Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คุณคิดอย่างไรกับเด็กไทยเรียนหนักแต่ไม่ประสบความสำเร็จ?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
วันนี้เรามีข้อสงสัยเกี่ยวกับเด็กไทยส่วนมากที่เรียนหนักกันทุกวี่ทุกวันว่า แต่ละวันเราเรียนกันหนักมาก ๆ เลิกจากโรงเรียนก็เย็นแล้วแต่ต้องไปเรียนพิเศษจนมืดจนค่ำอีก ในความคิดของเราคือภายในห้องเรียน เคยได้ยินไหมมีแต่คนพูดว่า"เด็กไทยคิดไม่เป็น"ทุกวันนี้เด็กเจออะไรคะ?...เจอแต่ตำรา...เจอแต่หนังสือเรียน(เรายกตัวอย่างเด็กที่เรียนหนักแต่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตนะคะ)ส่วนมากเราเรียนเพื่อจำ จำเพื่อสอบ สิ่งตกตะกอนเป็นความรู้นั้นน้อย ส่วนเรื่องเรียนพิเศษจนมืดจนค่ำนั้น สมัยนี้หากใครไม่เรียนก็ตามเพื่อนตามข้อสอบไม่ทัน เพราะการเรียนพิเศษเป็นการติวเพิ่งเติมเป็นการเก็งข้อสอบ ซึ่งจะทำให้ผลคะแนนของเราออกมาดี เราอยากให้เพื่อนๆช่วยกันเข้ามาแสดงความคิดเห็นของเพื่อนๆให้เราและคนที่เข้าอ่านกระทู้ได้ทราบกันนะคะ ขอบคุณมากค่ะที่เสียสละเวลาเข้ามาอ่านและร่วมแสดงความคิดเห็นกัน :)

แสดงความคิดเห็น

>

52 ความคิดเห็น

เซนเตอร์ 31 ส.ค. 56 เวลา 15:53 น. 1

เพราะถูกหลายๆฝ่ายทั้ง ครูอาจารย์ ผู้ปกครองกัดดันมากเกินไป หรือไม่ก็เด็กๆก็อยากมีเวลาว่างบ้างเพราะมีการบ้านเยอะถึงมีเวลาพักผ่อนน้อย หรืออาจจะเป็นการที่มีการบ้านมากเกินไปจนไม่มีเวลาอ่านหนังสือทบทวนก็อาจจะเป็นได้ พอไม่ได้ทบทวนการเรียนก็ไม่แน่นเท่าที่ควร

0
Art'Indy Yoki ^^ 31 ส.ค. 56 เวลา 15:59 น. 3

เรามีความเห็นว่า การที่เด็กเรียนพิเศษข้างนอกเพิ่มเติม นอกจากเป็นการเรียนล่วงหน้า ทำเกรดให้ออกมาดีแล้ว ยังมีผลสืบเนื่องต่อไปถึงตอนเอ็นทรานด้วย เพราะมีหลายวิชานะที่ออกมาเกินขอบความรู้ของเด็ก ยกตัวอย่างวิชาคณิต เทียบอัตราเด็กสอบผ่านเกิน50% ก็นับว่าน้อยแล้ว  วิชาอังกฤษก็มีแต่คำศัพท์ที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันออกมาเรื่อยๆ อย่างกับให้อ่านดิคทั้งเล่มงั้นแหละ ออกก็มั่ว อีกอย่างหนังสือเรียนของแต่ละโรงเรียนก็ไม่เหมือนกัน ขนาดครูที่สอนในรร.เดียวกันยังใช้เนื้อหาตื้นลึกไม่เท่ากันเลย อย่าหวังว่าเกรดจะออกมาเท่ากัน มันเลยมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนพิเศษในเมื่อยังออกข้อสอบกันเกินขอบเขตอย่างนี้ ถ้าอยากให้ง่ายสุดนะ เราว่ากระทรวงน่าจะออกหนังสือให้เหมือนกันทุกรร.ตัดปัญหา /เราอยู่ม.5 จ.ชลบุรี ปีหน้าเตรียมอาเซียนอีก เราว่าเมืองไทยยังไม่พร้อมเข้าหรอก

0
เย้เย้เย้ 31 ส.ค. 56 เวลา 16:21 น. 4

เราเป็นคนหนึ่งที่ไ่ม่ได้บ้าเรียนพิเศษเเละก็ไม่ได้บ้าตำรา เพราะเราคิดว่าการหมกมุ่นอ่านอยู่เเต่ตำราหรือเีรียนพิเศษมากเกินไปก็ไม่ได้ส่งผลดีต่อการเรียนเรานัก ทำให้เครียดเเละกดดันเปล่าๆ ในความเห็นส่วนตัวของเราคือ เรียน 50 เปอที่เหลือก็ผ่อนคลาย ทำอย่างอื่นที่ไม่ได้ไร้สาระไปซะทีเดียว บางเวลาที่สมองไม่อยากรับรู้ หรือจดจำตำราก็อย่าฝืน เอาเวลาที่เราอยากอ่านจริงจริง ก็จะดีเอง ฮี้ฮี้รักเลย

0
Gift'zf 31 ส.ค. 56 เวลา 16:29 น. 5

ต่างประเทศเรียนแค่ครึ่งวันเอง ซึ่งต่างจากประเทศไทยเรียนทั้งวันแถมเลิกเรียนก้ต้องไปเรียนพิเศษอีก ต่างประเทศเน้นให้ลูกเรียนรู้ด้วยตัวเองจากเวลาที่เหลือให้แต่ละวัน อยากให้พ่อแม่ผู้ปกครองเล็งเห็นความสำคัญของลูกว่าเค้าอยากเรียนพิเศษไหม แล้วลูกอยากเรียนอะไร อยากให้ลูกเก่งเป็นความคิดของพ่อแม่ทุกคนค่ะ ที่เด็กไทยคิดไม่เป็นเพราะว่ามีพ่อแม่มาค่อยคิดแทนตลอด เช่นเทอมนี้เกรดลูกตกต้องเรียนพิเศษอย่างเดียวอะไรแบบนี้ โดยที่ไม่รู้สาเหตุว่า ทำไมเกรดถึงตก และหาทางแก้แต่อย่ากดดันจนเกินไปจะทำให้เด็กเกิดความเครียดได้นะค่ะ



