Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คนดีอยู่ที่มุมมอง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
                    
     ทุกๆคนเคยคิดสงสัยกันมั้ยว่า คนดี ควร เป็นคนเเบบไหน มีนิสัยอย่างไร
ความหมายของคนดีคืออะไร

บางคนก็บอกเพียงว่า คนดีคือคนที่เป็นเเบบอย่างที่ดีของสังคม, คนที่เห็นเเก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์​ส่วนตน, คนที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่เเละครอบครัว, คนที่ทำดีต่อเรา, คนที่รักเรา, คนที่ทำสิ่งดีงาม​เเก่โลกใบนี้, คนที่กระทำสิ่งเหล่านั้น คนที่กระทำสิ่งเหล่านี้

ต่างคนก็ต่างนิยามคนดีมาคนละเเบบตามความคิดของตน ความคิดนิยามคนดีของเเต่ละคนล้วนเเต่เป็นนิยามคนดีที่ถูกต้องในมุมมองที่เขาคิด 

บางคนคิดว่าในโลกนี้มีเพียงคนดีเเละคนไม่ดีอย่างชัดเจน เเต่บางคนก็คิดว่าโลกนี้ เป็นสีเทาๆ ไม่มีใครดีหรือไม่ดี 100% 
     ระหว่างที่ผมนั่งผสมสีในห้องเรียนศิลปะ ผมก็ได้ ฉุกคิด​ขึ้นมาว่าทำไม ผู้คนถึงชอบสีที่ไม่เหมือนกัน สีไหนดีสีไหนเเย่ สีไหนสวยสีไหนไม่สวย ผมนั่งคิดอยู่นานจนผมก็ตกตะกอนความคิดในมุมมองของผม

ก่อนผมจะนิยามคำว่าคนดีในทัศนคติ​ของผมผมต้องนิยามสิ่งที่ทำให้ผู้คนมองคุณว่าเป็นคนดีนั่นก็คือ"ความดี" 
ในความคิดของผม ความดี นั่นเกิดจากการกระทำในสิ่งที่ผู้คนเห็นว่าดี(เห็นว่าถูกต้อง)​การกระทำนั่น ผมไม่ได้มองว่ามีเพียงเเค่ 2 ด้าน ขาวดำ(ดีเลว)​หรือ สีโทนขาวดำ ผมมองเป็นสีสันสดใสเหมือนสีในจานสี การกระทำเปรียบเสมือนการสาดสีลงไปบนเเผ่นผ้าใบที่มีผู้อื่นมานั่งชมสีที่เราสาดลงไปบนเเผ่นผ้าใบ 

บางทีสีที่เราสาดอาจเป็นสีเเดง ผู้ชมที่ชื่นชอบสีเเดงจะเห็นว่าสีที่เราสาดนั่นสวย หากผู้ชมรู้สึกเฉยๆ จะมองภาพที่เราสาดสีว่าธรรมดา หากผู้ชมไม่ชอบสีเเดง จะมองว่าการสาดสีของเราไม่สวย เปรียบเสมือนการกระทำหนึ่งของเรา อาจเป็นการกระทำที่ดีในมุมมองของคนบางคนเเต่อาจเป็นการกระทำที่ไม่ดีของคนอีกคนก็ได้ โดยการกระทำที่มีผู้คนส่วนมากในสังคมเห็นดีด้วยผู้คนส่วนใหญ่มักเห็นว่าการกระทำสิ่งนั้นเป็นการกระทำที่ดีงามเเละถูกต้อง(ความดี)​เเต่การกระทำที่ผู้คนส่วนมากเห็นว่าเลวร้ายผู้คนส่วนใหญ่มักเห็นว่าสิ่งนี้เป็น การกระทำที่ชั่วร้ายเเละเลวทราม(ความชั่ว)​ ยิ่งมีคนส่วนมากเห็นด้วยมากเท่าไหร่สิ่งนั้นย่อมมั่นคงเเละเห็นถูกมากขึ้นเท่านั้น​ 

ตลอดเวลาของประวัติศาสตร์​มักมีบุคคลที่ถูกตีหน้าว่าเป็นคนชั่วร้ายเพราะเพียงว่ามีความคิดเเละการกระทำที่เเตกต่างออกไปจากคนส่วนใหญ่(ซึ่งคนส่วนใหญ่เห็นว่าผิด)​เช่น ยุค ก่อนปฎิวัติ​วิทยาศาสตร์​ที่มีการนำผู้คนที่คิดต่างจากศาสนามาประหารชีวิต​ ผู้คนส่วนมากเชื่อมั่นในศาสนาที่ตนนับถือเเละคิดว่าการกระทำที่ตนทำนั่นเป็นสิ่งที่ดี

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปรสนิยม​ของผู้คนย่อมเปลี่ยนไป ทัศนคติ​ของของคนส่วนใหญ่​ย่อมเปลี่ยนแปลง​ด้วยเช่นกัน(ยกตัวอย่าง สมัยก่อนผู้คนเห็นว่าการประหารชีวิต​นักโทษอย่างทรมานเป็นสิ่งที่ถูกต้องเเต่ปัจจุบันมุมมองของคนส่วนมากเปลี่ยนแปลง​ไปการประหาร​ชีวิต​นักโทษอย่างทรมานเป็นสิ่งที่เลวทรามเเล้วในปัจจุบัน)​

ผมจึงเชื่อว่าคนดีหรือความดีนั่นไม่ได้อยู่ที่ตัวเราเองเพียงอย่างเดียวเเต่เป็นเพราะคนอื่นเขามองเราว่าเป็นคนเเบบไหนด้วย

เเล้วคุณละจะนิยามคนดีว่าอย่างไร

(มุมมองคนดีของผมอาจไม่ถูกต้องในมุมมองของคุณผมก็ขออภัยด้วยเช่นกัน​ครับ)​
(ถ้าเขียนน่าเบื่อก็ขอโทษด้วยเด้อ)​

(สรุปง่ายๆ บางสิ่งบางอย่างที่เรากระทำ เราเห็นว่าสิ่งนั่นเป็นสิ่งที่ดี เเต่คนส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ดี ผู้คนมักเรียกสิ่งนั่นว่าสิ่งไม่ดี)​

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

เกย์อักษรฯเอกปรัชญา 7 ธ.ค. 61 เวลา 20:07 น. 1

อืม ก็น่าสนใจนะฮะ นิยามความดีก็ยังคงเป็นข้อถกเถียงกันไม่จบไม่สิ้นเสียทีในวิชาจริยศาสตร์ของสาขาปรัชญามุมมองที่มองว่าความดีขึ้นอยู่กับมุมมองจัดว่าเป็นฝั่ง moral subjectivism

ส่วนมุมมองที่มองว่าความดีเป็นสิ่งคงเส้นคงวาไม่แปรเปลี่ยนไปตามมุมมองเรียกว่าฝั่ง moral objectivism

มุมมองของ จขกท.จัดเป็น moral subjectivism นั่นเอง เราชอบการอุปมาเป็นสีสันต่างๆของ จขกท.อยู่

ทั้งสองฝั่งก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน อย่างฝั่งของ จขกท.เมื่อความดีแปรเปลี่ยนไปตามมุมมอง ดังนั้นแล้วสังคมต่างๆที่มีวัฒนธรรมต่างกันก็จะมีนิยามความดีต่างกัน ทำให้เกย์ในรัฐอิสลามต้องโดนปาหินใส่จนตาย ต่างจากเกย์ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางอย่างที่อเมริกา อังกฤษ เยอรมัน บราซิล สเปน เป็นต้น

