Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

บทความวิชาการเรื่อง ภาวะโลกร้อน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ภาวะโลกร้อน
(ผู้เรียบเรียง : นายเพิ่มศักดิ์  บำรุงโลก)
     นับวันความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง สภาพสภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้น  ถึงแม้ว่าเราจะหยุดผลิตก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกโดยสิ้นเชิงตั้งแต่บัดนี้  เพราะโลกเปรียบเสมือนเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีกลไกเล็กๆจำนวนมากทำงานประสานกัน  การตอบสนองที่มีการกระตุ้นต่างๆจะต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับเข้าสู่สภาวะสมดุลและแน่นอนว่า  สภาวะสมดุลอันใหม่ที่จะเกิดขึ้นย่อมแตกต่างจากสภาวะปัจจุบันมาก  แต่เราก็ยังสามารถบรรเทาผลอันร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  เพื่อให้ความรุนแรงลดลงอยู่ในระดับที่พอจะรับมือได้และอาจจะชะลอปรากฏการณ์โลกร้อนให้ช้าลง  กินเวลานานขึ้น  สิ่งที่เราพอจะทำได้ในตอนนี้  ก็คือ  พยายามลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกลง  และเนื่องจากเราทราบกันดีว่าปัญหาดังกล่าวมาจากการใช้กระบวนการใช้พลังงานที่ฟุ่มเฟือย  การประหยัดพลังงานจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการลดอัตราการเกิดสภาวะโลกร้อนไปในตัว
       จากภัยพิบัติและความเปลี่ยนแปลงแปรปรวนต่างๆ ทำให้มนุษย์ต้องตื่นตัวและทำการศึกษาค้นคว้าหาปัจจัยสาเหตุของเหตุการณ์อย่างเร่งด่วน  ซึ่งปรากฏการณ์ต่างๆทั้งหลายเหล่านั้นเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่างๆจากโรงงานอุตสาหกรรม  ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น  ซึ่งนั่นเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า  “สภาวะเรือนกระจก”  จากข้อมูลที่ศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญและวิเคราะห์หลักฐานที่ปรากฏ  พอจะสรุปได้ว่า สภาวะเรือนกระจก คือ ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก  โดยยอมให้รังสีคลื่นสั้นผ่านมายังผิวโลกได้ แต่กลับดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้  จากนั้นจึงคลายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายในชั้นบรรยากาศและพื้นผิวโลก  โดยปกติบรรยากาศจะทำหน้าที่เสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิและเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก  แต่ในปัจจุบันมีก๊าซบางชนิดสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศมากเกินสมดุล  ก๊าซเหล่านี้สามารถดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดและคายพลังงานความร้อนได้ดี พื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศจึงมีอุณหภูมิสูงขึ้น  ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศและสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างมาก  ในภาวะปกติ  ชั้นบรรยากาศของโลกจะประกอบด้วย  โอโซน  ไอน้ำ  และก๊าซชนิดต่างๆ  ซึ่งทำหน้าที่กรองรังสีคลื่นสั้นบางชนิดให้ผ่านมากระทบพื้นผิวโลกในปริมาณที่พอเหมาะ  รังสีคลื่นสั้นที่กระทบพื้นผิวโลกนี้จะสะท้อนกลับออกนอกชั้นบรรยากาศและมีบางส่วนที่เหลืออยู่ที่พื้นผิวโลก  หลังจากนั้นก็จะคายพลังงานออกมาในรูปรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดแผ่กระจายขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศและแผ่กระจายออกนอกชั้นบรรยากาศไปส่วนหนึ่ง  ทำให้โลกสามารถรักษาสภาพสมดุลทางอุณหภูมิไว้ได้  และส่งผลให้วัฏจักรของน้ำ  อากาศ  และฤดูกาลต่างๆดำเนินไปอย่างสมดุล  โลกจึงเปรียบเสมือนเรือนปลูกพืชขนาดใหญ่ที่มีไอน้ำและก๊าซต่างๆในชั้นบรรยากาศเป็นเสมือนกรอบกระจกที่คอยควบคุมอุณหภูมิและวัฏจักรต่างๆให้เป็นไปอย่างสมดุล
       แต่ในปัจจุบัน  ชั้นบรรยากาศของโลกมีปริมาณก๊าซบางชนิดมากเกินสมดุลของธรรมชาติ  อันเป็นผลมาจากฝีมือมนุษย์ เช่น  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO )   ก๊าซมีเทน  (CH )  ก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอน  (CFCs)  และก๊าซไนตรัสออกไซด์  (N O) เป็นต้น  ก๊าซเหล่านี้มีลักษณะพิเศษในการดูดกลืนและคายรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดได้ดีมาก  ดังนั้น  เมื่อพื้นผิวโลกคายรังสีอินฟราเรดขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ  ก๊าซเหล่านี้จะดูดกลืนรังสีอินฟราเรดเอาไว้  ต่อจากนั้นก็จะคลายความร้อนสะสมอยู่บริเวณพื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น  พื้นผิวโลกจึงมีอุณหภูมิสูงขึ้น  ก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะนี้ เรียกว่าก๊าซเรือนกระจก  (Greenhouse  Gases)  นอกจากก๊าซเรือนกระจกจะทำให้อุณหภูมิของพื้นผิวโลกร้อนขึ้นแล้ว  ยังส่งผลกระทบทางอ้อม  กล่าวคือ  จะทำปฏิกิริยาเคมีกับก๊าซอื่นๆจนเกิดก๊าซเรือนกระจกชนิดใหม่ขึ้นมา  หรือก๊าซเรือนกระจกบางชนิดอาจรวมตัวกับโอโซน  ทำให้โอโซนในชั้นบรรยากาศลดน้อยลง  ส่งผลให้รังสีคลื่นสั้นที่ส่องผ่านชั้นโอโซนลงมายังพื้นผิวโลกได้มากยิ่งขึ้น  รวมทั้งปล่อยรังสีที่ทำอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตส่องผ่านลงมาทำอันตรายกับสิ่งมีชีวิตบนโลก  ก๊าซเรือนกระจกนั้นมีหลายชนิด  แต่ละชนิดจะมีแหล่งกำเนิดและที่มาที่แตกต่างกัน  ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
       1)  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  (CO )  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศมีทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและฝีมือมนุษย์  กิจกรรมของมนุษย์หลายประการทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนได
ออกไซด์ขึ้น  เช่น  การเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดไม้ทำลายป่าที่มีมากในทวีปเอเชีย ซึ่งนับเป็นตัวการสำคัญที่สุดที่ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ  ทั้งนี้  เนื่องจากต้นไม้และป่าไม้มีคุณสมบัติที่ดี  คือ สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนได
ออกไซด์ไว้ก่อนที่จะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ  ดังนั้น เมื่อพื้นที่ป่าลดน้อยลง ปริมาณก๊าซคาร์บอนได
ออกไซด์จึงขึ้นไปสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศได้มากขึ้น
       2) ก๊าซมีเทน  (CH )  แหล่งกำเนิดของก๊าซมีเทนมีทั้งในธรรมชาติและจากกิจกรรมของมนุษย์  เช่น  จากแหล่งนาข้าว  จากการย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน  น้ำมัน  และก๊าซธรรมชาติ  โดยเฉพาะการเผาไหม้ที่เกิดจากธรรมชาติ นอกจากนี้  การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆยังสามารถทำให้เกิดก๊าซมีเทนในบรรยากาศสูงถึงร้อยละ  20  ของก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศทั้งหมด
       พื้นที่การเกษตรประเภทนาข้าวของประเทศต่างๆในทวีปเอเชียและโอเชียเนียมีการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณมาก  และมีปริมาณแตกต่างกันในแต่ละบริเวณ  ขึ้นกับชนิดและคุณภาพของดินในแต่ละพื้นที่  แม้ว่าการปลดปล่อยก๊าซมีเทนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจะมีมากกว่ากรณีของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  แต่ก๊าซมีเทนมีอายุสะสมเฉลี่ยประมาณ  11  ปี  นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับคาร์บอนไดออกไซด์  จึงเป็นสาเหตุให้เกิดผลกระทบโดยตรง  ผลกระทบที่เกิดจากก๊าซมีเทนมีน้อยกว่าที่เกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
       3)  ก๊าซไนตรัสออกไซด์  (N O)  อุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในกระบวนการผลิต  เช่น  อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน  อุตสาหกรรมเคมีหรืออุตสาหกรรมพลาสติกบางชนิด  นับเป็นอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์  แม้ว่าก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่เกิดจากธรรมชาติจะมีอยู่มากในภาวะปกติก็ตาม  แต่อัตราการเพิ่มปริมาณดังกล่าว  จัดอยู่ในสภาวะที่สมดุลในธรรมชาติ  ส่วนก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์นั้น  มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเพิ่มพลังงานความร้อนสะสมบนพื้นผิวโลกประมาณ  0.14  วัตต์ต่อตารางเมตร  นับตั้งแต่เริ่มมีอุตสาหกรรมเกิดขึ้นจนถึงปัจจุบัน
       4)  ก๊าซที่มีสารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน  (CFCs)  ก๊าซที่มีสารประกอบพวกคลอโรฟลูออโรคาร์บอนกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรมและอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำ
วันต่างๆ  แม้ว่าก๊าซประเภทนี้จะมีปริมาณลดลงร้อยละ  40  เมื่อเทียบกับสิบกว่าปีก่อนหน้านี้  ตามมาตรการควบคุมโดย  สนธิสัญญามอนทรีออล  (Montreal Protocol)  แต่ปริมาณก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอนนี้ยังมีสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ  ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ยังคงเป็นต้นเหตุหลักที่ทำให้เกิดพลังงานความร้อนสะสมบนพื้นผิวโลกประมาณ  0.28  วัตต์ต่อตารางเมตร  นอกจากนี้ก๊าซชนิดนี้ยังทำให้เกิดอันตรายต่อบรรยากาศและสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวโลก  โดยสามารถรวมตัวทางเคมีได้ดีกับโอโซน  จึงทำให้โอโซนในชั้นบรรยากาศลดน้อยลงหรือเกิดรูรั่วในชั้นโอโซน  อันเป็นสาเหตุให้รังสีคลื่นสั้นซึ่งเป็นอันตรายส่องผ่านมายังพื้นโลกได้มากขึ้น  และยังทำให้รังสีคลื่นสั้นผ่านมาตกกระทบผิวโลกใน-ส่วนที่มากเกินภาวะสมดุล
       ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นเป็นทั้งพระเอกและผู้ร้ายให้ทั้งคุณประโยชน์และโทษมหันต์  โลกที่เราอยู่ทุกวันนี้มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้ม  โดยมีส่วนประกอบของก๊าซไนโตรเจน  (78%)  ออกซิเจน  (20.9%)  และก๊าซอาร์กอน  (0.93%)  ตาม-ส่วนของปริมาตรของอากาศตามธรรมชาติ  ก๊าซทั้งสามชนิดมีปฏิกิริยากับพลังงานแสงอาทิตย์และความร้อนที่เกิดจากโลกน้อยมาก  แต่มีก๊าซอยู่ประเภทหนึ่ง ได้แก่  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  (CO )  ก๊าซมีเทน  (CH )  ก๊าซไนตรัสออกไซด์  (N O)  และก๊าซโอโซน  (O )  มีคุณสมบัติในการกักเก็บและส่งผ่านรังสีความร้อนที่เกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์และความร้อนที่เกิดขึ้นจากโลกออกสู่อวกาศ  โดยก๊าซกลุ่มนี้ถูกเรียกว่า ก๊าซเรือนกระจกหรือ  Greenhouse  gas  (GHG)  เนื่องจากมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับการที่กระจกกักเก็บความร้อนจากแสงแดดไว้ภายในอากาศ  ก๊าซเรือนกระจกมี-ส่วนน้อยกว่า  0.1%  ของปริมาตรของอากาศตามธรรมชาติ  ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่นี้จะทำหน้าที่กักเก็บความร้อนส่วนหนึ่งไว้ไม่ให้ผ่านออกสู่อวกาศ  ทำให้โลกมีอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้
