มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้นรอบอาเซียนตลอดปี 2557 พี่เกียรติได้รวบรวมข่าวน่าสนใจมาให้น้องๆ ชาว Dek-D ได้ทบทวนกัน ไม่ได้เลือกตามหลักเกณฑ์อะไรเป็นพิเศษ เพียงแต่เป็นข่าวน่าสนใจ ที่จะทำให้เรารู้จักเพื่อนบ้านสมาชิกอาเซียนมากขึ้นจ้า
ดร.นาม วิยะเกด (ซ้าย) รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและพาณิชย์ลาว รับป้ายชื่อประเทศจากนาย Pascal Lamy ผู้อำนวยการใหญ่ WTO เมื่อวันที่ 26 ต.ค. ที่สำนักงานใหญ่ของ WTO เมืองเจนีวา ลาวเป็นสมาชิกลำดับที่ 158 ขององค์การค้าโลก
Image: Agence France-Presse/Getty Images
ปลายปีก่อน (ธันวาคม 2013) สภาแห่งชาติลาวได้ลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์เพื่อให้สัตยาบันในการเข้าเป็นสมาชิก WTO หรือองค์การการค้าโลก หลังจากที่ WTO ประกาศรับรองให้ลาวเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการแล้วไปตั้งแต่ช่วงตุลาคมในปีนั้น แต่ว่าทางการลาวยังไม่ได้มีมติสรุปลงสัตยาบัน ทำให้การประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 4 ของสภาแห่งชาติลาวชุดที่ 7 ปลายปีก่อน เป็นการรับรองตนเองว่าได้เข้าเป็นสมาชิก WTO อย่างสมบูรณ์แล้ว |
||
2. ในที่สุด อินโดฯ ก็ยอมรับความช่วยเหลือต่างชาติด้านจัดการไฟป่า
ไฟป่าใน Rokan Hulu, Image: Courtesy of Riau Forest's Facebook Page
ปีที่แล้ว (2013) มีปัญหาหมอกควันระดับภูมิภาค เขม่าควันไฟป่าในอินโดนีเซียรุกลามมายังประเทศเพื่อนบ้านทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย และภาคใต้ของไทยเราเอง ซึ่งเป็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นทุกปี ทำให้อาเซียนมีข้อตกลงว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามพรมแดน (ASEAN Agreement on Trans-boundary Haze Pollution) และซึ่งได้มีการลงนามรับรองพร้อมให้สัตยาบันกันไปแล้วแทบทุกประเทศในอาเซียนตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา ยกเว้นอินโดนีเซีย เนื่องด้วยการจัดการภายในของอินโดนีเซียเอง อย่างไรก็ดีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมารัฐสภาอินโดนีเซียเกือบร้อยละ 65 ก็เห็นชอบให้ยอมรับสัตยาบันการจัดการหมอกควันนี้ เหลือเพียงกลุ่มพรรคการเมืองใหญ่ พรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซีย (PDI-P)และพรรคความยุติธรรมอันเรืองรอง (PJP) เท่านั้น จนกระทั่งกันยายนที่ผ่านมา อินโดนีเซียก็พร้อมให้สัตยาบันในข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยหมอกควันพิษข้ามพรมแดนแล้วค่ะ ซึ่งก็จะทำให้ทีมช่วยเหลือจากสมาชิกอาเซียนสามารถเข้าไปช่วยจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควันได้อย่างทันท่วงที
|
||
3. เมียนมาร์ เดินหน้าไม่ล้าหลัง เปิดใหม่ "นสพ.เอกชน"
เมียนมาร์ที่มุ่งมั่นเดินหน้าเปิดประเทศ ก็เปิดตัวหนังสือพิมพ์รายวันเอกชนฉบับแรก ชื่อ “Democracy Today” เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา เดิมเมียนมาร์มีหนังสือพิมพ์อยู่แล้ว 2 ฉบับดูแลโดยภาครัฐ การที่เมียนมาร์ให้มีหนังสือพิมพ์เอกชนย่อมหมายถึงก้าวสำคัญของการค่อยๆ ปฏิรูปสื่อของรัฐบาลเมียนมาร์ โดยหนังสือพิมพ์รายวันฉบับดังกล่าวจะนำเสนอตั้งแต่ข่าวในภูมิภาคไปถึงข่าวต่างประเทศ รวมไปถึงข่าวทางด้านสุขภาพ สังคม และการศึกษา แต่จะสามารถรักษามารตฐานการนำเสนอข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาให้สมจรรยาบรรณสื่อมวลชนได้หรือไม่ ก็ต้องติดตามกันต่อไปค่ะ Image: dailydemocracytoday.com |
||
4. มาเลเซีย แอร์ไลนส์
Image: Andy Wong/AP
แต่ข่าวใหญ่ที่สุดในเดือนมีนาคม เป็นข่าวดังระดับโลก คงหนีไม่พ้นเรื่องเครื่องบิน MH370 สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ส ที่ออกแถลงการณ์ด่วนว่า เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2557 ตามเวลาท้องถิ่นของมาเลเซีย เที่ยวบินที่ MH370 ออกเดินทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ มุ่งหน้ากรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ใช้เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง รุ่น 777-200 บรรทุกผู้โดยสาร 227 คน ในจำนวนนี้ 2 คนเป็นทารก และลูกเรือ 12 คน ขาดการติดต่อกับหอบังคับการบินเมื่อเวลา 02.40 น. เป็นการหายไปที่ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจนมีแต่การคาดการณ์ไปต่างๆ นานา ตั้งแต่หลักทางวิทยาศาสตร์ ยันสารพัดความเชื่อแบบไสยศาสตร์เลยค่ะ และสายการบินนี้ก็ยังมีเหตุการณ์ต่อมาในเดือนกันยายนด้วย นี่ถ้ามาเลเซียเป็นเมืองพุทธแบบไทยๆ ทุกคนคงเชียร์ให้ไปทำบุญสายการบินสะเดาะเคราะห์แน่นอน งานนี้มีคนกลัวการเดินทางสายการบินนี้ไปหลจ้าายคนเลยล่ะ สู้ สู้ นะคะ มาเลเซียแอร์ไลนส์ อ่านไทม์ไลน์เหตุการณ์ได้ที่ คลิก! โดยพี่เป้ Study Abroad |
||
5. เมืองลอดช่องขึ้นแท่น "ค่าครองชีพ" สูงที่สุดในโลก
Image: AFP
วิ่งมาทางเรื่องเศรษฐกิจ เห็นจะไม่พ้นสิงคโปร์กับการเปิดผลสำรวจล่าสุดจากสถาบัน Economist Intelligence Unit ว่าสิงคโปร์ถือเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงสุดในโลกแทนที่โตเกียวของญี่ปุ่นเจ้าของอันดับสูงสุดเมื่อปีที่แล้ว นอกเหนือจากกลุ่มเมืองที่มีค่าครองชีพสูงลำดับต้นๆ อยู่แล้วอย่างปารีสในฝรั่งเศส ออสโลของนอร์เวย์ ซูริคที่สวิสเซอร์แลนด์ และซิดนีย์เมืองใหญ่ของออสเตรเลียค่ะ โดยการสำรวจมาจากการเปรียบเทียบราคาของผลิตภัณฑ์และการให้บริการต่าง ๆ ค่าเล่าเรียนโรงเรียนเอกชน ค่าเสื้อผ้า ค่าบริการขนส่ง ค่าบ้านและที่ดิน และการบริโภคต่าง ๆ ใน 131 เมืองทั่วโลก เราก็ไม่ต้องคิดอะไรมากค่ะ ถ้าบริษัทใหญ่ๆ ของโลกที่ต้องการเปิดตลาดโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ล้วนไปตั้งบริษัทกันที่สิงคโปร์ก่อนทั้งนั้น แล้วค่อยๆ ขยายไปประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน อย่างบริษัท Apple เจ้าของ iPhone และอื่นๆ ไงล่ะ |
||
6. บรูไน ประกาศช็อกสิทธิมนุษยชนโลก?
