Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ทำไมคนถึงอยากเข้าจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ทั้งๆที่มหาวิทยาลัยอื่นก็ดี เช่น มหาวิทยาลัยประจำภูมิภาค แล้วทำไมต้องไปแย่งกัน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ทำไมคนถึงอยากเข้าจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ทั้งๆที่มหาวิทยาลัยอื่นก็ดี เช่น มหาวิทยาลัย แล้วไปทำไมต้องไปแย่งกัน

แสดงความคิดเห็น

23 ความคิดเห็น

Toiyung 27 พ.ค. 63 เวลา 12:03 น. 1

คำตอบก็คือ ทั้งสองมหาวิทยาลัยเป็ามหาวิทยาลัยเก่าแก่ของไทย ดังนั้นความเป็นที่ยอมรับและผลงานต่างๆ รวมทั้งศิษย์เก่าที่สร้างชื่อเสียงจึงมีมากกว่ามหาวิทยาลัยอื่นๆ ไม่ใช่มหาลัยอื่นไม่ดีนะครับ แต่ด้วยความที่เกิดขึ้นก่อน มันได้เปรียบไปแล้ว เทียบกับสินค้า เหมือน brand หนึ่ง กว่าจะสร้างการยอมรับต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ รวมทั้งอาจารย์ที่มีคุณภาพและการสนับสนุนจากรัฐบาลที่มากกว่าครับ สุดท้ายทั้งสองมหาวิทยาลัยมีการปลูกฝังจิตวิญญาณที่เหมือนเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแก่นิสิตนักศึกษา ดังนั้นเราจะรู้เลยว่าใครจบจุฬา ใครจบธรรมศาสตร์

0
จ้า 27 พ.ค. 63 เวลา 12:17 น. 2

คอนเนคชั่นดีกว่า ได้รับการยอมรับจากบริษัทใหญ่ๆมากกว่า ในกรณีที่ฝีมือดีด้วย

0
คิดว่า 27 พ.ค. 63 เวลา 12:33 น. 3

มหาวิทยาลัยประจำภูมิภาค อย่าง ม.เชียงใหม่ ม.ขอนแก่น ม.บูรพา ก็ดีไม่น้อย แต่ยอมรับว่า จุฬาฯ มธ. ก็ดีกว่ามากประมาณหนึ่ง ในหลายด้าน บัณฑิตน่าจะเป็นที่ยอมรับมากที่สุดของมหาวิทยาลัยไทยทั้้งในและต่างประเทศ รองลงมาก็เป็น เกษตร กับ มหิดล

0
มัณทนา [มากับชิปและมากับเดล] 27 พ.ค. 63 เวลา 17:35 น. 5

เพราะจุฬาฯเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงที่สั่งสมมานาน 100 กว่าปี

เพราะมีจุดเริ่มต้นมาจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนในปีพ.ศ.2422

ก่อนที่จะสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2460

ส่วนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาปนาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2477

เพราะมีจุดเริ่มต้นมาจากมหาวิทยาลัยตลาดวิชาก่อน

0
อยากเรียนเหมือนกัน 27 พ.ค. 63 เวลา 18:11 น. 6

อยากเข้า จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ เหมือนกัน ทั้งๆที่มหาวิทยาลัยอื่นๆน่าจะเข้าได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะเรื่องโควตาที่รับแต่คนในภูมิภาค ก็ยังอยากเข้าจุฬาฯ กับธรรมศาสตร์อยู่ดี เห็นที่ญี่ปุ่นเขาบอกว่าเปรียบจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ เป็นม.โตเกียว กับม.เกียวโต เป็นที่รู้ของญี่ปุ่นมากที่สุด ทั้งการแลกเปลี่ยนที่ได้รับการยอมรับ และการที่คนญี่ปุ่นทำงานร่วมกับคนเก่งๆที่จบจากจุฬาฯ ธรรมศาสตร์

0
อืม 27 พ.ค. 63 เวลา 18:18 น. 7

สังคม การยอมรับ เครือข่าย อย่างศิษย์เก่าจุฬาฯ กับธรรมศาสตร์ เกือบจะอยู่ในทุกวงการ ยังเป็นเจ้าของกิจการดังๆมากมาย รวมถึงเป็นมหาเศรษฐีรวมๆกันแล้วเกินไปครึ่งประเทศไทย ก็รวมญาติพี่น้องเขาด้วย คนในตำแหน่งสูงๆ

0
mrssomsri 27 พ.ค. 63 เวลา 19:30 น. 8

เมื่อจุฬา กับ ธรรมศาสตร์ เป็นสองมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของปท.


จึงควรย้อนถาม จขกท.ว่า

ทำไม จขกท.ถึงไม่อยากเข้าจุฬาฯ ธรรมศาสตร์


และแล้วทำไม จขกท.ต้องไม่ไปแย่งกันเข้า จุฬา กับ ธรรมศาสตร์


ผิดวิสัยคนปกติที่ย่อมต้องแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับชีวิตตนเอง มิใช่หรือ

2
Evergreen 28 พ.ค. 63 เวลา 09:31 น. 8-1

เห็นด้วยครับเรื่องชื่อเสียง แต่ระบุคณะหน่อยก็ดีครับที่ว่าดี จุฬานี่ไม่เถียงดีสุดดังสุดแทบทุกคณะแต่ มธ.ยังมีบางคณะที่ไม่เด่นเมื่อเทียบกับจุฬา เพราะยังมีมออื่นๆที่ทีคณะเด่นกว่าเพราะงั้นใช้คำว่าดีที่สุดไม่ได้

0
CP_Doublex 28 พ.ค. 63 เวลา 19:23 น. 8-2

จุฬา ไม่ใช่ดีที่สุดทุกคณะ คะแนนสูงกว่าใช่ว่าจะดีกว่า


อย่างแพทย์ ศิริราช มีชื่อเสียงมากกว่า แพทย์ จุฬา

รัฐศาสตร์ นิติ ธรรมศาสตร์ มีชื่อเสียงมากกว่า จุฬา

สัตวแพทย์ เกษตร มีชื่อเสียงมากกว่า จุฬา

ฺBBA TU มีชื่อเสียงมากกว่า BBA CU


ที่จุฬาคะแนนสูง เพราะได้ทำเลที่ดี อยู่กลางเมือง เดินทางสะดวก คนเลยเลือกกันเยอะ


0
รรรร 28 พ.ค. 63 เวลา 07:34 น. 9

มหาลัยแต่ละมหาลัยมีอันดับ ถึงเวลาจัดอันดับที่มีมาตรฐานจะอันดับพอๆกัน แต่อันนั้นมันมาจากงานวิจัย หรือวัดจากอะไรก็แล้วแต่ แต่ถ้าเป็นการเข้ารับทำงาน คอนเนคชั่น จุฬา มธ ก็ดีกว่า


ถ้าเห็นว่ามหาลัยภูมิภาคดี ทำไมต้องแย่ง ก็มหาลัยภูมิภาคมันไมได้มีทุกจังหวัด ที่ดังๆก็มีแค่ภาคละแห่ง ถ้าคนที่ไม่ได้อยู่จังหวัดเหล่านี้ ยังไงต้องจากบ้านมาอยู่หอเรียนอยู่ดี พวกเขาก็อาจจะเลือกจุฬา มธ ก่อน


แล้วจริงๆที่แข่งขันสูง เพราะพวกเด็กกทม. หลายคนเขาก็ไม่อยากหลุดไปมหาลัยต่างจังหวัดด้วย โรงเรียนในกทม.ก็มีเยอะ

0
ดาด้า 28 พ.ค. 63 เวลา 19:16 น. 10

เมื่อก่อนก็ไม่เข้าใจแต่พอลองมองให้ไกลถึงอนาคตเช่นคอนเน็คชั่น โอกาสในการทำงาน ชื่อเสียงและการเป็นที่ยอมรับต่างๆพวกนี้นี่คิดว่ามหาลัยมีผลมาก

0
mrssomsri 28 พ.ค. 63 เวลา 20:07 น. 11

ถ้า จขกท.ไม่เชื่อว่า จุฬา และ มธ.เป็นสองมหาลัยที่ดีที่สุดของ ปท. ก็ได้โปรดอย่าสมัครสอบเข้าสองแห่งนี้เลยนะ