       ในทศวรรษ  1890  มีนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนชื่อว่า Svante  Arrhenius  ได้ศึกษาผลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิเฉลี่ยของผิว  โลกในกรณีที่ลดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศลงครึ่งหนึ่ง หลังจากคำนวณอย่างละเอียดเป็นเวลาหลายปี  เขาก็ได้ข้อสรุปว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่ลดลงครึ่งหนึ่งจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกครึ่งหนึ่งจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวลดลงถึง 5 C
แต่นาย  Svante  มีวิสัยทัศน์มากกว่านั้น  เขาพิจารณาว่าโลกได้เข้าสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคอุตสาหกรรมแล้ว  ในอนาคตปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจะต้องเพิ่มขึ้นไม่ใช่ลดลง  เนื่องจากการเผาไหม้ของถ่านหินและเชื้อเพลิงต่างๆและจะต้องมีผลทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น  โดยเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า   ปรากฏการณ์ภาวะเรือนกระจก  (Greenhouse   effect)
นั่นเอง จากการคำนวณของเขาพบว่าถ้าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศในขณะนั้นเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น  6 C!  โดยอ้างอิงจากอัตราการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง  ในยุคที่ยังไม่พบแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ  ปรากฏการณ์ที่คาดคะเนนี้ต้องใช้เวลาถึง  2,000  ปี
       ในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศวัดได้ประมาณ  280  ppmv ซึ่งเป็นระดับที่มีเสถียรภาพ  อยู่เป็นเวลานานหลายพันปี  แต่เมื่อสิ้น  ค.ศ.2004  ระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้เพิ่มขึ้นเป็น  375  ppmv  หรือเพิ่มขึ้นถึงหนึ่งในสามของค่าก่อนยุคอุตสาหกรรมและถ้าอัตราการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ  ซึ่งทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังเป็นไปตามการใช้งานในปัจจุบันต่อจากนี้  ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ตามที่นาย Svante  คาดการณ์ไว้จะเกิดขึ้นภายในเวลา  200  ปีเท่านั้น  เร็วกว่าเดิมถึง  10  เท่า  และถ้ารวมปัจจัยจากการเร่งพัฒนาความเจริญของประเทศต่างๆ  โดยวัดจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีแล้ว  รวมถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรเข้าไปด้วย  ก็จะทำให้ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าของค่าก่อนยุคอุตสาหกรรมภายใน  ค.ศ. 2100 หรือ  ประมาณ  100  ปีนับจากนี้  และถ้าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจริง  อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกจะสูงขึ้นเป็นทวีคูณ
       เมื่อโลกร้อนขึ้นก็จะทำให้หลายส่วนของโลกเกิดภาวะแห้งแล้ง  เกิดไฟป่าขึ้น  รวมถึงมนุษย์บุกรุกทำลายป่าเพื่อแสวงหาที่ทำกินเพิ่มขึ้นทดแทนพื้นที่แห้งแล้งหรือขาดความอุดมสมบูรณ์  ทำให้ป่าไม้ที่เคยเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเพิ่มออกซิเจนให้กับโลกหรือเป็นปอดของโลกอย่างรวดเร็วไฟป่าที่เพิ่มขึ้นก็จะเผาผลาญป่าไม้ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออก
ไซด์เพิ่มสูงขึ้นในชั้นบรรยากาศของโลก  เป็นวงจรที่ไม่สิ้นสุดและยังทำให้พื้นดินบริเวณดังกล่าวแห้งแล้ง และอาจเปลี่ยนเป็นทะเลทรายได้อีกด้วย
       เมื่อโลกร้อนขึ้นจะทำให้น้ำแข็งละลายในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆและมีน้ำแข็งเหลืออยู่ในฤดูหนาวน้อยลง  ก็จะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวสูงขึ้น  เกิดเป็นน้ำแข็งใหม่น้อยลง  ทำให้เป็นไปได้ว่าในฤดูร้อนของปี ค.ศ.2030  บริเวณขั้วโลกเหนือจะไม่มีน้ำแข็งเหลืออยู่เลย  ซึ่งจะมีผลต่อการเกิดน้ำแข็งในฤดูหนาวอย่างแน่นอน
       ปกติแล้วน้ำแข็งบนพื้นดินและในมหาสมุทรจะสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์กลับสู่อวกาศได้ถึง  90%  แต่เมื่อโลกร้อนขึ้น น้ำแข็งก็จะละลายมากขึ้น  และน้ำแข็งที่เหลืออยู่ก็จะสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ได้น้อยลง  เมื่อเป็นเช่นนี้อุณหภูมิของโลกก็จะสูงขึ้นไปอีก  เกิดเป็นวัฏจักรที่น้ำแข็งละลายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
       เมื่อน้ำแข็งในบริเวณมหาสมุทรอาร์กติกและเกาะกรีนแลนด์ละลายมากขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อน  ทำให้ความเค็มของน้ำทะเลลดลง  ความเข้มข้นของน้ำทะเลมีการเปลี่ยนแปลง  น้ำทะเลเบาขึ้นและลอยนิ่งอยู่ที่ผิวน้ำ  ทำให้วัฏจักรของกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกให้ความอบอุ่นกับซีกโลกเหนืออาจจะหยุดไหลได้  และถ้าเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นจริง  ซีกโลกเหนือก็จะกลับสู่ยุคน้ำแข็งอีกครั้ง
        เมื่อโลกร้อนขึ้น  อัตราการระเหยของน้ำบนดินและในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น  ไอน้ำในชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้น  ซึ่งไอน้ำนี้เองก็มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับก๊าซเรือนกระจก  ก็ยิ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นอีก  ทั้งหมดนี้มีผลต่อความกดอากาศของโลก  ทำให้ในบางพื้นที่ที่แห้งแล้งก็เกิดฝนตก  บางพื้นที่ที่เคยฝนตกก็เกิดภาวะแห้งแล้ง  แม่น้ำลำน้ำแห้งผาก  เปลี่ยนทิศทาง  เกิดฤดูกาลที่ผิดปกติไปทั่วโลก
       จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจากเหตุผลดังกล่าว  “สภาวะโลกร้อน”  จึงเป็นสัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติก่อนโลกจะถึงกาลอวสาน  เพราะนับวันความแปรปรวนจากภูมิอากาศและภัยพิบัติจะรุนแรงมากขึ้นทุกขณะในทั่วภูมิภาคของโลก  ภาวะแห้งแล้งยาวนานในแถบแอฟริกาเหนือ  การเกิดคลื่นความร้อนในทวีปยุโรป  ฝนตกหนัก  น้ำท่วมหนัก  พายุเฮอริเคนในอเมริกา  สภาวะอากาศเลวร้ายในประเทศจีน  ฤดูกาลผิดปกติในหลายส่วนของโลก  โดยเฉพาะปัญหาการเกิดพายุเฮอริเคนที่ทำลายเมืองนิวออร์ลีนของประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างย่อยยับไปทั้งเมืองนั้น  เป็นเรื่องที่ตลอดเวลาที่ผ่านมาไม่เคยเกิดขึ้น  แม้กระทั่งประเทศไทยของเราที่โดนน้ำท่วมรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี  นี่จึงเป็นสิ่งที่พวกเราเหล่ามนุษย์โลกทั้งหลายต้องพึงระวังและเตรียมตัวไว้ให้พร้อม  เพราะนี่คือสัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติได้ส่งมาถึงมนุษยชาติแล้วก่อนโลกจะถึงกาลอวสาน

แหล่งอ้างอิง : http://52010915117.blogspot.com/2013/02/blog-post_5617.html

แสดงความคิดเห็น

5 ความคิดเห็น