คนกับสัตว์ มองเห็นต่างกันอย่างไร ?

 

 

 

 

     เรื่องน่ารู้วันนี้เป็นเรื่อง ที่ใกล้ตาเรามาก แต่เรากลับไม่ค่อยรู้เรื่องนี้สักเท่าไร นั่นก็คือเรื่องของตานั่นเอง (ใกล้ตาไหมล่ะ) เป็นเรื่องน่ารู้ ที่พี่มิ้งนำมาจากเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ น่าสนใจมากเลยทีเดียวครับ

 

    {pic-desc}

 

     เริ่มกันที่ดวงตาดวงแรกของโลกก่อน เกิดเมื่อประมาณ 540 ล้านปีที่แล้ว ในกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า

ดวงตาแบบแรกของโลก สามารถรับรู้ได้เพียงความสว่างและความมืดเท่านั้น ซึ่งตาแบบ "อาย สปอต" (eye spot) ของพานาเลีย ก็จัดว่าเป็นแบบเดียวกับตาดวงแรกของโลก ตาแบบ "อาย สปอต" ในยุคเริ่มแรกเริ่มมีลักษณะเป็นแบบแผ่น และค่อยๆ วิวัฒนาการไปเป็นแบบถ้วย ต่อมาจึงมีการพัฒนาเลนส์ตาขึ้น เพื่อให้รับภาพได้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น จนกลายเป็นรูปแบบของดวงตาที่มองเห็นภาพและสีสันได้ชัดเจนอย่างในปัจจุบัน

ทีนี้ลองมาดูดวงตาของสัตว์ต่างๆ บ้าง ว่ามีลักษณะพิเศษ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

 งู
ดวงตางูเป็นดวงตาไร้เปลือก จึงหลับตาไม่ได้ ซึ่งดวงตาที่เปิดกว้างอยู่ตลอดเวลาของงูนั้นมีเกล็ดใสครอบอยู่เพื่อปกป้องดวงตาเวลาที่เลื้อยลงไปใต้ดิน ขณะที่งูจำพวกงูเขียวหางไหม้ และงูเหลือม มีโครงสร้างรับสัมผัสที่เรียกว่า พิต ออร์แกน (Pit organ) อยู่ระหว่างดวงตากับจมูกช่วยเสริมการมองเห็น โดยรับสัมผัสคลื่นความร้อนจากตัวเหยื่อ ทำให้งูเชื่อมโยงการมองเห็นภาพด้วยดวงตา และความร้อนเข้าด้วยกัน จึงล่าเหยื่อได้ดีแม้ในยามกลางคืน

 ตาแมงมุม
เป็นสัตว์ที่มีตาเยอะมาก แมงมุมกระโดดมีตาทั้งหมด 8 ดวง เพื่อช่วยในการล่าเหยื่อได้อย่างดีเยี่ยม ตารองด้านข้างและด้านบนของหัวช่วยหาตำแหน่งของเหยื่อได้ไวแม้ให้ภาพไม่ชัดเจนนัก เมื่อพบตำแหน่งเหยื่อแล้วจะใช้ตาหลักที่อยู่ด้านหน้าแยกแยะรายละเอียดเพื่อระบุตำแหน่งที่แน่ชัดอีกครั้งก่อนจู่โจม โดยมีตารองอีกชุดที่อยู่ใกล้กับตาหลักช่วยกะระยะได้อย่างแม่นยำ โห จะแม่นไปไหมเนี่ย

 ตานกแสก, นกเค้าแมว
มีดวงตา กระจกตา และรูม่านตาขนาดใหญ่ มีเซลล์รับแสงจำนวนมาก เพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นได้ดีในที่มืด จึงรับรู้ได้ไวต่อการเคลื่อนไหวแต่ไม่ไหวต่อสี

    {pic-desc}

 

 ตาของนก
นกเกือบทุกชนิดมีหนังตาแผ่นที่ 3 ที่เป็นเยื่อบางๆ คลุมดวงตาของนกไว้ ซึ่งคอยทำความสะอาดดวงตา และปกป้องดวงตาจากลมและแสงแดดในขณะบินโต้ลมแรง ส่วนนกที่ต้องดำน้ำหาอาหาร หนังตานี้จะช่วยกันน้ำได้ หนังตาพิเศษนี้จึงเปรียบเสมือนแว่นกันแดด แว่นกันลมและแว่นตาดำน้ำของนกเลยล่ะ

 ตาวาฬและโลมา
จะมีเยื่อหุ้มตาขาวหนา และมีกระจกตาหนา มีกล้ามเนื้อตามาก ช่วยปกป้องดวงตาเมื่ออยู่ใต้น้ำและน้ำเย็น เลนส์ตาเป็นทรงกลม ทำให้มองเห็นภาพใต้น้ำลึกที่มีแสงน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 หมึกยักษ์
นอกจากความฉลาดแล้ว ยังมีดวงตาที่ดีอีกต่างหาก หมึกยักษ์เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีดวงตาพัฒนาสูงสุดในกลุ่มสัตว์น้ำ แต่ใกล้เคียงกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยในทะเล มีปมประสาทตาขนาดใหญ่ ดวงตาไวต่อแสงมากกว่ามนุษย์ 5 เท่า มองเห็นได้ดีในที่มืดอย่างใต้ทะเลลึกที่แสงอาทิตย์ส่องลงไปไม่ถึง และสามารถปรับโฟกัสของดวงตาได้

 แมลงปอ
ดวงตาในดวงตาดวงตาของแมลงปอ มีขนาดใหญ่มากถึง 2 ใน 3 ของส่วนหัว เป็นตารวม 1 คู่ ประกอบด้วยเลนส์รูปหกเหลี่ยมขนาดเล็กจำนนหลายพันเลนส์เรียงต่อกันคล้ายรังผึ้ง คล้ายกับมีดวงตาขนาดเล็กจำนวนมากมารวมกันเป็นตาใหญ่ดวงเดียว แมลงปอจึงมองเป็นภาพจากเลนส์แต่ละส่วนมาประกอบเป็นภาพเดียวกัน คล้ายภาพจิ๊กซอหรือภาพโมเสก

 เหยี่ยว
สัตว์ที่ขึ้นชื่อว่า สายตาเฉียบคมมาก เหยี่ยวมีดวงตาขนาดใหญ่ที่ค่อนไปทางด้านหน้าของศีรษะ มองเห็นภาพได้ในมุมกว้าง มุมมองตรงกลางจะถูกขยายออกเพื่อมองเห็นเหยื่อได้ในระยะไกลเหมือนกับมองด้วยกล้องส่องทางไกล เห็นภาพแบบ 3 มิติ ที่มีความคมชัดทั้งภาพและสีสัน


     ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องใกล้ตัว ติดตา จะมีความแตกต่างที่น่าสนใจขนาดนี้ ลองใช้ดวงตาคู่นี้ของเรา มองสำรวจสิ่งต่างๆ ที่มองผ่านไปเผื่อจะเจอสิ่งดีๆ ที่มองข้ามไปก็ได้

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : ผู้จัดการออนไลน์ 

 

พี่มิ้งค์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

38 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
$WeeT_PuMPK!N~ Member 1 ต.ค. 52 15:39 น. 14
อยากรู้ว่าตาแบบแรกเค้าจะมองเห็นแบบที่เราเห็นมั๊ยอ่า...
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับผม

ปล. พี่มิ้งค์เป็นครูสอนวิทยาศาสตร์รึเปล่าอ่า
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด