Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

[รัฐศาสตร์ The Series!!] "นักการทูต/ นักปกครอง/ นักบริหาร" สาขาไหนเจ๋งที่สุด!!?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คุณอยากเรียนรัฐศาสตร์ใช่ไหม!?


ถ้าจะพูดถึงสาขาวิชารัฐศาสตร์ที่คนทั้งประเทศอยากเข้ามากที่สุด เชื่อได้เลยว่าแทบทั้งหมดคงจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากเรียนสาขา "วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ" เพราะว่าจบมาแล้วจะได้เป็นนักการทูตแต่งตัวโก้หรูดูดีมีระดับ นั่งกระดิกเท้าจิบไวน์ท่ามกลางสังคมชั้นสูง

หรือถ้าไม่อย่างนั่นก็คงจะอยากเรียนสาขา "วิชาการปกครอง" สอบบรรจุเข้าเป็นปลัดอำเภอ เพราะว่าจะได้มีโอกาสไต่เต้าขึ้นไปถึงระดับผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้ามีตา เป็นความหวังของพี่น้องประชาชนเชิดหน้าชูตาแก่วงศ์ตระกูล มีพรรคพวกเพื่อนฝูงห้อมล้อมมากมาย

สายงานที่ดูจะถูกมองข้ามไปมากที่สุดนั่นก็คือสาย "บริหารรัฐกิจ" หรือ "รัฐประศาสนศาสตร์" เพราะแค่พูดชื่อสาขาก็แทบไม่มีใครรู้กันแล้วว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร จบไปทำอะไรได้บ้าง เชิดหน้าชูตาตรงไหน แต่จะบอกให้ว่าความเป็นจริงแล้ว นักการทูตและนักปกครองหลายรายที่จบมาทำงานแล้วต้องร้องไห้เพราะว่าสมัยเรียนไม่เคยสนใจสาขาวิชานี้...ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น???



 
รัฐประศาสนศาสตร์



 

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าวิชาที่เราเรียกกันว่า "รัฐประศาสนศาสตร์" หรือ "บริหารรัฐกิจ" ซึ่งถึงชื่อมันจะแตกต่างกันไปตามที่แต่มหาวิทยาลัยจะใช้เรียก แต่ความจริงแล้วมันก็เรียนเหมือนๆ กันนี้ แล้วที่จริงมันเรียนเกี่ยวกับอะไร??? 

ถ้าจะพูดถึงสาขาการทูต มันก็ชัดเจนว่าจะต้องเรียนเกี่ยวกับการวางนโยบายต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ ประวัติศาสตร์การทูต ฯลฯ ส่วนถ้าเป็นสายปกครองก็ไม่พ้นเรื่องสถาบันการเมือง รัฐธรรมนูญ การรวมศูนย์และการกระจายอำนาจ ฯลฯ

ส่วนสาขาบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์นี้ ที่บอกว่ามันเป็นหลักสูตรที่ทำให้คนในสายปกครอง / การทูตต้องน้ำตาตกถ้าไม่ใส่ใจ ก็ด้วยว่ามันป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยพัฒนาการของระบบราชการ และชีวิตทั้งของนักการทูตและปลัดอำเภอนั้น มักจะถูกสร้างภาพฝันไว้สูงจนเลิศเลอ แต่เมื่อเปิดประตูเข้าไปมันก็ต้องฝ่าด่านระบบราชการก่อนเป็นด่านแรก



 
 กระบวนการบริหาร





ถึงแม้ว่าน้องจะเป็นนักเรียนที่ทำคะแนนได้ดีที่สุดในคลาสวิชาทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และได้คะแนนเป็นอันดับต้นๆ ของวิชาประวัติศาสตร์การเมืองไทย นั่นอาจทำให้น้องได้ภาคภูมิใจเมื่อสอบบรรจุเข้ามาเป็นข้าราชการได้ในกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง แต่แล้วก็ต้องอาจจะต้องมาอึ้งกับสายการบังคับบัญชา ระบบการจัดสรรงบประมาณ ระบบการรายงานผล ฯลฯ ถ้าไม่เคยศึกษามาก่อน

ในหลักสูตรวิชา "รัฐประศาสนศาสตร์" หรือ "บริหารรัฐกิจ" มีหลักสูตรหนึ่งที่เรียกว่า "POSDCORB" ที่กล่าวถึงการวางแผนโครงการตั้งแต่ระดับบนลงมาด้านล่าง การอำนวยการ และการประสานงานตามสายบังคับบัญชา การสื่อสารภายในองค์กร การจัดวางทรัพยากรบุคคล การรายงานผลการปฏิบัติงาน และการจัดสรรงบประมาณประจำปี ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ "ข้าราชการแรกเข้า" จะต้องพบเจอก่อนหน้าที่จะได้งัดเอาวิชาทฤษฎีการเมืองและการระหว่างประเทศที่ตัวเองถนัดออกมาใช้ 

ถ้าจะว่าไปตามจริงแบบไม่อิงนิยายคงต้องบอกว่าชีวิตจริงของข้าราชการจะก้าวหน้าหรือไม่แทบไม่ได้ขึ้นอยู่กับทฤษฎีที่เรียนแล้วใช้สอบเข้ามาเลย แต่กลับขึ้นอยู่กับว่าใครจะปรับตัวให้ "เป็นงาน" ภายใต้ระบบแบบนี้ได้ก่อนกัน เพราะ 80% ของงานราชการนั้นเป็นส่วนของการประสานงานหรือ "Logistic" ทั้งสิ้น อีกแค่ 20% เท่านั้นที่เป็น "สารัตถะ" หรืองานที่จะได้ใช้ความรู้ตอนเรียน / ตอนสอบเข้ามาประกอบด้วย!!! 
 


