Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อุตสาหกรรมปุ๋ย (Test !!!)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
     อุตสาหกรรมนั้นมีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเซรามิกเอย อุตสาหกรรมทำโซดาไฟเอย  แต่ทุกๆคนทราบไหมว่าปุ๋ยเคมีที่มีองค์ประกอบของธาตุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แลtโพแทสเซียมนั้นมีกระบวนการทำอย่างไรกัน ถ้าอยากรู้ เรามาตามติดบทความที่น่าสนใจดีๆเหล่านี้กันดีกว่า....

(ปล. กระทู้นี้อ่านไปอย่า นะลูก  เดี๋ยวหลุด.......)


อุตสาหกรรมปุ๋ย



อย่างแรก เราต้องมารู้จักกันก่อนว่าปุ๋ยนั้นคืออะไร ???


          
  ปุ๋ย คือ สารที่ใส่ลงไปในดิน เพื่อเพิ่มธาตุอาหารซึ่งมีอยู่ในดินไม่เพียงพอ  จนพอแก่ความต้องการของพืช เพื่อพืชจะได้เจริญเติบโตงอกงามและให้ผลผลิตสูง (นิยามทั่วไปจร้า ^^)
           
            ปุ๋ย ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 หมายความถึง สารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือสังเคราะห์ขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารพืชได้ ไม่ว่าโดยวิธีการใดหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดินเพื่อบำรุงความเจริญเติบโตของพืช (เริ่มเป็นหลักการแระ 0.0)
            
            ปุ๋ย หรือ fertilizer มาจาก fertile (เฟอร์ไทร์) หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยลงในดินก็เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารแก่พืช โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ซึ่งพืชยังขาดอยู่ให้ได้รับอย่างเพียงพอ ช่วยให้พืชเจริญเติบโตงอกงาม พร้อมที่จะให้ผลผลิตมีคุณภาพและได้ปริมาณสูง (อินเตอร์ซะหน่อย  = =*)

เอ๊ะ !!!! เมื่อกี้นี่ ถ้าอ่านจากย่อหน้าที่3 จะเจอคำว่า "ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม" (มองไม่เห็นนี่คงจะตาบอดสีเอาได้นะ) เรามารู้จักกันซะหน่อยดีกว่าว่าธาตุทั้งสามตัวนี่มันคืออะไร..... (ไม่รู้ว่าใครเอามันเข้ามา....????)


ธาตุไนโตรเจน    
               
           พืชโดยทั่วไปมีความต้องการธาตุไนโตรเจนเป็นจำนวนมาก ไนโตรเจน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกรดอะมิโน ซึ่งประกอบขึ้นเป็นโปรตีนที่มีอยู่ในพืช ช่วยทำให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว พืชที่ได้รับธาตุไนโตรเจนอย่างเพียงพอจะมีใบสีเขียวสด แข็งแรง โตเร็ว ให้ดอกและผลที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะพวกผักที่รับประทานใบ ถ้าได้ธาตุไนโตรเจนมากจะทำให้อวบ กรอบ มีเส้นใยน้อยและมีน้ำหนักดี ในกรณีที่ขาดธาตุไนโตรเจน พืชจะแคระแกรน ใบเหลืองผิดปกติและเ่ยวเฉา ออกดอกและผลช้า ในดินทั่วๆไปมักมีธาตุไนโตรเจนไม่เพียงพอจึงต้องใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนลงไป ซึ่งจะไปช่วยเร่งให้ต้นและใบเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าพืชได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไปอาจจะเกิดผลเสีย เช่น ทำให้อวบน้ำมาก ลำต้นอ่อนล้มง่าย โรคและแมลงเข้ารบกวนหรือทำลายง่าย เป็นต้น
                              
                            
                 (ใบเหลือง....สำหรับคนชอบบอล)       (ใบเหลือง..ใบไม้จริงๆแล้ว)


ธาตุฟอสฟอรัส     
               
          เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสารประกอบพวก nucleoprotein และ phospholipids สารประกอบทั้งสองนี้เป็นส่วนของโครงสร้างของโปรตีนและเซลล์พืช 
ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของฟอสเฟต เช่น H2PO4- และ HPO42- โดยละลายน้ำในดิน พืชต้องการธาตุฟอสฟอรัสน้อยกว่าธาตุไนโตรเจน แต่ในดินมักมีธาตุฟอสฟอรัสหรือฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ ไม่เพียงพอ จึงต้องใส่ปุ๋ยที่มีธาตุฟอสฟอรัส ถ้าพืชได้รับธาตุฟอสฟอรัสเพียงพอจะมีระบบรากที่แข็งแรง แพร่กระจายอยู่ในดินอย่างกว้างขวาง ทำให้พืชสามารถดูดน้ำและธาตุอาหารได้ดี การออกดอกและผลจึงเกิดเร็ว ในกรณีที่ขาดธาตุฟอสฟอรัสพืชจะแคระแกรน ใบมีสีเขียวคล้ำ รากจะชะงักการเจริญเติบโต ทำให้ไม่ออกดอกและผล


(ข้าวที่มีรากพัฒนาไม่เต็มที่จึงลักษณะแคระแกรน)

ธาตุโพแทสเซียม
   
           
          โพแทสเซียม เป็นธาตุที่จำเป็นในการสร้างแป้ง และช่วยให้ใบมีประสิทธิภาพในการดูดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีส่วนร่วมในการสร้างคลอโรฟิลล์ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากและหัว สร้างเนื้อไม้ที่แข็งของลำต้น และทำให้ผลไม้มีรสหวานคุณภาพดี เส้นใยน้อย แต่ถ้าพืชขาดธาตุนี้ เมล็ดจะลีบและมีน้ำหนักเบาผิดปกติ หากเป็นไม้ผลเนื้อไม้จะฟ่าม รสชาติกร่อย ลำต้นแคระแกรน
พืชจะใช้ธาตุโพแทสเซียมได้เมื่ออยู่ในรูปของไอออน K+ เท่านั้น ถ้าอยู่ในรูปอื่นๆ ที่ไม่ได้แตกตัวเป็น

(ลักษณะของลำต้นพืชที่ขาดโพแทสเซียมขนแคระแกรน)


อ่านแล้วเราอาจรู้สึกงงงง?? (ยิ่งอ่านก็ยิ่งสับสนในตัวเอง ดังนั้นจะสรุปให้ฟังนะ ทริคในการจำ)

ไนโตรเจน = เติบโตไม่ดี ระวังมีใบสีเหลือง (ถ้าขาดนะ)

ฟอสฟอรัส = รากผมดูดน้ำดี เลยมีดอกและผลไว

โพแทสเซียม = ขาดคลอโรฟิลส์วันนี้ คงมีอาหารอร่อยดีอยู่ไม่มาก

(อย่าคิดว่ามันไร้สาระนะ เผื่อมีออกสอบ 555+)


ว๊า...นอกเรื่องมามากแระ (ขอนอกเรื่องต่อหน่อยรึกัน.....)

ปุ๋ยที่เราพบตามท้องตลาดนั้นมีทั้งปุ๋ยอินทรีย์(จากธรรมชาติ)และปุ๋ยเคมี(ที่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้น) ซึ่งจะบอกไปให้คนทั่วไปใช้ยังไงก็ต้องเลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์อยู่แล้ว (ใครๆก็ชอบของOrganic !!!! ทั้งนั้น โดยเฉพาะป้าๆที่รักษาสุขภาพ)  เราจึงต้องขอบอกกล่าวให้ทราบถึงข้อดีและข้อเสียของปุ๋ยทั้งสองประเภทว่ามันดีอย่างไร ???

ข้อดีและข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์- ปุ๋ยเคมี

ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์
ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์
1. ช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น
1. ปริมาณธาตุอาหารต่ำ
2. อยู่ในดินนาน (ค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหาร)
2. ใช้เวลานานกว่าจะเป็นประโยชน์
3. ส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์ดีขึ้น
3. ราคาแพงต่อหน่วยธาตุอาหารพืช
4. ส่งเสริมสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน
4. หายาก
5. มีจุลธาตุ
 
 

ข้อดีของปุ๋ยเคมี
ข้อเสียของปุ๋ยเคมี
1. มีปริมาณธาตุอาหารสูงมาก (ใช้นิดเดียวก็เพียงพอ)
1. ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมทำให้ดินเป็นกรด
2. ราคาถูก
2. ไม่มีคุณสมบัติปรับปรุงดิน
3. หาง่าย
3. มีความเค็ม
4. ใช้ง่าย
4. การใช้ต้องการความรู้พอสมควร
5. ให้ผลเร็ว
 

เหอะๆ รู้ถึงข้อดีขอเสียกันแล้วใช่ไหมล่ะ ??? (ที่นี่เรามาเข้าเนื้อหาของเรากันเลยดีกว่า)

ในการผลิตปุ๋ยเคมีนั้นเราจะมาแนะนำถึงกระบวนการทำปุ๋ยยูเรียและปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตว่ามันทำอย่างไรถึงจะได้ปุ๋ยชนิดนี้ !!!!


การผลิตปุ๋ยยูเรีย(NH2CONH2)
           
                เตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างแก๊ส NH3 กับแก๊สCO2 โดยใช้อุณหภูมิประมาณ 180-210 องศาเซลเซียส และความดัน 140-250 บรรยากาศ จะได้แอมโมเนียมคาร์บาเมต (NH2CONH4) กับน้ำ ดังสมการ
                
               
2NH3 (g) + CO2 (g)   NH2CONH4 (aq)
 
            NH2CONH4 (aq)  NH2CONH2 (aq) + H2O (l)
 
              
              
NH3 กับ CO2 เตรียมได้จากก๊าซธรรมชาติ
               
            NH3 เตรียมจาก N2 และ H2ในอากาศ โดยนำอากาศมากลั่นลำดับส่วน คือ ลดอุณหภูมิลงมากๆ พร้อมกับเพิ่มความดันจนอากาศกลายเป็นของเหลว
            เริ่มต้นเตรียม N2 ทำให้อากาศกลายเป็นของเหลวทั้งหมดก่อนโดยการลดอุณหภูมิลงมากๆ และเพิ่มความดันสูงๆ จากนั้นนำอากาศเหลวซึ่งมี N2 และ O2 เป็นส่วนใหญ่มากลั่นลำดับส่วนแยกออกจากกัน N2 ซึ่งมีจุดเดือดต่ำกว่า O2 จะแยกออกมาก่อนแล้ว O2  จึงกลั่นออกมา ภายหลัง

        การเตรียม H2ในกรณีที่มีก๊าซปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติ โดยนำ O2   ที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนอากาศมาทำปฏิกิริยาดังสมการ โดยใช้ภาวะที่เหมาะสมและใช้ Niเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้ H2 และCO
                                                 Ni
              2CH4 (g) + O2 (g)                  2CO (g) + 4H2 (g)
 
                หรืออาจใช้ไอน้ำทำปฏิกิริยากับก๊าซ CH4 โดยตรง จะได้ก๊าซ COและH2 เช่นเดียวกัน
                                                             
    Ni
               CH4 (g) + H2O (g)        →         CO (g) + 3H2 (g)
 
          เมื่อแยกก๊าซ H2ออกจากก๊าซผสมแล้ว จึงนำก๊าซ COที่เหลือไปทำปฏิกิริยากับก๊าซ CH4 อีกภายใต้อุณหภูมิสูง และมีตัวเร่งปฏิกิริยาเหมาะสม จะได้ก๊าซ CO2 และH2
                                               FeO, Cr2O3       

            CH4 (g) + CO (g)                     CO2 (g) + H2 (g)

             


           ก๊าซผสมทั้งหมด (CO+H2) สามารถแยกออกจากกันได้โดยผ่านเข้าไปในหอคอยที่มีน้ำพ่นลงมา ก๊าซCO2 ละลายน้ำได้ เกิดเป็นกรด H2CO3 ไหลออกทางส่วนล่างของหอคอยพร้อมกับน้ำ
                               
            CO2 (g) + H2O (l)    H2CO3 (aq)
               
               สำหรับก๊าซ H2 ซึ่งไม่ละลายน้ำจะผ่านขึ้นไปออกทางส่วนบนของหอคอย เก็บไว้ทำปฏิกิริยากับ N2 เพื่อเตรียมก๊าซ NH3 ต่อไป สำหรับกรดH2CO3 นำไปแยกสลายให้กลับมาเป็นก๊าซ CO2ได้ โดยนำ H2CO3 ไปลดความดันและเพิ่มอุณหภูมิ
           

                                   เพิ่มอุณหภูมิ
            H2CO3 (aq)                        CO2 (g) + H2O (l)
                                    ลดความดัน     
            
              
ก๊าซ N2 ที่เตรียมจากอากาศ และ H2 ที่ได้จากก๊าซธรรมชาตินำมาทำปฏิกิริยากันจะได้ NH3 เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาที่มีภาวะสมดุลจึงต้องเลือกภาวะที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ก๊าซ มากที่สุด โดยทั่วๆไปใช้อุณหภูมิประมาณ 300 องศาเซลเซียส 350 บรรยากาศ และใช้ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
เมื่อนำก๊าซ NH3ไปทำปฏิกิริยากับก๊าซCO2 จะได้ปุ๋ยยูเรีย
           
            CH3 (g) + CO2 (g)  →   NH2CONH2 (s) + H2O (l)

 
         นอกจากนี้ ถ้าใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นวัตถุดิบแทนก๊าซธรรมชาติ จะเตรียมCO2 และ H2 ได้โดยการเผารวมกับ O2 จะได้ CO2 ,CO , H2 
      เมื่อแยกก๊าซอื่นๆที่ไม่ต้องการ เช่น H2S และNO ออกไปแล้วจึงทำให้ CO กลายเป็นCO2โดยนำก๊าซผสมไปทำปฏิกิริยากับไอน้ำที่ความดันสูงๆ และมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม COจะรวมตัวกับ H2O ได้เป็น CO2 และ H2
      หลังจากได้ก๊าซผสม CO2 และ H2 แล้ว กระบวนการต่อๆไป สำหรับเตรียมปุ๋ยยูเรีย จะเหมือนกับกรณีที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ




         


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 19 กันยายน 2554 / 18:28
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 19 กันยายน 2554 / 18:39
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 19 กันยายน 2554 / 19:01
แก้ไขครั้งที่ 4 เมื่อ 19 กันยายน 2554 / 19:20
แก้ไขครั้งที่ 5 เมื่อ 19 กันยายน 2554 / 19:23
แก้ไขครั้งที่ 6 เมื่อ 19 กันยายน 2554 / 19:29
แก้ไขครั้งที่ 7 เมื่อ 19 กันยายน 2554 / 20:25
แก้ไขครั้งที่ 8 เมื่อ 19 กันยายน 2554 / 20:27

แสดงความคิดเห็น

>

5 ความคิดเห็น

hightness 14 ก.พ. 55 เวลา 20:20 น. 3

 เยี่ยมกำลังต้องการพอดี ขอบคุณค่ะ


PS.  ...ผู้ที่บอกว่าความรักคือสิ่งที่หอมหวาน คือคนที่ไม่รู้จักความรัก ผู้ที่บอกว่าความรักคือสิ่งที่น่าเกลียด คือคนที่โอ้อวดว่าตนรู้จักความรัก...
0