Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Public Health)



ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Public Health
ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม (ไทย) : สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ (ไทย) : ส.บ.
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) :Bachelor of Public Health
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.P.H.


ความสำคัญ

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี รวมถึงสถานการณ์ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของคน นำไปสู่สถานการณ์โรคเรื้อรังที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในสังคม ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่คุกคามสังคมไทยในยุคปัจจุบัน งานสาธารณสุขจึงเป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญยิ่งโดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ รวมถึงแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ กลไกหลักอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนงานด้านสาธารณสุข คือ บุคลากรทางด้านสาธารณสุข ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ในการชี้แนะ ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู รวมถึงการจัดการปัญหาด้านสาธารณสุขหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงองค์กรอิสระได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นและมีความต้องการกำลังคนทางด้านสาธารณสุข เพื่อดำเนินแนวทางการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รวมถึงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่


ทั้งนี้ การที่สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตเป็นหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต เพื่อเพิ่มโอกาสสำหรับการประกอบอาชีพในสายงานวิชาชีพด้านสาธารณสุขแก่บัณฑิต ตามแนวทางการผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุขภายใต้หลักคิดในมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ.2556 รวมไปถึงช่วยตอบสนองความต้องการใช้บัณฑิตในพื้นที่กลุ่มจังหวัดอันดามัน ซึ่งเป็นพันธกิจหลักประการหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ในการสร้างบุคลากรด้านสาธารณสุขเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ยุคสังคม 4.0 โดยมีเป้าหมายหลักในการพัฒนา คือ ประชาชนมีสุขภาพดีและระบบสุขภาพที่ยั่งยืนสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2558-2577) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ต่อไป



วัตถุประสงค์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและความสามารถดังต่อไปนี้
มีความรู้ ความสามารถในศาสตร์ด้านสาธารณสุขและบูรณาการศาสตร์อื่นๆ ในกระบวนการแก้ปัญหาสุขภาพ ตลอดจนการป้องกัน ควบคุม เฝ้าระวังโรค และสร้างเสริมสุขภาพเพื่อประชาชนมีสุขภาพดี
มีทักษะในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข
มีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพด้านสาธารณสุข


อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสิ่งแวดล้อม นักวิชาการสุขาภิบาล นักวิชาการสุขศึกษา นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ นักโภชนาการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิจัยทางด้านสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตลอดจนประกอบอาชีพอิสระด้านสุขภาพ
หน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงสาธารณสุข (เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นต้น) กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรุงเทพมหานคร...

CR.pkru.ac.th

แสดงความคิดเห็น