Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ไขข้อข้องใจ สถาปัตอินเตอร์(INDA) VS. ภาคไทย เรียนอันไหนดีกว่ากัน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ดีครับน้องๆที่ตามบทความเกี่ยวกับคณะสถาปัตย์ทุกคน พี่กลับมาอีกแล้ว กับบทความให้ความรู้และแนะนำน้องๆเกี่ยวกับคณะมหาโหดคณะหนึ่ง ที่ทุกคนพูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่า
‘เรียนยาก’ ‘เรียนโหด’ 
สำหรับใครที่ยังไม่เคยตามๆ ลองไปอ่านกันดูนะครับ
- 10 สิ่งที่ควรรู้ก่อนจีบเด็กถาปัต 
http://www.dek-d.com/board/view/3600737/
- ประสบการณ์ เมื่อเกือบได้ F เพราะส่งงานช้า 
http://www.dek-d.com/board/view/3606520/
- 10 สไตล์การเรียนแปลกๆของเด็กถาปัต 
http://www.dek-d.com/board/view/3614175/
- เจาะลึก ‘เด็กถาปัต เค้าเรียนอะไรกัน’ กับ 3 ผลงานที่พี่ภูมิใจ 
http://www.dek-d.com/board/view/3603349/
- 5 สิ่งที่เด็กม.ปลายเข้าใจผิดเกี่ยวกับสถาปัตย์ + วิธีการฝึก PAT4 เบื้องต้น 
http://www.dek-d.com/board/view/3608915/
- เจาะลึก 6 กลุ่มวิชาสุดโหดในสถาปัตย์ 
http://www.dek-d.com/board/view/3618418/
- จบถาปัตไปทำอะไรได้บ้าง? 
http://www.dek-d.com/board/view/3625493/
- 10 เครื่องเขียน ที่เด็ก(อยากเรียน)ถาปัตต้องรู้จักพร้อมราคาเบื้องต้น 
http://www.dek-d.com/board/view/3628452/



วันนี้มาในประเด็นฮ๊อตฮิตสุดๆครับ มีน้องหลายๆคนถามพี่มาว่า สถาปัตย์อินเตอร์กับภาคไทยเป็นยังไง ต่างกันขนาดไหน อินเตอร์เรียนแล้วจะทำงานจริงได้ไหม ภาคไทยเรียนหนักเกินไปรึป่าว แล้วสังคมเป็นยังไง ต่างกันมากไหม? วันนี้ พี่จะขอมาไขข้อข้องใจน้องๆ และผู้ปกครองบางคน ที่ตัดสินใจกันไม่ได้ เผื่อจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์นะครับ 
ก่อนอื่นพี่ต้องปูพื้นฐานน้องๆก่อน ว่าสถาปัตย์ เป็นวิชาชีพควบคุม
แปลง่ายๆให้น้องๆเข้าใจก็คือ ต้องมีใบอนุญาติในการประกอบวิชาชีพถึงจะสามารถเป็นสถาปนิกเต็มตัวได้ คือสามารถเซนต์แบบขออนุญาตก่อสร้างได้นั่นเอง และคนที่จะมีสิทธิสอบใบประกอบวิชาชีพได้ จะต้องได้วุฒิการศึกษาปริญญาตรี  สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิตเท่านั้น และในประเทศไทย การเรียนหลักสูตรปริญญาตรีในวิชาชีพสถาปัตยกรรม จะต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 5 ปี ในการศึกษา ทีนี้หลังจากเราเข้าใจแล้ว มาลองดูกันดีกว่าว่าเรียนภาคไทย กับภาคอินเตอร์ มีข้อจำกัดอะไรกันบ้าง..


เรื่องที่พี่จะวิเคราะห์จะครอบคลุมถึงเรื่อง ภาพรวมหลักสูตร(แบบไม่เจาะลึก), วิชาและสไตล์การเรียน, ค่าเทอม, สังคม ตลอดจนข้อดีข้อเสีย ซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงความคิดส่วนตัวจากมุมมองของคนที่เคยเรียนเท่านั้น และตอนนี้หลักสูตรก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่สม่ำเสมอ เลยอยากให้ใช้วิจารณญาณในการไตร่ตรองข้อมูลให้ดี ตัวพี่เองเรียนหลักสูตรสถาปัตยกรรมหลัก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอนนี้ปี 4 ส่วนข้อมูลในส่วนของ INDA (International Program in Design and Architecture) ได้ไปสัมภาษณ์รุ่นน้องของพี่ ชื่อน้องปลื้ม  INDA ปี 1 เอามาเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ ถ้าพร้อมแล้ว.. เราไปดูกันเลยยย
 ภาพรวมหลักสูตร 
ในเรื่องของภาพรวมต้องบอกก่อนว่าภาคไทยเรียนทั้งหมด 5 ปี โดยจะเข้มข้นมากกว่า INDA ซึ่งเรียน 4 ปี และพอจบภาคไทยสามารถไปสอบใบประกอบวิชาชาชีพได้เลยครับ แต่น้องๆอินด้าจะไม่สามารถไปสอบได้
แต่น้องๆอินด้าไม่ต้องเสียใจไป หากเรียนแล้วอยากประกอบวิชาชีพสถาปนิกต่อ น้องๆสามารถฝึกงานอีก 2 ปี จนเชี่ยวชาญและได้รับการรับรองจากบริษัทผู้ดูแล ก็จะมีสิทธิสอบเหมือนกับเด็กภาคไทยครับ แต่รวมๆเวลาจะเสียเวลามากกว่าน้องภาคไทย 1 ปี (4+2) แต่ส่วนตัวพี่มองว่าเรื่องสอบใบประกอบและเสียเวลาอีก 1 ปี เป็นเรื่องไม่ซีเรียสขนาดนั้น เพราะในระดับมหาลัยความรู้ที่ให้เป็นเพียงความรู้พื้นฐาน ถึงแม้ว่าเรียนภาคไทยเรียนเข้มข้นกว่า ก็ยังจำเป็นต้องไปฝึกงานเพื่อพัฒนาฝีมืออยู่ดี เลยอยากให้ลองมองข้อดีข้อเสียเรื่องอื่นๆปะกอบกันด้วยครับ


ตัวอย่างงานบ้านภาคไทย สถ ปี1
เนื้อหาที่เรียนจะมีความคล้ายกันแต่ไม่เหมือนซักทีเดียวครับ ภาคไทยจะเรียนโดยให้เลือกภาคหลักไปเลยตั้งแต่ตอนเข้าปี 1 เพราะฉะนั้นแน่นอน ฐานในแง่ของวิชาการและสกิลเรื่องต่างๆจึงแน่นกว่าเด็กอินด้า ประกอบกับตัวโปรเจกต์จะเน้นไปที่ ‘การสร้างได้จริง’ มากกว่า จึงจะทำให้รูปแบบการออกแบบไม่ค่อยฉีกออกไปจากกรอบเท่าเด็กอินด้า   .



ตัวอย่างงานในปี 1 ของพี่เอง ที่จะต้องมีการเขียนแบบ
และคำนึงถึงการสร้างจริงพอสมควร


แต่ข้อดีในฝั่งอินด้าคือ การเรียนการสอนทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ และเรื่องของการเรียงลำดับวิชาทำไว้ดีมาก อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญมาจากหลากมหาลัยชื่อดังของโลก จึงทำให้เด็กอินด้าจะเก่งเวลาต้องนำเสนอผลงาน ประกอบกับตัวโปรเจกต์เน้นไปที่การ ‘พัฒนาหลักการออกแบบ (Design Logic)’ และจะมีแนวการทดลองออกแบบได้หลากหลายกว่า ดูจากงานตัวอย่างปี 1 ของน้องปลื้มที่พี่ไปสัมภาษณ์ เป็นการสร้างเปลือกบ้านที่ขยับได้จากการดึง ซึ่งถือว่าเป็นอะไรที่ใหม่ และสนุก ซึ่งก็ดีไปคนละอย่าง      



Vendor Shop ที่เปลือกขยับได้ของปลื้ม – INDA ปี 1
ซึ่งเป็นการสร้างเปลือกอาคารแบบใหม่ พี่เค้าได้เอด้วยนะเออ
 วิชาและสไตล์การเรียน 
กลุ่มวิชาจะมีความคล้ายกันมากๆ แต่เด็กอินด้าจะเน้นในเรื่องการสอนการใช้เครื่องมือในการช่วยออกแบบมาก เป็นพื้นฐานตั้งแต่ ปี1 (Architectural Tools&Skill) มีการสอนโปรแกรม Adobe Illustrator, Adobe Photoshop, Adobe Premier Pro, โปรแกรมสร้างโมเดลสามมิติเช่น Sketchup, Rhono, Grasshopper และมีการสอนทำ Portfolio ซึ่งทั้งหมดเป็นการส่งเสริมให้งานดูดีและเพิ่มความโดดเด่นให้กับงานออกแบบ นอกจากนี้ยังมีวิชาฟิสิกส์และแคลคูลัส ซึ่งในส่วนนี้ภาคไทยไม่มีจ้า 


การรุมตรวจแบบของอินด้า - รูปโดยน้องปลื้ม
ในขณะที่มาในฝั่งภาคไทยบ้าง ในแต่ละภาคก็จะมีวิชาเฉพาะของตัวเอง และจะเน้นไปที่วิชาการสร้างให้เกิดขึ้นจริง หรือ Construction มีวิชาที่สอนในการเขียนแบบ นอกจากนี้ยังเรียนในเรื่องหลักการทำงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำให้แม่นกว่าในแง่ของการทำงานจริงอย่างที่พี่ได้พูดไปแล้วต้นบทความ
แต่สิ่งที่มีเหมือนกันคือวิชา Studio ซึ่งคือวิชาออกแบบ ซึ่งจะมีการออกแบบเป็นโปรเจกต์ระยะเวลาสั้นยาวแล้วแต่งาน (วิชานี้แหละครับที่ทำให้เด็กถาปัตอดนอนกัน55+) มีวิชาประวิติศาสตร์สถาปัตยกรรม ศิลปะ และวิชาโครงสร้าง ซึ่งมีไสตล์การเรียนต่างกันเล็กน้อยแต่จะไม่ลงรายละเอียด 

สภาพตอนช่วยกันทำงาน..


ในส่วนของความรก

เสริมให้นิดนึงคืออินด้าจะมีเวิคชอพไปต่างประเทศทุกๆปิดเทอม ซึ่งเป็นโอกาสอันดีสำหรับคนที่ต้องการไปฝึกปรือฝืมือตัวเองในต่างประเทศ แต่จำเป็นต้องใช้ค่าใช้จ่ายส่วนตัวในการสมัคร นอกจากจะได้เพื่อนใหม่ ได้เที่ยว แล้วยังได้มีอาจารย์ผู้มีความรู้พาทัวร์อีก สุดยอดมากๆ เสียอย่างเดียว ไม่ฟรี555+
ภาคไทยก็ไม่น้อยหน้าครับมีไปดูงานตามอาคารและบ้านต่างๆเช่นกัน แต่จะเป็นนัดพิเศษนอกเวลาเรียนแล้วแต่ความสมัครใจ ซึ่งส่วนใหญ่อาจารย์จะเลี้ยงครับท่านผู้ชม 555


ไปดูงานหรืออะไรเริ่มไม่แน่ใจ55+


 ค่าเล่าเรียน 
ล่าสุดภาคไทยเสียค่าเทอมประมาณ 21,000 ในขณะที่ INDA เสียดราวๆ 80,000 ครับ (เป็นราคาคร่าวๆ สามารถโทรไปสอบถามที่คณะเพื่อความมั่นใจ) ส่วน INDA จะมีค่าเวิคชอพต่างประเทศทุกเทอมซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ภาคไทยจะมีเวิคชอพประปรายแต่ไม่สม่ำเสมอ ต้องจ่ายเพิ่มเช่นกันครับ

 สังคม 
ในสมัยก่อนที่พี่เรียน เวลาเรียนของอินด้านกับภาคไทยจะซ้อนกัน ทำให้เปิดเทอมไม่ตรงกัน ทำให้ไม่ค่อยสนิทกันข้ามฝั่งครับ แต่จริงๆสถาปัตย์มีการรับน้องที่อบอุ่นและทำให้ทุกคนมีโอกาสทำกิจกรรมกันมากพอควร ทำให้ได้คุยกันพอควร ส่วนในปัจจุบันมีการเลื่อนเปิดเทอมตามประเทศอาเซียนทำให้มาเรียนเวลาเดียวกันแล้ว ทำให้มีความสนิทสนมกันเหมือนเรียนด้วยกันเลยหล่ะครับ แต่มันจะเหงาหน่อยตอนเพื่อนจบ 4 ปี ละพี่ต้องเรียนอีกปีนึงนี่แหละ... ซึ่งกำลังเจออยู่ตอนนี้ โหวงเหวงพอควร 
คณะนี้เพื่อนจะรักกันมากเพราะต้องทำงานด้วยกันบ่อยและงานเยอะ ส่วนพี่รหัสน้องรหัสต้องช่วยกันทำงานเนื่องจากโปรเจกต์จบใหญ่มาก ทำให้ทุกคนสวนกันและได้คุยกันทั่วถึง ส่วนพี่ลองถามน้องที่เรียนอินด้าในประเด็นเรื่องสังคมหรูในอินด้าว่ามีจริงรึป่าว เพราะส่วนใหญ่เป็นเด็กอินเตอร์ น้องให้คำตอบว่า ‘ไม่เลยครับพี่ เพื่อนผมติดดินมาก’ ซึ่งก็ตรงกับในหัวพี่พอควร คือทุกคนไม่ค่อยอวด และอยู่ด้วยกันได้เป็นปกติ จึงขอคอนเฟิร์มว่าไม่มีปัญหาอย่างแน่นอนครับ