การศึกษาในแนวปริมาณ


 




ใครที่คิดว่าสอบได้เป็นนักการทูตหรือปลัดอำเภอแล้วจะไม่ต้องยุ่งกับตัวเลขแล้วนั้นถือว่าคิดผิด  จริงอยู่ที่ชีวิตการเรียนตลอด 4 ปีของหลักสูตรการปกครองและนักการทูตอาจจะไม่เน้นให้ต้องเจอกับตัวเลขและสถิติเลย แต่ชีวิตการทำงานจริงไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบขนาดนั้น และหลักสูตรที่เน้นการบรรจุเอาคณิตศาสตร์และสถิติไว้กับระบบราชการ เพื่อเป็นประโยชน์กับงานวิจัยเชิงปริมาณก็มีแต่ "รัฐประศาสนศาสตร์" หรือ "บริหารรัฐกิจ" ที่ว่านี้

ชีวิตจริงของการทำงานราชการ ต่อให้น้องสอบเข้าเป็นปลัดอำเภอได้แล้ว น้องก็ต้องทำงานร่วมกับพัฒนาการอำเภอที่ต้องอาศัยข้อมูลเชิงสถิติจากบรรดามหาวิทยาลัยราชภัฎมาเปรียบเทียบเพื่อวางนโยบายการพัฒนาหมู๋บ้านให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากกรมการพัฒนาชุมชนอยู่นั่นเอง

แล้วต่อให้น้องไปได้สูงถึงกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ การรวบรวมข้อมูลสถิติการเยือนของผู้นำ / รัฐมนตรีคนสำคัญ รวมทั้งพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงของรัฐต่างๆ ในเวทีสหประชาชาติก็ยังต้องอาศัยการทำการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งก็ต้องอาศัยทักษะสถิติเชิงคณิตศาสตร์อยู่อีกเช่นเคย



พฤติกรรมศาสตร์


 




"พฤติกรรมศาสตร์" เป็นหัวข้อหลักอันหนึ่งที่จะต้องศึกษาภายในสาขาวิชานี้ ว่าด้วยเรื่องของการบริหารองค์กร โดยศึกษาเกี่ยวกับการลำดับชั้นยศ สายงานบังคับบัญชาและสัดส่วนที่เหมาะสมของอำนาจและความรับผิดชอบ รวมถึงบรรทัดฐานทางสังคมที่กำหนดบทบาทให้คนในองค์กรนั้นๆ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และระบบการควบคุมพฤติกรรมว่าด้วยการให้รางวัลและการลงโทษ

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เน้นหนักอยู่ในการเรียนการสอนของภาควิชา "รัฐประศาสนศาสตร์" หรือ "บริหารรัฐกิจ" แต่อาจมีการพูดถึงที่ค่อนข้างน้อยในสายวิชาอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกัน โดยเฉพาะเวลาเมื่อมีการออกข้อสอบเพื่อบรรจุเข้ารับราชการนั้นแทบจะเน้นหนักไปในเนื้อหาด้านวิชาการอย่างเดียว

บ่อยครั้งที่คนที่สอบเข้ามาได้เป็นอันดับต้นๆ ไม่ว่าในกระทรวงการต่างประเทศหรือกระทรวงมหาดไทยต้องประสบปัญหาปรับตัวเข้ากับระบบราชการไม่ได้เพราะเป็นคนที่เก่งแต่ในภาคทฤษฎีและวิชาการ แต่ขาดความเข้าใจในเรื่องของการบริหารจัดการกับระบบเพราะละเลยความสำคัญของสาขาวิชานี้

 

การศึกษาในแนวระบบ



 

 


ความน่าสนใจอีกอย่างของสาขาวิชา "รัฐประศาสนศาสตร์" หรือ "บริหารรัฐกิจ" นั้นคือการเปรียบเทียบระบบราชการเป็นเหมือนโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต ที่ทุกส่วนของร่างกายจะต้องมีการทำงานประสานกันได้เป็นอย่างดี และจะต้องมีการแยกส่วนทำหน้าที่ๆ แต่ละอวัยวะถนัดอย่างสอดคล้องกัน ชีวิตขององค์กรนั้นๆ จึงจะดำรงอยู่ได้

การเรียนรู้การมององค์กรผ่านแง่มุมนี้ จะทำให้ข้าราชการเกิดความรู้สึกประหนึ่งว่าปฏิสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ ขององค์กรสามารถส่งผลต่อวงจรชีวิตใหญ่ของประเทศชาติได้ไม่ต่างอะไรกับปฏิสัมพันธ์ของทุกส่วนในร่างกายภายในตัวตนของสิ่งมีชีวิต และเมื่อนั้นก็จะไม่ทำให้ข้าราชการเกิดมุมมองการทำงานแบบแยกส่วน แต่จะทำให้เกิดความรู้สึกถึง "องค์รวม" ที่รู้สึกว่างานทุกส่วนคือส่วนของชาติเช่นเดียวกัน

ถ้าข้าราชการยุคใหม่ไม่ได้มีการศึกษาในเรื่องของกระบวนการบริหาร การศึกษาในแนวปริมาณ พฤติกรรมศาสตร์ และการศึกษาในแนวระบบ ย่อมทำให้ข้าราชการผู้นั้นเป็นเพียงนักวิชาการภาคทฤษฎี แต่ไม่สามารถเป็นนักปฏิบัติที่ดีได้ และต้องใช้เวลาปรับตัวอยู่นานหรืออาจจะหมดไฟในการพัฒนาตัวเองเพราะเซ็งกับระบบแต่ไปไหนไม่ได้ แล้วก็กลายเป็นระบบที่เรียกว่า "เช้าชามเย็นชาม" ไปนั่นเอง

 

นักรัฐศาสตร์ยุคใหม่
 




 

นักรัฐศาสตร์ยุคใหม่ควรละทิ้งค่านิยมเก่าๆ ที่มีการแบ่งคลาสของสาขาตามค่านิยมที่ว่าต้องเรียนสาขานี้แล้วถึงจะดูดี ต้องเรียนสาขานี้แล้วถึงจะมีอนาคต เพราะในความเป็นจริงรัฐศาสตร์มีความเชื่อมโยงถึงกันหมด และทุกสาขาล้วนมีคุณค่าในตัวของมันเอง

ในความเป็นจริงรัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีพัฒนาการมาในหลายยุคหลายสมัย แต่ด้วยความที่ในปัจจุบันมีความผันแปรที่หลากหลายทำให้สาขาวิชาทั้งสามสายต้องแยกออกมาเป็นวิชาเฉพาะทำให้เกิดค่านิยมที่แบ่งเขาแบ่งเรากันมากขึ้น 

การละทิ้งอคติ ทิ้งตัวตนที่มองแยกเป็นสาขาเขา - สาขาเราและเปิดใจรับเอาสิ่งดีๆ ที่แต่ละสาขามีอยู่มาสู่ตัวเท่านั้นถึงจะเป็นบันไดปูทางไปสู่ความสำเร็จของชีวิตข้าราชการยุคใหม่และสาขาวิชาชีพใดๆ ก็แล้วแต่ที่นักรัฐศาสตร์สามารถก้าวเข้าไปสร้างคุณค่าให้แก่แวดวงนั้นๆ ได้อย่างแท้จริง
 


ไม่สร้างภาพ!!!




 


ใครที่อ่านงานเขียนของพี่แล้วเกิดสงสัยขึ้นมาว่าชีวิตการทำงานจริงมันดราม่าขนาดนั้นเลยหรือ ก็สามารถย้อนกลับไปอ่านบทความก่อนหน้านี้ที่พี่เคยเขียน ว่าด้วยชีวิตการทำงานในโลกแห่งความเป็นจริงของนักการทูตที่น่าจะมีรายละเอียดให้คนเห็นภาพตามได้มากที่สุดในปัจจุบัน...ใน
 

[รัฐศาสตร์ The Series!!] รีวิว "คู่มือนักการทูต!!" ฉบับไม่สร้างภาพ!!!

https://www.dek-d.com/board/view/3902868/

หรือถ้าใครไม่รู้สึกว่าเรียนรัฐศาสตร์ออกมาแล้วอยากทำงานเป็นราชการ อยากรู้ว่ามีเส้นทางๆ เลือกอื่นๆ สายไหนบ้างก็ลองไปติดตามใน
 

[รัฐศาสตร์ The Series!!] รีวิว "5" สายอาชีพชาวสิงห์ฉบับไม่ง้อราชการ!! (เงินดีด้วย!) https://www.dek-d.com/board/view/3895338/1/?comment=3


ชีวิตมีเส้นทางให้เลือกมากมาย ยังไม่สายที่จะเริ่มวางแผน!!!

//The Chariot

------------------------------------
สุดท้ายนี้ ถ้าน้องอ่านบทความของพี่แล้วเกิดความฮึดสู้! ต้องการที่จะมุ่งไปสู่เป้าหมายคือความเป็น "สิงห์"! พี่ก็จะขออาสาเป็นคนติดอาวุธ / ขับรถม้า / พาน้องเข้าสนามสอบเพื่อไปให้ถึงเส้นชัยด้วยกันนะครับ!! มาเจอกันที่ "รัฐศาสตร์หัวหมอ" กันเถอะ!!





อยากดูสาระดีๆเพื่อชาวว่าที่รัฐศาสตร์ต่อก็คลิกได้เลย!
https://www.facebook.com/RudtasadHuaMor



 
 
 
 

 


 

แสดงความคิดเห็น

>