สวัสดีค่ะน้องๆ ทุกวันนี้ในประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยกระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาค แต่ละมหาวิทยาลัยก็มีการเรียนการสอนในคณะ ในหลักสูตรที่หลากหลายมากมาย แล้วน้องๆ เคยสงสัยไหมคะว่า ก่อนหน้าที่จะมีคณะ มีหลักสูตรมากมายขนาดนี้ ในอดีตแต่ละมหาวิทยาลัยเปิดสอนในคณะไหนกันมาบ้าง
 

 
     พี่แนนนี่ได้ไปสืบค้น หาข้อมูลต่างๆ ประวัติ และต้นกำเนิดของ 10 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทย พน้องๆ ย้อนไปยังยุคแรกเริ่มของแต่ละที่ว่าทำการเปิดการเรียนการสอนในคณะไหนกันบ้าง
 
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
     นับเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศ ถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก ก่อนจะเป็นจุฬาลงกรณ์มหวิทยาลัยที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ โดยช่วงแรกมีการจัดการศึกษาเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
      เมื่อก่อตั้งใช้ชื่อว่า มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง (มธก.) เป็นตลาดวิชา และมหาวิทยาลัยเปิด ทำการเรียนการสอนใน 2 แขนงคือ หลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิต ซึ่งสอนวิชากฎหมายเป็นหลัก แต่ได้สอนวิชารัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการฑูตด้วย และอีกแขนงหนึ่งคือ วิชาการบัญชี ซึ่งก็คือคณะนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
     หลังจากที่จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีฐาะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรการศึกษา 5 ปี สำหรับปริญญาตรี และ 3 ปี สำหรับอนุปริญญา ซึ่งประกอบด้วย 4 คณะ คือ คณะเกษตรศาสตร์ (แผนกเกษตรศาสตร์ สัตวบาล เคมี กีฏวิทยาและโรคพืช เกษตรวิศวกรรม) คณะวนศาสตร์ (แผนกวนวิทยา พฤกษศาสตร์ วิศวกรรมป่าไม้ สัตววิทยา) คณะสหกรณ์ (แผนกสหกรณ์ เศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัญชี นิติศาสตร์) คณะประมง (แผนกประมง ชีววิทยา เพาะเลี้ยง ผลิตภัณฑ์ )

มหาวิทยาลัยมหิดล
     กว่าจะมาเป็นมหาวิทยาลัยมหิดลเหมือนทุกวันนี้ เรื่องราวช่างซับซ้อน ถ้าให้สืบสาวราวเรื่องจริงๆ จะพบว่าคณะที่ถือเป็นคณะดั้งเดิมของที่นี่ คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพราะมหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนามาจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งเดิมทีประกอบไปด้วยหลายสาขาวิชาเกี่ยวกับแพทย์ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์และศิริราช คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์
     ก่อนจะสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยมหิดล ก็ได้มีการก่อตั้งคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เพื่อขยายการเรียนการสอนให้ครอบคลุมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ด้วย

มหาวิทยาลัยศิลปากร
     เดิมเป็นโรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร เปิดสอนวิชาจิตรกรรมและประติมากรรม หลังจากที่ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว จึงจัดตั้ง คณะจิตรกรรมและประติมากรรม ซึ่งปัจจุบัน คือ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ต่อมาเป็นคณะสถาปัตยกรรมไทย หรือคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะโบราณคดี และคณะมัณฑนศิลป์ ตามลำดับ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
     มศว พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง และวิทยาลัยวิชาการศึกษา ก่อนที่จะได้รับการสถาปนาเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยในช่วงปีแรกๆ ของมหาวิทยาลัยได้มีการจัดตั้งคณะต่างๆ เช่น ศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะพละศึกษา เป็นต้น
      นอกจากนี้วิทยาลัยวิชาการศึกษาที่ได้ขยายตัวเป็นวิทยาเขตอื่นๆ ทั่วประเทศ ภายหลังยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
     เดิมทีเป็นศูนย์ฝึกโทรคมนาคม นนทบุรี ก่อนที่จะยกฐานะเป็นวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี และจัดตั้งรวมกับอีก 2 วิทยาลัยเป็น “สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า” จากนั้นเปลี่ยนจากวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี เป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ศูนย์นนทบุรี ก่อนจะเปลี่ยนเป็นชื่อสถาบันฯ เช่นทุกวันนี้

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     มหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ตามโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค ในระยะเริ่มแรกของการก่อตั้ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น
     หลังจากที่รัฐบาลมีมติจัดตั้ง "มหาวิทยาลัยขอนแก่น" ขึ้น ตามนโยบายพัฒนาภูมิภาค (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) คณะกรรมการฯ ก็ได้เลือกคณะวิชาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน โดยศึกษาจากโครงสร้างความต้องการในการพัฒนา จึงได้จัดตั้ง คณะเกษตรศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นเป็น 2 คณะแรก

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
     เดิมชื่อ "มหาวิทยาลัยภาคใต้" เป็นมหาวิทยาลัยภายใต้โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภูมิภาค ในช่วงจัดตั้ง เปิดรับนักศึกษา "คณะวิศวกรรมศาสตร์" เป็นนักศึกษารุ่นแรกของมหาวิทยาลัย จำนวน 50 คน โดยใช้อาคารเรียนของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จัดการเรียนการสอน
     เป็นอย่างไรกันบ้างคะ...ว่าแต่มีน้องคนไหนพึ่งจะรู้ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยของตัวเองกันบ้างไหมนะ สารภาพมาซะดีดี :)
พี่แนนนี่
พี่แนนนี่ - Columnist เด็กเอกไทย คลั่งไคล้มิกกี้(เม้าส์) หลงใหลอิตาลี คอยเฝ้าลงพื้นที่ ตามข่าว TCAS

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

รัตนาดิศร Member 30 ธ.ค. 61 22:59 น. 2

จุฬาฯ ม.แพทยศาสตร์ และ ม.มหิดล มีความสัมพันธ์ที่น่าสนใจครับ


คณะแพทย์จุฬาฯ เดิมคือราชแพทยาลัย รพ.ศิริราช มารวมกับคณะอื่นๆ อีก 3 คณะ สถาปนาขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตแพทย์จุฬาฯ จะเรียนชั้นเตรียมแพทย์ที่คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ 2 ปี ก่อนจะข้ามฟากมาเรียนแพทย์ที่ รพ.ศิริราช


สมัยรัฐบาลจอมพล ป. คณะแพทย์จุฬาฯ (ศิริราช) และคณะสายวิทยาศาตร์สุขภาพอื่นๆ ของจุฬาฯ ถูกแยกออกมา สถาปนาขึ้นเป็น ม.แพทยศาสตร์ หลังจากนั้นไม่นาน ม.แพทยศาสตร์ตั้งคณะแพทย์แห่งที่สอง คือ คณะแพทย์ รพ.จุฬาฯ สภากาชาดไทย 


นิสิตแพทย์ทั้ง 2 คณะ เรียนชั้นเตรียมแพทย์ร่วมกันที่คณะอักษรและวิทย์ จุฬาฯ เป็นเวลา 2 ปี แล้วจึงสอบคัดเลือกกันว่าจะเรียนต่อที่ รพ.ศิริราช หรือ รพ.จุฬาฯ


แรกเริ่มเดิมที จุฬาฯ ไม่เคยนับว่าคณะแพทย์ รพ.จุฬาฯ เป็นส่วนหนึ่งของจุฬาฯ เลย ตั้งแต่แรกตั้ง พ.ศ. 2490 โดยถือว่าสังกัด ม.แพทยศาสตร์ และสภากาชาดไทยเท่านั้น จนกระทั่ง ม.แพทยศาสตร์ เปลี่ยนเป็น ม.มหิดล พ.ศ. 2512 คณะต่างๆ แยกย้ายกันไป คณะแพทย์จุฬาฯ (ศิริราช) ไปรวมกับ ม.มหิดล ในขณะที่คณะแพทย์ รพ.จุฬาฯ ยกให้จุฬาฯ ดูแลต่อ กลายมาเป็นคณะแพทย์จุฬาฯ ปัจจุบัน


คณะอื่นๆ ใน ม.แพทยศาสตร์ ที่เคยสังกัดจุฬาฯ ให้โอนย้ายกลับคืนจุฬาฯ ส่วนคณะที่ตั้งขึ้นใหม่ ให้สังกัด ม.มหิดล

0
กำลังโหลด

3 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
รัตนาดิศร Member 30 ธ.ค. 61 22:59 น. 2

จุฬาฯ ม.แพทยศาสตร์ และ ม.มหิดล มีความสัมพันธ์ที่น่าสนใจครับ


คณะแพทย์จุฬาฯ เดิมคือราชแพทยาลัย รพ.ศิริราช มารวมกับคณะอื่นๆ อีก 3 คณะ สถาปนาขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตแพทย์จุฬาฯ จะเรียนชั้นเตรียมแพทย์ที่คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ 2 ปี ก่อนจะข้ามฟากมาเรียนแพทย์ที่ รพ.ศิริราช


สมัยรัฐบาลจอมพล ป. คณะแพทย์จุฬาฯ (ศิริราช) และคณะสายวิทยาศาตร์สุขภาพอื่นๆ ของจุฬาฯ ถูกแยกออกมา สถาปนาขึ้นเป็น ม.แพทยศาสตร์ หลังจากนั้นไม่นาน ม.แพทยศาสตร์ตั้งคณะแพทย์แห่งที่สอง คือ คณะแพทย์ รพ.จุฬาฯ สภากาชาดไทย 


นิสิตแพทย์ทั้ง 2 คณะ เรียนชั้นเตรียมแพทย์ร่วมกันที่คณะอักษรและวิทย์ จุฬาฯ เป็นเวลา 2 ปี แล้วจึงสอบคัดเลือกกันว่าจะเรียนต่อที่ รพ.ศิริราช หรือ รพ.จุฬาฯ


แรกเริ่มเดิมที จุฬาฯ ไม่เคยนับว่าคณะแพทย์ รพ.จุฬาฯ เป็นส่วนหนึ่งของจุฬาฯ เลย ตั้งแต่แรกตั้ง พ.ศ. 2490 โดยถือว่าสังกัด ม.แพทยศาสตร์ และสภากาชาดไทยเท่านั้น จนกระทั่ง ม.แพทยศาสตร์ เปลี่ยนเป็น ม.มหิดล พ.ศ. 2512 คณะต่างๆ แยกย้ายกันไป คณะแพทย์จุฬาฯ (ศิริราช) ไปรวมกับ ม.มหิดล ในขณะที่คณะแพทย์ รพ.จุฬาฯ ยกให้จุฬาฯ ดูแลต่อ กลายมาเป็นคณะแพทย์จุฬาฯ ปัจจุบัน


คณะอื่นๆ ใน ม.แพทยศาสตร์ ที่เคยสังกัดจุฬาฯ ให้โอนย้ายกลับคืนจุฬาฯ ส่วนคณะที่ตั้งขึ้นใหม่ ให้สังกัด ม.มหิดล

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด