Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ขอคำปรึกษาหน่อยค่ะ แต่งทฤษฏีสมคบคิดยังไงให้ดู ดึงดูดผู้คนดีคะ?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คือในนิยายของเราตอนนี้ ตัวละครหลักได้เข้าไปเป็นสมาชิกกับองค์กรลับแห่งนึง แล้วก็ได้รับภารกิจให้สร้างเรื่อง แต่งทฤษฏีสมคบคิดขึ้นมาหลอกลวง ตบตาชาวเมือง โจมตีเป้าหมายซึ่งก็คือรัฐสภาให้เกิดความ paranoid วิตกกังวลไปกับทุกๆอย่าง จนแตกคอกันเอง แต่มันยากก็ตรงที่ เราไม่เข้าใจว่าทฤษฏีสมคบคิดต่างๆมันเผยแพร่ไปได้ยังไง เช่น อิลลูมินาติควบคุมทุกๆอย่าง แล้วก็จับไปโยงกับนู่นนี่นั่น เป็นสัญลักษณ์ต่างๆว่าคนๆนี้เป็นอิลลูมินาตินะ แค่นี้มันเพียงพอทำให้คนเชื่อแล้วเหรอ? คือมันไม่มีเหตุผลอะไรมารองรับตัวเรื่องเลย การพูดโกหกซ้ำไปซ้ำมาแบบนี้ทำให้คำโกหกกลายเป็นความจริงได้เหรอคะ?

แสดงความคิดเห็น

4 ความคิดเห็น

peiNing Zheng 21 พ.ย. 60 เวลา 22:56 น. 1

ลอง search ทฤษฎี Prisoner's Dilemma ดูไหมคะ (พอได้ยินคำนี้ ทฤษฎีนี้คือแวบแรกที่เข้ามาในหัว) อาจพอประยุกต์อะไรได้บ้าง


อ้อ อันนี้ไว้จัดการคนที่สมรู้ร่วมคิดนะคะ ไม่ใช่ตอนเริ่ม


หรือไม่ก็หาคำว่า Game Theory ไปแล้วกัน (Prisoner's Dilemma เป็นหนึ่งในนี้) น่าจะครอบคลุมกว่าค่ะ

1
April_Maple 21 พ.ย. 60 เวลา 23:40 น. 1-1

อ่านจบแล้ว ว้าวเลยค่ะ เข้าใจตรรกะของการร่วมมือเพื่อผลประโยชน์มากขึ้นเลย สุดท้ายแล้วก็จะเจ็บทั้งสองฝ่ายที่คิดจะหักหลังกันเพราะความโลภ ได้ไอเดียเขียนทฤษฏีสมคบคิดดีๆขึ้นมาเลยค่ะ ถ้าวางตัวล่อด้วยผลประโยชน์ คงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าการใส่ร้ายแน่ๆ แถมยังแนบเนียนมากๆด้วย ขอบคุณมากๆ

0
Seesor [COS] 21 พ.ย. 60 เวลา 23:44 น. 2

ขอยกในแง่ของทฤษฎีการสื่อสารแล้วกันนะคะ เผื่อว่าพอจะเป็นแนวทางได้


คือเท่าที่อ่านหัวข้อกระทู้ เราคิดว่าน่าจะสอดคล้องกับทฤษฎีพวกนี้


- ทฤษฎีการกำหนดระเบียบวาระ (Agenda Setting) : การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนมีผลต่อสาธารณชน คือยิ่งสื่อมวลชนนำเสนอเรื่องราวหรือเหตุการณ์ใดมาก ก็จะทำให้ประชาชนรับรู้และสนใจต่อเหตุการณ์นั้นมากขึ้น


--> เราเลยคิดว่าการนำเสนอ+ปล่อยข่าวซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เยอะ ๆ ก็น่าจะส่งผลบ้างไม่มากก็น้อยนะคะ


- ทฤษฎีการพึ่งพิง (Dependency Theory) : ผลของสื่อมวลชนจะเกิดขึ้นได้ในระดับนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยสองประการคือ 1. ระดับความขัดแย้งหรือความไม่มั่นคงของสังคม 2. ระดับของสังคมที่อยู่ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ หากเมื่อสังคมมีความขัดแย้งและเกิดการเปลี่ยนแปลง บุคคลก็จะพึ่งพิงข้อมูลข่าวสารค่อนข้างมาก


--> ถ้าการเมืองอยู่ในภาวะไม่มั่นคง ยิ่งปล่อยข่าวอะไรต่อมิอะไร เราว่ายิ่งได้ผลค่ะ เพราะยังไงคนก็มีแนวโน้มจะเชื่อข่าวและพึ่งพิงข่าวมาก ๆ อยู่แล้วในสภาวการณ์แบบนี้


- แนวคิดเกี่ยวกับวงเกลียวแห่งความเงียบงัน (The Spiral of Silence) : คนเราจะพยายามหลีกเลี่ยงที่จะแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากความเห็นของสาธารณะ ยิ่งถ้าต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องแสดงความเห็น บุคคลก็ยิ่งกลัวที่จะแสดงความเห็นที่ต่างออกไป และพยายามปรับความคิดเห็นของตัวเองให้เข้ากับคนส่วนใหญ่


--> ถ้าเริ่มจุดประเด็นทฤษฎีสมคบคิดขึ้นมาได้ คนเริ่มคิดเห็นไปในทางหมู่มาก เริ่มเชื่อเป็นวงกว้าง คนที่เห็นต่างก็น่าจะไม่ค่อยกล้าแย้งแล้วล่ะมั้งคะ


ลองสังเกตดราม่าในสื่อสังคมออนไลน์ดูได้ค่ะ ส่วนใหญ่ก็น่าจะเป็นไปตามวงเกลียวแห่งความเงียบงันอยู่นะ 55555 คือไม่ได้บอกว่าไม่มีคนเห็นต่างหรือคนเห็นต่างจะมีลักษณะไหลตามน้ำเหมือนกันไปหมด แต่คนเห็นต่างบางคนอาจจะเลี่ยงไม่แสดงความคิดเห็นไปเลยก็มี


ทั้งที่ทั้งนั้น ข่าวพวกการเมืองนี่ถือเป็นข่าวสารหนัก (Hard News) คือเป็นข้อมูลเชิงลึกที่ต้องวิเคราะห์วิจารณ์กันเยอะหน่อย ดังนั้นเลยถูกจัดประเภทให้อยู่ในวัตถุประสงค์ของการสื่อสารแบบที่นำไปใช้เป็นเครื่องมือ (Instrumental Purpose)


อธิบายง่าย ๆ คือมันเป็นข่าวที่ต้องใช้เวลาคิด ใคร่ครวญ และใช้เวลาเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (Attitude Change) อยู่พอสมควร กว่าจะเกิดผลตามมาคงอีกสักระยะหนึ่ง ไม่สามารถจะป้อนข่าวปุ๊บแล้วเชื่อปั๊บได้ในทันทีเลยน่ะนะคะ


อ้อ แล้วก็เรื่องการเมืองก็มีผลต่อสื่อมวลชนนะคะ การปกครองรูปแบบหนึ่งอาจควบคุมสื่ออย่างเข้มงวดจนสื่อแทบไม่สามารถนำเสนอที่แปลกแยกไปจากนโยบายของรัฐได้ การปกครองบางรูปแบบสื่ออาจจะมีอิสระในการนำเสนอข่าว เป็นต้นค่ะ


อ้างอิงจาก


กิติมา สุรสนธิ. (2557). ความรู้ทางการสื่อสาร (Introduction to Communication) ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.


ประมาณนี้มั้งคะ นี่พูดในแง่การสื่อสารนะคะ ส่วนแง่การเมือง จิตวิทยาหรืออะไรเหล่านี้ก็คงมีทฤษฎีรองรับในแบบของเขาไปอีก ถ้าสนใจอยากประยุกต์ใช้ในเรื่องพวกนี้เราคิดว่าน่าจะพอทำได้อยู่บ้าง


นี่ถึงกับต้องเปิดหนังสือเรียนสมัยปี 1 มานั่งผึ่งเลยทีเดียว 555555

1
April_Maple 23 พ.ย. 60 เวลา 07:04 น. 2-1

ขอบคุณสำหรับความรู้มากๆค่ะ เราเก็บบันทึกไว้เลย

https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/jj-big-09.png

0
กุยแกตามหาโจโฉ V2 22 พ.ย. 60 เวลา 00:40 น. 3

การพูดโกหกซ้ำไปซ้ำมาแบบนี้ทำให้คำโกหกกลายเป็นความจริงได้เหรอคะ?


- ได้ค่ะ ดูกรณีกระสือ ซึ่งตามตำนานพื้นบ้านจริงๆ เป็นแค่แสงสว่างวอมแวมยามค่ำคืน แต่มีนักเขียนคนหนึ่งแต่งเรื่องขึ้นมาว่า เป็นหญิงสาวถอดไส้ลอยไปมา...


จนปัจจุบัน คนดันเชื่อว่าตำนานกระสือคืออย่างหลัง

1
April_Maple 23 พ.ย. 60 เวลา 07:07 น. 3-1

ขอบคุณที่ช่วยยกตัวอย่างนะคะ พอจะนึกภาพเหตุการณ์สำหรับทฤษฏีสมคบคิดออกแล้ว

0
อัจฉราโสภิต 22 พ.ย. 60 เวลา 05:08 น. 4

ต้องใหญ่ ต้องเว่อร์ จนไม่น่าเชื่อ แต่จับใจคน เป็นเรื่องที่คนให้ความสนใจหรือมีอารมณ์ร่วมได้ง่าย และต้องมีการสร้างเงื่อนงำไว้หลายๆอย่างเบื้องหลังครับ ให้ต้องใช้เวลาสืบหาความจริงนานๆ ซับซ้อนเข้าใจยากๆ


เพราะฉะนั้น คนที่ไม่สนใจก็จะไม่สนใจ คนที่ไม่เชื่อและอยากหักล้างก็ต้องสืบหาความจริงกันนานๆ จนเบื่อหรือยอมแพ้ สุดท้ายคนที่มีอารมณ์ร่วมกับเรื่องนั้น (ทั้งด้านเชื่อและไม่เชื่อ) ก็จะเหลือแต่ฝั่งที่เชื่อ และเขาจะกระพือเรื่องนั้นต่อไป ยิ่งมีอารมณ์ร่วมเยอะๆ ก็จะเข้าทฤษฎี Spiral ของคุณ Seesor ข้างบน เพราะคนที่ไม่เชื่อก็จะไม่กล้าแสดงความเห็นแล้ว กลัวว่าพูดอะไรออกมาเดี๋ยวตายคาทีน


ตัวอย่างก็เช่นเรื่องยิวของนาซีครับ คนยุโรปเกลียดยิวเป็นทุนเดิม (เพราะยิวค้าขายเก่งและหน้าเลือด จึงรวยกันเยอะ) พอสร้างเรื่องว่ายิวทรยศเยอรมัน คนเยอรมันก็งับทันที สร้างเรื่องเบื้องหลังให้เยอะๆ จะได้หักล้างยาก สุดท้ายทั้งประเทศก็รวมใจกันฆ่ายิว มีแต่ส่วนน้อยมากๆเท่านั้นที่ไม่เอาด้วย และถ้าเอาด้วย ดีไม่ดีก่อนตำรวจจะมาคุณอาจจะโดนเพื่อนบ้านรุมไปแล้ว


หรืออย่างเช่น สร้างเรื่องว่าตัวเองเป็นผู้ถูกกระทำ มีคนหลายคนรวมหัวกันเล่นงานตัวเอง กลั่นแกล้งตัวเอง โดยไม่เปิดเผยบางส่วนหรือหลายส่วนของเรื่องราวทั้งหมดให้กลุ่มเป้าหมายฟัง เดี๋ยวกลุ่มเป้าหมายเขาก็จะเชื่อเองว่าเป็นผู้ถูกกระทำน่าสงสารจริงๆครับ

1