Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ToP 5 หมอลำยอดฮิต ติดชาร์จสุดปัง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

อันดับที่ 1 หมอลำคณะประถมบันเทิงศิลป์

หมอลำคณะประถม บันเทิงศิลป์ สุดยอดหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น ที่วงการหมอลำให้ฉายาว่า “หมอลำหมายเลขหนึ่ง” ซึ่งหมอลำคณะประถม บันเทิงศิลป์ ก่อตั้งมาแล้ว 62 ปี เพื่อสร้าผลงานการแสดงรับใช้ แฟน ๆ ทั่วทุกจังหวัดในภาคอีสาน รวมถึงในหลาย ๆ จังหวัดในภาคอื่น ๆ ประวัติของหมอคณะประถม บันเทิงศิลป์จะเป็นมายังมาดูกัน







หมอลำคณะประถม บันเทิงศิลป์ ก่อตั้งโดย คุณแม่บุญถม นามวันทา เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2500 ใช้ชื่อวงในตอนแรกว่า บุญถม บันเทิงศิลป์ คุณแม่บุญถมได้แต่งงาน กับคุณพ่อประพันธ์ สิมเสน จึงเป็นที่มาของชื่อคณะ ประถม บันเทิงศิลป์ โดยนายกสมาคมหมอลำในสมัยนั้นชื่อ นายคำดี สาระผล ว่าชื่อบุญถม ไม่เพราะ จึงเปลี่ยนให้โดยให้ยึดเอาชื่อคุณพ่อประพันธ์ และ คุณแม่บุญถม เป็นหลัก จึงเป็นชื่อคณะ ประถม บันเทิงศิลป์ มาจนถึงปัจจุบัน ผลงานที่สร้างชื่อให้กับ วงหมอลำประถม บันเทิงศิลป์

ในสมัยนั้นมีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น จำปาสี่ต้น ท้าวแบ้ ซึ่งออกอากาศทางวิทยุระบบเอเอ็ม ลีลาวดี กามนิตวาสิฐี หญิงสามผัว เจ้าหัวสามโบสถ์ มหากฐิน และกำไลมาศ และ ผลงานที่สร้างชื่อให้ กับหมอลำคณะประถม บันเทิงศิลป์ คือ เรื่อง ลีลาวดี พ.ศ.2533
คุณแม่บุญถม นามวันทา ได้เสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิต สูงเส้นเลือดในสมองแตก และก็ทำให้ ดาบส.หรือ นายสันติ สิมเสน ลูกชายของคุณแม่บุญถม นามวันทา จึงได้นำวงเริ่มออกงานแทนคุณแม่บุญถม นามวันทา ในขณะที่ศพคุณแม่บุญถมยังอยู่ที่บ้าน และได้ประคับประคองวงประถม บันเทิงศิลป์ ไปแสดงจนสิ้นสุดฤดูกาลแสดงของปีนั้น ก่อนที่ดาบส.จะทำหน้าที่หัวหน้าวงแทนคุณแม่บุญถม นามวันทา ดาบส.ก็ได้ช่วยงานในวงมามากพอสมควร เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี เรียนลำ และ เคยแสดงหมอลำโดยรับบทเป็นตัวโกงมาก่อนทำให้ดาบส.เป็นที่ยอมรับของสมาชิกในคณะทุกคน และ เมื่อพ.ศ.2530 ดาบส.ได้แต่งงานกับ นางสาววนิดา สุนทรวิศิษฐ์กุล หรือ แม่อิ๋ว จึงได้ช่วยกันพัฒนาวงหมอลำคณะประถม บันเทิงศิลป์ มาจนถึงปัจจุบัน


โดยการนำของ ดาบส.สันติ บุญถม ได้มีการพัฒนาจากเดิมมาก ไม่ว่าจะเป็น ระบบไฟ แสง สี เสียง และ การนำเสนอรูปแบบการแสดงใหม่ ๆ บวกกับ เทคนิคต่าง ๆ ทำให้วงหมอลำคณะประถม บันเทิงศิลป์ เป็นที่ยอมรับของแฟน ๆ มาตลอด ซึ่งสำนักงานบ้านพักตั้งอยู่ที่ บ้านผือ ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ซึ่งแต่ล่ะฤดูกาลจะเดินสายรับใช้แฟนเพลงทั้งในจังหวัดขอนแก่น จังหวัดใกล้เคียงทั่วภาคอีสาน รวมถึงในกรุงเทพมหานคร มีคิวงานในแต่ล่ะฤดูกาล มากกว่า 150 – 180 คิวงาน ต่อปี

ฤดูกาลแสดงปี 2562-2563 วงหมอลำคณะประถม บันเทิงศิลป์ เสนอนิทานหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น ในเรื่อง “บุญนำ กรรมไล่” ซึ่งนำแสดงโดย หัวหน้าน้อย, นางเอกเนตรนภา พยาแล, นางเอกเหมียว ปริญญานุช, พระเอกเบนซ์ มารุต, นางเอกสาวยูริ มุทิตา, นางเอกสาวหมิว กนกวรรณ, นางเอกติ๋ม กุสุมา , พระเอกเจมส์บอล อธิณัณ, พระเอกเจมส์บอล ธนกิจ, นางเอกสาวน้ำเพชร จันทร์เจ้า และ นางเอกสาวแต้ว สุจิตรา ฯลฯ


อันดับที่ 2 หมอลำคณะเสียงอีสาน
คณะเสียงอิสานเริ่มต้นจากวงดนตรีขนาดเล็กจากนั้นได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของการแสดงเพื่อยกระดับให้กับวงการการแสดงหมอลํา จากอดีตจนถึงปัจจุบันวัยรุ่นจะมีบทบาทในการชมการแสดงหมอลํามากขึ้น ด้วยสถานการณ์ดังกล่าวทําให้คณะเสียงอิสานได้มีการพัฒนาการแสดงอยู่เสมอ สอดคล้องกับวันชัย ตันติ
วิทยาพิทักษ์ (อ้างถึงในสุริยา สมุทคุปติ์, 2544, น.27) ปัจจัยที่ทําให้คณะหมอลําสามารถครองใจคนทั่วประเทศ คือ การประยุกต์ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบัน เริ่มจากการใช้คําร้องภาษาไทยแรกเข้าไปในเนื้อเพลงอีสาน ควบคู่กับการแทรกทํานองลูกทุ่งสลับกับจังหวะหมอลํา และการใช้เครื่องดนตรีสมันใหม่ มีหางเครื่องแบบดนตรีลูกทุ่งประกอบการแสดง นอกจากนั้นแล้ว ความมีเสน่ห์ของการแสดงหมอลํา คือจังหวะที่สนุกสนานและระดับเสียงแคนที่สามารถประยุกต์เข้ากับเครื่องดนตรีสมัยใหม่
ได้เป็นอย่างดี ก็ถือเป็นพื้นฐานของหมอลําที่ส่งผลให้คณะหมอลําโด่งดังได้รับความนิยมทั่วประเทศ

อันดับที่ 3 หมอลำคณะระเบียบวาทะศิลป์
วงระเบียบวาทะศิลป์ก่อตั้งขึ้นโดย “คุณพ่อระเบียบ พลล้ำ” และ “คุณแม่ดวงจันทร์ พลล้ำ” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 โดยคุณพ่อระเบียบนั้นริเริ่มก่อตั้งคณะหมอลำของตัวเองขึ้นมา ผ่านการศึกษาเรียนรู้ศิลปะหมอลำจาก “แม่แซง แสงอรุณ” ผู้เป็นเจ้าของวงหมอลำพื้นบ้าน

ในช่วงแรกของการก่อตั้งวงนั้นมีสมาชิกเพียง 4 คนเท่านั้น ซึ่งคุณพ่อระเบียบก็รับหน้าที่เป็นพระเอกด้วยตัวเอง ส่วนภรรยาอย่างคุณแม่ดวงจันทร์กับรับบทนางเอกคู่กัน และทั้งวงมีเครื่องดนตรีเพียง 2 ชิน คือ กลองยาว กับ แคน แต่จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ วงระเบียบวาทะศิลป์ก็สามารถพุ่งทะยานมาเป็นคณะหมอลำอันดับหนึ่งของภาคอีสานได้

ปัจจุบันบ้านพักสำนักงานวงระเบียบวาทะศิลป์ตั้งอยู่ที่ บ้านสาวะถี ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และหลังจากที่คุณพ่อระเบียบ พลล้ำ เสียชีวิตในวัย 76 ปี เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 ด้วยอาการติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือด โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2548 วงระเบียบวาทะศิลป์ก็ได้สูญเสียบุคคลสำคัญผู้ร่วมก่อตั้งคณะหมอลำอย่างคุณแม่ระเบียบไป ด้วยวัยเพียง 67 ปี




อันดับที่ 4 หมอลำคณะวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์ ศิลปินภูไท

ดิมหมอลำ วีระพงษ์ วงศ์ศิลป์ ประกอบอาชีพเปิดร้านตัดผม ในชื่อร้าน มาร์คบาร์เบอร์ หมอลำ วีระพงษ์ วงศ์ศิลป์ให้ความสนใจเรื่องการร้องการลำ ความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก ๆ อยากมีวงเป็นของตนเอง อยากเป็นหมอลำ อยากมีคนรู้จักมากขึ้น โดยได้รับการถ่ายทอดจากอาจารย์ทันใจหวาน ซึ่งเป็นผู้ฝึกสอนการลำและการฟ้อนให้ อีกทั้งตนเองมีพรสวรรค์ในด้านนี้จึงเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว

เริ่มอาชีพหมอลำอย่างเต็มตัวตอนนั้นเพียงอายุ 21 ปี ในปี พ.ศ. 2528 เริ่มไปเป็นศิลปินหมอลำกับหมอลำคณะซุปเปอร์สารคาม หมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองกาฬสินธุ์สารคาม เป็นหมอลำที่มีชื่อเสียงในจังหวัดมหาสารคาม และได้รับบทพระเอก ซึ่งมีฉายาว่า รุ่งตะวัน แดนภูไท เมื่อปี พ.ศ. 2530 ย้ายมาสังกัดกับหมอลำคณะซุปเปอร์มหากาฬ  หมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองกาฬสินธุ์สารคาม คนรู้จักในฉายาว่า บุญมา ฟ้าสนั่น ต่อมาปี พ.ศ. 2532 ย้ายมาอยู่กับหมอลำคณะฟ้าสีคราม เป็นหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองกาฬสินธุ์สารคาม ที่โด่งดังมากในยุคนั้นออกเดินสายลำในหลายจังหวัดในภาคอีสาน สังกัดอยู่กับวงนี้นานมาก ประมาณ 19 ปีกว่า รับบทพระเอก และต่อมารับบทพ่อพญา แฟนหมอลำรู้จักในนามพ่อพญา วีระพงษ์ แสงยศ ก่อนที่จะตัดสินใจมาตั้งวงเอง เมื่อปี พ.ศ. 2547 ตั้งวงดนตรีหมอลำพื้นบ้าน คณะวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์ ในชื่อ ศิลปินภูไท

อันดับที่ 5 หมอลำคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฏร์

หมอลำคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ก่อกำเนิดขึ้นและยืนหยัดอยู่ได้ เพราะเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ จากพ่อครูอินตา บุตรทา บรมครูหมอลำผู้ก่อกำเนิดทำนองลำพื้นสังวาสอินตา ซึ่งเป็นทำนองลำพื้นขอนแก่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นวงหมอลำที่มีชื่อเสียงโดยเฉพาะการแสดงลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น ซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างแท้จริง นอกจากนี้ หมอลำคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ยังเปรียบเสมือนโรงเรียนสอนหมอลำที่ถ่ายทอดการแสดงศิลปะอีสานที่นับวันจะถูกลืมเลือนจากวัฒนธรรมหมอลำให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการจะมาเป็นศิลปินหมอลำ ทั้งพระเอก นางเอก นักร้อง นักแสดง ตลก หรือแดนเซอร์ โดยทำมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จนได้รับการแต่งตั้งเป็นศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมหมอลำอีสาน ประจำจังหวัดขอนแก่น จากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น

ตลอดชีวิตของ นายอินตา บุตรทา ได้สร้างและวางรากฐานการแสดงลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่นแบบดั้งเดิมที่เรียกว่า ลำพื้นสังวาสอินตา ให้แก่วงหมอลำคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง แม้ท่านถึงแก่กรรมไปแล้ว แต่คุณูปการในการสร้างศิลปินหมอลำในรุ่นหลังยังคงสืบต่อและสร้างสรรค์จนเกิดคณะหมอลำที่มีชื่อเสียงขึ้นมาอีกมากมาย นายอินตา บุตรทา จึงสมควรได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นอมรศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำเรื่องต่อกลอน) พุทธศักราช ๒๕๖๒ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่ครอบครัวสืบไป

แสดงความคิดเห็น