ส่วนนึงของการรับน้องอย่างอบอุ่นของสถาปัตย์ จุฬา

จบกันไปแล้วสำหรับการวิเคราะห์ภาคไทยกับอินเตอร์ในมุมมองของพี่ ประกอบกับบทสัมภาษณ์ที่พี่ไปถามน้องปลื้ม INDA ปี 1

หวังว่าทุกคนจะได้ข้อมูลและจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับพี่ พี่มองว่าจะเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน ถ้าเลือกอินด้า จะทำให้ได้เปรียบในแง่วิธีคิด และเรื่องการนำเสนอ ตลอดจนเรื่องภาษา ส่วนถ้าเลือกภาคไทย จะทำให้ปึ้ก แน่น แต่ก็เรียนหนักและต้องใช้ความอดทน ใครที่ตัดสินใจไม่ได้ ก็ลองเอาไปคิดดูนะครับ คนที่กำลังรอลุ้นอยู่ ขอให้โชคดีทุกคนนนน แล้วเจอกันบทความหน้าคร้าบบบ บายยยยย

Facebook : Kavin Cherdchanyapong
Facebook Page : https://www.facebook.com/TohDraftStudio/
Line : Kavin.cherd
IG : Winnerc

แสดงความคิดเห็น

3 ความคิดเห็น

Dek62 12 เม.ย. 59 เวลา 22:35 น. 1

เรียนอินด้าต้องเก่งภาษาระดับไหนอะคับ
แล้วเวลาครูสอน เวลาสอบนี่เป็นอิ้งหมดเลยหรอคับ

1
best 13 เม.ย. 59 เวลา 09:55 น. 1-1

ความรู้อิ้งระดับมาตรฐาน (ฟัง,พูด, อ่าน, เขียน รู้เรื่อง)

อาจารสอนเป็นอิ้งฉะนั้นการสอบการพรีเซ้นงานจะเป็นอิ้งหมดจ้า

เยี่ยม

0
P'Pop ณ 'ถาปัตย์ 13 เม.ย. 59 เวลา 12:15 น. 2

ถ้าเอาจริงๆ จะเอา สถ.อินเตอร์จริง จบ5ปีมาสอบใบประกอบ ยังไงก็ต้อง พระจอมเกล้าธนบุรีครับ 
พูดกันแบบอิงหลักความจริงผมเองไม่ได้ต่อต้านINDAนะ  ค่าเทอมของ มจธ ก็เพียงแค่50,000เท่านั้นเองด้วย 
ส่วนเรื่องสังคมภายในแต่ละสถาบันค่อนข้างต่างกันครับ บางที่โซตัสจ๋า บางที่ก็ปล่อยๆ ไม่ใช่ว่าทุกที่จะเหมือนกันเพียงแค่ว่ามันคือคณะสถาปัตยกรรม แต่จากกระทู้ยกมาว่าจุฬา ก็ถือว่าได้รู้สังคมของที่ๆหนึ่งชัดเจนดีครับ

แต่จะเรียนกก็ไม่ได้ห้ามนะครับ นานาจิตตัง ส่วนตัวเชียร์เรียนภาคไทยแล้วหาเรียนภาษาเพิ่มดีกว่าเพราะตอนทำงานเขาฟิคเรื่องคะแนนภาษาไม่ใช่ว่าจบอินเตอร์หรือเปล่าน่ะครับ

2
ArchStudent 19 เม.ย. 59 เวลา 05:05 น. 2-1

ตอนทำงานเลือกกันที่ผลงานและความคิดครับผม ภาษาเป็นเพียงตัวเบิกทางเปิดโอกาสให้หาความรู้ได้มากขึ้น มีโอกาสได้งานจากบริษัทดีๆ และสามารถไปทำงานต่างประเทศได้ครับสู้สู้

0
ว่าที่เด็กถาปัตย 14 เม.ย. 59 เวลา 09:55 น. 3

ภาคไทยไม่เรียนฟิสิกส์กับแคลคูลัสจริงๆ หรอครับ
งั้นก็แสดงว่าเรียนแต่วิชาออกแบบ ประวัติศาสตร์อะไรงี้หรอครับ มีวิชาพวกวิทยาศาสตร์บ้างไหมครับ
เศร้าจัง

1
Best.P 8 ต.ค. 63 เวลา 07:52 น. 3-1

ที่เคยคุยกับเพื่อนและอาจารย์.....ภาคไทยจะเรียนเป็นกลศาสตร์โครงสร้างสำหรับงานสถาปัตยกรรมไปเลยครับ ก็คือเอาเนื้อหาบางส่วนของฟิสิกส์ใส่ลงไปเพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องแรงต่างๆ วัสดุและการก่อสร้างเท่าที่จำเป็นสำหรับการประกอบวิชาชีพสถาปนิกครับ ไม่ได้มีความจำเป็นต้องไปนั่งดิฟ อินทริเกต ให้เสียเวลา ดังนั้นการเรียนแคลคูลัส หรือฟิสิกส์ เพียวๆไปเลยมันอาจจะลึกเกินจำเป็นไปหน่อยสำหรับการเป็นสถาปนิกสายอาชีพในไทย(ต่างประเทศไม่รู้555) เพียงแต่ว่าอินด้าที่ต้องเรียนสองวิชานี้เพราะเป็นวุฒิวิทยาศาสตร์บัณฑิตและเน้นการทดลองออกแบบอะไรแปลกๆด้วย จึงหนักไปทางสายวิทยาศาสตร์มากกว่าสายวิชาชีพ ดังนั้นจึงแทบจะไม่ได้เรียนกฎหมายเลย และเรื่องโครงสร้างก็ไม่ได้เรียนเยอะขนาดภาคไทย คืออย่างที่พี่เขาบอกเลย ไม่ได้เรียนเข้มข้นด้านวิชาชีพสถาปนิกเหมือนภาคไทย เสียเปรียบเรื่องโครงสร้าง กฎหมาย และแนวทางในการประกอบวิชาชีพสถาปนิกพอสมควร แต่จะไปเรียนหนักกว่าถาคไทยในเรื่องคอนเซ็ป กับการออกแบบเชิงคอนเซ็ป การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตกผลึกเอกลักษณ์ของงานออกมา ซึ่งจบออกมาจริง ในไทยก็ไม่ได้ใช้คอนเซ็ปลึกขนาดนั้นอยู่ดี มันเหมาะกับการไปทำงานต่างประเทศมากกว่า ซึ่งถ้าจบอินด้ายังไงก็ควรเรียนต่อ เพราะเราไม่ได้เรียนมาครบเครื่องเหมือนภาคไทยเขา ช่องโหว่เรื่องโครงสร้าง กฎหมาย คือความเข้นข้นที่หายไปเยอะและเป็นสิ่งที่สถาปนิกต้องใช้จริงตอนทำงาน


ส่วนวิชาออกแบบสถาปัตยกรรมจะคล้ายกันคือออกแบบพวกอาคารต่างๆแต่ภาคไทยเป็นการออกแบบจาก Practical Design(ออกแบบจากความเป็นจริงทั้งการก่อสร้างโครงสร้าง กฎหมาย งบประมาณ ในไทย) แต่อินด้าจะเป็นการออกแบบจาก Conceptual Design(ออกแบบจากคอนเซ็ปเพื่อให้งานออกมาแตกต่างและโดดเด่น โดยคิดถึงหลักการสร้างจริง งบ กฎหมาย น้อย) เพราะงั้นจุดประสงค์ในการออกแบบจึงต่างกันมากแต่สิ่งที่ยึดถือเหมือนกันคือฟังก์ชั่นการใช้งานและประโยชน์ของพื้นที่ใช้สอยเพราะเป็นหัวใจหลักของสถาปนิกดังนั้นไม่ว่าการออกแบบเชิง practical หรือ conceptual ก็ต้องมีฟังก์ชั่นการใช้สอยที่ได้จากบรีฟมาใส่ลงไปในงานอย่างครบถ้วน.....ด้วยเหตุนี้ ทำให้ถึงจะได้บรีฟงานมาเหมือนกันแต่หลักในการคิด ขั้นตอนการทำงาน และผลลัพธ์จะออกมาแตกต่างกันแน่นอน มีจุดแข็งคนละด้าน

0