Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อยากเป็นหมอต้องเริ่มจากอะไร

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คือตอนที่เราอยู่ม.2อยากเป็นหมอมาก แต่ไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นจากอะไรดี

แสดงความคิดเห็น

>

23 ความคิดเห็น

เฮ่อออ 29 ม.ค. 64 เวลา 09:49 น. 1

เรียนหนังสือให้เก่ง

ไปดูซีรีส์หมอเรื่อง grey's anatomy ถึงจะไม่ใช่ซีรีส์หมอไทย แต่ก็ใกล้เคียงกว่าซีรีส์อวยหมอหรือไม่แตะอาชีพนี้เลยอย่างละครไทย


ควรลองไปหาดูว่าหมอจริงๆ เขาทำอะไรกันบ้าง ไปนั่งในโรงบาลรัฐจริงๆ สักหลายวัน หรือขอไปดูงานไปฝึกงานอะไรจริงๆ (ไม่จำเป้นต้องทำหรอก แต่ถ้าอยากรู้ว่าหมอจริงทำอะไร มันก็ควรหาข้อมูล)


เรียนหนังสือให้เก่ง เก่งทุกวิชา และเรียนเก่งแบบไม่ใช่แค่ท่องจำเก่ง แต่ต้องเข้าใจในสิ่งที่เรียนและต่อยอดได้ บางคนเรียนเก่งจริง แต่เก่งแค่ในเนื้อหาที่เรียน ท่องเก่งมาก แตสอบเสร็จแล้วลืมหมด ไม่เหลืออะไรในหัวเลย ประยุกต์ต่อก็ไม่ได้ อาชีพนี้เหนื่อย มีอีกหลายอาชีพเหนื่อยน้อยกว่า แต่เงินดีและอาชีพมั่นคงเหมือนกัน แต่ถ้าชอบทางนี้จริง ก็ไปต่อค่ะ


2
bi_wx 29 ม.ค. 64 เวลา 10:05 น. 1-1

แงงง ขอบคุณมากจริงๆค่ะ เราเป็นคนนึงเลยรู้ตัวเองว่าอยากเป็นหมอตอนม.1เทอม2 ตอนนี้ม.3จะขึ้นม.3แล้ว ยังไม่รู้เลยว่าต้องเริ่มจากอะไร ต้องทำยังไง อ่านหนังสืออะไร ต้องแบ่งเวลายังไง แต่มีความคิดว่าม.4ต้องเข้าสายวิทย์-คณิต ต้องสอบเข้าโรงเรียนดีๆให้ได้ ครอบครัวสนับสนุนเต็มที่ แต่ติดที่ตัวเราเองทำไม่ได้ เราเชื่อกับตัวเองว่าเราต้องทำได้แน่ถ้าเราพยายาม เราจะตั้งใจเรียนให้มากขึ้น ทบทวนเนื้อหาที่เรียนให้ดี ถ้าม.4สอบเข้าโรงเรียนที่อยากเข้าได้เราจะมาสรุปให้ฟังนะคะ

0
วุ้น 31 ม.ค. 64 เวลา 01:46 น. 1-2

วิชาคณิตกับภาษาอังกฤษสำคัญมากครับในการเก็บคะแนน เพราะต้องใช้ทั้ง 9 วิชาสามัญ(น้ำหนักของคะแนนสองวิชานี้ค่อนข้างมาก) ทั้ง onet เลยคิดว่าถ้าทำสองวิชานี้ได้ดี ส่วนวิชาอื่นก็ประคองให้ไม่แย่จนเกินไป ก็สามารถสอบติดแพทย์ได้ครับ(ถ้าน้องไม่เลือกสถาบันนะ) แต่จากใจคนที่เรียนหมออยู่อยากบอกน้องเลยครับว่าที่เค้าบอกว่าหมอเรียนหนัก มันหนักจริงๆครับ จากพี่ที่ตอนจะเข้ารู้สึกว่าหนักแค่ไหนก็มาเถอะตอนนี้ก็ชักท้อละครับ55555 แต่ถ้าน้องอยากเป็นจริงๆก็ตั้งใจสู้ๆครับ พึ่งมัธยมต้นเอง เหลือเวลาอีกครับ

0
Nne 29 ม.ค. 64 เวลา 11:07 น. 2

เรียนให้ได้เกรดสูงๆ พอขึ้นม.ปลายไปสอบเข้าโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูงเช่น มหิดลวิทย์เตรียมอุดม สตรีวิทยา จะช่วยเพิ่มแรงผลักดันได้มากกว่าจากสังคมในโรงเรียนแบบนั้น เพราะการเรียนจะเข้มข้นมากๆ

0
Freshy medicine 29 ม.ค. 64 เวลา 13:49 น. 3

โหวว เจ๋งจริงๆเลยน้อง เพิ่งอยู่ ม.2เอง หลายคนอยู่ ม.ปลายยังไม่รู้ว่าจะเรียนต่ออะไรเลย

พี่ขอแนะนำ เริ่มได้เลยเอาแบบง่ายๆนะ แต่ต้องทำนะไม่ใช่แค่คิดหรือฝัน

- เริ่มเรียนคณิตล่วงหน้า ของ ม.3 อยู่ ม.3ก็เรียน ของ ม.4 ต่อไปเรื่อยๆ

- อังกฤษสามารถเรียนล่วงหน้าได้เลย เพราะเนื้อหา ม.3,4,5,6 ก็เนื้อหาเรื่องเดิมแต่มันจะเข้มข้นขึ้นตามชั้นปี ท่องศัพท์ของ gat eng และ กสพท รวมกันวันละ 5 คำ 4 ปีx365x5= 7,300 คำ เหลือเฟือ

- ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ไปว่ากันตอน ม.ปลาย

- ไทย สังคม ก็เรียนไปตามระดับชั้น คงไม่ต้องเรียนล่วงหน้า

- วิชาเฉพาะแพทย์ เริ่มฝึกทำโจทย์ part เชาว์ล่วงหน้าก่อน ยังไม่ต้องจับเวลานะ แค่ทำให้ได้ก่อนเพราะลักษณะโจทย์เป็นพื้นฐานของเลขแค่นั้น จากนั้นค่อยมาฝึกความเร็ว

ส่วนเรื่องสอบเข้าเตรียมหรือ mwit ก็มีส่วนช่วยแต่ไม่ทั้งหมด พี่จบ TU80 เพื่อนรุ่นพี่ก็มีหลายคนสอบแพทย์ไม่ติดและก็มีเพื่อนที่สอบเตรียมไม่ติดแต่ก็สอบแพทย์ติด

จะรอ ผลสอบ tcas68 นะจ๊ะ

ปล. น้องเข้าปี 1 คณะแพทย์ พี่ก็อยู่แพทย์ ปี6 พอดี จะเจอกับพี่ ต้อง มาจุฬานะจ๊ะ ติด มออื่น ไม่เจอกันนะ พี่ชอบมาก เด็กที่มี passion



2
bi_wx 29 ม.ค. 64 เวลา 13:59 น. 3-1

#dek68 คณะในฝัน มหาลัยในฝันเลยค่ะพี่

0
chuthaporn2548 10 ก.พ. 64 เวลา 16:29 น. 3-2



มันใช่เลยยอ่ะ หนูอยากเข้าจุฬามากก ตอน ม2 พอเริ่มรู้ว่าอยากเป็นหมอ ก้เริ่มทำตัวเเบบนี้เเหละ ซื้อหนังสือมาอ่าน ขยันมากขึ้น เเบ่งเวลา ศึกษาเกี่ยวกับหมอ อะไอย่างงี้ ยิ่งพอได้อ่่านอะใรเเบบบนี้เเล้วรู้สึกดีมาก อยากเจอพี่อ่ะ กว่าจะได้เข้าจุฬาพี่คง นศพ ปี5พอดีเเหละ หวังว่าหนูจะเจอพี่น่ะ‍️ หนูเชื่อว่าถ้าหนูพยายาม เเล้วอยากเป็นจริงๆๆ หนูจะไปถึงฝันได้ บรรลุเป้าหมายเเน่ ใว้เจอกันน่ะค่ะ คุมหมออ‍️‍️ #dek67 #จุฬา#หมออ

0
มัณทนา [สวัสดีวันสิ้นโลก] 29 ม.ค. 64 เวลา 14:31 น. 4

ทำเกรดของมัธยมต้นให้เยอะๆ

ไปสอบเข้าม.4 ที่โรงเรียนที่มีชื่อเสียงระดับ Top ที่เป็นแหล่งรวมของเด็กเก่งๆที่จะช่วยกันเรียน

0
45612 30 ม.ค. 64 เวลา 08:45 น. 5

ก่อนอื่นก็ลองดูก่อนว่าชอบจริงๆมั้ย ลองไปงานเปิดบ้านต่างๆ หรือหาข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ ทั้งนี้ทั้งนั้นมีคุณหมอบางคนมี vlog มีอะไรมาให้รับชมสร้างแรงบันดาลใจหรือการใช้ชีวิตการทำงานมาในแต่ละวัน ลองฟังลองดูทั้งช่วยในการตัดสินใจและสร้างไฟ

อย่างที่สองการหาข้อมูล ข้อมูลในการสอบเข้าว่าใช้อะไรบ้าง คะแนนเกรดต่างๆควรได้เท่าไหร่ วิชาไหน % เท่าไหร่ ลองคิดดูคราวๆว่สเราควรจะทำให้ได้เท่าไหร่ ม ไหนคะแนนสูงต่ำยังไง

อย่างที่สามการขยัน อดทนและตั้งใจ แน่นอนว่าสำคัญในทุกช่วงของการเรียน การเรียนในห้องให้เข้าใจเป็นสิ่งสำคัญ การทบทวนทำโจทย์ก็ยิ่งสำคัญใช้ในการดูว่าเราขาดตกตรงไหน การเรียนในคณะแพทย์บอกเลยว่า ยาก เยอะ และสอบบ่อยมากเพราะงั้นข้อนี้สำคัญมากการฝึกทำให้เป็นนิสัยจะได้ไม่รู้สึกลำบากเกินไป

และข้อสุดท้ายการจัดการวางแผนเวลและการใช้ชีวิต อันนี้ถ้าจัดการได้ดีบอกเลยว่าจะสบายมากใช้ได้ตลอดในชีวิตการเรียนและการทำงาน

การที่รู้ตัวเร็วก็ย่อมดีแต่การที่ลงมือทำจริงๆอย่างตั้งใจก็ย่อมดีขึ้นไปอีก สู้ๆนะครับน้อง ครอบครัวเรายินดีต้อนรับเสมอ


