ใหม่! สาขานวัตกรรมการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

สวัสดีค่ะน้องๆ เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวคราวน่ายินดีกับประเทศไทยเรา ที่ทางแฟนเพจเฟซบุ๊ก official ของยูเนสโก (UNESCO) ได้ใช้รูปภาพ "โนรา" เป็น cover โดยโนรา เป็นศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย ที่ได้ขึ้นทะเบียนจาก UNESCO เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ เมื่อพ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา  สำหรับน้องๆ คนไหนที่ติดตามข่าวสารทางด้านวัฒนธรรม หรือองค์การยูเนสโกอยู่เป็นประจำ หรือสนใจด้านนี้เป็นพิเศษ จะต้องตามไปทำความรู้จักกับหลักสูตรใหม่ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อย่าง สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม กันค่ะ

ใหม่! สาขานวัตกรรมการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565) เป็นหลักสูตรใหม่ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งได้รับการรับรองจาก สป.อว. (ด้านการอุดมศึกษา) เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2565  โดยหลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีองค์ความรู้เชิงสหสาขาวิชา ด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรม โบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ การจัดการ เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม สามารถคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผล ประยุกต์ใช้สื่อสารสนเทศและสื่อดิจิทัล เพื่อร่วมสร้างนวัตกรรมการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม เชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว บัณฑิตจะมีสมรรถนะ ดังนี้

1) มีความรู้ในศาสตร์นวัตกรรมการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม และนำไปใช้พัฒนาประเทศตามทิศทางของระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

2) สามารถคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผล ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ มรดกทางวัฒนธรรมและการจัดการ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชุมชนเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม

3) มีทักษะการทำงานเป็นทีม และรู้จักบทบาทหน้าที่ของตน พร้อมที่จะรับฟังความเห็นของผู้อื่น

4) สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เหมาะสมกับวิถีชีวิต และสังคมการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน มีมนุษยสัมพันธ์และมีทักษะการสื่อสาร ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศภาษาที่สอง ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้

5) มีคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพและความรับผิดชอบต่อสังคม

อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา

1) เจ้าหน้าที่ในพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม หอจดหมายเหตุแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติอุทยานประวัติศาสตร์

2) นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ ในหน่วยงาน กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด

3) นักวิชาการวัฒนธรรมสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

4) นักวิชาการวัฒนธรรมอิสระในองค์กรเอกชนต่างๆ

5) ผู้ผลิตสื่อและสารสนเทศทางวัฒนธรรม เช่น ยูทูปเปอร์ นักเขียนสารคดี บทความ

6) ผู้จัดการประชุมและนิทรรศการทางวัฒนธรรม หรือ ออแกไนเซอร์

7) ผู้ช่วยนักวิจัยด้านการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม

8) ผู้ประกอบการอิสระ

แล้วพบกันที่ ศิลปศาสตร์  ม.อุบลราชธานี นะคะ

พี่แนนนี่
พี่แนนนี่ - Columnist เด็กเอกไทย คลั่งไคล้มิกกี้(เม้าส์) หลงใหลอิตาลี คอยเฝ้าลงพื้นที่ ตามข่าว TCAS

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น