กรุณาไปเรียนที่มหาลัยอื่นที่คุณเชื่อว่าดีกว่า เราคงไม่เขียนชี้แจงตามที่คุณต้องการ เพราะการลงไปแจงรายละเอียดคงเลี่ยงการสร้างความขัดแย้งในหมู่คนอ่านเสียเปล่า


0
ก็คงใช่ 29 พ.ค. 63 เวลา 12:34 น. 12-1

มมหิดลคนน่าจะแย่งแพทย์หรือเปล่าครับ ศิริราช รามาธิบดี ทันตแพทย์จุฬาฯยังเหนือกว่า มหิดลมีคณะแพทยศาสตร์ในสังกัดจำนวนมาก ไม่แปลกที่ภาพรวมแพทย์เวลาจัดอันดับจะดีกว่าแพทย์์ จุฬาฯ ที่มีแห่งเดียว อีกทั้งมหิดลยังเป็นมหาวิทยาลัยที่ผลิตงานวิจัยสายวิทยาศาสตร์ออกมาจำนวนมาก ก็ทำให้การจัดอันดับของ THE ที่เน้นวัดแต่งานวิจัยเป็นหลักมหิดลดีกว่า แต่พอการจัดอันดับของ QS ที่วัดผลหลายด้าน โดยเฉพาะด้านคุณภาพต่างๆ จุฬาฯดีกว่า มีอันดับสาขาแต่ละด้าน ด้านคุณภาพบัณฑิต จุฬาฯ ธรรมศาสตร์์ แล้วถึงตามด้วยมหิดล


0
พวกองุ่นเปรี้ยว 29 พ.ค. 63 เวลา 12:37 น. 13

ตั้งกระทู้แบบนี้ เพื่อหลอกให้คนมารุมด่า จุฬา กับ ธรรมศาสตร์

คงเป็นพวกองุ่นเปรี้ยว สอบเข้าจุฬา กับ ธรรมศาสตร์ ไม่ได้ ก็เลยหาทางระบาย

ไม่สร้างสรรค์เลยอ่ะ

1
098982 17 เม.ย. 66 เวลา 15:29 น. 13-1

ผมว่าเขาแค่อยากรู้มากกว่า ว่าทำไมคนถึงแย่งกันสอบเข้า เพราะพระจอมมีชื่อเสียงด้านวิศวะ แต่ยังไง คนก็เข้าจุฬาเยอะกว่าอยู่ดี

0
pornyoung 30 พ.ค. 63 เวลา 11:29 น. 14

ประสบการณ์ที่เห็นเลย ยังไม่พูดเรื่องวิชาการนะ คนที่เข้าไปเรียนส่วนใหญ่จะเป็นคนเก่งพื้นฐานครอบครัวดีซะส่วนใหญ่ การติดต่อประสานงานเครือข่ายต่างๆ จะสะดวกมากมาย คือมีช่องทางให้เราได้ไปได้มาก แต่หลังจากนี้ก็จะขึ้นกับความสามารถส่วนบุคคลละ

โดยสรุปเพิ่มโอกาสช่องทางต่างๆมากกว่า ที่เหลือขึ้นกะตัวเอง

0
Pim-Sikan 30 พ.ค. 63 เวลา 12:50 น. 15

ค่านิยม ในขณะที่ม.รามคำแหง ใครจะรู้บ้างไหมมีอาจารย์จากจุฬาธรรมศาสตร์มาสอนด้วยนะสมัยเรัยนสือสารมวลชนมีอาจารย์จากจุฬามาสอนค่ะภาษาไทยยังเรียนกับอาจารย์แม่สุนีย์

https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-06.png

0
คุณภาพ 30 พ.ค. 63 เวลา 13:44 น. 16

พาณิชยศาสตร์์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ก่อตั้ง 22 ตุลาคม พ.ศ. 2481 ได้รับรางวัลการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาด้านธุรกิจที่ให้แก่มหาวิทยาลัย คือ AACSB (The Association to Advance Collegiate Schools of Business) จากประเทศสหรัฐอเมริกา และ EFMD (The European Foundation for Management Development) จากยุโรป


พาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ก่อตั้ง 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ได้รับรางวัลการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาด้านธุรกิจที่ให้แก่มหาวิทยาลัย คือ The Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) จากประเทศสหรัฐอเมริกา The Association of MBAs (AMBA) จากประเทศสหราชอาณาจักร (United Kingdom) European Foundation for Management Development (EFMD) (EFMD Quality Improvement System) (EQUIS) จากสหภาพยุโรป ได้รับการรับรองเป็นแห่งแรกของไทย

Thammasat Business School (TBS) เป็นสถาบันการศึกษาที่บรรลุสถานะ 3 มงกุฎ แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย โดยจากสถิติ มีมหาวิทยาลัยจำนวนน้อยกว่า 1% ของมหาวิทยาลัยในโลกนี้ที่ได้รับการรับรอง ซึ่งสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจจำนวน 13,670 แห่งทั่วโลก มีเพียง 90 แห่งเท่านั้น ที่ผ่านการรับรองครบทั้ง 3 มาตรฐาน


สถานะ 3 มงกุฎ หรือ Triple Crown ที่ธรรมศาสตร์์ได้รับ หมายถึง สถาบันการศึกษาที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับนานาชาติอย่างครบถ้วนจาก 3 สถาบันหลักด้านการบริหารธุรกิจของโลกคือ AACSB (Association to Advance Collegiate Schools of Business) จากสหรัฐอเมริกา EQUIS (EFMD Quality Improvement System) จากสหภาพยุโรป และ AMBA (Association of MBAs) จากสหราชอาณาจักร ด้วยเกณฑ์การประเมินที่แตกต่างกัน และมีกติกาที่เข้มงวดอย่างยิ่ง ทำให้อาจารย์ นักศึกษาสามารถเข้าไปมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกได้

มหาวิทยาลัยโลกที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานด้านธุรกิจโลก อาทิ


AACSB คือ Massachusetts Institute of Technology (MIT) , Harvard University , Stanford University , Yale University , Columbia University in the City of New York , Syracuse University , Imperial College London


EQUIS คือ London Business School (UK), Cambridge Business School (UK), Melbourne Business School (Australia), Tsinghua University School of Economics and Management (China), NUS Business School (Singapore)


AMBA คือ University of Edinburgh , Loughborough University , University of Sheffield , Durham University , Newcastle University , University of Manchester


0
ยอมรับความจริง 30 พ.ค. 63 เวลา 13:53 น. 17

ผลอันดับคุณภาพบัณฑิตจองมหาวิทยาลัยโลก QS ให้ จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ อยู่อันดับ 1-2 และเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับในการจ้างงานทั้งไทยและทั่วโลกมากที่สุด สำหรับมหาวิทยาลัยไทย


คณะนิติศาสตร์ 2 แห่ง ที่ติดอันดับโลก QS คือ จุฬาฯกับธรรมศาสตร์์ ใน 151-200 อัันดับแรกของมหาวิทยาลัยโลก ด้วยระบบการสอนของจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ อาจารย์ รวมถึงเมื่อจบไปชื่อมหาวิทยาลัยสำคัญนะ บางปีหน่วยงานรัฐฯที่เป็นข่าว ยังระบุว่า หากจบ ธรรมศาสตร์ จุฬาฯ เกียรตินิยม จะรับพิจารณาเป็นพิเศษ ของจุฬาฯก็ยาก ของธรรมศาสตร์สอบ 100 คะแนน ต่ำสุดต้องผ่าน 60 คะแนน ซึ่งคนที่อยู่ในหน่วยงานด้านกฎหมาย รัฐฯ ศาลฯ...ไปดูชื่อประธานศาลต่างๆได้เลย ประธานศาลรัฐธรรมนูญในอดีตถึงปัจจุบัน ประธานศาลฎีกาจนถึงปัจจุบัน เกือบจบจากธรรมศาสตร์หมดทุกคน โรงเรียนกฎหมายพระองค์เจ้ารพีฯคือธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน ประธานศาลรัฐธรรมฯูญจบธรรมศาสตร์ทุกคน ประธานศาลปกครองสูงสุดทุกคนจบจากธรรมศาสตร์(นายปิยะ ปะตังทา คนปัจจุบันเรียนจบป.ตรี จุฬาฯ ประกาศนียบัตรบัณฑิตกฎหมายมหาชนจากธรรมศาสตร์ และป.โท ธรรมศาสตร์) ประธานศาลอุทธรณ์คนปัจจุบันจบธรรมศาสตร์ คนที่สอบได้ที่ 1 และมีคนสอบได้จำนวนมากในแต่ละครั้งของเนติบัณฑิตก็มักเป็น จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ รามคำแหง ไม่ว่าในศาล หรือองค์กรทนาย มักมีผู้จบจากจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ รามคำแหง หรือในงานเอกชนด้านกฎหมายเองก็ตาม

0
Bmn 31 พ.ค. 63 เวลา 12:51 น. 19

ความชอบส่วนบุคคลค่ะ สภาพเเวดล้อมรอบม. สิ่งอำนวยค.สะดวก ชื่อเสียงเพื่อนๆ เราเองก็เคยอยากเข้า เเต่คะเเนนไม่ถึง ก็ยังรัก ฬ อยู่เหมือนเดิม55

0
มันจริง 31 พ.ค. 63 เวลา 14:56 น. 20-1

แต่วิศวะ ธรรมศาสตร์์ มีภาคอินเตอร์ เรียนจบ 2 ปริญญา ในหลายๆประเทศ เช่น สหรัฐฯ ซึ่งเป็นไปได้ยากสำหรับมหาวิทยาลัยธรรมดาอื่นๆ

0
Doooo 1 มิ.ย. 63 เวลา 20:15 น. 20-2

ส่วนมากสายวิศวะมหาลัยอื่นๆเรียนภาคธรรมดาและต่อโทต่างประเทศซะมากกว่าครับ พวก 8 เกียร์

0
PVEC1 1 มิ.ย. 63 เวลา 21:19 น. 20-3

เข้าภาคธรรมดาก่อนเนอะ #เหงื่อตก

0
Doooo 2 มิ.ย. 63 เวลา 09:08 น. 20-4

แอบงงเหมือนกันนะ555ทำไมถึงคิดว่ายากสำหรับมออื่นๆ มออื่นๆที่ดังด้านวิศวะ เด็กเก่งๆเขาก็ไปต่อต่างประเทศเยอะแยะได้ทุนอีกต่างหาก

0
จริง 2 มิ.ย. 63 เวลา 23:25 น. 20-5

หมายถึง วิศวะ ธรรมศาสตร์ ภาคอินเตอร์ที่เขาได้ไปเรียนต่างประเทศเลย ไม่ต้องมารอเก่งจบป.ตรีไปต่อโทต่างประเทศ เขาไป้ปริญญาทั้งของไทยและต่างประเทศก็มี คิดว่าอะไรดีกว่า เขาก็ไปต่อโทต่างประเทศเยอะเนอะธรรมศาสตร์ส่วนใหญ่ วิศวะ SIIT นี่รวยไปต่อหลายที่ในต่างประเทศ อย่าคิดว่าจะด้อยกว่ามหาวิทยาลัยเกียร์เก่าๆ อาจจะมาที่หลังจุฬาฯ เกษตรศาสตร์จริง แต่เขาให้ทุนคัดเอาเด็กวิทย์เก่งๆ โรงเรียนกำเนิดวิทยา โรงเรียนวิทยาศาสตร์ต่างๆ โรงเรียนดังๆทั้งในกรุงเทพ โรงเรียนประจำภูมิภาคและโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยประจำภูมิภาคเข้าร่วมกับเขาเพื่อดูดเด็กเก่งเข้าเรียน คุณอาจจะไม่เคยรู้ เพราะมัวคิดแต่เรื่องเกียร์เก่า ความจริงต้องยอมรับว่าเกียร์เก่าที่ภาพรวมดีกว่า คือ จุฬาฯ เกษตรศาสตร์ มจธ.กับมจล.ได้เพราะตั้งนาน มีสาขามากกว่า มีอาจารย์มากกว่า