กดLIKE

0
กุ๊ก 31 ส.ค. 56 เวลา 16:58 น. 6

เหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทยไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เราว่าส่วนหนึ่งมาจากการเรียนที่เน้นแต่แบบท่องจำ จำเพื่อสอบ ไม่ได้จำเพื่อเอาไปใช้ในชีวิตจริง แล้วยังไม่เน้นการคิด วิเคราะห์เท่าที่ควรอีกด้วย

0
DarkSideSystem 31 ส.ค. 56 เวลา 17:06 น. 7

ไม่ประสบความสำเร็จของคุณหมายความว่ายังไง

แต่สำหรับผม บางทีก็ไม่ขึ้นอยู่กับการศึกษาหรอก
การศึกษาเป็นแค่การเรียนรู้เอาไปพัฒนาชีวิตภายในอนาคต
คนที่จบไปแล้ว ก็ยังมีแบบที่ไม่รู้ว่าเรียนจบแล้วได้อะไรเลย
บางคนก็กลายเป็นสภาพเร่ร่อนการงานก็มี

ผมคิดว่า
มันอยู่ที่ตัวคนด้วย ที่จะนำเอาสิ่งที่เราเรียนไปพัฒนาความรู้
การอยุ่ร่วมกัน 


0
gddragon 31 ส.ค. 56 เวลา 17:08 น. 8

คิดว่า เรียนผิดวิธี ค่ะ เท่าที่ดูเวลาเราเรียน จะจดตามกระดานหลายครั้งไม่ได้คิดตามด้วยซ้ำ แล้วก็เวลาให้งานมาเรามักจะทำพอเอาส่ง รายงานก็ค้นคว้าพอส่งๆไป เรียนก็เรียนแบบให้จบไปวันๆนึง

การไปโรงเรียนมีแค่ ตื่น ไปโรงเรียน ลอกการบ้าน รอพักเที่ยงขี้เกียจเรียนน่าเบื่อ รอเลิกเรียนจะได้ไปเล่น จบ ทั้งหมดนี้เป็นเพราะพวกเราไม่สนใจเรื่องที่เรียนเลย ตั้งแต่หลายคนเคยชินกับการสั่งให้เรียนรู้ สั่งให้สนใจ มากกว่าที่จะเป็นความสนใจ สมัครใจของเราเอง

ต่างประเทศเค้าเริ่มต้นการเรียนโดยการให้เราสงสัยและสนใจ แล้วค่อยมาลงลึกในที่เขาสนใจ อีกอย่างบ้านเขาไม่จำเป็นต้องเลือกงานตามที่ตลาดต้องการ(คือไม่ต้องกลัวตกงานนั่นแหละ) เพราะงั้นเขาเลยมีโอกาสที่จะได้ทำงานในสิ่งเขาสนใจมากกว่า

ถามว่าเมื่อไหร่การศึกษาไทยจะเปลี่ยน ก็......คงต้องรอให้เศรษฐกิจดี เงินเยอะ รายได้ต่อคนสูงขึ้น การเมืองคงที่...และตลาดงานคงจะกว้างขึ้น(อาเซียนจะเปิดแล้วนี่)...และเด็กไทยก็จะมีโอกาสในการเรียนคุณภาพดีเต็มที่ค่ะ

0
Demon_damon 31 ส.ค. 56 เวลา 17:39 น. 9

    เราว่า เรียน พิเศษช่วยเยอะนะ คือ ถ้าสอนไม่ดี คนไปเรียนก็ไม่เยอะเงินเค้าก็จะไม่ได้เงินใช่ป่ะ (อันนี้ขอพูดถึงที่เรียนแบบไม่ดังอ่ะนะ ไม่ใช่แบบที่มันมีหลายๆ สาขา) ดังนั้นที่เรียนพิเศษอ่ะ เรียนแล้วดีขึ้นอยู่ ..... อืม ที่ว่า เรียนเพื่อนจำก็จริงนะ เราว่าลงมือทำอะดีสุด แล้วพวกรร. ที่เด็กไปวิท-คณิตแน่ๆ อ่ะบางที ภาษาไทย สังคม อะไรพวกนี้ มันก็ไม่ได้ใช้ใช่ป่ะ คาบวิท คณิตก็น้อยลง แล้วที่สอบเข้าก็มีแค่ วิท คณิต อังกฤษอะไรงี้ แบบบางวิชาสอบเข้าไม่ใช้เลย
   แต่ก่อน รร.พ่อเรา (ทหาร) ก็เรียนแค่วิท คณิต อังกฤษ แล้วนร.เก่งกันมาก แต่พอ กระทรวงศึกษาให้เรียนทุกวิชา ด้วยเหตุผลว่า เรียนไม่ครบเทียบไม่ได้ ก็จบแล้ว -_-p  

ปล.ความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ^^;

0
bestsy-lolipop 31 ส.ค. 56 เวลา 18:07 น. 10

ที่เรียนหนักจริงๆ เขาก็ต้องประสบผลตามที่เขาต้องการแหละ
แต่ภาพรวมส่วนใหญ่ คงจะไม่ใช่เด็กเรียนหนักจริง เป็นแค่เด็กที่เรียนตามหลักสูตร ตามกระแส กลับบ้านก็โยนทุกอย่างทิ้งมากกว่า ถึงไม่ประสบความสำเร็จ

ส่วนเรื่องคิดไม่เป็น คิดว่าทุกคนมุ่งเป้าไปที่คะแนน เรียนหาแค่คำตอบ ไม่ได้หาวิธีคิด แล้วจะคิดเป็นได้ไง??