สำหรับเราที่เป็นเกย์ เราเข้าใจหัวอกของคนกลุ่มนี้ด้วยกัน เรารู้ว่าการเป็นเกย์มันไม่ผิดอ่ะ เพราะเราก็ไม่ได้ไปทำร้ายใคร มันเป็นสิทธิ เกย์ไม่ควรจะโดนเกลียดหรือโดนปาหินใส่จนตายเพียงเพราะแค่เป็นเกย์ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่จุดประกายให้เราอยู่ฝั่ง moral objectivism เราเชื่อว่าความดีมันต้องมีส่วนที่คงที่คงเส้นคงวา อย่างเรื่องการไม่ละเมิดสิทธิ ในกฎหมายที่บังคับใช้กันโดยหลักๆปรากฎเรื่องของสิทธิในร่างกายและสิทธิในทรัพย์สิน เราให้สิทธิสองตัวนี้เป็นระเบียบความดีของมนุษย์ละกัน เราสามารถใช้สิทธิสองตัวนี้ต่อยอดไปอธิบายเรื่องอื่นได้ อย่างเช่นการทำร้ายเกย์ทำไมจึงผิดหรือไม่ดี ก็อธิบายได้ด้วยสิทธิในร่างกายนั่นเอง การที่เรามองความดีว่าคงเส้นคงวาจะช่วยให้เราตัดสินค่านิยมและกฎหมายของรัฐอิสลามว่าผิดได้ เมื่อเริ่มการนี้แล้ว ต่อไปก็จะสามารถช่วยบรรดาเกย์ในรัฐอิสลามให้พ้นจากภยันตรายได้


ในปัจจุบันสาขาปรัชญา มีการเข้ามาของวิชาปรัชญาข้อมูล (philosophy of information)ซึ่งมีแนวคิดต่อสิ่งต่างๆอย่างน่าสนใจว่าทุกสิ่งในโลกล้วนประกอบด้วยข้อมูลและการจัดประเภทข้อมูลให้เป็นข้อมูลแม่แบบและข้อมูลลูก

การแบ่งชุดข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้อธิบายเรื่องความดีได้เช่นกัน อาจจะอุปมาความดีในสมองมนุษย์ว่าเป็นใบไฟล์ใบหนึ่งที่เก็บข้อมูลแม่แบบของความดีไว้ และมีใบไฟล์ความเลวที่เก็บข้อมูลแม่แบบของความเลวไว้ และมีใบไฟล์รันโปรแกรมมนุษย์ซึ่งจะหยิบแต่ละสมาชิก ฟังก์ชั่นหรือคุณสมบัติต่างๆจากทั้งใบไฟล์ความดีและใบไฟล์ความเลวมารวมกัน โมเดลการจำลองสมองมนุษย์ให้เป็นใบไฟล์เสมือนการเขียนโปรแกรมจากปรัชญาข้อมูลนี้ ให้คำตอบใหม่และมีพลังในการอธิบายกว้างขวางกว่าคำตอบแบบเดิมๆในปรัชญา ซึ่งนับว่าน่าสนใจมากๆ

ฉะนั้นเวลาที่มีคนบอกว่าคนนี้เป็นคนเลว ก็อธิบายได้ด้วยโมเดลข้อมูลว่าเขาอาจจะมีข้อมูลแม่แบบในใบไฟล์ความเลวมากและ/หรือมีข้อมูลแม่แบบในใบไฟล์ความดีน้อยและ/หรือแสดงผลข้อมูลลูกจากข้อมูลแม่แบบในใบไฟล์ความเลวจนสังกตได้ ณ เวลาใดๆ

ฉะนั้นเวลาที่มีคนบอกว่าคนนี้เป็นคนดี ก็อธิบายได้ด้วยโมเดลข้อมูลว่าเขาอาจจะมีข้อมูลแม่แบบในใบไฟล์ความดีมากและ/หรือมีข้อมูลแม่แบบในใบไฟล์ความเลวน้อยและ/หรือแสดงผลข้อมูลลูกจากข้อมูลแม่แบบในใบไฟล์ความดีจนสังกตได้ ณ เวลาใดๆ

ฉะนั้นเวลาที่มีคนบอกว่าคนนี้เป็นคนเทาๆ ก็อธิบายได้ด้วยโมเดลข้อมูลว่าเขาอาจจะมีข้อมูลแม่แบบในใบไฟล์ความดีและมีข้อมูลแม่แบบในใบไฟล์ความเลวเฉลี่ยพอๆกัน และ/หรือแสดงผลข้อมูลลูกจากข้อมูลแม่แบบในใบไฟล์ความดีและความเลวเฉลี่ยพอๆกันจนสังกตได้ ณ เวลาใดๆ

เวลาที่นักปรัชญาถกเถียงกันเรื่องความดี พวกเขาหมายถึงข้อมูลแม่แบบในในไฟล์ความดีในสมองมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดโลกของแบบของเพลโต้ และเวลาที่ชาวบ้านทั่วไปผู้ไม่สนใจข้อมูลในหัวตัดสินคนอื่นว่าดี/เลว พวกเขาหมายถึงข้อมูลลูกที่ได้จากการรันใบไฟล์แม่แบบในหัว ซึ่งแสดงผลออกมาเป็นการกระทำนั่นเอง


เป็นไงยากไหม วิชาปรัชญาข้อมูล philosophy of information หากสนใจ จขกท.สามารถศึกษาต่อได้ที่:

http://metaphysicist.com/book/Metaphysics_Index.pdf



0
คนไม่สำคัญ 14 ธ.ค. 61 เวลา 00:05 น. 2

สรุปสั้นๆ มุมมองของคนสามารถทำให้เป็น

คนดี และ คนเลว และอีกทางหนึ่งในแง่กฎ

หมาย สังคมภายในประเทศนั้นๆ ไปครับ


ที่ผมสรุปออกมา ไม่ทราบว่า แต่ละท่านคิด

อย่างไรกันครับ

ที่จะเสนอให้ทุกคนช่วยคิดและเขียน กัน

มาเลยครับ เด็กน้อยที่ชอบเถียงว่ากล้วย

น้ำวาดิบช้วยแก้ท้องผูก แต่ความจริงแล้ว

กล้วยน้ำว้าดิบช่วยแก้ท้องเสีย ชึ่งเด็กน้อย

คนนั้น เขาอาจสับสนระหว่างกล้วยน้ำวาดิบ

ช่วยแก้ท้องผูก กับ ท้องเสีย


ผมขอถามว่าข้อไหนถูก ข้อไหนผิด ครับ

รบกวนช่วยตอบด้วยนะครับ


ชึ่งเรื่องนี้ เกี่ยวข้องกับคนดี คนเลวอย่างไร

ชึ่งถ้ามีคนทำผิดกฎหมาย และ คนที่ทำผิด

ไม่ได้มีคนเดียว และ คนทำผิดคนที่ 3-6

พยายามบิดเบือนข้อมูล และ ทำให้บุคคล

อื่นเข้าใจผิด และ ใส่ร้ายบุคคลคน แบบนี้

พอเข้าใจง่ายขึ้นหรือเปล่าครับ


วิชาสังคมอาจซับซ้อน ถ้าพยายามทำความ

เข้าใจ ก็เป็นนักสืบที่ดีได้ครับ

0
ๆๆๆ 13 พ.ย. 66 เวลา 11:59 น. 3

ความดีเลว จะออกทางไหน ขึ้นอยู่กับคนหมู่มากเป็นคนบอก ต่อให้มันดีโดยไม่มีที่ติ แต่ถ้าคนเลวหมู่มากบอกว่ามันไม่ดีนะ ดีก็จะกลายเป็นเลวได้