0
ANA 2 มิ.ย. 63 เวลา 23:33 น. 20-6

(ตอบความเห็นที่ 20) รู้ได้ไงว่าเขาไม่เก่ง หมายถึง วิศวะ ธรรมศาสตร์ ภาคอินเตอร์ที่เขาได้ไปเรียนต่างประเทศเลย ไม่ต้องมารอเก่งจบป.ตรีไปต่อโทต่างประเทศ เขาได้ริญญาทั้งของไทยและต่างประเทศก็มี คิดว่าอะไรดีกว่า เขาก็ไปต่อโทต่างประเทศเยอะเนอะธรรมศาสตร์ส่วนใหญ่ วิศวะ SIIT นี่รวยไปต่อหลายที่ในต่างประเทศ อย่าคิดว่าจะด้อยกว่ามหาวิทยาลัยเกียร์เก่าๆ อาจจะมาที่หลังจุฬาฯ เกษตรศาสตร์จริง แต่เขาให้ทุนคัดเอาเด็กวิทย์เก่งๆ โรงเรียนกำเนิดวิทยา โรงเรียนวิทยาศาสตร์ต่างๆ โรงเรียนดังๆทั้งในกรุงเทพ โรงเรียนประจำภูมิภาคและโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยประจำภูมิภาคเข้าร่วมกับเขาเพื่อดูดเด็กเก่งเข้าเรียน คุณอาจจะไม่เคยรู้ เพราะมัวคิดแต่เรื่องเกียร์เก่า ความจริงต้องยอมรับว่าเกียร์เก่า ที่ภาพรวมดีกว่า คือ จุฬาฯ เกษตรศาสตร์ มจธ.กับมจล.ได้เพราะตั้งนาน มีสาขามากกว่า มีอาจารย์มากกว่า


ทันตแพทยศาสตร์ ธรรมศาสตร์ พึ่งตั้งมาทีหลังได้ไม่นาน ยังคะแนนสูงรองๆจาก ทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทันตแพทยศาสตร์ มหิดล เลย (ก็ไม่เห็นเก่า ยังคะแนนสูงกว่าที่ตั้งเก่าๆหลายที่อีก)

0
ยอมรับเถอะ 3 มิ.ย. 63 เวลา 08:38 น. 20-7

ก็ตามความคิดเห็นอื่นๆเลยครับ ยังมีเรื่องคอนเนคชั่นอีกครับรุ่นพี่อีกครับ ก็ถึงบอกไงว่าเด็กเก่งๆก็ไปมอที่คุณยกตัวอย่างมามากกว่าเพราะชื่อเสียงที่สะสมมาการยอมรับต่างๆ แล้วคะแนนที่คุณยกตัวอย่างมาอย่างทันตแพทย์ที่เปิดมาทีหลัง แต่อย่างคณะวิศวะนี่ยังห่างอยู่นะครับต้องยอมรับว่ามันไม่ใช่ตัวเลือกแรกๆของเด็กวิศวะ เช่นจุฬา มก หรือ ลาดกระบัง มจธ แต่อาจจะดูดีกว่าพวกเกียร์ตามภูมิภาคบางมอ

0
PVEC1 3 มิ.ย. 63 เวลา 22:31 น. 20-8

รู้ได้ไงก็เพราะเป็นคนเรียนไง (ปัจจุบันย้าย) siit ไม่เกี่ยวอะไรกับวิศวะมธ.เลย วิศวะคือคณะวิศวกรรมศาสตร์ siit เขาเเช่าที่มธ. มันแบ่งแยกกันชันเจน // เคยเชื่อกระทู้นั้นกระทู้นู้นไปเรียนสรุป....เชื่อ โลกความเป็นจริงดีที่สุดค่ะ ทุกคนรู้โลกรู้ว่า วิศวะควรเรียนที่ไหน มันบอกอยู่แล้วค่ะแต่คุณจะหาเหตุผลใดมาอ้างแค่นั้นเอง แต่ทุกที่ก็ดีแต่ก็ต้องเลือกที่เหมาะกับเรามากที่สุด ขอบคุณค่ะ

0