ชวนดู! คณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่ละสาขาเรียนอะไรกันบ้างนะ?

 

สวัสดีค่ะน้องๆ ทุกคน ใครมีความฝันอยากเป็นวิศวกรบ้างมั้ยเอ่ย? วิศวกร เป็นอีกอาชีพที่น้องๆ หลายคนมีความฝันที่อยากจะเป็นตั้งแต่เด็กๆ เพราะมีภาพจำว่า จะต้องได้ขับรถคันใหญ่ขุดดิน หรือเดินตรวจงานก่อสร้างตึกใหญ่ๆ วันนี้พี่คิตตี้เลยจะพาไปดูว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์เรียนอะไรกันบ้าง จะมีแต่การขุดดินและวางแผนสร้างแบบที่เราคิดไว้มั้ย ไปดูกัน

คณะวิศวกรรมศาสตร์เรียนอะไรบ้าง

             พี่คิตตี้ต้องบอกก่อนเลยว่า คณะวิศกรรมศาสตร์จะเรียนเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี โดยอาศัยความรู้จากวิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์  เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพ  รวมไปถึงการออกแบบและประยุกต์ใช้วัสดุ เห็นได้ว่าจะเน้นไปที่วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นหลัก

             รายวิชาที่น้องๆ จะได้เรียนในคณะนี้จึงไปในทางของสายวิทย์ คณิต โดยสิ้นเชิง อย่าง ฟิสิกส์ เคมี  แคลคูลัส อีกทั้งยังมีรายวิชาที่เรียนในโครงสร้างที่ลึกลงไปในแต่ละสาขา เช่น  การบำรุงรักษาระบบเชิงกล ของสาขาวิชาเครื่องกล  วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า ของสาขาวิชาไฟฟ้า เรียกได้ว่ามีสาขาที่หลากหลายให้น้องๆ ได้เลือกเรียนตามความสนใจของตัวเองเลย

ตัวอย่างสาขาวิชาที่เปิดสอนในคณะวิศกรรมศาสตร์

วิศวกรรมโยธา 

             เรียนเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้าง อาคาร สะพาน ถนน เน้นไป ในเรื่องการออกแบบ ก่อสร้าง และบำรุงรักษา รวมไปถึงได้วิเคราะห์ทางธรณีเพื่อบริหารจัดการการวางโครงของสิ่งปลูกสร้าง และสร้างโดยที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

วิศวกรรมเครื่องกล

             เรียนเกี่ยวกับการดูแลรักษาระบบเชิงกล เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ หุ่นยนต์ ระบบไฮดรอลิก อากาศยาน เป็นต้น อีกทั้งยังเรียนเกี่ยวกับออกแบบชิ้นส่วนต่างๆ การเคลื่อนไหวของชิ้นส่วน โดยเน้นใช้ความรู้ทางด้านฟิสิกส์

วิศวกรรมไฟฟ้า 

             เรียนเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า การผลิตและส่งถ่ายพลังงานไฟฟ้าตามบ้านเรือน อาคาร โรงงาน ควบคุมระบบอิเล็กทรอนิกส์ เขียนโปรแกรม รวมไปถึงเรียนเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าในการสื่อสาร เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต ระบบดาวเทียม

วิศวกรรมเคมี

              เรียนเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตทางเคมี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี และคำนึงถึงความปลอดภัยของสภาพแวดล้อม รวมไปถึงเรียนในศาสตร์ของวิศวกรรมเครื่องกลร่วมด้วย เพื่อมาประยุกต์ใช้เข้าด้วยกัน

วิศวกรรมอุตสาหการ 

              เรียนเกี่ยวกับระบบงานภายในโรงงาน ระบบการผลิต ควบคุมเครื่องจักรในกระบวนการผลิตสมัยใหม่ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม วางแผน ควบคุมความปลอดภัย รวมไปถึงประยุกต์เข้ากับการตลาด เศรษฐศาสตร์ เพื่อให้เห็นแน้วโน้มในการผลิต

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 

              เรียนเกี่ยวกับสารสนเทศในด้านการเขียนโปรแกรม ไมโครคอมพิวเตอร์ การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ ออกแบบวงจรดิจิทัล ฐานข้อมูลในเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ต่างๆ รวมไปถึงระบบการโต้ตอบของคนและคอมพิวเตอร์

วิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม 

             เรียนเกี่ยวกับการขุดเจาะและการผลิตน้ำมัน ก๊าซ แร่ โลหะ การออกแบบเหมืองใต้ดิน การแต่งแร่ อีกทั้งยังนำศาสตร์ของวิศกรรมสาขาอื่นๆ มาประยุกต์เข้าร่วมด้วย เพราะการสร้างเหมืองต้องใช้ความรู้เรื่องโครงสร้างของวิศกรรมโยธา ความรู้ไฟฟ้าจากวิศกกรรมไฟฟ้า การประยุกต์ไมโครคอมพิวเตอร์จากวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เรียกได้ว่ามีแทบจะทุกศาสตร์ในการเรียนสาขานี้

วิศวกรรมโลจิสติกส์

             เรียนเกี่ยวกับออกแบบวางแผนระบบ การควบคุมการขนส่ง เคลื่อนย้าย จัดเก็บ กระจาย จัดหาสินค้า ระบบการจัดการต่างๆ รวมไปถึงวางเครือข่ายของคนส่งสินค้า อีกทั้งยังประยุกต์เรียนรู้เข้ากับศาสตร์ของวิศวกรรมอุตสาหการร่วมด้วย

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม 

              เรียนเกี่ยวกับการบำบัดระบบน้ำเสีย มลพิษ สารอันตรายต่างๆ จะมุ่งเน้นการเรียนรู้ไปที่สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสภาพแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วิศกรรมการบินและอวกาศ

              เรียนเกี่ยวกับการออกแบบ ซ่อมบำรุงเครื่องยนต์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการบิน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน เครื่องยนต์เจ็ท วงจรดาวเทียม อีกทั้งยังเรียนในด้านอากาศพลศาสตร์ รวมไปถึงธุรกิจทางด้านการบิน 

วิศวกรรมชีวการแพทย์

             เรียนเกี่ยวกับการออกแบบ สร้างอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น อวัยวะเทียม อุปกรณ์การแพทย์ในโรงพยาบาล รวมไปถึงเรียนกลไกของร่างกายเพื่อช่วยในการผลิตอุปกรณ์วินิจฉัยและบำบัด  โดยจะเรียนประยุกต์ร่วมกับวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เรียกได้ว่ามีสองศาสตร์ในที่เดียว

วิศวกรรมแหล่งน้ำ 

             เรียนเกี่ยวกับแหล่งน้ำ การไหลของน้ำ ชายฝั่งทะเล น้ำบนผิวดิน ใต้ดิน จะมุ่งเน้นไปที่การควบคุมปริมาณของน้ำ และสภาพแวดล้อม เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย รวมไปถึงประยุกต์เข้ากับศาสตร์ของวิศกรรมโยธาเพื่อออกแบบโครงสร้างชลศาสตร์

วิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี

             เรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีนิวเคลียร์ และรังสีในอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาล การเกษตร รวมไปถึงการติดตั้งอุปกรณ์และดูแลรักษาเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์และรังสี

วิศวกรรมสำรวจ 

ในสาขานี้จะเป็นสาขาที่ค่อนข้างเฉพาะทางมากๆ จะเรียนเกี่ยวกับการออกแบบวิธีการรังวัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรังวัดลักษณะทางกายภาพของโลก รังวัดค่าระดับเพื่อการก่อสร้าง รวมถึงระบบสารสนเทศ ทำแผนที่ เช่น GPS ดาวเทียม 

วิศวกรรมซอฟต์แวร์ 

เรียนเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ การพัฒนาโปรแกรม เขียนโปรแกรม ทดสอบโปรแกรม ปัญญาประดิษฐ์ต่างๆ รวมไปถึงประยุกต์เข้ากับศาสตร์ของวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ร่วมด้วย

 วิศวกรรมขนส่งทางราง

เรียนเกี่ยวกับการขนส่งทางรางเป็นหลัก เน้นไปในระบบของเครื่องกลของรถไฟ ออกแบบ ก่อสร้าง  ซ่อมบำรุง เช่น การวางทางรถไฟ อีกทั้งยังเรียนในเรื่องระบบขับเคลื่อนแบบดีเซลและไฟฟ้า ระบบการสั่นสะเทือนของรถไฟ รวมไปถึงเรียนรู้เกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน

วิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม

เรียนเกี่ยวกับพื้นฐานของด้านวิศกรรมไฟฟ้าสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ และการประมวลผลสัญญาณ ประยุกต์เข้ากับศาสตร์ของด้านดนตรีและเทคโนโลยีดนตรี 

วิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์

เรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้และการพัฒนาความสามารถของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันให้สามารถทำงานได้แบบมนุษย์ หรือสามารถเลียนแบบมนุษย์ได้ รวมไปถึงการพัฒนาหุ่นยนต์ และซอฟต์แวร์ดิจิทัลต่างๆ 

มหาวิทยาลัยไหนบ้างที่เปิดสอน (ยกมาเพียงบางสาขาวิชา)

 CUMUTUKKU
โยธาoooo
เครื่องกลoooo
ไฟฟ้าoooo
เคมีoooo
อุตสาหการoooo
คอมพิวเตอร์oooo
เหมืองแร่และปิโตรo---
โลจิสติกส์o--o
สิ่งแวดล้อมo--o
การบินและอวกาศ----
ชีวการแพทย์-o--
แหล่งน้ำo---
นิวเคลียร์และรังสีo---
การสำรวจo---
ซอฟต์แวร์--o-
ขนส่งทางราง----
ดนตรีและสื่อประสม----
ปัญญาประดิษฐ์o--o

** ในแต่ละมหา’ลัย จะมีสาขาวิชาที่นอกเหนือจากนี้ หากน้องๆ สนใจ สามารถดูรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของทางมหา’ลัยได้เลยค่ะ**

ตัวย่อชื่อมหาวิทยาลัยต่างๆ 

CU = จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

MU = มหาวิทยาลัยมหิดล

TU = มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

KKU = มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 CMUKMUTTKMUTNBKMITL
โยธาoooo
เครื่องกลoooo
ไฟฟ้าoooo
เคมี-ooo
อุตสาหการoooo
คอมพิวเตอร์oooo
เหมืองแร่และปิโตรo---
โลจิสติกส์--o-
สิ่งแวดล้อมoo--
การบินและอวกาศ--o-
ชีวการแพทย์---o
แหล่งน้ำ----
นิวเคลียร์และรังสี----
การสำรวจo---
ซอฟต์แวร์---o
ขนส่งทางราง---o
ดนตรีและสื่อประสม---o
ปัญญาประดิษฐ์---o

** ในแต่ละมหา’ลัย จะมีสาขาวิชาที่นอกเหนือจากนี้ หากน้องๆ สนใจ สามารถดูรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของทางมหา’ลัยได้เลยค่ะ**

ตัวย่อชื่อมหาวิทยาลัยต่างๆ 

CMU = มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

KMUTT =  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

KMUTNB = มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

KMITL = สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

             เป็นยังไงกันบ้างคะน้องๆ กับคณะวิศกรรมศาสตร์ที่พี่คิตตี้ได้พาไปดู น่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยเอ่ย มีสาขาวิชาที่หลากหลายมากๆ หากน้องๆ คนไหนสนใจ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของทางมหาวิทยาลัยได้เลยนะคะ

 

อ้างอิงรูปภาพhttps://www.freepik.com/free-photo/male-asian-engineer-professional-having-discussion-standing-concult-cnc-machine-factory-two-asian-coworker-brainstorm-explaining-solves-process-cnc-operate-machine_25118407.htm#query=engineer&position=1&from_view=search&track=sphhttps://www.freepik.com/free-photo/full-shot-woman-working-as-engineer_40133118.htm#query=engineer&position=8&from_view=search&track=sphhttps://www.freepik.com/free-photo/male-asian-engineer-professional-having-discussion-standing-by-machine-factory-two-asian-coworker-brainstorm-explaining-solves-process-curcuit-mother-board-machine_25118450.htm#query=engineer&position=16&from_view=search&track=sphhttps://www.freepik.com/free-photo/young-asian-technician-man-colleague-safety-uniform-checking-operation-sun-photovoltaic-solar-panel-use-laptop-computer-while-working-solar-farm_23906876.htmhttps://www.freepik.com/free-photo/male-asian-engineer-professional-having-discussion-standing-concult-cnc-machine-factory-two-asian-coworker-brainstorm-explaining-solves-process-cnc-operate-machine_25118378.htm#query=engineer&position=36&from_view=search&track=sph
พี่คิตตี้

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น