0
หมาป่าทะยานแสง 30 ม.ค. 64 เวลา 08:57 น. 6

ถ้าเรื่องสอบเข้า แนะนำให้ฟิตฟิสิกส์ เลข อังกฤษ เคมีก่อนเลยครับ น้องมีเวลาเยอะมาก เพราะฉะนั้นค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ ที่ผมให้เน้นวิชาคำนวณก่อนเพราะมันเป็นอะไรที่ทำคะแนนได้แน่นอน ส่วนตัวชีวะไว้แย็คอัพคะแนนเอาครับ ตอนเรียนยังไวก็เริ่มใหม่อยู่แล้ว555

0
Thanks Mom 30 ม.ค. 64 เวลา 11:46 น. 7

สวัสดีครับ ผมจบจาก เศรษฐศาสตร์ จุฬา ในฐานะคนที่เคยผ่านการเตรียมตัวสอบแพทย์มาก่อน (ไม่ติดเพราะขี้เกียจ) จะแชร์วิธีนึงจากประสบการณ์นะครับ


สิ่งสำคัญคือเราต้อง ‘อ่านกติกาการสอบเข้า’ ก่อนครับ (แม้จะอยู่ ม.2 ก็ลองอ่านของปีนั้นๆดูครับ แล้วพอปีต่อไปก็คอยติดตาม)


เช่น


ในปีของผม (ถ้าจำไม่ผิดคือ 2557) จะต้องยื่นคะแนน 7 วิชาสามัญ และความถนัดแพทย์

สิ่งที่เราต้องดูคือ น้ำหนักคะแนน และข้อห้ามครับ


น้ำหนักคะแนน (จำเป๊ะๆไม่ได้นะครับ แต่ลองอ่านเป็นแนวทาง)


1) คณิต 20%

2) ภาษาอังกฤษ 20%

3) ฟิสิกส์ - เคมี - ชีวะ รวมกัน 40%

4) ไทย 10%

5) สังคม 10%

โดยคะแนน 7 วิชาสาทัญทั้งหมดนี้มีสัดส่วน 70% + ความถนัดแพทย์ 30% = 100%


ข้อห้ามสำคัญที่ต้องรู้!

1) คะแนน7วิชาสามัญ วิชาใดวิชาหนึ่ง คะแนนน้อยกว่า 30 คะแนน


ซึ่งจาก น้ำหนักคะแนน ถ้าเราเฉลี่ยมาเลยนะครับ


1) คณิต 20%

2) อังกฤษ 20%

3) ฟิสิกส์ 13.33% (40% หาร 3)

4) เคมี 13.33%

5) ชีวะ 13.33%

6) ไทย 10%

7) สังคม 10%


ใครบอกอยากเป็นหมอต้องอ่านเคมี-ชีวะ


ไม่จริงครับ


น้ำหนักคะแนนบ่งบอกแล้วครับว่าต้องได้ อังกฤษ-คณิต (แค่ 2 อันนี้ก็ปาไป 40% ของคะแนนสอบ7วิชาละครับ)


ต่อไป ผมจะลองคำนวณอะไรให้ดูนะครับ

คะแนนเต็ม รวมของวิชาสามัญ + ความถนัดแพทย์ คือ 100% ครับ


รายวิชาจะมีน้ำหนักดังนี้

1) คณิต 14% (คำนวณจาก 20% ของ 70)

2) อังกฤษ 14%

3) ฟิสิกส์ 9.33%

4) เคมี 9.33%

5) ชีวะ 9.33%

6) ภาษาไทย 7%

7) สังคม 7%

8) ความถนัดแพทย์ 30%


ซึ่งคะแนนรวมของคนที่เข้าแพทย์ได้นะครับ ต่ำสุด ถ้าจำไม่ผิดคือ 58% (คะแนนต่ำสุดแต่ละปีน่าจะมีข้อมูลอยู่นะครับ)

ขอเรียกคะแนน%ที่ใช้คำนวณการเข้าแพทย์ว่า ‘คะแนนหมอ’ นะครับ


ตัวอย่างก็คือ

1)คณิตศาสตร์ 30 ข้อ

>> เราทำได้ 20 ข้อ —> ได้คะแนนหมอเท่ากับ 9.33%

2) อังกฤษ 80 ข้อ

>> เราทำได้ 60 ข้อ —> ได้คะแนนหมอเท่ากับ 10.5%

3) ฟิสิกส์ 25 ข้อ

>> เราทำได้ครึ่งเดียว แค่ 13 ข้อ —> ได้คะแนนหมอเท่ากับ 4.85%

4) เคมี 50 ข้อ

>> เราทำได้น้อยมาก 22 ข้อ —> ได้คะแนนหมอเท่ากับ 4.1%

5) ชีวะ 100ข้อ!

>> ทำได้แค่ 35 ข้อ —> ได้คะแนน 3.27%

6) ไทย 50 ข้อ

>> ทำได้กลางๆ 25 ข้อ —> ได้คะแนน 5%

7) สังคม 50 ข้อ

>> ทำได้น้อย 20 ข้อ —> ได้คะแนน 2.8%

8) ความถนัดแพทย์ได้สัก 19% จากเต็ม30%


รวมคือ 58.85% >> ติดหมอละครับ


คือ ไม่ได้บอกว่าง่่ายนะครับ


แต่ อยากให้ลองไปอ่าน ‘กติกา’ แล้วทำความเข้าใจว่า เราควรใช้เวลากับวิชาไหนมากที่สุด (อย่างปีของผม วิชาที่ควรใช้เวลาที่สุดคือ คณิต - อังกฤษ และถ้าเอาตามตรง ความถนัดแพทย์ด้วย)

แต่ห้ามที่วิชาอื่น เพราะอย่างปีผมจะมีข้อห้ามว่าห้ามต่ำกว่า 30%


นำสิ่งที่ได้จากการอ่านกติกาไปวางแผนการอ่านหนังสือครับ


จากนั้น **สำคัญมากครับ** ไปดูข้อสอบครับ >> ถ้าอยู่ ม.2 ก็ลองดูข้อสอบ ONET หรือข้อสอบสอบเข้า ม.4 ของเตรียมอุดม-มหิดล ดูครับ ตั้งเป้าว่า เราจะตั้งใจเรียน จนสามารถทำข้อสอบเหล่านี้ได้

พอขึ้น ม.ปลาย ก็ดูข้อสอบที่ใช้สอบแพทย์ และตั้งเป้าว่าเราจะตั้งใจจนทำข้อสอบเหล่านี้ได้


และ ‘กล้าที่จะทิ้ง’ เช่น คณิต ม.ปลาย เรื่องไหนเราไม่ไหวจริงๆ อย่างปีผม มีหลายคนตัดสินใจตัดตรีโกณมิติทิ้ง บางคนตัดเรื่องภาคตัดกรวย แต่! ไม่ตัดเยอะไปนะครับ ระวังดีๆ


สุดท้ายก็การบริหารเวลาในห้องสอบครับ >> เช่น เก็บข้อเขียนเพราะคะแนนสูง ถ้าเวลาไม่ทันจะได้มามั่วข้อกา (แต่ต้องอ่านกติกาก่อนนะครับ ถ้าเกิดมันมีการหักคะแนนข้อที่ผิด เราก็ต้องวางแผนใหม่)


ประมาณนี้ครับ


สุดท้ายที่อยากฝากไว้ ‘ความสม่ำเสมอ’ มีผลครับ


>> ผมแทบไม่อ่านหนังสือ แต่ติด เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เพราะความสม่ำเสมอ 

ผมเรียนคณิตอาทิตย์ละครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง ทุกครั้งจะท้าทายโจทย์ระดับโอลิมปิกหรือโจทย์สอบเข้า (แน่นอนว่าเริ่มจากง่ายก่อนนะครับ)


สรุปนะครับ

1) เข้าใจ ‘กติกา’ ก่อนครับ เพื่อนำมาจัดสรรเวลา และความเพียร

2) ดูข้อสอบ >> จะได้รู้ว่าเป้าหมายเราหน้าตาเป็นยังไง

3) วางแผนและทำอย่างสม่ำเสมอ

4) พอเริ่มมั่นใจ ไปลองทำข้อสอบจริงดูครับ แล้วคำนวณคะแนนว่าได้เท่าไหร่ ติดหมอไหม


(ปล. ขอบคุณคุณแม่ที่บังคับผมเรียนเลขทุกอาทิตย์ครับ)


1
Thanks Mom again 30 ม.ค. 64 เวลา 11:50 น. 7-1

เสริม

ปีผม ถ้าจำไม่ผิดนะครับ

58% ติดแพทย์พระมงกุฏ (ผมจำได้ว่าขาดไป 2% 555555555555555 สัสเอ๊ย)

ราวๆ 60% ติด แพทย์ มศว มั้ง

แล้วก็ สูงขึ้นมาเป็น รามา น่าจะราวๆ 65%

สุดท้าย จุฬา ศิริราช จะราวๆ 70%


(จำไม่ได้เป๊ะๆครับ ลองหาข้อมูลดูนะครับ)

0
YB Me Share 30 ม.ค. 64 เวลา 13:07 น. 8-1

แต่ถ้าน้องตั้งใจจริง แล้วอยู่แค่ ม.2 พี่แนะนำให้ฝึก passive skill ดีกว่าคับ

การเตรียมสอบตั้งแต่ตอนนี้มันเร็วไป เกินไปสุดๆเลยล่ะคับ เพราะน้องอาจจะเปลี่ยนใจตอน ม.ปลายก็ได้

passive skill ที่พี่ว่าคือ 

1.ฝึกอ่านหนังสือให้เก่ง อ่านให้จำได้นานๆ ไม่ลืมหลังสอบ

2.ฝึกการตั้งคำถามหาความรู้เพิ่มเติม ที่ไม่ได้มีแค่ในตำรา

3.ฝึกการแบ่งเวลา ไม่เถลไถลนาน

สามข้อนี้ไม่เกี่ยวกับการสอบหมอโดยตรง แต่มันใช้ได้กับทุกอาชีพเลยล่ะคับ ให้น้องลองคิดวิธีที่ทำให้ตัวเองบรรลุเป้าหมายพวกนี้ดู แต่ถ้ายัง งงๆอยู่ ถามพี่ได้คับ เดี๋ยวมาตอบ