0
孔軒 31 ส.ค. 56 เวลา 18:45 น. 11
เหอะ
เรียนหนัก
แล้วจะประสบความสำเร็จ


ไปดู
บุคคลที่ประสบความสำเร็จระดับโลกสิ
พวกนี้เรียนหนักที่ไหน
นักกิจกรรมทั้งนั้น


นักกิจกรรมหมายถึง
บุคคลที่มีความสามารถในการชักชวน
และนำผู้อื่นให้ไปในทางของตนเอง
ด้วยความยินดีและประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย


0
fgsdsd 31 ส.ค. 56 เวลา 20:44 น. 12

ต้องเปลี่ยนวิธีคิดค่ะ เริ่มจากนะ

1. นักเรียนเองควรจะนึกถึงอนาคตและชีวิตที่ยาวไกลให้มากๆ
เช่น เราจะเรียนอะไร โตขึ้นเราอยากเป็นอะไร เพราะทุกวันนี้เด็กๆไม่ได้สนใจเรื่องนั้น
ทำให้ต้องเรียนแบบสะเปะสะปะ เรียนพิเศษมันหมดทุกอย่าง ดนตรีก็เรียน ศิลปะก็เรียน
เลขก็เรียน วิทย์ก็เรียน ภาษาก็เรียน แต่ไม่เคยถามตัวเองว่าที่จริงแล้วเราชอบอะไรกันแน่
เด็กไทยจึงออกมาแนวๆที่ว่า ทำเป็นทุกอย่าง แต่ทำได้ไม่ดีที่สุดสักอย่าง
และอีกประสบการณ์นึงนะที่เจอมา คือชอบเรียนเพื่อไปสอบ ไม่ได้เรียนเพื่อเอาไปใช้
เด็กบางคนมาโรงเรียนแล้วไม่ได้ตั้งใจเรียน ตามหาแต่แนวข้อสอบ รอแต่เฉลย ลอกกันบ้าง
จะทำรายงานก็ไม่ยอมค้นหนังสือมาทำ แต่มักไปก็อปปี้จากเน็ตมาส่งแทน
มันเลยผิดจุดประสงค์ของการเรียนรู้ แต่ไม่เคยพยายามอ่านหรือทำความเข้าใจกับบทเรียนเองเลย ทำให้วิเคราะห์ไม่เป็น ต้องคอยแต่ให้คนอื่นมาบอกมาสอนเท่านั้น

2. ครู ที่จริงอาชีพนี้ควรจะได้คนเก่งคนดีมาสอนด้วยซ้ำ แต่กลับกลายเป็นว่า
อาชีพครูเป็นอาชีพที่ถ้าไม่ตกงานก็คงไม่มาทำ เพราะเงินเดือนน้อยและก็เหนื่อยมาก
อันนี้เราอยากให้รัฐบาลเข้ามาดูแลมากๆเลย เช่น เพิ่มอัตราเงินเดือนให้ครู
หรือไม่ก็จัดอบรมการเป็นครูที่ดีด้วย เพราะเรามักจะเห็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหลายอย่าง
เช่น ครูบางคนเลือกปฏิบัติ พูดจาไม่ดีกับเด็ก กริยามารยาทไม่เหมาะสมเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี
สอนก็ไม่เต็มที่ บางคนไม่ยอมสอนเลยให้เด็กไปอ่านเอง ความจริงแล้ววิธีนี้
ถ้าใครขยันก็แล้วไป ถ้าใครไม่ขยันก็ซวยเพราะจะไม่ได้อะไรเลย
บางคนบอกข้อสอบเด็กเฉยเลย บอกแบบชัดเจนเลยนะว่าข้อนี้ถามอะไรยังไงบ้าง
มองเผินๆเหมือนคนใจดี แต่ความจริงแล้วมันคือสิ่งที่ทำร้ายเด็ก ทำให้เด็กไม่มีความพยายาม
เรียนแล้วเอาไปใช้ไม่ได้ เพราะสุดท้ายยังไงครูก็ต้องมานั่งบอกข้อสอบอยู่ดี

3. ผู้ปกครอง สมัยนี้เอาแต่ทำงาน ไม่ค่อยมีเวลาจะใส่ใจเด็ก
จึงไม่รู้ว่าลูกตัวเองเป็นยังไง ต้องการอะไร เราว่าเรื่องสำคัญมากนะ
แล้วผู้ปกครองบางคนที่ชอบเน้นเกรดมากๆ ค่านิยมเรื่องมหาวิทยาลัยของรัฐกับเอกชน
ค่านิยมเรื่องเกรดที่ต้องมากกว่า 3 เราว่านี่แหละคือสิ่งที่ทำให้เด็กหลายๆคน
ต้องเรียนหนัก แต่ไม่ได้ความรู้ เพราะพวกเขาต้องเรียนเพื่อเอาเกรดมาแลกความพอใจจากพ่อแม่
บางคนต้องมาแลกของใช้ที่ขอพ่อแม่แล้วไม่ได้ ได้เกรดเยอะแต่เอาตัวรอดในสังคมไม่ได้
เพราะสิ่งที่เน้นไม่ใช่ความรู้ที่จะได้นำไปใช้ แต่เป็นแค่โจทย์เลข สูตรต่างๆ
ที่มันแทบจะไม่จำเป็นเลยในชีวิตประจำวัน

เรื่องเรียนพิเศษก็ด้วย เด็กบางคนเรียนตามๆเพื่อน เห็นเพื่อนเรียนแล้วมีข้อสอบเยอะก็เรียนตามบ้าง
เราว่ามันไม่จำเป็นเลย ตอนสมัยเรียนมัธยมเราเรียนพิเศษแค่เลขวิชาเดียว
แต่เด็กบางคนเรียนทั้งหมดประมาณ 6 วิชา ลากทั้งสังคม ภาษาไทย การงาน ศิลปะมาหมด
ทั้งๆที่มันศึกษาเองได้ถ้าพวกคุณใส่ใจมากพอ
แล้วเรื่องข้อสอบของรัฐอีกเหมือนกัน เราก็เคยผ่านการสอบพวกนั้นมาแล้ว
บอกตรงๆเลยว่าเพลียค่ะ ไม่ได้อยู่ในบทเรียนเลย คุณเอาอะไรก็ไม่รู้มาออก
ชนิดที่แบบว่าต่อให้ลากพวกผู้ใหญ่มานั่งทำด้วยก็ไม่มีใครทำได้เหมือนกัน
แล้วก็บอกว่าวัดความถนัด สุดท้ายเด็กต้องแห่ไปเรียนพิเศษเพื่อที่จะทำข้อสอบพวกนี้ให้ได้


