Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การกำจัดมดด้วยพริกชี้ฟ้าและขมิ้น

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
โครงงานเรื่องผลกระทบของ พริกชี้ฟ้ากับขมิ้นที่มีต่อมด
จัดทำโดย
1.นางสาวชรัญดา มาสสา เลขที่ 8
2.นางสาวสุภาภรณ์ แฝดสุระ เลขที่ 36
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2
ครูที่ปรึกษา
นางสาวปราณปรียา   คุณประทุม
โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา
อำเภอแก้งคร้อ   จังหวัดชัยภูมิ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิเขต 30
รายงานโครงงานฉบับนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาในรายวิชาโครงงานเพื่อสาธารณะประโยชน์
ในระหว่างวันที่ 24 มกราคม ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2554


บทคัดย่อ
    เปรียบเทียบผลกระทบของพริกชี้ฟ้ากับขมิ้นที่มีต่อมด เนื่องจากกลุ่มของข้าพเจ้าได้พบปัญหาว่า มดเป็นสัตว์ที่สร้างความรำคาญละนำความเสียหายมาสู่คน ผู้คนจึงได้คิดค้นหาวิธีกำจัดมด มีทั้งการใช้สารเคมี และการใช้สารจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติสามารถกำจัดมดได้ ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าเห็นว่าการใช้สารที่ทำมาจากธรรมชาติจะเกิดผลที่ดีกว่า เพราะไร้สารพิษ    กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้ค้นหาสมุนไพรที่สามารถกำจัดมดได้ และได้ทราบว่าพริกชี้ฟ้าและขมิ้นเป็นสมุนไพรที่สามารถกำจัดมดได้ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงอยากทราบว่าระหว่างพริกชี้ฟ้ากับขมิ้นที่สามารถกำจัดมดได้ทั้ง 2 ชนิด ชนิดไหนจะดีกว่ากันและเมื่อได้ทำการทดลองจึงพบว่าพริกชี้ฟ้ามีผลกระทบต่อมดมากกว่าขมิ้น    จึงสรุปว่าพริกชี้ฟ้าสามารถกำจัดมด      ได้ดีกว่าขมิ้น


กิตติกรรมประกาศ
      ขอขอบพระคุณ คุณครูปราณปรียา  คุณประทุม ครูที่ปรึกษาโครงงาน ที่กรุณาให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาจนทำโครงงานวิจัยสำเร็จลุล่วง
      ขอขอบพระคุณ นายเสถียร  แฝดสุระ ที่ให้ความช่วยเหลือในด้านสถานที่ ทำการทดลอง โครงงานฉบับนี้
      ขอขอบพระคุณ นางสุดใจ  สีเนตร ที่ให้ความช่วยเหลือในด้านอุปกรณ์และสมุนไพรพริกและขมิ้น
      ขอขอบพระคุณ นางดาหวัน มาสสา ที่ให้ความช่วยเหลือในด้านทรัพย์ค่าใช้จ่ายในการทดลอง



บทที่1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
มด... เป็นแมลงชนิดเดียวกับผึ้ง อยู่ในอันดับ Hymenoptera มีตัวขนาดเล็ก อยู่ร่วมกันเป็นสังคม สร้างความรำคาญ ให้กับที่พักอาศัย ปกติ มดจะออกหากินตลอดเวลาและมีความไวต่อกลิ่นของอาหารประเภท น้ำตาล น้ำหวาน แป้ง
ชนิดของมด ปกติทั่วไปมดที่สร้างปัญหาให้กับมนุษย์ ได้แก่ มดน้ำตาลเข้ม มดละเอียด มดแดง มดคันไฟ อื่น ๆ
อันตรายจากมดอันตรายจากมด การป้องกันตัวของมดโดยการกัดศัตรู ให้ได้รับความเจ็บปวด จะปล่อยพิษออกมา ทำให้เป็นผื่นคัน ผิวหนังปวดบวมอักเสบ ในบางครั้ง มดจะเข้ามาแย่งกินอาหาร ทำให้อาหารเน่าบูด อาจทำให้เกิดโรคท้องเสียได้ อยากจัดสวนในบริเวณบ้าน แต่บริเวณบ้านมีมดคันไฟเยอะมากเลย เคยกำจัดหลายครั้งแล้ว แต่ก็กลับมาใหม่ในเวลาที่รวดเร็วคนโบราณมีวิธีไล่มดง่ายๆดังนี้ ให้เอาขมิ้นพอสมควรมาตำจนละเอียด จากนั้นเทน้ำมันก๊าดผสมลงไป กวนให้ข้นๆ นำขมิ้นพสมน้ำมันก๊าดไปโรยบริเวณที่มีมด มดจะหนีหายไปหมด สำหรับวิธีฆ่ามดคันไฟท่านให้ใช้น้ำหน่อไม้ดอง(ปีบ) เทที่หลุมมดคันไฟ
มดเป็นแมลงที่สร้างความรำคาญและนำความเดือดร้อนให้แก่ผู้คน เรามักจะพบมดตามที่แห้งบริเวณที่เป็นซอกหรือรอยแตกของพื้นปูน พื้นไม้ หรือตามต้นไม้ แม้แต่ในบ้านเราก็พบมดเช่นกัน ขึ้นอยู่ตามเสื้อผ้า อาหารซึ่งทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้เสาะหาวิธีการกำจัดมดและได้พบว่ามีสมุนไพรที่สามารถกำจัดมดได้ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้เลือกเอาสมุนไพรที่สามารถกำจัดมดได้ 2 ชนิดคือพริกและขมิ้นมาเปรียบเทียบว่าสมุนไพรชนิดใดสามารถกำจัดมดได้ดีกว่ากัน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อหาวิธีกำจัดมดซึ่งเป็นที่สร้างความรำคาญและนำความเดือดร้อนให้แก่ผู้คนทั่วไป
2.เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมุนไพรที่จะกำจัดมดได้ดี
3.ได้สารสมุนไพรราคาถูกในการกำจัดมด
สมมติฐาน
         สมุนไพรจากน้ำพริกชี้ฟ้าสามารถกำจัดปริมาณมดได้ผลดีกว่าน้ำสมุนไพรจากน้ำขมิ้น
ขอบเขตของการวิจัย
ตัวแปรที่จะศึกษา
           ตัวแปรต้น :    มดคันไฟ
         ตัวแปรตาม  :  การลดปริมาณมด
         ตัวแปรควบคุม  : ปริมาณสมุนไพร, ปริมาณน้ำมันเบนซินและขนาดของรังมด


บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
พริกชี้ฟ้า  Long cayenne pepper
ชื่อวิทยาศาสตร์ Copsicum annuum var acuminatum                                                                                                                                                   พริกชี้ฟ้าเป็นพืชที่กินผล ใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด และนำไปแปรรูปเป็นอาหารอื่นๆได้อีก พริกชี้ฟ้าเป็นพืชที่มีอายุยืน มีรสเผ็ด และมีทรงพุ่มใหญ่ เมื่อเป็นผลอ่อนจะมีสีเขียวแล้วจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อแก่ พริกชี้ฟ้ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอเมริกาใต้
ลักษณะโดยทั่วไป
พริกชี้ฟ้าเป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5-1.5  เมตร ใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามหรือออกสลับ รูปใบหอก กว้าง 1-4  เซนติเมตร ยาว 2-8  เซนติเมตร ดอกสีขาว ออกเดี่ยวตามซอกใบและปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกห้อยลง เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5  เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 5 อัน ผลรูปทรงกระบอกยาว ปลายเรียวแหลม มักโค้งงอ ยาว  6-9  เซนติเมตร ผิวเป็นมันสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีแดง มีเมล็ดแบนสีนวลจำนวนมาก
พริกชี้ฟ้า สามารถปลูกได้ตลอดปี แต่พริกไม่ชอบอากาศที่ร้อนหรือฝนตกชุกมากเกินไป เพราะจะทำให้ต้นและผลของพริกเล็กและมีแมลงรบกวน พริกชีฟ้าเก็บเกี่ยวครั้งแรกประมาณ 70 - 95 วัน พริกชี้ฟ้าสามารถปลูกในดินได้แทบทุกชนิด ดินที่เหมาะสมคือดินร่วนปนทราย ดินที่ปลูกต้องไม่แห้งหรือแฉะจนเกินไป พันธุ์พริกชี้ฟ้าที่นำมาปลูกเป็นพันธ์พื้นเมือง จะมีพันธุ์ต่างประเทศบ้าง
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
                   ขมิ้นเป็นพืชในตระกูลชิงจิเบอราซีอี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เคอร์คูมา ลองกา (Curcumalongal) เป็นพืชที่มีลำต้นใต้ดินเช่นเดียวกับขิงและไพลโดยมากนักจะเรียกส่วนที่เป็นลำต้นนี้ว่าเหง้า ลำต้นส่วนที่เหนือดินมีความสูงประมาณ 1  เมตร ใบมีขนาดยาว 2-3  ฟุต ปลายใบมน ใบมีสีเขียว ดอกมีสีขาวแกมเหลือง ขมิ้นมักจะขึ้นรวมกันอยู่เป็นกอๆ ส่วนเหง้าจะมีเนื้อ สีเหลืองจัด ถ้าเจริญในดินปนทรายจะให้เหง้ามากกว่าปลูกในดินธรรมดา เจริญได้ดีในฤดูฝน
ประโยชน์
             ขมิ้นเป็นเครื่องเทศที่ใช้กันมานานแล้ว โดยนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆมากมาย จากหลักฐานที่ค้นพบกล่าวว่า ขมิ้นได้มีใช้กันในชาวแอสซีเรียน (Assyrian) ตั้งแต่ 600 ปีก่อนพุทธศักราช การใช้ขมิ้นส่วนใหญ่ จะใช้เป็นเครื่องแต่งกลิ่น รสและสีในอาหารหลายชนิด เช่น แกงกะหรี่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำไปใช้เป็นยาอีกด้วย เช่น เป็นยาลดกรด ขับลมแก้ปวดท้อง แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อทำให้การบีบตัวของลำไส้ลดลง ใช้เป็นยาเจริญอาหาร ขับน้ำเหลือง ใช้รักษารอบเดือนไม่ปกติ น้ำที่ได้จากขมิ้นนำมารักษาโรคผิวหนัง หรือนำมาพอกแก้ปวดตามข้อได้ แก้โรคตา แก้บิดปวดท้อง แก้ดีซ่าน แก้ท้องร่วง นำส่วนเหง้าไปต้มให้สุก แล้วบดให้ละเอียด นำไปทาแก้โรคผิวหนัง ทาตามซอกอับในร่างกายเพื่อบำบัดกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนา เหง้าขมิ้นกินแก้โรคภายในทั้งปวง แก้เสมหะ นำขมิ้นไปต้มกับน้ำนมและน้ำตาลใช้รับประทาน เพื่อป้องกันและรักษาไข้หวัด นอกจากนี้ยังนำไปใช้รักษาแผลสดและทำลายพยาธิได้
สารเคมีที่สำคัญ
                 สารเคมีที่พบในขมิ้นนั้นจะพบในส่วนของน้ำมันหอมระเหยเป็นสำคัญ โดยทั่วไปแล้วขมิ้นจะมีน้ำมันหอมระเหยตั้งแต่2-6เปอร์เซ็นต์น้ำมันมีสีเหลืองและเรืองแสง
ได้เล็กน้อยสารเคมีที่พบมากที่สุดคือ เทอร์มีโรน (Termerone) ประมาณ 58-59 เปอร์เซ็นต์ สารนี้มีสูตรโมเลกุลเป็น C15 H22 O รองลงมาได้แก่ ซิงจิเบอรีน (zingiberene) 25 เปอร์เซ็นต์
                                                        บทที่3
วิธีการดำเนินงาน
วัสดุอุปกรณ์
1.    ขมิ้น     2   ขีด                               2.    พริกชี้ฟ้า   2   ขีด
3.    น้ำมันเบนซิน                                  4.    มีด
5.    น้ำเปล่าสองเท่าของน้ำมันเบนซิน        6.     ภาชนะใส่สมุนไพร
7.    ครก                                             8.    ขวดพลาสติกเปล่า
วิธีการทดลอง
1. เตรียมขมิ้นและพริกชี้ฟ้าให้มีขนาดเท่ากันใส่ลงไปในครก

2. เมื่อตำสมุนไพรเสร็จให้ใส่ลงในภาชนะ

3. เติมน้ำลงไปในปริมาณประมาณ 10  ออนซ์  จากนั้นเติมน้ำมันเบนซินลงไปเล็กน้อยใส่ภาชนะทั้งสองใบแล้วคนให้เข้ากัน

4.กรองน้ำสมุนไพรทั้งสองชนิด   โดยภาชนะกรอง                          
5.บรรจุลงในขวดพลาสติก ให้มีปริมาณที่เท่ากัน
6.นำน้ำสมุนไพรทั้งสองชนิดไปหยอดลงรังมดคันไฟ
7.  ทิ้งไว้    1   วัน แล้วสังเกตผลการทดลอง



บทที่4
การอภิปรายผลการทดลอง

              ศึกษาผลกระทบของสารสมุนไพรที่มีต่อมด คือพริกชี้ฟ้าและขมิ้น โดยการนำไปปั่น ตักสมุนไพรชนิดละ10ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำมันเบนซิน นำสารสมุนไพรที่ได้ไปทดลองประสิทธิภาพ โดยฉีดพ้นบริเวณรังมด ทิ้งไว้1วัน จากนั้นดูผลการทดลอง จากการทดลองใน1วันพบว่าอัตราการตายของมดแตกต่างกันคือผลกระทบของพริกชี้ฟ้าที่มีต่อมดมีมากกว่าขมิ้น



บทที่5
สรุปผลการทดลอง
    จากการทดลองพบว่าสมุนไพรที่สามารถกำจัดมดได้ดีระหว่างพริกชี้ฟ้ากับขมิ้นคือพริกชี้ฟ้าจึงสรุปได้ว่าพริกชี้ฟ้ามีผลกระทบกับมดมากกว่าขมิ้น
ข้อเสนอแนะในการทดลอง
     ควรทำการศึกษาความเป็นพิษของ ขมิ้น และพริกชี้ฟ้าที่มีต่อมดโดยสามารถนำไปประยุกต์เป็นสารสกัดหรือสเปรย์ ที่สามารถใช้ได้สะดวกสบาย และเป็นการใช้ต้นทุนต่ำ



เอกสารอ้างอิง

http://www.thaifitway.com
http://www.samunpai.com
http://www.it-gateways.com

แสดงความคิดเห็น

>

92 ความคิดเห็น