยิ่งฝึกฝนมากเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น
 

แล้วน้องๆ คิดว่ายังไงบ้างคะ? มีแนวโน้มจะเป็นคนประเภทไหนกันเอ่ย จินตนาการฉากต่างๆ ในหัว หรือพูดถึงเรื่องราวของเราอยู่ในหัว อย่าลืมแชร์ให้พี่น้ำผึ้งและเพื่อนๆ ฟังด้วยนะคะ ส่วนใครที่อ่านงานวิจัยที่พี่น้ำผึ้งเรียบเรียงมาแล้วและอยากหยิบสิ่งที่ได้รับจากงานวิจัยไปใช้ ก็สามารถนำไปใช้ได้เลยไม่ว่ากัน ดีไม่ดีเราอาจกลายเป็นนักเขียนมือฉมังก็ได้นะจ๊ะ ^o^

 

 

พี่น้ำผึ้ง :)

ขอบคุณข้อมูลจาก

Lotze, M., Erhard, K., Neumann, N., Eickhoff, S. and Langner, R. (2014). Neural correlates of verbal creativity: differences in resting-state functional connectivity associated with expertise in creative writing. Frontiers in Human Neuroscience, 8.

https://www.nytimes.com/2014/06/19/science/researching-the-brain-of-writers.html
th.wikipedia.org/wiki/นิวเคลียสมีหาง

Deep Sound แสดงความรู้สึก

พี่น้ำผึ้ง
พี่น้ำผึ้ง - Columnist นักเขียนที่ชอบส่งต่อพลังบวกให้ทุกคน

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

SailorVfan / หลงอักษร Member 30 เม.ย. 61 18:42 น. 2

“เหล่ามือใหม่มองเรื่องราวของพวกเขาเหมือนกับเป็นภาพยนตร์ที่โลดแล่นอยู่ในหัว ขณะที่นักเขียนมือฉมังกำลังเล่าเรื่องด้วยเสียงที่อยู่ภายใน”

“ให้ลองคิดว่าเราจะเล่าเรื่องออกมายังไงมากกว่าจินตนาการถึงตัวละครและการกระทำของพวกเขาอยู่ในหัว”


คือมันใช่เลยค่ะ เพราะการเขียนสำหรับเรา เราคืดว่ามันคือการ “ถ่ายทอดเรื่องราว” เราเห็นเรื่องราวในหัว แล้วก็ต้องเปลี่ยนเป็นการเล่าจากสมองออกมา แทนที่จะส่งผ่านด้วยเสียง เปลี่ยนเป็นส่งผ่านปลายปากกา...เป็นบทความที่ดีและน่าสนใจมากค่ะ ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ นะคะ :))

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
♣ M E E . R ♣ Member 1 พ.ค. 61 17:52 น. 3

ขำคำแปลของ Visual Cortex กับ Caudate Nucleus

(ขำจริงๆ นะคะ และไม่ได้มีเจตนาตำหนิใดๆ)


Visual Cortex เป็น Brodmann's Area 17

เป็นเปลือกสมองของสมองใหญ่ (Cerebrum)

มีตำแหน่งอยู่ด้านข้างทั้งซ้ายและขวา ใต้กระดูก Temporal

ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น


ถ้าจะแปล Visual Cortex เป็นไทยให้เข้าใจง่าย น่าจะแปลว่า

เปลือกสมองส่วนของการมองเห็น หรือทับศัพท์ไปเลยก็ได้


สำหรับเด็กสายวิทยาศาสตร์ ศัพท์พวกนี้ถือเป็นศัพท์เฉพาะ

เวลาเขียนจะทับศัพท์ไปเลย

เพราะยิ่งแปล ก็จะยิ่งเข้าใจยาก

1
กำลังโหลด
คนหล่อมืออาชีพ Member 3 พ.ค. 61 10:54 น. 6

ขอบทความเกี่ยวกับพัฒนาการของนักเขียนได้ไหมครับ เปลี่ยนแปลงไปยังไง ตั้งแต่เรื่องแรกถึงปัจจุบัน เช่นด้านอารมณ์ ความคิด ตรรกะ ไรงี้

0
กำลังโหลด

12 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
SailorVfan / หลงอักษร Member 30 เม.ย. 61 18:42 น. 2