0
Two Face (= /// =) 31 ส.ค. 56 เวลา 23:03 น. 13

ผมเป็นอีกคนนึงที่ไม่เรียนพิเศษนะ ผมว่ามันเป็นการรบกวนเงินในกระปุกตัวเองเปล่าๆเรียนพิเศษอันนี้อาจทำให้คนเรียนไวก็จริงแต่สุดท้ายค้นคว้าเองนิดหน่อยมันก็ทันกันเอง เคยถามเพื่อนเหมือนกันว่าเรียนพิเศษแล้วเข้าใจขึ้นไหม มันก็บอกว่าไม่เห็นรู้เรื่องเลยก็มีนะครับ (คหสต.)
ส่วนเรื่องที่ว่าเด็กไทยคิดไม่เป็น คงเพราะหลักสูตรคนไทยสอนให้เด็กท่อง แล้วจำ แล้วเอาไปสอบ แล้วก็จบ ไม่ได้สอนให้เข้าใจหรือสอนเพื่อให้ใช้จริง เด็กไทยเลยเอาแต่ท่องๆๆๆๆๆแล้วก็จำเอาอย่างเดียว
ส่วนเรื่องที่ว่าเรียนหนักแล้วไม่ประสบความสำเร็จนี้ มันก็ขึ้นอยู่กับว่าคนคนนั้นว่าเค้าตั้ง "ความสำเร็จ" ของเขาไว้สูงแค่ไหน บางคนแค่อยู่ได้เลี้ยงตัวเองกับครอบครัวได้ก็นับว่าประสบความสำเร็จแล้ว แต่บางคนก็หวังสูงแบบ...สูงมากอ่ะ

(คหสต.)

0
นินิว 1 ก.ย. 56 เวลา 10:10 น. 15

เพราะเด็กไทยเอาชีวิตไปฝากไว้กับการเรียนการสอบไง ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนมาส่งเสริมลูกให้ไปด้านการเรียน ไม่ได้ส่งเสริมทางด้านความคิด -เด็กก็ก้มหน้าทำตามโดยไม่มีจุดหมาย คิดเองไม่เป็น(เพราะถูกปลูกฝังมาเช่นนี้)รอการป้อนข้อมูลอย่างเดียว

เรียนพิเศษมันก็ช่วยแค่สอบได้ บางที่สอนไม่รู้ที่มาที่ไปเขาให้ทำอย่างนี้ก็ทำอย่างนี้ตาม(ถามว่ารู้ไหมว่าสูตรนี้มาจากไหน ทำหน้ามึนใส่ เราให้เพื่นที่เรียนพิเศษพวกสถาบันชั้นนำมาสอนให้เราบ่อยมันเหมืนกับว่าพวกนี้เขาถูกบล๊อกข้อมูลว่าถ้าเจอแนวนี้ต้องทำอย่างนี้) ถามกลับไปอยู่มหาลัยใครจะมานั่งสอนพิเศษให้คุณ รุ่นพี่เขาก็มีงานของเขาสุดท้ายก็พึ่งตัวเอง

แล้วเวลาเอาคาบเรียนไปเทียบเด็กไทยจะเอาไปเทียบกับอะไรคะ อเมริกา อังกฤษ ทำไมไม่เอาไปเทียบกับจีน เกาหลี ญี่ปุ่นเขาบ้างอ่ะ แล้วจะรู้ว่า-ที่เรานั่งเรียนกันอยู่มันสบายกว่าพวกที่2เยอะ

บางทีเด็กก็โทษผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็โทษเด็ก เราว่ามันก็ผิดทั้งคู่แหละ

0
เด็กคนนึง 1 ก.ย. 56 เวลา 11:14 น. 16

เราว่าเด็กที่เรียนพิเศษส่วนใหญ่ก้อเรียนตามเพืีอนอ่ะ. เราเห็นเยอะ. สุดท้ายก้อโดดกัน. แต่เราเรัยนพิเศษเพื่อเสริมจุดทั่เราต้องการเสริมนะ. เราชอบคณิต. ฟิสิกส์ เราเลยเน้นเรียนสองอันนี้ เราเรียนเพราะเราอยากรุจริงๆ. ส่วนหนึ่งก้อเพื่อสอบด้วยแหละ. เพราะที่โรงเรียนไม่มีบางอย่างที่ รร.พิเศษสอน. เราว่า การเรียนพิเศษก้อเป็นการหาความรู้อย่างหนึ่งนะ. ไม่เห็นผิดเลย. แต่ที่เราว่าผิดคือ. รร.สอนวิชาอื่นเยอะไป. เราว่าในระดับม.ปลาย วิชา ศิลปะ สุข การงาน ควรเป็นวิชาเลือกตามความสนใจเด็กมากกว่า.สายวิทย์ก้อลด ชม. เรึยนไทยสังคม ปรับไทยสังคมให้เข้ากับเด็กวิทย์ ไทยไม่ต้องจำไวยากรณ์ เน้นการสื่อสาร การเขียนเชิงวิชาการ ส่วนเด็กศิลป์ก็ลดชม.วิทย์คณิตแล้วปรับให้เด็กศิลป์เข้าใจสองวิชานี้ง่ายๆ ควรจะให้วิชาหลักแต่ละสายการเรียนเป็นวิชาเน้น. เพราะเนื้อหาค่อนข้างเยอะต้องมีเวลาเรียนเยอะหน่อยถึงจะรุลึกรุจริง. แต่ปัจจุบันวิชาดังกล่าวเป็นวิชาที่เน้น เวลาเรียนวิชาหลักเลยน้อยลง ครูสอนได้ไม่เยอะเพราะเวลาน้อย. เด็กเลยต้องพึ่งที่เรียนพิเศษ. แล้วก็อีกอย่างก็ต้องโทษเด็กด้วย. เพราะเด็กไทยไม่ค่อยมีนิสัยใฝ่เรียนรู้เท่าไหร่ แม้แต่การเรียนรู้แบบการทำกิจกรรมก็ไม่ค่อยคิดหรอกว่ากิจกรรมที่ทำให้ประโยชน์อะไีร. จะนำไปต่อยอดได้ยังไง.คิดแค่ทำให้เสร็จๆไป คิดแค่ทำแล้วสนุก