0
เศร้า 15 พ.ย. 66 เวลา 08:09 น. 4

คนดีอยู่ยาก คนเลวเปิดเผยตัวตน คนดีต้องแอบทำ ยิ่งคุณเป็นคนดีมากเท่าไหร่ยิ่งอันตรายต่อตัวเองเท่านั้น เขาว่ากันว่าประชากรโลกร้อยละ60 เป็นคนเลว ยังงัยซะคนดีก็ต้องแพ้ (ค่าเฉลี่ย) โดยเฉพาะเวลามีเรื่องราวเข้ามา เนื่องจากมีคนเลวมากกว่า กลุ่มคนเลวก็จะลุมทำร้ายคนดี เพราะคนเลวมันมีชนักติดหลังเยอะ มันจึงต้องหาทางกำจัดคนตรงข้าม นั่นคือคนดี ยิ่งมีอำนาจด้วยแล้วยิ่งง่ายมือ

0
7่เเ่่่ 11 ธ.ค. 66 เวลา 06:37 น. 5

ทางออกของคนดี คือ ต้องเข้าได้กับทุกกลุ่มคน ไม่ว่าจะดีหรืเลว เมื่อเขาไม่แว้งกัด ก็เท่ากับว่าไม่มีคนเลวมาทำร้าย แต่สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะเข้ากลุ่มไหน ทั้งคนดีคนเลวทำร้ายกันเองได้หมด

0
สเดด่สสร่ 13 ธ.ค. 66 เวลา 09:53 น. 6

อย่าเป็นคนดีเกินไป มันเครียด เข้าสังคมยาก อย่าเป็นคนเลวเกินไป จะพาตัวเองเข้าคุกเข้าตาราง คนรอบข้างพลอยเป็นทุกข์ไปด้วย แล้วกลางๆอยู่ตรงไหน กลางๆคือการเป็นตัวของตัวเอง เราเป็นของเราแบบนี้ ไม่ต้องแคร์หรือปรับมากจนเกินไป จริงๆแล้วประเด็นเรื่องดีเลวไม่ได้สำคัญไปกว่าการเข้าพวกเข้าฝูงได้ ถ้าเราเข้าพวกได้ไม่ว่่าจะกลุ่มไหน ความดีเลวก็จะมีผลน้อยลง เมื่อคุณอยู่ในกลุ่ม แล้วคุณเป็นคนดีมากเท่าไหร่ คุณก็อาจไปเหยียบหัวเหยียบหางคนอื่นได้ ดังนั้นแล้วไม่ว่าเราจะเป็นอย่างไรก็ตาม การเข้ากลุ่มได้สำคัญที่สุด ถึงแม้ว่าคุณจะเลวแต่คนในกลุ่มก็จะเชิดชู

0
สสสส​สวัสดี​ 13 ธ.ค. 66 เวลา 10:59 น. 7

ยกตังอย่าง

หัวหน้าถามลูกน้อง

A: ทำงานที่นี่เป็นยังงัยบ้าง อยากให้ปรับปรุงอะไรมั้ย

B: ก็ดีครับ ไม่มีอะไรต้องปรับครับ

C: ดีครับ แต่ถ้าปรับตรงนี้ได้ก็จะดีมากครับ


ความคิดเห็นของ A ที่มีีต่อ B สามารถคิดได้2แบบที่ต่างกันอย่างสุดขั้ว ได้แก่ 1. ดีจังไม่มีปัญหาเข้ากับอะไรได้หมด 2. ไม่เสนออะไรเลย คิดไม่เป็น ไม่รู้จักพิจารณา


ลองพิจารณามุมมองของ, A ที่มีต่อ C บ้าง

1. ดีนะ กล้าพูดกล้าแสดงความคิดเห็น 2. เสนออะไรบ้าบอเป็นไปไม่ได้


จะเห็นว่าไม่ว่าใครจะเป็นอย่างไร เราไม่สามารถทำอะไรให้เข้่าทางใครไปได้ทั้งหมด

ดี เลว ก็เช่นเดียวกัน มันสามารถถูกแปรเปลี่ยนเป็นตรงข้ามได้เสมอ


0