Image: BT/bt.com.bn euters
พอมาถึงเดือนพฤษภาคม บรูไน ดารุสซาลามก็มีประกาศใหญ่ บังคับใช้กฎหมายชะรีอะห์อย่างเป็นทางการ แม้จะมีข่าวว่าทั่วโลกไม่ค่อยเห็นด้วยกับกฎหมาชะรีอะห์ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษเข้มงวดก็ตาม แต่สำหรับประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามแล้วก็ค่อนไปทางเห็นด้วย และทางบรูไนก็ยืนยันว่า "บังคับเฉพาะประชากรของบรูไนเท่านั้น" อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้จากบทความนี้จ้า คลิก!
|
||
7. สิงคโปร์ประกาศแบน "หนังสือเด็ก" เรื่อง Archie ไม่มีได้อยู่ในรายชื่อที่ถูกแบน แต่ก็ถูกห้ามจำหน่ายในสิงคโปร์เช่นกัน
ช่วงเดือนกรกฎาคม คณะกรรมการห้องสมุดแห่งชาติของสิงคโปร์ โดยการสนับสนุนจากรัฐมนตรีกระทรวงข่าวสารของสิงคโปร์ สั่งทำลายหนังสือเด็ก 3 เล่ม ได้แก่ (1) And Mango Makes Three เป็นเรื่องจริงของเพนกวินคู่หนึ่งในสวนสัตว์ที่นครนิวยอร์คของสหรัฐฯ ทั้งสองตัวเป็นตัวผู้เหมือนกัน พวกมันที่ไม่ยอมไปจับคู่กับตัวเมีย หันมาจับคู่กันเอง (2)The White Swan Express เป็นเรื่องของเด็กที่ถูกเลี้ยงดูโดยคนหลากหลาย เช่นคนที่เป็นชายจริงหญิงแท้ คนที่เป็นเกย์ คนจากหลายเชื้อชาติสีผิว และ (3) Who’s In My Family มีเนื้อหาส่งเสริมคนรักเพศเดียวกันชัดเจน ซึ่งทั้งหมดขัดต่อแนวคิดเรื่องการส่งเสริมความเป็นครอบครัว ผิดจารีตของสังคม ส่วนหนังสือ 3 เล่มที่ว่านี้มีเนื้อหาอย่างไรบ้าง ไปอ่านกันต่อที่กระทู้ คลิก! โดยพี่น้อง Writer จ้า |
||
8. อินโดฯ ขู่พลเมือง ตัดสัญชาติ!
Image: AFP (ภาพปี 2010)
ช่วงๆ กลางปีตั้งแต่มิถุนายน - กันยายน มีข่าวรอบโลกข่าวหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากไม่แพ้ข่าวอื่นๆ เลย คือ เรื่องกลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรักและอัล-ชาม (ISIS) มีเป้าหมายเพื่อก่อตั้งรัฐอิสลามแห่งใหม่ มีฐานหลักในอิรักและซีเรีย และพยายามขยายกลุ่มไปยังรัฐอิสลามข้างๆ และหาผู้ร่วมกระบวนการเป็นชาวมุสลิมทั่วโลก แต่ด้วยรูปแบบการใช้ความรุนแรงต่างๆ ทำให้ไม่ได้รับการยอมรับอย่างถูกต้อง แน่นอนว่าประเทศมุสลิมในอาเซียน อาทิ รัฐบาลอินโดนีเซียก็ไม่นิ่งนอนใจ ออกประกาศถึงขู่ถอนสัญชาติหากเข้าร่วมกลุ่มนี้ อีกทั้งยังคุมเข้มผู้ที่เดินทางไปกลับตุรกี ซีเรีย รวมประเทศตะวันกลางใกล้เคียงอีกด้วย ทั้งนี้ก็ด้วยความกังวลว่ากลุ่ม ISIS จะเข้ามาช่วยเหลือกระบวนการแบ่งแยกดินแดนในภูมิภาคของเรา ปัจจุบันข่าวที่เกี่ยวข้องกับ ISIS นี้ก็ยังคงอยู่ในความสนใจค่ะ |
||
9. จับมือแลกเปลี่ยนหมอ 2 ประเทศ
ขณะที่เรื่อง MRAs หรือข้อตกลงเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในอาเซียน 7 / 8 อาชีพ เรื่องนโยบายการเข้าไปทำงานต่างประเทศยังได้รับการพูดถึงเรื่อยๆ ในบ้านเราเอง ว่าจะทำได้จริงหรือไม่ หรือควรทำมาหากินอะไรเผื่อเปิดประชาคมอาเซียน แต่หนึ่งในอาชีพทางสาธารณสุข อย่างแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ของบรูไนและฟิลิปปินส์โดยกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฝ่าย ได้มีการตกลงร่วมลงนามในบันทึกความตกลงพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ไปเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ของบรูไนสามารถเข้าไปร่วมฝึกงานหรือทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ของฟิลิปปินส์ในระยะสั้นๆ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสาธารณสุข โดยเฉพาะกลุ่มแพทย์เฉพาะทางของบรูไน และการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขของทั้งสองประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น |
||
10. วิกฤติการศึกษา! ข้อสอบป.2 มาเลย์รั่ว
Image: themalaysiainsider.com
เมื่อต้นเดือนตุลาคม มาเลเซียจัดสอบประเมินความรู้นักเรียนชั้นป.2 ทั่วประเทศอีกครั้ง หลังจากที่ครั้งแรกถูกยกเลิกไปเพราะมีข้อสอบรั่วไหลแพร่ไปทางอินเทอร์เน็ต มีการจับผู้ต้องสงสัย 12 คน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นครู จากกรณีนี้เองทำให้ระบบการศึกษามาเลเซียถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าล้มเหลวเข้าขั้นวิกฤติ จากผลสำรวจและการจัดอันดับด้านการศึกษาต่างๆ ระดับนานาชาติของมาเลเซียก็ต่ำลง อย่างรายงานประจำปี 2556 ของธนาคารโลกก็บอกว่าทักษะภาษาอังกฤษของเด็กมาเลเซียที่เคยได้เปรียบชาติอื่น ก็เริ่มต่ำลงจนต้องรีบดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนให้ทันแผนปฏิรูปในปี 2558 เพื่อสร้างนักเรียนที่มีคุณภาพทัดเทียมมาตรฐานโลก
|
||
11. ชุมนุมใหญ่สหภาพแรงงานกัมพูชา
Image: Tang Chhin/Agence France-Presse
ช่วงตุลาคมนี้เช่นกัน เราก็ได้ข่าวกัมพูชาบ้านใกล้เรือนเคียง ที่แรงงานชาวกัมพูชารวมตัวกันเดินขบวนประท้วงไปตามถนนสายต่างๆ ในกรุงพนมเปญ เพื่อเรียกร้องปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้สูงขึ้น นับเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดของแรงงานนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งจริงๆ การประท้วงนี้มีมาโดยตลอดนับตั้งแต่ประกาศผลการเลือกตั้งพิพาทเมื่อกรกฎาคม 2556 แล้ว เรียกว่าเป็นวิกฤติการเมืองในประเทศกัมพูชา ที่มีการประท้วงจากหลายๆ กลุ่มอย่างต่อเนื่องมาปีกว่าแล้ว ทั้งจากพรรคฝ่ายค้าน สหภาพแรงงานแนวร่วมฝ่ายค้าน จนกระทั่งประชาชนทั่วไปที่มีปัญหาต่างๆ ก็มาร่วมชุมนุมด้วยค่ะ |
||
12. สองประชุมสุดยอดอาเซียน กระชับสัมพันธ์รอบโลก!
Image: WEE TECK HIAN
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนมีการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25 และประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง จัดขึ้นที่กรุงเนปิดอว์ เมียนมาร์ ประเด็นสำคัญในการประชุมครั้งนี้การจัดระเบียบเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาททะเลจีนใต้ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและจีน ซึ่งนอกจากสมาชิกอาเซียนแล้ว ยังผู้นำประเทศอื่นๆ นอกภูมิภาคมาประชุมความร่วมมือกันระหว่างภูมิภาคอีกด้วย แต่จริงๆ แล้ว การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 24 ก็จัดในปี 2014 นี้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานะคะ ซึ่งก็จัดที่เมียนมาร์เช่นเดียวกันค่ะ |
||
13. ฝ่ายค้านกัมพูชาว่า อย่าเป็นหนี้จีนนัก!
Image: AFP
สมาชิกพรรคกู้ชาติกัมพูชา (Cambodia National Rescue Party) ฝ่ายค้านกัมพูชาตอนนี้ แสดงท่าทีเป็นห่วง หลังจากที่มีจากการประชุมระดับภูมิภาคที่ปักกิ่งนั้น ฝ่ายจีนจะให้กัมพชากู้เงินเป็นจำนวนหลายร้อยล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาโครงการต่างๆ ในประเทศ ซึ่งพรรคฝ่ายค้านได้ออกมาเตือนว่า ประเทศชาติกำลงติดหนี้จีนมากขึ้นทุกๆ ที และหนี้สินต่างประเทศของกัมพูชาตอนนี้ก็มีมูลค่าประมาณถึง 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่แล้ว แม้ทางฝ่ายรัฐบาลจะออกมาชี้แจงว่าทั้งนี้เงินกู้ก็เพื่อการวางโครงส้รางพื้นฐานของประเทศในการเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่อีกฝ่ายก็มองว่า การเป็นหนี้ต่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นการฉุดให้ประเทศตกต่ำลง ควรหันมาจัดการระบบภาษีและยุติการคอรัปชันดีกว่า |
||
|
ย้ำกันอีกนิด 31 ธันวาคม 2558 จะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) แล้วจ้า ถึงแม้จะเป็นการแสดงความร่วมมืออย่างเป็นทางการเพียง "เสาเศรษฐกิจ" เท่านั้น แต่ความร่วมมือด้านอื่นๆ (ASC และ ASCC) ก็จะค่อยๆ เผยมากขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนค่ะ เพราะอย่างไรเราก็ต้องเป็น "ประชาคมอาเซียน" จ้า
สำหรับปีใหม่ 2015 ที่กำลังจะมาถึงนี้
พี่เกียรติก็ขอให้เป็นปีที่สุขสมหวังสำหรับชาว Dek-D ทุกคนจ้า
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๘
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๘
9 ความคิดเห็น
โห แต่ละข่าว
ว้าว มีหลายเรื่องที่ยังไม่รู้นะเนี้ย ลงอีกนะคะ ยังมีคนที่อยากอ่านอยู่
หลักการของอาเซียนเดิมนั้น ก็จะไม่ยุ่งในเรื่องภายในประเทศตราบที่ไม่มีผลกระทบในระดับนานาชาติ ซึ่งประชามอาเซียน ก็จะยังอยู่ในจุดนั้น เพียวแต่เรามีจุดเชื่อมโยงกันด้วย ความร่วมมือต่าง" อย่างเช่น เรื่อง Free trade area เรื่องเส้นทางคมนาคม และอีกหลายส่วน..ในประเด็น ASEAN Connectivities โดยหลักการของอาเซียนเดิมนั้น ก็จะไม่ยุ่งในเรื่องภายในประเทศตราบที่ไม่มีผลกระทบในระดับนานาชาติ ซึ่งประชามอาเซียน ก็จะยังอยู่ในจุดนั้น เพียวแต่เรามีจุดเชื่อมโยงกันด้วย "ความร่วมมือต่าง" อย่างเช่น เรื่อง Free trade area เรื่องเส้นทางคมนาคม และอีกหลายส่วน..ในประเด็น ASEAN Connectivities โดยหลักการของอาเซียนเดิมนั้น (ร่วมสนุกรับอาเซียน)
รักประชาคมอาเซียน รักประชาคมอาเซียน ชาวอาเซียนร่วมใจรักประชาคมอาเซียน รักประชาคมอาเซียน รักประชาคมอาเซียน ชาวอาเซียนร่วมใจรักประชาคมอาเซียน รักประชาคมอาเซียน รักประชาคมอาเซียน ชาวอาเซียนร่วมใจรักประชาคมอาเซียน รักประชาคมอาเซียน รักประชาคมอาเซียน ชาวอาเซียนร่วมใจรักประชาคมอาเซียน รักประชาคมอาเซียน รักประชาคมอาเซียน ชาวอาเซียนร่วมใจรักประชาคมอาเซียน รักประชาคมอาเซียน รักประชาคมอาเซียน ชาวอาเซียนร่วมใจรักประชาคมอาเซียน รักประชาคมอาเซียน รักประชาคมอาเซียน ชาวอาเซียนร่วมใจรักประชาคมอาเซียน (ร่วมสนุกรับอาเซียน)
แอบขำชื่อ 'เมืองลอดช่อง' ค่ะ 555555555555555