0
ฉันก็คือฉัน และก็จะเป็นฉัน!!! 1 ก.ย. 56 เวลา 11:39 น. 17

เราว่าเรื่องนี้มันโทษใครได้ที่ไหน
เราเป็นคนไม่เคยเรียนพิเศษเลย แต่เราสอบได้ที่ 1 มาตลอด
ถามว่าเราตั้งใจเรียนไหม
ตอบได้เลยว่าไม่
การบ้านเราไปทำตอนเช้าตลอด
เวลาเรียนก็คุยๆๆๆๆๆ กับเพื่อน เล่นเกมบ้าง วาดรูปบ้าง
อยู่บ้านอ่านการ์ตูน เพราะทำงานร้านหนังสือการตูน
ก็มีบ้างที่อ่านหนังสือเรียน แต่ก็นับครั้งได้เลย
แต่เราว่าเราเป็นคนรู้ตัวเอง
เรารู้ว่าอะไรควรไม่ควร
มีวิธีเรียนเป็นของตัวเอง ไม่ได้สักแต่ท่องๆๆๆๆๆ
เพราะบางที -การท่องๆๆๆ จำๆๆๆๆ มันก็ไม่ช่วยอะไรเราหรอก
มันยิ่งทำให้เราไม่มีความคิด เอาแต่จำ ไม่มีการวิเคราะห์
เราคิดว่าที่เราทำได้ดี เพราะเรารู้จักคัดเลือกความรู้ต่างๆ เข้าสมองมากกว่า
อย่างเวลาอ่านการ์ตูน อ่านนิยาย เราก็จะจำเอาความรู้รอบตัวที่มี
ไปใช้ในการสอบการเรียน

สรุปคือ มันไม่ได้อยู่ที่เราเรียนพิเศษหรือไม่เรียน
มันอยู่ที่ว่าเรารู้จักคิด วิเคราะห์ และแยกแยะ ความรู้ต่างๆ ที่ได้มาหรือไม่ต่างหาก

ขอบคุณที่อ่าน

0
Ammarus 1 ก.ย. 56 เวลา 12:27 น. 18

ไม่ได้เรียนค่ะ ทำงานอย่างเดียวถามหน่อย เพื่ออะไร =_=' ไร้สาระมาก ชีวิต วันๆ อยากจะศึกษาความรู้ด้วยตัวเองบ้าง แต่-งานเยอะ แล้ว ได้ค้นคว้าด้วยตัวเองป่ะ งงค่ะ ชีวิต !!!

0
นักเรียนคนนึง 1 ก.ย. 56 เวลา 12:33 น. 19

พวกคาบหลักๆเช่น 5 วิชาหลักเราพอเข้าใจนะ แต่พวกวิชาเสริมอย่าง IS ชุมนุม หรือเสริมวิชาอ่ะ เราอยากให้ตัดออก เป็นคาบว่างหรือไม่ก็อยากให้จัดเป็นพวกชมรมอ่ะ ให้เช้าชมรมที่ตัวเองอยากเข้า เราว่าพวกวิชาเสริมมันยิ่งเพิ่มภาระให้นักเรียนอ่ะ โดยเฉพาะไอเอส

0
*Quizz 1 ก.ย. 56 เวลา 12:39 น. 20

1. เปลี่ยนวิธีการสอน ให้เด็กรู้จักตัวเองตั้งแต่ขึ้นมัธยมต้น
ให้คิดเอง ทำเอง รู้เอง ให้เด็กมีเวลาอยู่กับตัวเองบ้าง
เช่น รู้ว่าตัวเองชอบทำอะไร อยากทำอะไร

2. เลือกสิ่งที่ชอบ ให้เด็กได้เลือกวิชาที่ตนเองชอบ
ทั้งสายวิทย์ สายศิลป์ กิจกรรม ให้จัดกิจกรรมอย่างจริงจัง
แต่ไม่มากไม่น้อยเกินไป ไม่ขาดสอน แต่ก็ไม่ให้งานเยอะ
เช่น กิจกรรมชุมนุมควรจะเปลี่ยนให้เป็นการสอนเสริมความรู้
หรือเป็นกิจกรรมผ่อนคลาย
อยากเรียนต่อสถาปัตย์ก็ให้เรียนสายศิลป์วิชาวาดรูป
และสายวิทย์วิชาคณิต ฟิสิกส์ ส่วนวิชาเสริมก็เป็นดนตรี
ให้นักเรียนได้ผ่อนคลาย และช่วยส่งเสริมความสามารถพิเศษ
ในตัวนักเรียนด้วย

3. ตั้งเป้าหมาย ให้เด็กมีเป้าหมายในอนาคต
เช่น เมื่อรู้่ว่าตนเองชอบอะไร ก็ให้วาดฝันเอาไว้ว่า
อยากเป็นอะไร ทำอะไรต่อในอนาคต

4. ผลักดันและส่งเสริม ให้คุณครูส่งเสริมนักเรียน
ในทุกๆด้าน ไม่ใช่แต่เพียง หมอ นักวิทยาศาสตร์
ที่สำคัญ แต่ทุกอาชีพล้วนมีความสำคัญ

5. เพิ่มแรงจูงใจ เพิ่มเงินเดือนให้่เหมาะสม
แก่สาขาอาชีพที่งานหนักแต่เงินน้อย

6. หยุดสั่งการบ้านที่ทำแล้วไม่เกิดการคิดเอง
หรือ สั่งเยอะจนนักเรียนไม่มีเวลาทำอย่างอื่น
เช่นการอ่านหนังสือ
เช่น การสั่งการบ้านนักเรียนอย่างมโหฬาร
ในช่วง ม.6 นี้ อยากให้คุณครุเห็นใจเราบ้าง
เพราะเราเหนื่อย เราอยากมีเวลาอ่านหนังสือบ้าง

0
LNsmileZ 1 ก.ย. 56 เวลา 12:48 น. 21

เด็กไทยอ่ะควานควายเองไม่เป็นต้องหาคนมาป้อนให้เสมอ
ไม่เคยฝึกอ่านเอง ทำความเข้าใจเองกับตำราเรียนที่ตัวเองมี 
ถึงเรียนไปเพื่อสอบ ข้อสอบก็ยากจริงเเต่ถ้าเราอ่านบ่อยๆเตรียมตัวมาพร้อม
"วางเเผนชีวิตของตัวเองเป็น" อะไรเราก็ทำได้ทั้งนั้น"คนมีประสบการณ์ก็ย่อมได้เปรียบคนที่ไม่เคยมีอะไรเลยเสมอ" ลองฝึกทำบ่อยๆ ฝึกอ่านบ่อยๆ เเถมยังฝึกการใช้ชีวิตตัวเองให้เป็นด้วย
ถ้าคุณทำได้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จขั้นต้นๆเเล้ว..
อีกอย่างเราไม่คิดว่าการศึกษาไทยล้มเหลวน่ะ มันขึ้นอยู่กับตัวคนว่า"จะทำให้สำเร็จหรือจะทำให้มันล้มเหลว"เเค่นั้นเอง 

0
จาจา 1 ก.ย. 56 เวลา 13:17 น. 22

เราว่านะ การบ้านมันก็เหมือนเป็นการทบทวนสิ่งที่เราเรียนมาในวันนั่นๆไง
เราคิดยังงี้นะ แต่เราก็ขี้เกียจทำอยู่ดี555สู้สู้

0
Espader Innocent 1 ก.ย. 56 เวลา 13:21 น. 23

ผมว่าปัญหามันอยู่ที่ทั้งตัวเด็กเอง แ้ล้วก็อาจารย์ที่สอนด้วยแหละ

ในตัวเด็กเองมีความคิดที่ว่าเรียน ๆ ไปเหอะ ให้ผ่าน ๆ ไป แต่ก็ไม่ได้คิดจริงจังเลยว่าที่เรียนมันมีความสำคัญมากพอหรือเปล่า พอเสนอแนะอะไรไป ก็กลายเป็น ก้าวร้าว เถียง โดนหาว่าไม่มีความรู้ ยังเป็นเด็ก ประสบการณ์ยังน้อย และอีกมากมาย

ทางฝั่งอาจารย์ก็สอนแบบ สอน ๆ ไปเหอะ บางวิชานี่ก็เจาะลึกเหลือเกิน พอนักเรียนถามว่าเรียนไปเพื่ออะไร ก็ตอบได้แค่ว่า มันเป็นกฎกระทรวง

//บังเอิญกระทรวงมันไม่ได้จ่ายค่าข้าว ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายในชีวิตผมอ่ะนะ ตอนนี้ผมทำงานเก็บเงินไปต่อ ปริญญาตรีที่อเมริกาอยู่ ถ้ามีลูกผมคงไม่ให้ลูกมาเรียนที่ไทยแน่นอนครับ

//อาจารย์หลาย ๆ ท่านก็มีความคิดที่ดี คอยให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา อาจารย์ดี ๆ มีเยอะครับ แต่ไม่ดี เยอะกว่า

// ความเห็นส่วนตัว

0
Pair_FangEr 1 ก.ย. 56 เวลา 13:32 น. 24

เราว่าการสอนในไทยมันมีปัญหามาจากที่ว่า
คนที่เป็นครูบางคนไม่ได้อยากเป็นครูจริงๆแต่ก็ต้องมาสอนไงๆงั้นแหละ
แล้วครูบางคนเข้ามาก็ไม่สอน เอาแต่เล่านู่นเล่านี่ที่ไม่เกี่ยวกับการเรียน
แล้วส่วนใหญ่การสอนที่ไทยเน้นการจำซะมากกว่าความเข้าใจ
อย่างประวัติศาสตร์เงี้ย เน้นจำๆๆๆๆๆๆๆๆ วันเดือนปีที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ
แทนที่จะให้นักเรียนวิเคราะห์ว่าแต่ละเหตุการณ์เกิดขึ้นเพราะอะไร

แล้วก็อย่างที่ คห.3 ว่า ออกข้อสอบมากเกินขอบความรู้ของเด็ก
ถ้าศัพท์จะยากซะเหมือนท่องดิคมาทั้งเล่มเพื่อมาสอบอย่างนั้น
เราว่ามันก็เกินไปอ่านะ คือเราไม่ใช่เจ้าของภาษากันนิ
แล้วถ้ายากอย่างนั้น เด็กที่ทำได้ก็ต้องเมพมากจน(ในความคิดเรา)ไม่ต้องเรียนต่อก็หางานทำได้แล้วอ่ะ

แล้วก็ขออย่างนึงคือ อยากให้ครูรับฟังความคิดเห็นของเด็กมากขึ้น
ถึงอายุจะมากกว่าแต่ความคิดเห็นของแต่ละคนที่แสดงออกมา
มันทำให้เรารู้อะไรต่างๆได้มากขึ้น ดีกว่ามานั่งนับความอาวุโสแล้วข่มว่า
"ฉันโตกว่านะ ฉันเป็นผู้ใหญ่ เธอยังเป็นเด็ก"

0
nutnacrab 1 ก.ย. 56 เวลา 14:15 น. 25

เราว่าไม่หรอก เพราะเราก็เป็ฯอีกคน ที่เรียน เรียน เรียน แล้วมันกดดันตัวเอง การบ้านกองท่วมหัว ไม่มีเวลาพัก แถมเข้าห้องครูก็มัวแต่โม้ สองชั่วโมงได้เรียนสิบนาทีเงี้ย รับไม่ได้ เด็กสอบตกก็โดนด่า กรรม!! ทีแรกผมก็ชอบคณิตนะ แต่พอมาเจอครูคนเนี้ย เราทั้งเกลียด ทั้งสารพัดอคติเลย T T

0
mook 1 ก.ย. 56 เวลา 14:26 น. 26

คงจะต้องถามผู้ใหญ่สมัยนี้ว่า

อยากได้เด็กเรียนเก่ง ?
หรือ อยากได้เด็กที่คิดเก่ง ?

0
เด็กไทย 1 ก.ย. 56 เวลา 14:58 น. 27

แต่บางประเทศเค้าก็เรียนทั้งวันเหมือนไทยนะ่ แต่ทำไมเค้าถึงประสบความสำเร็จทางด้านการศึกษามากกว่าไทย????? น่าคิดดดดดว๊าว

0
Minami_wataNabe 1 ก.ย. 56 เวลา 15:24 น. 28

ตอนเราอยู่ประถมที่โรงเรียนเอกชนนะ มีพักเบรคอยู่ 3 ครั้ง ตอนนั้นเราเลยมีเวลาทำงานกับการบ้านที่ครูเพิ่งให้ แล้วก็ทบทวนบทเรียนบ้าง เราสอบได้ติดดท็อป 10 ของโรงเรียน เวลาติวข้อสอบก็ติวกับแม่ แม่ถามอะไรตอบได้หมด ไม่ใช่เพราะจำ แต่เพราะเข้าใจ 
แต่พอมาเข้าเรียนต่อ ม.1 ที่โรงเรียนรัฐนะ งานมันเยอะมาก เรียนวันละ 8 คาบ งานมาแบบ 8 งาน แล้วเป็นแบบนี้เกือบทุกวันอ่ะ พักเบรค 50 นาที ครูบางคนปล่อยช้าไป 20 นาที เวลาต่อแถวกินข้าวอีก 10 นาที กินเสร็จ อาหารไม่ทันย่อย ก็ต้องเข้าเรียนแล้ว
ไม่ใช่ว่าเราอ้างว่าที่โรงเรียนเบรคน้อย เลยทำการบ้านไม่ทันนะ บ้านเราอยู่ไกล นั่งรถหลายต่อ ปกติกลับรถโรงเรียน เสียงดังทำงานไม่ได้ ถึงบ้าน ห้าโมงเย็น กลับเองนี่ถึงหกโมงครึ่ง ทำงานบ้าน อาบน้ำ กินข้าว 2 ทุ่มละ ทำการบ้านถึงสี่ทุ่มห้าทุ่ม บางทีงานทำยาก+เยอะ ปาไปตีสอง บางทีมันเหนื่อยจริงๆฟุบหลับไปกะกองการบ้านเลยทีเดียว

บางวิชาตัดออกบ้างเถอะ ถ้ายังคิดจะใช้ระบบการศึกษาเดิมๆอยู่ IS น่ะ มันเหมาะกับเด็กต่างประเทศที่การบ้านไม่เยอะและรู้จักค้นคว้าเอง
แค้น IS -วิชา กดเกรดเนี่ย ชมนุมอีก

0
น่าเบื่อ 1 ก.ย. 56 เวลา 15:28 น. 29

เป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญนะครับ และ ก็เป็นปัญหาที่ควรจะแก้ไขโดยเร็วด้วย

แต่ดูเหมือนว่า จะมีปัญหานี่ไปอีกนาน ไม่มีทีท่าแก้ไขเลย

ทั้งๆที่ปัญหานี่ก็ปัญหาที่เกิดมาเนินนานมาก

น่าเสียดายมากนะครับ เพราะ การศึกษาเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ

0
Lhamo 1 ก.ย. 56 เวลา 17:02 น. 30

ประเทศอะไร? และ ประสบความสำร็จด้านการศึกษาอย่างไรครับ?

สามารถชี้แจงได้ เป็นประโยชน์ทางการศึกษาครับ

0
Lhamo 1 ก.ย. 56 เวลา 19:24 น. 31

สำหรับ "การศึกษา" คุณอาจมองว่ามีเพียงการยัดความรู้ให้กับประชากรเพียงเท่านั้น
แต่ผมมองเห็นในภาพรวมทั้งหมด นั้นคือกระบวนการทำงานของสถาบันการศึกษาที่ครอบคลุมไปถึงการพัฒนาความรู้ทักษะต่างๆและการสร้างวิธีคิดหรือตัวตนใหม่เพื่อเสถียรภาพของระบบการจัดการประชากรเพื่อผลิตบุคลากรที่ทำงานให้กับหน่วยองค์กรใดๆ
ผมจึงเล็งเห็นว่า "การศึกษา" มีส่วนสำคัญในการสร้าง"ความเป็นมนุษย์"คนหนึ่งในแบบที่รัฐต้องการ หาใช่มนุษย์ที่มีเสรีภาพตามมายาคติไม่ หากแต่เป็นมนุษย์ที่ดำเนินชีวิตตามไปกลไกของรัฐ อยู่ในกรอบวิธีคิดที่ปลูกฝังกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
นอกจากนี้ ลองสมมุติว่าเยาวชนทุกคนประสบความสำเร็จทางการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา แต่พื้นที่สำหรับการจ้างงานนั้นมีมากน้อยแค่ไหน? จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเกี่ยวกับการสำรวจสถานการณ์การว่างงานในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 ระบุว่ามีจำนวนผู้ว่างงานถึง 3.03 แสนคน ซึ่งประกอบด้วยประชากรที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.71 แสนคน และเคยทำงานแล้ว 1.32 แสนคน จากกำลังแรงงานทั้งหมด 39.49 ล้านคน นั้นจึงทำให้ผมเกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า "พวกเขาเลือกที่จะไม่ทำงานหรือว่าไม่มีที่ทางของตนเองกันแน่ ???

เพราะฉะนั้น "ความสำเร็จ" ในจุดนี้ ตามความหมายของจขกท. ผมคิดว่ามันคือ "การที่เขามีชีวิตที่มั่นคง เมื่อเจอกับปัญหาก็สามารถยืดหยุ่นและมีภูมิคุ้มกันที่จะผ่านวิกฤตไปได้ และบรรลุเป้าหมายชีวิตของตนเอง" ครับ

0
TonNieeCute 1 ก.ย. 56 เวลา 23:32 น. 32
โรงเรียน เราอะนะ
มีกิจกรรม หรือ งานวันสำคัญต่างๆ ทีไร
ทั้งวาดรูป ทั้งเรียงความ ทั้งกลอน ทั้งการแสดง ทั้งการบ้าน
ทั้งงานที่ครูสั่ง
อัดกันจน แบบ เบลอ จำงานตัวเองไม่ได้เลย
ครูบางคนก็น่าโมโห บอกว่าไม่เข้าใจอะไรให้ถาม
แต่พอถามก็ ด่าว่าไม่ตั้งใจฟัง แล้วหนำซ้ำยังไม่ตอบอีก
เพลีย

เหมือนเรียนไปแล้วไม่ค่อยได้อะไรเลย เหมือนที่ครูสอนมา
เอาไปเพื่อทำงานส่ง เพื่อสอบ เหนื่อยๆๆ -0-


0
kafaak 2 ก.ย. 56 เวลา 00:29 น. 33

Bloom's Taxonomy of Learning Domains เสนอว่าการเรียนรู้มีอยู่ด้วยกัน 6 ระดับ คือ 1) รู้จำ 2) เข้าใจ 3) นำไปใช้ 4) วิเคราะห์ 5) สังเคราะห์ และ 6) ประเมินค่า

3 ระดับแรกเป็นแค่ Basic ส่วนอีก 3 ระดับคือขั้นสูง ... โดยส่วนตัวแล้วผมมองว่า 2 ระดับแรกช่วยเรื่องสอบได้ ระดับสามช่วยเรื่องทำงาน แต่หากต้องการประสบความสำเร็จ ต้องเรียนรู้ให้ถึงระดับสูง 4-6 คำถามก็คือ เด็กๆ เรียนกันหนักมาก แต่ว่าพวกเขาสามารถเรียนรู้ได้ถึงระดับไหน

0
เด็กแพทย์ 2 ก.ย. 56 เวลา 12:18 น. 34

ผมเองก้เปนคนเรียนหนักมาก!!!!! กว่าจะติดหมอมันยากมาก! ซึ่งเพื่อนในคณะ ทุกคนล้วนแต่ผ่านการเรียน กวดวิชาทั้งนั้น
ลองคิดซิ ถ้าไม่เรียนพิเศษ ก้ไม่มีทางติดคณะที่ต้องการหรอก! แล้วมันจะประสบความสำเร็จได้ยังไง

0
BADSTUDYINTHAI 2 ก.ย. 56 เวลา 13:28 น. 37

คือส่วนใหญ่ของเด็กที่เรียนได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับเก่งนั้น จะเป็นพวกที่เรียนหนัก เอาตัวรอดได้แต่พอไปสอบหรืออะไรๆก็ตามมันจะสู้เขาไม่ได้ หนังสือเรียนในประเทศไทยเนี่ย เนื้อหามันยังไม่อัพเดตเลยค่ะ ที่ใช้เรียนอยู่ ณ ตอนนี้มีวิชานึงข้อมูลภายในเก่าถึงเก่ามากถ้าเทียบกับความรู้ที่เด็กมีกับตอบครูไป หลักสูตรจากส่วนกลางมันล้าหลัง เน้นแต่เนื้อหาที่อยู่ในตำรา ไม่ได้ใช้ประยุกต์ในชีวิตประจำวัน ถ้าจะประยุกต์ก็ต้องคิดหนักมันจะประยุกต์ยังไง ใกล้จะอาเซียนแล้ว จะมีการปรับกลุ่มสาระลดลงตามประเทศเพื่อนบ้าน อยากจะขอร้องและอ้อนวอนกระทรวงช่วยคิดหลักสูตรที่มันจะทำให้เด็กมันได้ใช้จริงๆ ในชีวิตประจำวันจริงๆด้วยเถอะ ที่เรียนๆมา ตรีโกณมิติ แคลคูลัส ถ้าไม่ได้เรียนคณะที่ได้ใช้ ก็ไม่ได้ใช้อีกเลย เด็กวิทย์คณิต เด็กศิลป์คำนวณ ที่ไม่ได้เก่งคำนวณก็จะหนีไปเรียนคณะที่ไม่ได้ใช้ส่งพวกนี้ คนที่เก่งๆเนี่ย สมองเขาได้ไง แล้วก็เขาชอบ พ่อแม่บางคนก็ไม่ใช่เข้าใจได้แต่ด่าว่าทำไมไม่สนใจเรียน เออ!!สนใจนะ แต่ว่ามันไม่เข้าใจ ให้ตายยังไงก็ไม่เข้าใจอยู่ดี

0
มั้งนะ 5555 2 ก.ย. 56 เวลา 15:22 น. 38

ประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการศึกษามีทั้งเรียน(ในโรงเรียน)น้อย เช่นพวกเมกา แคนาดา เรียนเต็มวันเหมือนไทยก็มีอย่างเช่นจีน ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือหลักสูตร และความรับผิดชอบของเด็ก
เพื่อนที่เป็นคนแคนาดาที่มาแลกเปลี่ยนบอกว่าทำไมเด็กไทยเรียนเยอะจัง วันหยุดก็ยังต้องไปเรียน เขาบอกว่าเขาคิดว่าการศึกษาที่แคนาดาดีกว่า(ซึ่งเราเองก็เห็นด้วย)
อันนี้ไม่รู้เกี่ยวเปล่า แต่จะเห็นได้ชัดว่าประเทศทางแถบเอเชียส่วนมากจะเรียนหนักซึ่งเราคิดว่า(เดาเอา)น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของวิถีชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ของคน เท่าที่สังเกตคนตะวันตกส่วนมากจะค่อนข้างเปิดกว้างในเรื่องของความคิด มีระเบียบวินัยในตัวเองสูง แล้วก็ไม่ค่อยซีเรียสกับเรื่องการจบมหาลัย บวกกับสังคมที่มีการปลูกฝังความรู้ต่างๆอยู่รอบตัว เลยทำให้ไม่จำเป็นต้องเรียนหนัก(รึเปล่า?)
เยี่ยม

0
TeKabbb 2 ก.ย. 56 เวลา 16:02 น. 40

ทำไมฝรั่งเค้าเรียนน้อย แต่คุณภาพการศึกษาของเค้าดีกว่าเราล่ะ
ไทยควรจะเปลี่ยนระบบการศึกษาได้ละ

0