Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รีวิวชีวิตการเตรียมสอบแพทย์ ที่มีอะไรมากกว่าการนั่งอ่านหนังสือ 4

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
           ในส่วนของ ONET น้องๆสามารถใช้สิ่งที่น้องอ่านเตรียม 9 วิชามาสอบได้ อาจจะไม่ทั้งหมด ถ้าอยากรู้แนวที่ชัดเจน ให้น้องลองทำข้อสอบเก่าย้อนหลังสัก 4-5 ปี น้องก็จะจับแนวได้ครับ ไม่ต้องซีเรียสมากแค่ทำให้เกิน 60% ก็พอ พี่ขอสรุปเรื่องคะแนนให้อีกทีนะครับ ถ้าน้องอยากติดหมอ คะแนนรวมของน้องๆควรจะได้ 70 ขึ้นไป (ตัวพี่ได้ 76.4866 ค.ถนัด 21.5833 วิชาสามัญ 54.9033 )ถ้าได้ ก็ไม่ต้องกังวลอะไรเลยครับติดแน่ๆ โดยต้องได้ความถนัดแพทย์ 20 เป็น standard นะครับ (เชื่อมโยง 10 เชาว์ 5 จริย 5)
15. แนวโน้มข้อสอบในอนาคต?
            สำหรับ #dek61 ที่เจอระบบ TCAS เป็นปีแรก สิ่งใหม่สำหรับน้องๆมันมีแค่ช่วงเวลาและรูปแบบการรับเข้ามหาวิทยาลัย แต่ข้อสอบยังคงเป็นชุดเดิม คือ GAT PAT ONET และ วิชาสามัญ ไม่ค่อยน่าห่วงเพราะว่าแนวข้อสอบสามารถหาดูได้ แต่น้องๆตั้งแต่ #dek62 เป็นต้นไป น้องจะได้เจอกับข้อสอบใหม่ ที่ยังไม่มีข้อมูลออกมาว่ามันคืออะไร ยังจะมีเชื่อมโยงอยู่มั้ย ยังจะมีชุดยากง่ายอยู่มั้ย ไม่มีใครู้ แต่สิ่งที่น้องต้องทำไปก็คือการเก็บเนื้อหาให้แน่น ทำโจทย์เบสิก โจทย์อ้างอิงให้ได้ เตรียมพร้อมไม่ว่าจะเจอโจทย์แบบไหนก็จะได้ทำได้ ส่วนว่ามันจะยากมั้ย ตัวพี่คิดว่ามันไม่ควรจะยาก เนื่องด้วยมันเป็นปีแรก แนวข้อสอบไม่มี ถ้าออกยากมาเด็กก็มีแต่จะทำไม่ได้ ถ้าเราลองย้อนไปดูอดีต ตอนปี 49 ที่ ANET พึ่งมาแทน Entrance ANET ปีนั้นก็ไม่ยาก แต่พอ 50 ก็ยากขึ้น 51 นี่เอาตายเลย พอ 52 เปลี่ยนเป็น PAT ก็ง่ายลงแบบน่าตกใจอีกครั้ง พี่เลยเดาว่าครั้งนี้น่าจะเหมือนเดิม
16. ช่วงใกล้สอบทำไงดี?
17.โต้รุ่ง?
            น้องครับ ในปีๆนึงเนี่ย มีเด็กเข้าสอบเป็นแสนๆคนแต่จำนวนรับ มันไม่ได้พอดีสำหรับเด็กทุกคน และคู่แข่งของเรามันก็ไม่ได้เท่ากับจำนวนเด็กเข้าสอบ ตอนสอบเนี่ยมันจะแบ่งง่ายๆก่อนเลยคือ เด็กที่อ่าน กับ ไม่อ่านนส.ไปสอบ หายไปเกือบครึ่งที่ไม่ได้อ่านนส.ไป ส่วนคนที่เหลือที่แข่งกัน ไอคนแพ้เกือบครึ่งเนี่ย จะเป็นคนที่อ่านนส.นะ ยิ่งใกล้สอบยิ่งอ่านหนัก บางคนก็โต้รุ่ง ซึ่งพี่ขอบอกเลยว่า นั่นคือการพังทุกอย่างที่ทำมาตลอดปี ยิ่งใกล้สอบนะครับน้อง ยิ่งช่วง 1 เดือนก่อนสอบ น้องต้องผ่อนครับ ต้องอ่านให้เบาลง อย่าหักโหม อ่านวันนึงอาจจะแค่ถึงก่อนฟ้ามืด แล้วก็พักผ่อน relax แล้วก็พี่ขอห้ามเลยนะครับ ห้ามโต้รุ่ง!! ร่างกายกับสมองน้องต้องการ การพักผ่อนที่เพียงพอครับ จะมีน้อง 2 กลุ่มที่เถียงพี่ กลุ่มแรกบอกว่า พี่ก็ผมเป็นประเภทหัวแล่นตอนกลางคืนอ่ะ อ่านตอนกลางวันแล้วมันไม่รู้เรื่อง ผมขอนอนช่วงกลางวันแล้วมาอ่านช่วงกลางคืนได้มั้ย? ใครอยู่ในสภาพนี้นะครับ ปรับด่วน! น้องครับ น้องสอบช่วงเช้านะ จะอ้างยังไงน้องก็เปลี่ยนเวลามาสอบกลางคืนไม่ได้ ที่เปลี่ยนได้คือตัวน้องเอง แรกๆอาจจะเหนื่อย อาจจะไม่ชิน แต่ก็ต้องทำเว่ยยยย มันมีผลมากนะน้อง ถ้าน้องอ่านนส.