“เหล่ามือใหม่มองเรื่องราวของพวกเขาเหมือนกับเป็นภาพยนตร์ที่โลดแล่นอยู่ในหัว ขณะที่นักเขียนมือฉมังกำลังเล่าเรื่องด้วยเสียงที่อยู่ภายใน”

“ให้ลองคิดว่าเราจะเล่าเรื่องออกมายังไงมากกว่าจินตนาการถึงตัวละครและการกระทำของพวกเขาอยู่ในหัว”


คือมันใช่เลยค่ะ เพราะการเขียนสำหรับเรา เราคืดว่ามันคือการ “ถ่ายทอดเรื่องราว” เราเห็นเรื่องราวในหัว แล้วก็ต้องเปลี่ยนเป็นการเล่าจากสมองออกมา แทนที่จะส่งผ่านด้วยเสียง เปลี่ยนเป็นส่งผ่านปลายปากกา...เป็นบทความที่ดีและน่าสนใจมากค่ะ ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ นะคะ :))

1
กำลังโหลด
♣ M E E . R ♣ Member 1 พ.ค. 61 17:52 น. 3

ขำคำแปลของ Visual Cortex กับ Caudate Nucleus

(ขำจริงๆ นะคะ และไม่ได้มีเจตนาตำหนิใดๆ)


Visual Cortex เป็น Brodmann's Area 17

เป็นเปลือกสมองของสมองใหญ่ (Cerebrum)

มีตำแหน่งอยู่ด้านข้างทั้งซ้ายและขวา ใต้กระดูก Temporal

ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น


ถ้าจะแปล Visual Cortex เป็นไทยให้เข้าใจง่าย น่าจะแปลว่า

เปลือกสมองส่วนของการมองเห็น หรือทับศัพท์ไปเลยก็ได้


สำหรับเด็กสายวิทยาศาสตร์ ศัพท์พวกนี้ถือเป็นศัพท์เฉพาะ

เวลาเขียนจะทับศัพท์ไปเลย

เพราะยิ่งแปล ก็จะยิ่งเข้าใจยาก

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
คนหล่อมืออาชีพ Member 3 พ.ค. 61 10:49 น. 5

เล่าเรื่องด้วยเสียงที่อยู่ภายใน ใช่เลย แต่ในหลายๆ ครั้ง มันเหมือนผสมกับหนังตัดฉากด้วยครับ ผมไม่รู้นะว่าเมื่อไหร่มันจะดีกว่านี้ ขนาดนิยายเรื่องที่สี่แล้ว มันยังเหมือนกับเรื่องที่สามอยู่เลย


สมองคนเรานี่แปลกจริงๆ

0
กำลังโหลด
คนหล่อมืออาชีพ Member 3 พ.ค. 61 10:54 น. 6

ขอบทความเกี่ยวกับพัฒนาการของนักเขียนได้ไหมครับ เปลี่ยนแปลงไปยังไง ตั้งแต่เรื่องแรกถึงปัจจุบัน เช่นด้านอารมณ์ ความคิด ตรรกะ ไรงี้

0
กำลังโหลด
J'Sun Member 12 พ.ค. 61 03:03 น. 7

เหมือนโดนนักวิจัยผ่าหัดเพราะตอนเขียนนิยายเราเหมือนคิดเป็นภาพเคลื่อนไหว ก่อนจะเขียน ขอบคุณกระทู้ดีๆแบบนี้นะคะ

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
koosakul Member 7 มิ.ย. 64 12:46 น. 9

ผมเป็นทั้งมือใหม่+กับมือฉมังล่ะสิ เพราะ“เหล่ามือใหม่มองเรื่องราวของพวกเขาเหมือนกับเป็นภาพยนตร์ที่โลดแล่นอยู่ในหัว ขณะที่นักเขียนมือฉมังกำลังเล่าเรื่องด้วยเสียงที่อยู่ภายใน”แต่ผมเป็นทั้งสองอย่างเลย

0
กำลังโหลด
LaLuna Howsand Member 30 มิ.ย. 64 21:44 น. 10

เหมือนเคยเจอในบทความอื่นมาก่อนนะคะตรงที่ว่านักเขียนมือใหม่เล่าเรื่องแบบนึกเป็นภาพ ขณะที่นักเขียนมืออาชีพเล่าเรื่องแบบนึกเป็นเสียงตัวละคร

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด