แนะนำคณะเปิดสอนใน "ม.มหิดล" มีอะไรบ้าง จบไปทำงานอะไร

                  สวัสดีค่ะ มหาวิทยาลัยมหิดล ขึ้นชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยทางด้านการแพทย์ แต่น้องๆ รู้หรือเปล่าคะว่าที่นี่ ก็มีหลักสูตรด้านศิลปศาสตร์ที่คะแนนแอดมิชชั่นสูงงงง...อยู่ด้วยค่ะ และยังมีหลักสูตรอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกหลายหลักสูตร รวมทั้งยังมีเปิดสอนในวิทยาเขตกาญจนบุรี อำนาจเจริญ และนครสวรรค์ ว่าแล้วก็ไปทำความรู้จักกับคณะที่เปิดสอนของมหาวิทยาลัยมหิดลกันให้มากขึ้นดีกว่า ไปดูกันเลยค่ะ
                  ข้อมูลอ้างอิงจาก   https://tcas.mahidol.ac.th/


 
1. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มี 4 หลักสูตร คือ
1.1 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) มี 1 สาขา คือ สาขาวิชาแพทยศาสตร์
แนวทางประกอบอาชีพ : แพทย์, แพทย์เฉพาะทาง, อาจารย์

1.2 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) มี 1 สาขา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์
แนวทางประกอบอาชีพ : นักผลิตสื่อด้านการแพทย์, นักผลิตสื่อด้านการศึกษา, ผู้ผลิตสื่อโฆษณา

1.3 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) มี 1 สาขา คือ สาขาวิชากายอุปกรณ์
แนวทางประกอบอาชีพ : นักกายอุปกรณ์,  นักวิจัยเกี่ยวกับอุปกรณ์การแพทย์,  นักเวชศาสตร์ฟื้นฟู, ธุรกิจส่วนตัวด้านเครื่องมือแพทย์

1.4 หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (พทป.บ.) มี 1 สาขา คือ การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต
แนวทางประกอบอาชีพ : นักการแพทย์แผนไทยประยุกต์, เปิดคลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์

2. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มี 3 หลักสูตร คือ
2.1 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) มี 2 สาขาคือ
                  - หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
                  - หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์)
แนวทางประกอบอาชีพ : แพทย์, แพทย์เฉพาะทาง, อาจารย์

2.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) มี 2 สาขา คือ
                  - สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์
                  - สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย
แนวทางประกอบอาชีพ : นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์, นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย, อาจารย์, นักวิชาการ

2.3 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) มี 1 สาขาคือ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
แนวทางการประกอบอาชีพ : พยาบาลวิชาชีพ, พยาบาลในคลินิก, พยาบาลพิเศษดูแลผูู้ป่วยตามบ้าน, นักวิชาการสาธารณสุข, พนักงานหรือทำธุรกิจด้านอุปกรณ์การแพทย์

3. คณะเภสัชศาสตร์ (เภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.))
แนวทางประกอบอาชีพ : เภสัชกร, นักพัฒนายา, นักควบคุมคุณภาพยา, เปิดร้านขายยา, ประกอบธุรกิจส่วนตัว, ผู้แทนยา

4. คณะทันตแพทยศาสตร์ (ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (ท.บ.))
แนวทางประกอบอาชีพ : ทันตแพทย์, ทันตแพทย์เฉพาะทาง, อาจารย์, ธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์ดูแลฟัน

5. คณะวิทยาศาสตร์ (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.))  มี 12 สาขา คือ
                  - สาขาวิชาคณิตศาสตร์
                  - สาขาวิชาพฤกษศาสตร์
                  - สาขาวิชาฟิสิกส์
                  - สาขาวิชาชีววิทยา
                  - สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
                  - สาขาวิชาเคมี
                  - สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีวสภาวะแวดล้อม (นานาชาติ)
                  - สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (นานาชาติ)
                  - สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (นานาชาติ)
                  - สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน (นานาชาติ)
                  - สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประกันภัย (นานาชาติ)
                  - สาขาวิชาคณิตศาสตร์อุตสาหการและวิทยาการข้อมูล (นานาชาติ)
แนวทางประกอบอาชีพ : นักวิทยาศาสตร์, นักวิจัย,  นักพฤกษศาสตร์, นักฟิสิกส์, งานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ, หรือสายง่านต่างๆ ที่นำความรู้จากสายการเรียนไปใช้งาน

6. คณะเทคนิคการแพทย์ (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) มี 2 สาขา คือ
                  - สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
                  - สาขาวิชารังสีเทคนิค

แนวทางประกอบอาชีพ : นักเทคนิคการแพทย์,  เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพ, นักรังสีเทคนิค, ธุรกิจส่วนตัว, นักวิจัย

7. คณะสาธารณสุข (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) มี 2 สาขา คือ
                  - สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
                  - สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
แนวทางประกอบอาชีพ : นักสาธารณสุข, นักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, นักส่งเสริมสุขภาพ, เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมความปลอดภัย, ธุรกิจส่วนตัว

8. คณะพยาบาลศาสตร์ (พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.))
แนวทางการประกอบอาชีพ : พยาบาลวิชาชีพ, พยาบาลในคลินิก, พยาบาลพิเศษดูแลผูู้ป่วยตามบ้าน, นักวิชาการสาธารณสุข, พนักงานหรือทำธุรกิจด้านอุปกรณ์การแพทย์

9. คณะกายภาพบำบัด (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) มี 2 สาขา คือ
                  - สาขาวิชากายภาพบำบัด
                  - สาขาวิชากิจกรรมบำบัด
แนวทางการประกอบอาชีพ : นักกายภาพบำบัด, เทรนเนอร์ฟิตเนส, นักกิจกรรมบำบัด, ผู้ดูแลผู้ป่วย

10. คณะสัตวแพทยศาสตร์ (สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต))
แนวทางประกอบอาชีพ : สัตวแพทย์, อาจารย์, งานราชการในหน่วยงาน กรมปศุสัตว์ เป็นต้น, งานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสัตวเลี้ยง เช่น อาหาร ยา, ประกอบธุรกิจส่วนตัว

11. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) มี 2 สาขา คือ
                  - สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
                  - สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นานาชาติ)
แนวทางประกอบอาชีพ : นักวิทยาศาสตร์, นักวิจัย, นักสิ่งแวดล้อม, เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม, ผู้ควบคุมด้านสิ่งแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรม

12. คณะวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)) มี 9 สาขา คือ
                  - สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
                  - สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
                  - สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (นานาชาติ)
                  - สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
                  - สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
                  - สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
                  - สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
                  - สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
                  - สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (นานาชาติ) วิชาเอกวิศวกรรมผลิตภัณฑ์นมและเครื่องดื่ม
แนวทางประกอบอาชีพ : วิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ตามสาขาที่เรียนมา เช่น ยานยนต์, ไฟฟ้า, เคมี, บริษัทด้านก่อสร้าง,  โปรแกรมเมอร์, ประกอบธุรกิจส่วนตัว

13. คณะศิลปศาสตร์ (ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)) มี 2 สาขา คือ
                  - สาขาวิชาภาษาไทย
                  - สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
แนวทางประกอบอาชีพ : ล่าม, นักแปล, แอร์โฮสเตส, คอลัมนิสต์, อาจารย์, ผู้ประกาศข่าว, นักเขียน, นักประชาสัมพันธ์, ไกด์ หรือ อาชีพอื่นๆ ที่ใช้ทักษะด้านภาษา

14. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) สาขาวิชาเวชระเบียน
แนวทางประกอบอาชีพ : นักเวชระเบียนในโรงพยาบาล, เจ้าหน้าที่ธุรการด้านสาธารณสุข, นักวิชาการด้านเวชสถิติ

15. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นานาชาติ)
แนวทางประกอบอาชีพ : โปรแกรมเมอร์, ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์, ผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่น, นักพัฒนาระบบ, ดีไซเนอร์, นักออกแบบสามมิติ

16. วิทยาลัยศาสนศึกษา (ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)) สาขาวิชาศาสนศึกษา
แนวทางประกอบอาชีพ : นักวิชาการ, รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงวัฒนธรรม สำนักพระพุทธศาสนา, แอร์โอสเตส, อาชีพอิสระ

17. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มี 2 หลักสูตร คือ
17.1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
17.2 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) มี 2 สาขา คือ
                  - สาขาวิชาการออกกำลังกายและการกีฬา วิชาเอกการออกกำลังกายและการกีฬา
                  - สาขาวิชาการออกกำลังกายและการกีฬา วิชาเอกฟุตบอล
แนวทางประกอบอาชีพ : นักวิทยาศาสตร์การกีฬา, ครู/อาจารย์ พลศึกษา, เทรนเนอร์ฟิตเนส, นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา

18. วิทยาเขตกาญจนบุรี มี 4 หลักสูตร คือ
18.1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต มี 3 สาขา คือ
                  - สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร
                  - สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
                  - สาขาวิชาธรณีศาสตร์

แนวทางประกอบอาชีพ :   นักวิทยาศาสตร์การเกษตร, นักวิจัย, นักธรณีวิทยา, ธุรกิจด้านการเกษตร, ผู้คิดค้นนวัตกรรม,  งานด้านสำรวจ

18.2 หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)
แนวทางประกอบอาชีพ :
นักบัญชี, ผู้ตรวจสอบบัญชี, ผู้เชียวชาญด้านภาษี, พนักงานธนาคาร

18.3 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)

แนวทางประกอบอาชีพ :   นักวางแผนการเงิน, ธุรกิจส่วนตัว, เจ้าหน้าที่ธนาคาร, นักวิเคราะห์ในบริษัทหลักทรัพย์, ฝ่ายจัดซื้อ

18.4 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ
แนวทางประกอบอาชีพ :   วิศวกร, เจ้าหน้าที่ในฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม , นักวิชาการสิ่งแวดล้อม,  นักวิเคราะห์นโยบายและแผน, ธุรกิจส่วนตัว

19. วิทยาเขตนครสวรรค์  มี 4 หลักสูตร คือ
19.1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง
19.2 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาการประกอบการเชิงนิเวศวัฒนธรรม

แนวทางประกอบอาชีพ :   นักวิชาการ,  นักวิจัยในกรมวิชาการเกษตร, เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร, ธุรกิจนำเที่ยว, ธุรกิจส่วนตัว

19.3 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.)
แนวทางการประกอบอาชีพ : พยาบาลวิชาชีพ, พยาบาลในคลินิก, พยาบาลพิเศษดูแลผูู้ป่วยตามบ้าน, นักวิชาการสาธารณสุข, พนักงานหรือทำธุรกิจด้านอุปกรณ์การแพทย์

19.4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.) สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
แนวทางประกอบอาชีพ :   นักสาธารณสุขชุมชน,  นักวิจัย, นักวิชาการสุขาภิบาล, นักวิชาการสาธารณสุข

20. วิทยาเขตอำนาจเจริญ มี 3 หลักสูตร คือ
20.1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
20.2 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.)
20.3 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม

แนวทางประกอบอาชีพ :   นักวิชาการสุขาภิบาล, นักวิชาการสาธารณสุข, นักวิชาการเกษตร, นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม, ธุรกิจส่วนตัวด้านการเกษตร
 
21. วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล มี 7 หลักสูตรคือ
21.1 หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสื่อและการสื่อสา
แนวทางการประกอบอาชีพ : ผู้ผลิตสื่อ, ครีเอทีฟ, คอลัมนิสต์, นักข่าว, นักเขียนบท, นักประชาสัมพันธ์, งานด้านโฆษณา

21.2 หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
แนวทางการประกอบอาชีพ : ผู้ผลิตสื่อ, ดีไซเนอร์, ออกแบบเว็บไซต์, ออกแบบสื่อต่างๆ, งานด้านโฆษณา

21.3 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต มี 2 สาขาวิชา คือ
                  - สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกิจการทั่วโลก
                  - สาขาวิชาวัฒนธรรมนานาชาติศึกษาและภาษา
แนวทางการประกอบอาชีพ : อาจารย์, นักวิชาการ, ธุรกิจส่วนตัว, ผู้ประสานงานต่างประเทศ, เจ้าหน้าที่ในองค์กรระหว่างประเทศ

21.4 หลักสูตรบริหารธุรกิจ มี 4 สาขาวิชา คือ
                  - สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
                  - สาขาวิชาการเงิน
                  - สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
                  - สาขาวิชาการตลาด
21.5 หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการด้านธุรกิจการเดินทางและธุรกิจบริการ
แนวทางประกอบอาชีพ : นักการตลาด, พนักงานธนาคาร, ฝ่ายจัดซื้อ, นักวางแผนธุรกิจ, ที่ปรึกษาด้านการเงิน, ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ, ธุรกิจด้านการส่งออก-นำเข้า, ธุรกิจด้านโลจิสติกส์, นักเศรษฐศาสตร์

21.6 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต มี 6 สาขาวิชา คือ
                  - สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
                  - สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
                  - สาขาวิชาเคมี
                  - สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
                  - สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
                  - สาขาวิชาฟิสิกส์
แนวทางประกอบอาชีพ : นักวิทยาศาสตร์, นักวิจัย, อาจารย์, ประกอบธุรกิจส่วนตัว, อาชีพอื่นๆ ตามสาขาที่เรียนมา เช่น โปรแกรมเมอร์, นักวิทยาศาสตร์อาหาร

21.7 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
แนวทางประกอบอาชีพ : วิศวกรคอมพิวเตอร์, โปรแกรมเมอร์, นักพัฒนาแอปพลิเคชั่น, นักวิเคราะห์ระบบ

                  เป็นอย่างไรกันบ้างคะน้องๆ ได้เห็นภาพรวมคณะที่เปิดสอนของ ม.มหิดล แล้ว เยอะกว่าที่คิดใช่มั้ยคะ และมีหลายวิทยาเขตด้วย ใครที่อยากเข้าที่นี่ ก็ขอให้น้องๆ สมหวังทุกคนเลย ดรีมแคมปัสบทความหน้า จะเป็นมหาวิทยาลัยอะไร รอติดตามกันด้วยะคะ
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น