ตอนเช้า น้องก็จะพร้อมสอบตอนเช้า กับอีกกลุ่มบอกว่า อ่านไม่ทันแล้วพี่ ถ้าไม่โต้รุ่งไม่จบแน่ๆ น้องครับ อันนั้นไม่ใช่ข้ออ้างเลยนะ น้องขยันมาแค่ไหน ที่ผ่านมาเอาเวลาไปทำอะไร น้องรู้ตัวเองดี ได้มาแค่ไหนก็แค่นั้นครับ ร่างกายที่พร้อมสอบสำคัญกว่าความรู้ที่อัดเข้าไปนะน้อง ตัวพี่เองช่วงก่อนสอบ 1 เดือน พี่เลิกอ่านนส.แล้ว พี่ออกไปติวให้เพื่อนๆตาม work space มันดีมากน้อง เพื่อนๆก็รักเรา เราก็ได้ทดสอบความรู้ตัวเอง แล้วก็ทบทวนไปในตัว แล้วมันก็ไม่เครียดด้วย ดีกว่าเก็บตัวอยู่คนเดียวจนสอบ (ปัจจุบันเพื่อนกลุ่มที่พี่ติวให้ ติดหมอวชิระ หมอพระมงกุฎชาย หมอพระมงกุฎหญิง วิศวะจุฬา วิทยาจุฬา) วันประกาศผลมันมีอะไรให้ดีใจมากกว่าการที่เราสอบติดอ่ะ มันคือการที่เพื่อนๆโทรมาแล้วร้องไห้กับเราแบบ เชี่ยกูติดแล้ว เราเหมือนได้เป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จนั้น ซึ่งมันน่ายินดีมากๆ...
            วันที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นวันศุกร์ก่อนสอบ ซึ่งจะตัดเด็กได้อีกมาก มีน้องๆหลายคนตื่นเต้นบ้าง ไม่มั่นใจบ้าง จนนอนไม่ค่อยหลับ หรือบางคนตั้งใจไม่นอนเพื่อไปสอบเลย พังหมดนะครับ วันศุกร์ก่อนสอบนั้น ให้น้องทำงานอดิเรกที่น้องชอบมากที่สุด ที่น้องทำแล้วรู้สึกมีความสุข อะไรก็ได้ พี่แนะนำให้ออกกำลังกายให้เหงื่อออกเบาๆ(cr.พี่ตุ้ย) น้องจะหลับสบาย แล้วตื่นมาพร้อมความสดชื่น ตัวพี่เองตื่นเช้ามาอ่านศัพท์นิดหน่อย ตอนบ่ายออกไปเล่นบาส ตอนเย็นไปกินข้าวกับพ่อแม่ กับแฟน แล้วก็กลับบ้านมานอน พี่ทำทุกอย่างที่พี่ชอบในวันนั้น แล้วผลลัพธ์มันออกมาดีมากๆครับ
18. วันสอบ?
            แน่นอนว่าอุปกรณ์เครื่องเขียนน้องต้องเตรียมไปให้พร้อม แต่คำว่าพร้อมแต่ละคนมันต่างกัน ดินสอที่ใช้ ไม้กับกด ก็ต่างกันแล้ว พี่แนะนำให้น้องๆใช้ดินสอกดทั้งทดทั้งฝน เลือกหัวที่ใหญ่หน่อย แต่ไม่ต้องถึง 1.0 นะ อาจจะ 0.7 ไม่ต้องซื้อดินสอใหม่สำหรับคนใช้ดินสอกดอยู่แล้ว ใช้แท่งเดิม เราจะชินมือ แต่ใครที่ใช้ดินสอไม้มาทั้งชีวิต ก็ให้ใช้ไม้นะครับ มีน้องบางคนตลอดเวลาที่เรียนใช้ดินสอกด แต่พอจะสอบกลับเหลาดินสอไม้ไปซะงั้น น้องจะทำข้อสอบได้แย่ลงนะครับ เพราะน้องจับดินสอไม่ถนัดมือ ยางลบพี่แนะนำให้ใช้แบบ soft เพราะมันจะลบสะอาดแล้วกระดาษก็จะไม่ขาดด้วย ไส้ดินสอ 2B เตรียมไปด้วยครับ ไม้บรรทัดปกติแล้วจะไม่ให้เอาเข้า กระเป๋าดินสอไม่ให้เอาเข้าห้องสอบครับ ไม่ว่าจะแบบไหนก็ตาม ถุงใสก็ไม่ได้นะ ให้กำเข้าไปอย่างเดียว ปากกาน้ำเงินด้ามนึงไว้เซนชื่อตอนสอบ ลิขวิดห้ามใช้บนกระดาษคำตอบนะครับ เครื่องจะไม่อ่าน เขียนผิดบอกอาจารย์อย่างเดียว อย่าย้อมผมไปสอบปลอดภัยไว้ก่อน น้องผญห้ามทาเล็บไป ปีพี่มีเด็กโดนไล่มาขูดเล็บด้วยคัตเตอร์ระหว่างที่เพื่อนๆสอบกัน มันไร้สาระมากน้อง อนาคตเด็กกับการแค่ผิดระเบียบ น้องป้องกันไว้ก่อนนะครับเชื่อพี่ น้องผช เจาะหู ใส่ก้านอะไร เอาออกก่อนนะครับ แต่งตัวให้ถูกระเบียบวันนึง เสื้อกันหนาวเอาไปนะครับ เผื่อไว้ มันเอาเข้าห้องได้แค่ให้อาจารย์หน้าห้องตรวจ บัตรประชาชนกับบัตรประจำตัวผู้สอบห้ามลืมเด็ดขาด (สามารถใช้บัตรนักเรียนแทนบัตรประชาชนได้กรณีบัตรหาย) เวลาแกะแม็คในห้องสอบใช้บัตรแกะจะง่ายกว่านะครับ ป้องกันนิ้วเราด้วย ไปถึงสนามสอบก่อนเวลาสักชม.นะน้อง แต่ไม่ต้องอ่านนส.แล้วนะ อาจจะคุยกับเพื่อนบ้าง ดูสูตรบ้าง แต่ไม่ต้องทำโจทย์อะไรแล้ว ไปถึงก็ไหว้ขอขมาสิ่งศักด์สิทธ์ด้วยให้เค้าคุ้มครองเวลาเดินทางจะได้ปลอดภัย กินข้าวให้เรียบร้อย (อย่ากินอะไรที่จะทำให้ปวดท้อง เช่น นม น้ำอัดลม ของเผ็ด เป็นต้น) เข้าห้องน้ำห้องท่าก่อนสอบ ตอนเช้าให้น้องๆซื้อข้าวกลางวันไว้เลย สูตรนี้ดีสุดครับ (cr. พี่วิเวียน) ขนมปังที่ไส้ไม่ใช่โปรตีน (เผือก เนยน้ำตาล) กับชาเขียวของโออิชิรสดั้งเดิม (สีเขียว) ซื้อไว้ตั้งแต่เช้าเลยครับ ให้กินแค่นิดหน่อยพอ ขนมปังไม่ต้องรีบกิน ไม่ต้องกินให้หมด กัดพอประมาณ น้องจะได้พลังงานไว้ใช้ และจะไม่ง่วงเพราะกระเพาะไม่ได้ทำงานหนัก (ไม่มีโปรตีน) ชาเขียวดีกว่าเพราะน้ำตาลเยอะ ช่วยให้สมองแล่นนะครับ วันเสาร์แรกเราจะสอบ 4 วิชาเรียงตามนี้นะครับ ชีวะ ฟิสิกส์ พัก ไทย สังคม น้องครับ!!!!ตรงนี้สำคัญมาก!!!!!ดอกจัน ขีดเส้นใต้ ไฮไลท์ไว้เลยนะ ถ้าน้องทำเสร็จก่อนเวลาหมด หรือช่วงเบรกระหว่างวิชา ห้ามนอนนะครับ!!! การที่น้องนอนมันคือการ shut down ตัวเองน้องจะตื่นมาด้วยความมึนงง แล้ววิชาที่เหลือในวันนั้นจะพังทลายทั้งหมด ห้ามนอนเด็ดขาดนะครับ (จริงๆคนที่นอนก็คือคนที่กลางคืนวันศุกร์นอนไม่หลับหรือไม่ก็ไม่ยอมนอน) อย่างพี่ทำเสร็จพี่ก็ไม่ง่วงเลย มีง่วงตอนวิชาสังคมตอนสุดท้าย เพราะมันเหนื่อย แต่วิชาสุดท้ายแล้วไม่เป็นไรแล้วครับ กลับมาบ้านเย็นวันเสาร์ เหมือนเดิมครับ อย่าอ่านนส.แล้ว อาจจะท่องศัพท์บ้าง แต่ไปกินข้าวอร่อยๆ แล้วมานอนพักดีกว่าครับ ให้พร้อมสำหรับวันรุ่งขึ้น วันอาทิตย์เราจะสอบ 3 วิชา เรียงตามนี้ครับ เลข อังกฤษ พัก เคมี วันที่สองถือว่าโหดมาก น้องทำวิชาไหนไม่ได้ห้ามร้องไห้ ห้ามเสียกำลังใจนะครับ มันยังมีวิชาต่อไปรออยู่ สู้ครับ สู้ให้ถึงที่สุด อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เราทำเต็มที่ก็พอ เพื่อนพี่ออกมาทำเลขไม่ได้ร้องไห้เลยครับ แต่ก็ต้องให้มันหยุดเพราะมันยังเหลืออีก 2 วิชา (สรุปมันได้คะแนนเลขพอๆกับพี่เลย 5555 แล้วมันก็ติดหมอพระมงกุฎหญิงไป) ทำทุกอย่างเหมือนเดิมนะครับ ข้าวกลางวันก็เหมือนเดิม สอบเสร็จก็จะโล่งแล้วครับ ทำตัวชิวๆได้เลย
19. วิธีเลือกอันดับ?
            อันนี้น้องๆหลายๆคนอาจจะเคย เห็นวิธีเลือกมาแล้ว ใครมีในใจแล้วก็เอาตามนั้นเลยครับ ส่วนน้องคนไหนยังไม่รู้ การเลือก อันดับแรกที่ห้ามเลยนะครับ ห้ามเลือกตามเพื่อน! ให้เราเลือกของเราเอง โดยอันดับ 1 คือคณะที่เราอยากจะเข้ามากที่สุดไม่สนคะแนน อันดับ 2 คืออยากเข้ารองลงมาอาจจะสนหรือไม่สนคะแนน อันดับ 3 คือเข้าได้ เรียนได้ สนคะแนน อันดับ 4 คือสุดทน รับได้ สนคะแนน คำว่าสนคะแนนคือให้เราดูคะแนนต่ำสุดนะครับ ไม่ใช่สูงสุด แล้วเราต้องดูย้อนหลังไปจนถึงปีแรกที่มีการใช้คะแนนวิชาสามัญซึ่งคือปี 55 ถ้าอยากจะติด คะแนนเราควรเกินคะแนนต่ำสุดของทุกปีที่ผ่านมา แล้วเราก็ห้ามเลือกตัวที่คะแนนสูงไว้ข้างล่างตัวคะแนนต่ำ เพราะถ้าตัวต่ำไม่ติด ตัวที่สูงจะติดมั้ยน้อง การเลือกก็ควรดูศักยภาพตัวเองว่าเราไปถึงมั้ย ถ้าใครดูตัวเองไม่ออก ก็ไปเอาข้อสอบจริงมาจับเวลาทำ แล้วรวมคะแนนไปเช็คกับคะแนนปีนั้นๆ ว่าเราติดมั้ย แค่นี้ก็จะสามารถคาดเดาตัวเองในอนาคตได้แล้วครับ แต่ที่พูดมาก็คือตามสิ่งที่ควรจะเป็นแหละน้อง ตัวพี่ก็ไม่ได้เลือกตามนี้ 55555 ตัวพี่เลือก 4 อับดับของแพทย์คะแนนสูงหมดเลย เพราะพี่ concern เรื่องสถาบันด้วย แบบถ้าไม่ใช่ที่ที่พี่เลือก พี่จะไม่เป็นหมอทำนองนั้น ไม่ใช่เพราะสถาบันไม่ดีนะ แต่พี่มองเรื่องการเดินทาง กับ สภาพแวดล้อม ถ้ามันไม่โอเคพี่ก็จะไม่เลือก 4 อันดับพี่คือ 1.ศิริราช 2.รามา 3.วชิรพยาบาล 4.ธรรมศาสตร์
20. สมัครสอบอะไรบ้าง?
            มีน้องบางคนถามพี่ว่า พี่ครับ ผมจะสอบหมอมันไม่ได้ใช้ GAT PAT ผมไม่ต้องสมัคร GAT PAT ป่ะ? ขอตอบแบบนี้นะน้อง การที่เรามีเป้าหมายที่ชัดเจน แล้วกำลังทำทุกวิถีทางอย่างเต็มที่เพื่อไปให้ถึงมัน เป็นสิ่งที่ดีมาก แต่น้องครับเวลาเราทำอะไรมันต้องมีการประกันความเสี่ยงไว้ด้วย ไม่งั้นเวลาพลาดขึ้นมา มันจะเจ็บหนักมากๆ พี่ไม่ได้บอกว่าน้องจะสอบไม่ติด แต่ถ้าน้องมีคณะสำรองไว้ในใจ แล้วเป็นคณะที่ติดชัวร์ๆแบบไม่ต้องพยายามมาก น้องจะกล้าเดินไปหาจุดหมายของน้องมากขึ้น ไม่ใช่ลังเล แต่ปูเบาะนิ่มๆไว้ล่างเหว เพื่อที่จะได้โดดข้ามไปด้วยความกล้ามากขึ้น ถ้าโดดถึงก็ดีมาก แต่ถ้าตกลงไปก็ไม่ตายแน่ๆ ไม่กำไรก็เท่าทุนครับน้อง ตัวพี่เองเลือกคณะครุศาสตร์สำรองไว้ เพราะพี่ชอบการถ่ายทอดอะไรๆให้คนอื่น มันสนุก แล้วก็รู้สึกดีเวลาเค้าฟังเราอธิบายแล้วเข้าใจมากขึ้น เพราะงั้นพี่เลยต้องสอบ PAT5 (ค.ถนัดวิชาชีพครู) แล้วก็ GAT PAT1 PAT2 เอาไว้เผื่อรอบ Admission พี่อ่านไปนะ แต่ก็ไม่ได้จริงจังมากเอาแค่ให้มันติดก็พอ ซึ่งพี่ทำ PAT2 ได้ 183 ส่วน PAT5 ได้ 212.5 ซึ่งมันพอแล้วสำหรับจะเข้าครุศาสตร์จุฬา เพราะงั้นถ้าน้องถามพี่ว่าควรสมัครสอบมั้ยถ้าจะเข้าหมอ ก็ต้องถามตัวน้องเองครับว่ามีแผนสำรองมั้ย ถ้ามีแล้วต้องใช้มั้ย ถ้าใช้ก็สมัครไป ใครอยากลองสอบเฉยๆก็สมัครไป ใครไม่อยากก็ไม่ต้อง ตัวพี่แนะนำให้สอบ อย่างน้อยๆจะได้คุยกับเพื่อนรู้เรื่อง 5555 มีคะแนนเป็นความภูมิใจของน้องเองด้วย
21. เรียนที่ไหนดี เดินทางไกลทำไง?
            เรียนที่ไหนหมายถึง สถานที่ไม่ใช่สถาบันนะ เช่น สยาม พญาไท วงเวียนใหญ่ เป็นต้น มันอาจดูไม่ใช่ปัญหาใหญ่ น้องๆหลายคนเลือกที่จะเรียนใกล้บ้าน ซึ่งพี่ก็เห็นด้วยนะ จะได้กลับบ้านทบทวนได้เร็ว แต่สำหรับบางคนที่ถึงบ้านแล้วอยากนอน เช่น ตัวพี่เอง พี่เลือกที่จะไปเรียนให้ไกลหน่อย พี่ไปเรียนถึงพญาไท ทั้งๆที่พี่ใกล้วงเวียนใหญ่ (แต่บ้านพี่ต้องมาลงบางหว้าแล้วนั่งแท็กซี่ต่อ) ที่พี่ไปไกลเพราะ พี่อยากเอาเวลาเดินทางกลับ มาใช้ทำการบ้านและทบทวนสิ่งที่เรียนมา เพราะพี่รู้สึกว่าการที่เรียนจบมาปุ๊บ ทบทวนปั๊บมันจะจำได้ดีกว่าทิ้งไว้สักพัก พี่ต้องนั่งรฟฟ. จากพญาไทมาบางหว้า แล้วนั่งแทกซีจากบางหว้ามาบ้าน ช่วงที่อยู่บนรฟฟ มีแสงไฟ พี่จึงหยิบวิชาที่ต้องอ่าน ไม่ก็เขียนขึ้นมาทำ (ส่วนใหญ่จะเป็นเคมีเพราะสั่งเยอะมาก) ทำไปเรื่อยๆจนถึงบางหว้า และถ้าทำไม่เสร็จก็ค่อยไปทำต่อที่บ้าน ถ้าที่บ้านยังไม่เสร็จอีก วันรุ่งขึ้นตอนเช้าที่นั่งรฟฟ. ก็จะเอาขึ้นมาทำอีก ส่วนช่วงที่นั่งแท็กซี่ มันทั้งมืดและโยกไปมา พี่จึงเอาเพลงพี่แนนขึ้นมาฟังทุกวัน ฟังจนร้องได้ทุกเพลงจริงๆ ฟังซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่อย่างนั้น พอกลับถึงบ้านช่วงที่ต้องกินข้าว อาบน้ำ พี่ก็เปิดเพลงพี่แนนทิ้งไว้ ให้มันได้ยินไปเรื่อยๆ ทำให้มันเหมือนเพลงที่เปิดตามยูทูปทั่วไปเลย ซึ่งการที่พี่เดินทางไกลแบบนี้มันกลับช่วยให้พี่มีเวลาอ่านนส.มากขึ้น ก็ลองเอาไปปรับให้เข้ากับตัวเองดูนะน้อง ใครเป็นเด็กที่กลับบ้านมาแล้วฟิตต่อได้เลย ก็เรียนใกล้บ้านนะครับ
22. ต้องเรียนจบทั้งหมดเมื่อไร?
            พี่ขอเปรียบ process การเตรียมตัวทั้งหมดของน้องจนถึงสอบเสร็จเป็นตัวเลข 0-100% นะครับ โดยคะแนนรวมที่น้องได้มามันก็คือผลลัพธ์ว่าตัวน้องมาได้ไกลขนาดไหน พี่บอกเลยนะครับ ว่าการที่เรียนพิเศษจบทุกวิชา ทุกคอร์ส มันคือการเดินไปได้ 25% เพราะงั้นถ้าน้องคิดแค่จะเรียนให้จบแล้วไปสอบเลย น้องก็จะได้คะแนนรวมไม่เกิน 30% น้องต้องอัพจาก 25 ให้มันขึ้นมาถึง 60-70% ไม่น้อยนะน้อง แปลว่าน้องต้องรีบเรียนให้จบแล้วมีเวลาอยู่กับตัวเองนานพอสมควร ที่พี่แนะนำก็คือ น้องต้องอยู่กับตัวเอง 7-8 เดือน แล้วน้องจะสามารถอัพขึ้นมาได้แบบไม่เหนื่อยมาก น้องสอบระบบ TCAS ก็คือเริ่มสอบ แถวๆมี.ค. นับถอยไป 8 เดือน ก็คือเดือน ก.ค. น้องควรจะจบเนื้อหาทั้งหมดแล้ว แล้วก็เริ่มทบทวน เริ่มทำข้อสอบได้เลยครับ
23. อ่านเวลาไหน?
24. trick?
            มีน้องบางคนขอ trick เล็กน้อยๆในการอ่านนส.ของพี่ พี่ขอบอกว่าเทคนิคของพี่ก็คือเรื่องของการเล่นกับเวลาในการอ่านนส. น้องๆม.5 ครับ เรียนชีวะบทต่อมไร้ท่อมาแล้วเนาะ น้องรู้จักฮอร์โมน เมลาโทนิน ใช่มั้ยครับ ที่ควบคุมเรื่อง circardian rhythm หรือนาฬิกาชีวิต ถ้าไม่รู้จัก พี่ขอยกตัวอย่างเช่น น้องเคยอยู่ๆก็ตื่นนอนเองเวลาเดียวกับที่นาฬิกาปลุกเรามาหลายวันมั้ยครับ หรือใครเคยไปต่างประเทศที่เวลาต่างกับไทยมากๆแล้วเคย jet lack มั้ย นั่นแหละครับนาฬิกาชีวิต สมองเรามันจะจำว่าเวลาหนึ่งๆในวันของเรา เราทำอะไรจนเป็นกิจวัตรมั้ย ถ้าทำ ร่างกายจะตอบสนองให้ทำสิ่งนั้นได้ดีขึ้นเฉพาะในช่วงเวลานั้นเท่านั้น เราเอาความรู้เรื่องนี้มาช่วยในการอ่านนส.ครับ คือเราไปดูว่าวันสอบจริง เราสอบวิชาไหนกี่โมง พอรู้เราก็อ่านวิชานั้นในเวลาเดียวกับที่เราจะต้องสอบ ทำแบบนี้จนเป็นกิจวัตร แล้วน้องจะสามารถทำสอบจริงได้ดีขึ้น แถมลดความตื่นเต้นได้ด้วยครับ เช่น เลขสอบ 8:30-10:00 น้องก็ตื่นมาจับเวลาทำเลขชุดนึงตอนเวลานี้ ทำบ่อยๆ ร่างกายจะชินว่า ช่วงเวลานี้เราจะคิดเลข พอวันจริงเราก็จะทำเหมือนกับว่ามันเป็นสิ่งที่เราทำมาโดยตลอด มันก็จะไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลยครับ
25. เล่นมือถือ ติดโซเชียล?
            อันนี้แล้วแต่คนเลยครับ พี่ไม่ห้าม ถ้าน้องรู้ลิมิตตัวเองน้องสามารถเอาเวลาพักมาผ่อนคลายได้ แต่ถ้าใครรู้ว่าตัวเองเล่นแล้วเลิกไม่ได้ ก็เลิกเล่นไปเลยครับ ส่วนตัวพี่ พี่วางมือถือไว้ข้างตัว และตอบไลน์ตลอด เอาว่าเวลาในการตอบไลน์นี่พอๆกับเวลาที่พี่อ่านนส.เลยก็ว่าได้ แต่ไลน์ที่พี่ตอบมันคือโจทย์หรือข้อสงสัยที่เพื่อนๆพี่ส่งมาถามทั้งนั้น ไม่เคยมีเรื่องอะไรไร้สาระมา หรือถึงมีก็จะมาเล็กๆน้อยๆให้เราผ่อนคลาย ถ้าเราเป็นคนที่ตั้งใจจริง ไม่ทำเป็นเล่นอ่ะน้อง เพื่อนๆเรามันก็จะรับรู้ได้ อย่างเพื่อนพี่มันจะไม่ทักพี่มาด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง เพราะมันรู้ว่าจะโดนพี่ด่าแบบใช่เวลาเล่นมั้ยอะไรประมาณนี้ ใจจริงๆพี่ไม่อยากให้น้องทิ้งโซเชียลแบบตัดขาดไปเลย เพราะว่าเราก็ควรจะติดตามสถานการณ์โลกภายนอกด้วย ว่ามีอะไรเคลื่อนไหวมั้ย เราจะได้ไม่ตกข่าวนะครับน้อง
26. อคติกับวิชาอ่ะพี่?
            น้องบางคนอาจจะสงสัยว่าแบบ ทำไมจะสอบหมอถึงถ่วงน้ำหนักวิชาที่ไม่น่าได้ใช้อย่างเลขสูงกว่าชีวะ หรือทำไมถึงต้องมีไทย สังคม เข้ามา แล้วกลายเป็นว่าไอเลขกะสังคมเนี่ยเป็นตัวที่ทำให้เด็กสอบไม่ติดมาแล้วนักต่อนัก แบบนี้มันใช่การคัดเลือกคนมาเป็นหมอจริงๆหรอ? พอน้องคิดแบบนี้ น้องก็จะเกิดความรู้สึกไม่ชอบหรืออคติกับบางวิชา แล้วน้องก็จะไม่อยากอ่านมัน น้องครับ จริงครับว่าพอสอบเข้ามาแล้ววิชาเหล่านี้เราจะเรียนแค่ไหนปี 1 พอขึ้นปีสูงๆไปก็จะไม่ได้ใช้วิชาเหล่านี้ เหลือแต่วิชาของแพทย์ล้วนๆ แต่สำหรับเหตุผลที่ให้เราสอบ เค้าแค่อยากจะทดสอบเรามากกว่า ว่าถ้าเค้าให้โจทย์มาแบบนี้เราจะมีความสามารถพอที่จะแก้มั้ย มันต้องมีวิชาที่เราไม่ชอบ ไม่ถนัด แล้วเราเอาชนะมันได้มั้ย นี่คือคุณสมบัติของแพทย์ข้อแรกๆเลยที่เค้าทดสอบเรา นั่นคือความขยันและอดทน ถ้าแค่งานที่ได้รับมอบหมายมาแค่นี้น้องยังทำไม่ได้ น้องยังเรื่องมาก น้องยังบ่น แล้วในอนาคตที่น้องต้องไปรับผิดชอบชีวิตคนล่ะครับ น้องจะไปทำได้ยังไง จะอคติ จะไม่ชอบพี่ไม่ว่าครับ แต่ถ้าอยากเป็นหมอน้องก็ต้องเอาชนะวิชาเหล่านั้นไปให้ได้
27.ต้องทำสรุปมั้ย?
            สำหรับตัวพี่ พี่ว่าการทำสรุปจำเป็นครับ แต่จำเป็นแค่บางวิชา พี่เป็นสายจำ เพราะงั้นวิชาจำพี่จึงไม่ทำสรุปแต่จำมันทั้งหมด ส่วนวิชาทักษะที่จะต้องมีสูตรมีเนื้อหาเล็กน้อย พี่จะทำสรุปเพื่อให้พี่จำเนื้อหาได้ง่ายและกระชับขึ้น เวลาลืมก็จะสามารถมาหาได้ง่าย ตัวพี่ทำแค่เลขกับฟิสิกส์และเคมีนิดหน่อย แต่ที่พี่ไม่แนะนำคือไปซีรอกสรุปเพื่อนมาอ่านดื้อๆเลย เราไปซีของเพื่อนมาได้ครับ แต่เอาแค่มาอ่านให้เข้าใจแล้วเราควรจะทำสรุปที่เป็นของตัวเราเองขึ้นมา คือถ้าเราเป็นคนเขียนเอง แปลว่าเราเข้าใจมันจริงๆ แล้วก็เวลาทบทวนเราจะรู้เลยว่าเราเขียนอะไรไว้ตรงไหนนะครับ
28. ลงคอร์สสด เรียนเทป เรียน self หรือเรียนตัวต่อตัว?
            พี่ขอพูดข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบก่อน
เรียนสด
ข้อดีคือ เค้ามีเวลาเรียนที่แน่นอนให้น้อง น้องไม่ต้องจัดเวลาเอง แล้วเรียนแต่ละครั้งก็จะจบเป็นเรื่องๆตามที่อาจารย์แกวางแผนไว้ และยังได้เจอเพื่อนร่วมทาง สงสัยอะไรสามารถถามเพื่อน หรือ อาจารย์ที่สอนได้ มีข้อสอบอัพเดตให้น้องแบบล่าสุด และได้เร็วกว่าเด็กเรียนเทป
ข้อเสีย คือ ถ้าจดไม่ทันก็คือต้องถ่ายจากเพื่อนอย่างเดียว หรือถ้าเราไม่ว่างก็ต้องหาเวลามาชดให้เร็วที่สุดเพราะครั้งต่อไปเค้าก็สอนไปเลย ไม่ได้รอคนขาดเรียน น้องจะจดเป็นระเบียบยากเพราะโต๊ะเล็ก เปลี่ยนสีปากกาลำบาก เต็มเร็วต้องแย่งชิง และต้องไปเรียนที่ๆเค้ากำหนดเท่านั้น
เรียนเทป(วิดิโอ)
ข้อดี คือ เหมือนเรียนสดเลย แต่มีรอบมากกว่าสามารถเลือกรอบให้เหมาะกับตัวเองได้มากขึ้น
ข้อเสีย คือ เหมือนเรียนสดคือเรื่องการจด และถ้าเลือกที่นั่งไม่ดีก็อาจจะมองไม่เห็นหรือต้องแหงนหน้ามองจอ
เรียน self
ข้อดี คือ เค้าไม่ fixed เวลาเรียนเรา เราสามารถจัดการเองได้ทั้งหมด เรียนสาขาไหนก็ได้ สามารถจดได้อย่างเป็นระเบียบเพราะโต๊ะใหญ่ ตรงไหนไม่เข้าใจก็กรอกลับไปฟังใหม่ได้ ตรงไหนอยากจดให้ดีก็หยุดเทปไว้ได้ เรียนได้วันละหลายๆวิชา ไม่ต้องทนเรียนวิชาเดียวจนจบ จะได้ข้อสอบอัพเดตล่าสุดเหมือนเด็กห้องสด
ข้อเสีย คือ ถ้าจองไม่ทันก็อดเรียน ถ้าขก.ก็จะไม่มีอะไรมากดดันเรา จะไม่ค่อยรู้จักเพื่อนร่วมทาง ถ้าไปกับกลุ่มเพื่อนตัวเองก็จะไม่ค่อยได้เรียน หูฟังใส่นานๆก็เจ็บหู ถ้าตรงไหนไม่เข้าใจจริงๆ มันถามใครไม่ได้ต้องเก็บคำถามไว้ แล้วค่อยออกมาถามเพื่อนที่เรียนไปแล้ว ไม่ก็ใช้ระบบของกวดวิชาเพื่อถามไป แต่ก็ต้องรอคำตอบอยู่ดี จะได้เรียนช้ากว่าเด็กห้องสดเพราะต้องรอตัดต่อคลิป
เรียนตัวต่อตัว
ข้อดี คือ สามารถให้อาจารย์ปรับรูปแบบการสอนให้เหมาะกับตัวเราได้ เราอาจจะอ่อน หรือ อาจจะเก่ง เราจะได้เรียนในแบบที่เราอยากเรียน สงสัยอะไรถามได้เดี๋ยวนั้นเลย ไม่ต้องเกรงใจใคร จดเป็นระเบียบได้ เลือกเวลาเรียนได้ ไม่ว่างก็เลื่อนได้
ข้อเสีย คือ อาจารย์อาจจะไม่ว่าง ข้อสอบจะไม่ได้อัพเดต สถานที่นั่งเรียนอาจจะไม่สงบ ค่าเรียนจะแพงกว่าการลงคอร์ส
เอาล่ะครับหลังจากที่เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียให้เห็นแล้วทีนี้เราก็ต้องตัดสินใจเลือกสิ่งที่จะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่การเลือกเรียนแบบเดียว หรือเรียนมันทุกแบบ แต่มันต้องขึ้นกับวิชา ขึ้นกับคอร์สที่เราจะลง แล้วก็ขึ้นกับข้อสอบที่เราจะเจอ พี่จะไม่บังคับให้น้องต้องลงเหมือนพี่ แต่พี่จะขอบอกมุมมองของพี่ และวิธีที่พี่เลือกละกัน ตัวพี่มองว่า การจะสอบให้ได้คะแนนดีนั้น อันดับแรกเราต้องมีเนื้อหาและแนวข้อสอบที่อัพเดต เพราะงั้นตัวพี่จึงตัดการเรียนตัวต่อตัวออกไปเป็นอันดับแรก และพี่คิดว่าในอนาคตพี่ก็ต้องไปเจอสภาพที่อาจจะฟังคนสอนแล้วไม่รู้เรื่อง พี่ต้องมาจัดการกับความคิดของพี่ด้วยตัวพี่เอง เพราะงั้นการเรียนกวดวิชาเป็นการฝึกทางนึง เสร็จแล้วคอร์สเรียนที่พี่จะลงมันแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มคอร์สเนื้อหา กับกลุ่มคอร์ตะลุยโจทย์ พี่คิดว่าเนื้อหาเราต้องเรียนให้เข้าใจ เราต้องจดได้ละเอียด ต้องจดสวยเปลี่ยนสีช่วย พี่จึงเลือกที่จะลง self แต่ถ้าแบบนั้นมันอาจจะไม่ทัน เพราะต้องรอห้องสดเรียนไปก่อน พี่เลยเลือกที่จะลง self ของปีก่อนหน้า 1 ปี ได้ของเก่าก็ไม่เป็นไร เนื้อหามันคงไม่เปลี่ยนอยู่แล้ว ส่วนคอร์สตะลุยโจทย์ พี่คิดว่า ถ้าเรารอลงของล่าสุดเลย เราจะต้องเจอกับข้อสอบปีล่าสุดและที่ย้อนหลังไปอีก เราอาจจะเข้าใจมันได้ไม่ดีพอ พี่จึงลงคอร์สตะลุยโจทย์ของปีก่อนหน้า 1 ปีเป็น self เพื่อเก็บกวาดข้อสอบย้อนหลังทุกปีให้แม่นก่อน แล้วพอถึงปีพี่ พี่ก็ลงคอร์สตะลุยโจทย์ที่เป็นคอร์สสดอีกครั้ง เพื่อมาฟังสิ่งที่อัพเดตที่สุดโดยที่พี่ไม่ต้องกังวลกับของที่เก่ากว่านั้นแล้ว สรุปวิธีคิดพี่คือ เนื้อหากะข้อสอบเก่าๆพี่ลงเป็น self เพื่อการจดให้ละเอียด ส่วนคอร์สตะลุยโจทย์ล่าสุดพี่ลงสด เพื่อที่จะได้เห็นอัพเดตเร็วกว่าคนที่รอ self ครับ

มีต่ออีกนะครับบบบ อันสุดท้ายแล้วววว

แสดงความคิดเห็น

4 ความคิดเห็น

Amyyy 22 ส.ค. 60 เวลา 09:31 น. 2

พี่คะ หนูมีข้อสงสัยนิดหน่อย

1. ที่พี่ยกตัวอย่างว่า "เลขสอบ 8:30-10:00 น้องก็ตื่นมาจับเวลาทำเลขชุดนึงตอนเวลานี้ ทำบ่อยๆ ร่างกายจะชินว่า ช่วงเวลานี้เราจะคิดเลข พอวันจริงเราก็จะทำเหมือนกับว่ามันเป็นสิ่งที่เราทำมาโดยตลอด" ถ้าวันธรรมดาไปโรงเรียนมันเป็นเวลาเรียนในคาบนี่คะ แล้วหนูควรฝึกหรือทำยังไงดี ?!?

2. พี่จัดการกับการบ้านที่โรงเรียนยังไงคะ ที่หนูกังวลตอนนี้ไม่ใช่พวกใบงาน แบบฝึกหัดเล็กๆน้อยๆอะค่ะ แต่เป็นงานชิ้นใหญ่ๆทั้งหลาย โปรเจ็คต่างๆ T T หนูรู้สึกว่ามันดูดเวลา+ดูดพลังไปมากเลย

ปล. นี่เป็นกระทู้แรกที่หนูเจอเลยค่ะที่มีรุ่นพี่มาแชร์ประสบการณ์เตรียมตัวสอบได้ละเอียดมากขนาดนี้ ขอบคุณมากๆนะคะ ^^

1
AuThanathorn 22 ส.ค. 60 เวลา 22:46 น. 2-1

โอเคครับน้อง เอาทีละข้อนะะ

ข้อ 1 เลขสอบวันอาทิตย์ เพราะฉะนั้นวันอาทิตย์สำคัญสุด ถ้าวันอื่นๆ น้องไม่สามารถจับเวลาทำได้จริงๆ ให้น้องทำวันอาทิตย์ให้ได้ และ วันธรรมดาอื่นๆ ให้จับเวลาช่วงที่น้องว่าง แต่พยายามทำทุกวันและให้เป็นช่วงเวลาเดียวกัน น้องจะมีเวลาทำหลังจากน้องสอบไฟนอลที่รร.เสด ซึ่งก้ถือว่าใกล้สอบแล้ว ช่วงนั้นก้สามารถที่จะจับเวลาทำได้ แต่อย่าทำหนักมาก สิ่งที่พี่แนะนำมันทำได้แค่สำหรับบางคนที่เค้าอาจจะหยุดเรียน ไม่ก็รร.เอื้อต่อการสอบไรงี้ ถ้าน้องไปต้องไปรร. จริงๆ ไม่ต้องกังวลครับ ถ้าน้องฝึกสม่ำเสมอ ยังไงน้องก้จะเก่งขึ้นแน่นอน

ข้อ 2 ถ้าตอนนี้น้องอยุ ม6 แล้วงานหนักจริงๆ น้องต้องหาตัวช่วยครับ อาจจะลองคุยกับเพื่อนๆ ที่ไม่ได้สอบเหมือนเรา กรือที่เค้าพอว่างๆให้ช่วยเรา หรือถ้ากลุ่มน้องจะสอบหมอกันหมด ให้รวมตัวกันไปคุยกับอาจารย์ขอผ่อนผันเท่าที่จะทำได้ ไม่งั้นลองขอให้คุณพ่อคุณแม่น้องช่วยดู ช่วงนี้ขอไม่เกรงใจกันสักช่วง เพราะมันสำคัญมากจริงๆ อะไรพวกนี้มันเป็นตัวขัดขวางเรา แต่ก่อนที่จะหันไปขอความช่วยเหลือ น้องจะต้องลองจัดการกับมันอย่างเตมที่แล้วนะ ก้คือต้องลองจัดเวลาดู แล้วเอาตารางเวลาที่จัดเนี่ย ไปเปนเหตุผลให้เพื่อนๆ หรือ อาจารย์เรา เค้าจะได้เหนว่าเออ เราตั้งใจจริง

ปล. ขอบคุณมากครับน้อง พี่ก้อยากจะแชร์อะไรๆที่พี่รุ้ให้น้องๆทุกๆคนเลย ยังไงก็สุ้ๆนะน้อง พี่เปนกำลังใจให้ ติดมาให้ได้นะครับบ

0
J'Sun 2 พ.ค. 61 เวลา 13:54 น. 3

แอบอ่านกระทู้เงียบๆแต่มาถึงตอนนี้ต้องเม้นท์จริงๆ พี่เขียนละเอียดมาก และชอบไอเดียการอ่านหนังสือตามช่วงเวลาที่เราจะสอบเวลานั้น ทำไมเราคาดไม่ถึงนี่ก็อ่านตอนกลางคืนหาววนไปสิคะว่าแต่การฝึกแบบนี้จะทำให้บอดี้เราชินและปรับตัวได้ใช่ไหมคะ เพราะเคยเห็นหลายคนบอกว่าบางคนมันแล้วแต่ เช่นอ่านวิทย์จำได้ดีช่วงเช้า แต่เลขกลับสมองไบรท์ช่วงดึกๆซะงั้น

1
AuThanathorn 23 ธ.ค. 61 เวลา 02:01 น. 3-1

วิธีที่พี่ใช้มันก็ใช้ได้แค่ส่วนนึงคับบ คนไหนที่ไบรท์ช่วงกลางคืนจริงๆ ก็ว่ากันไม่ได้ แต่ถ้าเราได้ฝึกในเวลาที่เหมือนกับการสอบจริงๆ ร่างกายเราจะชินจริงๆคับ แล้วก็ไม่ว่าเราจะอ่านมาแบบตรงเวลาหรืออ่านตอนดึกมา สุดท้ายช่วงใกล้สอบเราก็ต้องปรับเวลานอนให้ตื่นเช้า เพราะวันสอบก็ต้องสอบเช้าอยู่ดี เพราะงั้นพี่เลยแนะนำให้อ่านเช้าคับบบ

0
ววฬฬ 6 ธ.ค. 61 เวลา 22:29 น. 4

คือวันนี้เรียนจบมาก็ทบทวนของวันนี้ แล้วก็ค่อยทบทวนอีกทีทุกอย่างตอนเรียนจบหมดใช่มั้ยคะ


1
AuThanathorn 23 ธ.ค. 61 เวลา 02:03 น. 4-1

ประมานนั้นครับ การทวนในวันนั้นๆเลย มันจะทำให้เราจำได้มากกว่าทิ้งไว้นานๆ แต่อย่าลืทที่จะเชื่อมโยงความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เก่า มันจะยิ่งทำให้จำง่ายขึ้น หรือบางบทในวิชานึงก็เอาไปใช้กะบางบทในอีกวิชาได้เป็นต้น อย่ามองว่าทุกอย่างแยกจากกัน ถ้าเรา group มันเข้าหากันได้ เนื้อหาที่เราต้องจำมันก็จะน้อยลงคับ

0