0
แอล 30 ม.ค. 64 เวลา 13:17 น. 9

แนะนำให้ตอนนี้เริ่มอ่านหหนังสือ หรือติวสอบเข้าเตรียมอุดม มหิดลวิทยานุสรณ์ แล้วเข้้าเรียนสายวิทย์-คณิต วางแผนการเรียน ม.ปลายให้ดี เพราะสอบเข้าหมอข้อสอบจะค่อนข้างเยอะและแตกต่างกับคณะอื่นๆ ไปศึกษาเกณฑ์การรับเข้าของแต่ละมอให้ดี แนะนำเรียนหมอ มหิดล จุฬา

0
คนไข้ 30 ม.ค. 64 เวลา 15:56 น. 10

เอาจิงๆเราว่าควรถามตัวเองแน่ๆว่าอยากเรียนจริงๆใช่มั้ย เช่น ลองobserve ดูงานจริงๆที่หมอทำในรพ เพราะอาชีพนี้มันมีความรับผิดชอบ ความกดดันสูง บางคนเข้ามาเรียนแล้ว อยากลาออก เป็นซึมเศร้ากันเยอะแยก เหมือนเป็นคณะที่คนในอยากออกคนนอกอยากเข้า แต่ถ้าชอบที่จะช่วยเหลือคนอื่น สละเวลาส่วนตัวได้ ทนความกดดัน มีความรับผิดชอบ ก็โอเคมาเรียนเลย เตรียมตัวสอบเข้าซึ่งก้อต้องศึกษาดูว่าอยากเข้าคณะแพทย์ที่ไหน การสอบสอบเข้ามีอะไรบ้าง ใช้คะแนนหรือกิจกรรมอะไรเข้าได้บ้าง

0
Centurion 30 ม.ค. 64 เวลา 20:18 น. 11

การมีเป้าหมายเป็นสิ่งที่ดีครับเพราะการสอบเข้าเเพทย์นั้นจำเป็นต้องใช้เวลามาก ถ้ายังศึกษาอยู่ มัธยมต้น พี่เเนะนำให้เน้นไปที่การสอบเข้ามัธยมปลายก่อนครับ โดยการจะสอบเข้านั้นเราต้องรู้ว่าเขาต้องการให้เราสอบอะไรบ้างเเละเเต่ละอย่างคิดเป็นสัดส่วนเท่าใดครับ เพราะเเต่ละวิชานั้นสัดส่วนอาจจะไม่เท่ากัน พี่เป็น Dek 63 ตอนนี้เรียนเเพทย์ที่จุฬาฯ ครับ ซึ่งตอนที่พี่สอบเข้าทางพี่ต้องมีคะเเนนยื่นดังนี้

- Onet รวมทุกวิชาเกิน 60% (อันนี้เป็นเกณฑ์เฉยๆครับ ไม่เอาไปคิดคะเเนนรวมกับ 2 อันล่าง ถ้าคะเเนนรวมไม่ถึง 60% เขาจะไม่คิดคะเเนนเลยครับ ก็คือรอซิ่วปีหน้าครับ)

-ความถนัดเเพทย์ คิดเป็น 30%

-9 วิชาสามัญ คิดเป็น 70% ถ้าวิชาไหนได้คะเเนนต่ำกว่า 30% ดหมือนเขาจะตัดสิทธินะครับ ไม่มั่นใจ เพราะฉะนั้นพี่ก็เทได้เเต่อย่าได้ต่ำว่า 30% ครับ)

-คณิต 14%

-ฟิสิกส์ 9.33%

-เคมี 9.33%

-ชีวะ 9.33%

-อังกฤษ 14%

-ไทย 7%

-สังคม 7%

จากที่เห็นคะเเนนเเต่ละวิชาจะมีสัดส่วนมากน้อยตามที่เขากำหนดซึ่งเกณฑ์นี้เป็นการยกตัวอย่างเฉยๆ เพราะปีที่น้องสอบอาจมีการเปลี่ยนเเปลงจึงขอให้ศึกษาเเละตัดสินใจให้ดี เเต่เท่าที่พี่คิดเเล้วน้องควรเรียนให้ดีทุกวิชาตามนี้ครับเเละเน้นไปที่ เลข อังกฤษ เเละ วิทย์ ทั้ง 3 ตัว เพราะพวกนี้สำหรับพี่หากไม่ตั้งใจอ่านมาจะทำคะเเนนได้ยากครับ ในส่วนของความถนัดเเพทย์ ก็อาจจะหาซื้อหนังสือมาทำ หรือเรียนพิเศษกับสถาบันที่ชอบ โดยส่วนตัวพี่ทำทั้งสองอย่างครับหนังสือ ความถนัดเเพทย์จะมีเกี่ยวกับอะไรบ้างอันนี้หาอ่านตามเว็บละเอียดกว่าครับ ส่วนเรื่องวิธีเรียนจะอ่านเองหรือเรียนพิเศษเเล้วเเต่น้องครับ ตามสไตล์ของเเต่ละคน พี่จะยกตัวพี่เองเป็น Case study ให้ฟังครับ ไม่ได้ให้ทำตามนะครับ ให้ลองเอาไปคิดเล่นๆเฉยๆ

พี่เรียน ม.ปลายที่โรงเรียนย่านปทุมวันที่รั้วติดกับโรงเรียนสาธิตปทุมวันครับ โดยส่วนตัวพี่เป็นสายเรียนพิเศษกล่าวคือ ไม่ทำกิจกรรมเท่าไร เพื่อนเลยไม่เยอะ เเละเรียนพิเศษเกือบทุกวันครับ ตั้งเเต่เข้ามาจนจบ เเต่พี่เตรียมตัวสอบเข้าจริงๆคือช่วง ม.6 ครับ โดย ม.4-5 พี่ก็เรียนให้สอบของโรงเรียนได้เเละลืมทิ้งไป (อันนี้เเย่ครับอย่าทำตาม ยกเว้นวิชา เลข ฟิสิกส์ เคมี กับ อังกฤษ ที่ยังพอหลงเหลือเพราะชอบโดยส่วนตัว) ตอน ม.6 ทุกอย่างมันเลยกดดันไปหมดครับเพราะต้องขยันซึ่งปกติไม่ค่อยจะขยันซักเท่าไร ก็เรียนพิเศษทุกวันครับ เลิกเรียนก็ไป บางวันก็ถึง 1-2 ทุ่ม วันเสาร์ก็เรียนถึง 3 ทุ่มครับ พี่ชอบเรียนโดยมีคนให้ถามซะส่วนใหญ่ครับเลยเรียนพิเศษ (ส่วนใหญ่เรียนกลุ่มเล็ก) เป็นช่วงเวลาชีวิตที่เหนื่อยมากเพราะเป็นผลจากความขี้เกียจตอน 2 ปีที่ผ่านมานั่นเเหละครับ ส่วนวิธีการเตรียมสอบของพี่คร่าวๆช่วงนั้นคือ (พิจารณาก่อนทำตามครับ***) เอาโจทย์ไปโรงเรียนทุกวันครับ กันว่าง เผื่อหยิบมาทำบ้างก็ช่วยได้ครับ จะวิชาอะไรก็ได้ (ถ้าเป็นพี่ก็จะหยิบ เลข เคมี กับ ฟิสิกส์ ครับเพราะทำเป็นข้อๆได้ อังกฤษจะต้องอ่านยาวเเล้วจะเสียสมาธิครับ) โดยพี่จะสนใจเรียนวิชาที่พี่คิดว่ามีประโยชน์ต่อการสอบของพี่เท่านั้น เช่น เลข เพราะการฝึกสำคัญมาก, ชีวะ เพราะพี่อ่อนวิชานี้ที่สุดในหมวดวิทย์ เป็นต้น ส่วนเรื่องที่ว่าควรทุ่มวิชาไหน พี่ทุ่มทุกวิชาครับ เเต่หากไม่ทันจริงๆก็ต้องไปทุ่มวิชาที่สัดส่วนเยอะๆ ครับ เเละวิชาที่ไม่เเนะนำให้ทุ่มเกินไปคือสังคม เพราะข้อสอบออกอะไรเรากะทางยากครับ (ให้ใช้ข้อสอบเก่าช่วย มีเเค่นี้จริงๆครับ วิชาอื่นๆมันออกตามบทของมันหากจำได้ (ชีวะ,อังกฤษ) เเละเข้าใจ (ที่เหลือ) ผลจะออกมาดีครับ) ผลของการเรียนพิเศษมากคือ เครียดเเละเหนื่อยเกินไปครับ เเต่ผลลัพธ์ (ขึ้นกับความตั้งใจด้วยไม่ใช่สักเเต่เรียนนะครับ) ก็ดีเกินขาดสำหรับพี่ เเต่จริงๆก็มีเพื่อนๆพี่หลายคนที่เรียนพิเศษเเค่จำเป็นหรือเเทบไม่เรียนก็ติดมาด้วยกันเป็นจำนวนมากครับ พี่เชื่อว่าการเตรียมตัวสอบของเเต่ละคนมันเเล้วเเต่ความชอบ เพราะฉะนั้นขอเเค่ศึกษาเกณฑ์คะเเนนให้ดีก่อนตัดสินใจเเล้วที่เหลือก็ขึ้นกับตัวน้องกับตอนสอบเเล้วครับ (สิ่งที่เเนะนำของพี่คืออยู่ในบริบทการสอบในปี 2563 นะครับอาจจะไม่ตรงกับปีน้องเเต่ก็อยากให้เอาเป็นเเนวทางได้ไม่มากก็น้อยครับ)

2
Centurion 30 ม.ค. 64 เวลา 20:19 น. 11-1

บรรทัดที่สอง การสอบเข้าคือเข้าเเพทย์นะครับ พิมพ์ตกไป ขอโทษทีครับ

0
Centurion 30 ม.ค. 64 เวลา 20:20 น. 11-2

เเละก็ส่วนที่บอกว่าสนใจเรียนวิชาที่ใช้สอบคือบริบทที่เรียนที่โรงเรียนนะครับ

0
PearIN_little 31 ม.ค. 64 เวลา 15:36 น. 12

เราคนนึงก็อยากเป็นหมอตั้งแต่ประถมตอนนี้ เราก็อ่านนส.รัวๆค่ะ เราเป็นคนจำเก่ง วิชาคำนวณก็ได้แต่ชอบวิชาจำ เราจะเน้นเก็บเนื้อหาไปก่อนค่ะเพราะม.4เราจะไปต่อรร.ที่ดีกว่าที่เก่า มาเมคเฟรนกับเราได้น้าาา อยากมีเพื่อนช่วยเรียนตอนนี้เราก็อ่านฟิสิกส์อยู่ถึงงงๆแต่สนุกดีพอทำได้มันรู้สึกถึงความชนะเลิกเรียนทุกวันเราจะไปห้องสมุดตลอด เวลาจะใกล้สอบเราจะเตรียมอ่านเป็นสัปดาร์ซึ่งมันจำเป็นๆมากๆเพราะอ่านช้าไปมันไม่ดี เราเคยดูพี่ที่ติดหมอศริราชที่1กับจุฬาที่1เขาเล่า เราอยากเป็นแบเขามากๆเพราะเขาคือไอดอลทุกววันนี้เรามักจะชอบปลีกตัวมาอ่านนส.คนเดียวที่รร.มากๆเพราะมันเงียบและมีสามธิดี สู้ๆน้าา

2
PearIN_little 5 ก.พ. 64 เวลา 09:30 น. 12-2

เราแอดเพื่อนแกไปแล้วน้าา ยินดีที่ได้รู้จัก


0
Cain 31 ม.ค. 64 เวลา 16:04 น. 13

ในฐานะที่พี่เรียนหมอมาได้ 2 ปี พี่อยากให้น้องลองดูก่อนว่าหมอทำงานกันยังไง เรียนกันยังไง ลองศึกษาเกี่ยวกับอาชีพอื่นๆ ด้วยก็ดีนะ ถ้าน้องคิดว่ามันใช่จริงๆละก็ม.ต้นน้องก็ตั้งใจเรียนก็พอ ม.ปลาย ทบทวนบทเรียนเรื่อยๆ อ่านหนังสือเรื่อยๆ ใช้ชีวิตให้มีความสุข

ปล. ในฐานะที่พี่เรียนหมอ พี่อยากบอกน้องว่ามันเหนื่อยมากนะ มันเสียอะไรไปหลายๆอย่าง ทั้งความสุขและเวลานอน สุขภาพด้วย (แต่น้องสามารถทำให้มันเสียน้อยที่สุดได้ด้วยการบริหารจัดการเวลาและก็ mindset ของน้อง)

ปล.2 พี่ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ

1
PearIN_little 31 ม.ค. 64 เวลา 18:48 น. 13-1

พวกพี่ๆที่เรียนหมอทุกคนเป็นไอดอลของหนูเลยค่ะ ขอบคุณค่ะที่มาแชร์ให้น้องๆแบบหนู

0
KT- 1 ก.พ. 64 เวลา 00:11 น. 14

ถ้าน้องได้มาอ่าน...

เริ่มจากหาเหตุผลให้เจอค่ะ ว่าทำไมอยากเรียน จดจำเหตุผลนั้นไว้ แล้วทุ่มให้สุดตัวค่ะ

พี่เชื่อว่าทุกการเรียน ทุกอาชีพมีความยากลำบาก มีอุปสรรค และมีด้านมืดไม่แพ้กัน... ในระหว่างทางที่เราจะไปถึงจุดหมาย (ในที่นี้ของน้องคืออยากเป็นหมอเนาะ) มันจะมีความเหนื่อยยากมากมาย มันจะมีอารมณ์ชั้นมาทำอะไรที่นี่ แต่ถ้าน้องยังยึดมั่นในเหตุผลที่ตอบตัวเองได้ น้องจะสำเร็จค่ะ

สำหรับการเตรียมตัว ตอนเด็กๆพี่คิดว่าตัวเองเรียนเก่งมากจะขี้เกียจยังงัยก้อได้ แต่ไม่ใช่ค่ะ เพราะคนที่เรียนเก่งและขยันยังมีอีกมาก เราจะสู้เค้าไม่ได้ ดังนั้นต้องขยันค่ะ

การเตรียมตัว...(สำหรับตัวพี่เองนะ) คนที่พร้อมก่อนมีสิทธิ์ก่อน

1. ไปศึกษามาดีดีว่าสมัยนี้ต้องสอบอะไร ใช้กี่วิชา ใช้วิชาละกี่คะแนน

2. วิชาไหนเราเก่ง วิชาไหนเราอ่อน

3. ถ้ามีเวลาทันให้พัฒนาเรื่องที่เราเก่งจนไม่มีอะไรที่เราต้องกลัว ฝึกทำข้อสอบให้ชำนาญ พร้อมอุดรูรั่ววิชาที่เราอ่อน

4. ถ้าไม่ทัน ให้ชั่งใจ ทิ้งอันที่อ่อน เอาแค่ผ่านเกณฑ์แล้วทุ่มอันที่เก่ง

วิธีการเรียน

ถ้าเพื่อนอ่านรอบเดียวจำได้ แต่เราจำไม่ได้ ต้องหาวิธีที่เหมาะกับตัวเอง เช่น จำเป็นภาพ จำตัวย่อ จำเหตุการณ์ หรือถ้าชอบท่องก้อต้องท่องค่ะ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆหรือผู้ปกครองที่มาอ่านเจอนะคะ

1
KT- 1 ก.พ. 64 เวลา 00:13 น. 14-1

จากใจหมอเฉพาะทางที่ไม่แก่เท่าไหร่ แต่ไม่แน่ใจแล้วว่าสมัยนี้เค้าสอบเข้ากันยังงัยค่ะ

0
TKkkk 1 ก.พ. 64 เวลา 09:17 น. 15

ก่อนที่จะเรียนนะ ลองหาข้อมูลก่อนว่าวันๆหมอทำไรบ้าง เรารับงานแบบนี้ได้ไหม เราสามารถเข้าใจถึงคนไข้จริงๆได้ไหม ลองเข้าค่ายหมอต่างๆก่อน แล้วถ้าสมมติ ยังชอบอยู่ ก็เรียนเลย แต่สำหรับตัวเราที่เป็น extern อยู่ตอนนี้นะ อยากบอกว่า หนีไปปปปปปปปปปป

0
กัลย์ 1 ก.พ. 64 เวลา 09:24 น. 16

ขอแนะนำสรุปอย่างย่อๆ ตามความเป็นจริง ของเด็ก ม.3 โรงเรียนไม่ดัง ที่สอบติดแพทย์

1.ตอนอยู่ ม.1-ม.3 ควรพยายามทำเกรดดีๆ ให้ได้ 4 ยิ่งดี (ม.3 ขึ้น ม.4 พยายามเข้าโรงเรียนดังๆ ตัวอย่างเช่น มหิดลฯ เตรียมอุดมฯ กำเนิดวิทย์ได้ ยิ่งดี)

2.ตอนอยู่ ม.4-ม.6 คณิต-วิทย์ เรียนพิเศษ เฉพาะวิชาที่ได้เกรดในโรงเรียนไม่ดี

เกรด 4 ม.ปลายจะได้ยาก

3.อ่านเนื้อหา อ่านสรุปย่อ ทำแบบฝึกหัด โจทย์ ปัญหา และทำข้อสอบเก่า ระหว่างเรียนแต่ละชั้น ม.4 ม.5 ม.6 ในวิชา คณิต อังกฤษ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ไทย สังคม เกรดในโรงเรียนจะดีเอง

4.เรียนพิเศษให้จบ ตอนปิดเทอมใหญ่ ม.5 ขึ้น ม.6 หรืออย่างช้าให้จบ ตอนปิดเทอมกลางภาค 1 ขึ้นภาค 2

5.ทบทวน อ่านสรุปย่อ ทำแบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา ทำข้อสอบเก่า ทุกวิชา ระหว่างเรียน ม.6 เทอม 1 หรืออย่างช้า ระหว่างเรียน ม.6 เทอม 2(เด็กเก่งมาก) ส่วนวิชาไทย สังคม(ความจำ) และวิชาเฉพาะ กสพท.ทำตอนใกล้สอบ


แบบฉบับเต็ม

คำแนะนำผู้ปกครองและเด็ก ม.4-5 ที่อยากติดแพทย์ กสพท.

https://www.dek-d.com/board/view/3903938/


ของเก่าเอามาเล่าใหม่ ตั้งแต่ กสพท.61 ได้เลื่อนวันสอบความถนัดแพทย์ ออกไป และสทศ.ได้เลื่อนวันสอบ 7 วิชาสามัญ และโอเน็ตออกไป สอบหลังปิดเทอม ม.6 ประมาณเดือนมีนาคม 2561 ระยะเวลาเตรียมตัวสอบอาจจะช้ากว่าเดิมได้ จึงขอให้ปรับเปลี่ยนระยะเวลาได้ตามความเหมาะสม


ตอนนี้ พวก ม.6 กำลังอยู่ในช่วงเวลาอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบ ความถนัดแพทย์ และ 7 วิชาสามัญ อย่างเข้มข้น ความถนัดแพทย์คงใช้เวลาอ่านไม่มากนัก ส่วน 7 วิชาต้องใช้เวลาอ่านมาก พออ่านวิชาหลังๆ ก็ลืมวิชาที่อ่านจบไปก่อนแล้ว ต้องทบทวนใหม่อีกรอบ เรียกว่าอ่านหน้า ลืมหลัง อ่านหลัง ลืมหน้า


ช่วงนี้จะขอแนะนำ ผู้ปกครอง และเด็ก ม.4 และเด็ก ม.5 ที่มีเป้าหมาย ต้องการเรียนเป็นแพทย์ มีบางคนต้องการรู้เรื่องการเลือกอันดับแพทย์ กสพท.ก่อน คิดว่าน่าจะเร็วเกินไป เวลาเป็นปี ๆ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ และปีนี้เลือก 10 อันดับ ช้ากว่าปีก่อนๆ(ต้้งแต่ปี 60 ย้อนหลังไป) และเลือกหลังคะแนนออกแล้ว การเปลี่ยนแปลงเลือก 10 อันดับใหม่ น่าจะมีน้อยกว่าเดิมมาก ปีก่อนๆ ขนาดช่วงระหว่างสมัคร กสพท. วันนี้เลือกไว้แล้ว วันพรุ่งนี้ตื่นขึ้นมา ยังเปลี่ยนเลือกใหม่เลย คือเปลี่ยนไปเรื่อยๆทุกวัน ตราบใดที่ยังไม่จ่ายเงิน หรือบางคนจ่ายเงินแล้ว ยังมีการเปลี่ยนที่เลือกไปแล้วอีก 3 ครั้ง จ่ายเงินใหม่อีก 3 ครั้งก็มี แต่ถ้าสนใจจริงๆ อยากศึกษาวิธีการเลือก ให้ศึกษาตามลิงค์ข้างล่างนี้

คำแนะนำเลือก 4 อันดับ กสพท.(ระบบเก่า)

https://www.dek-d.com/board/view/3670013/

http://www.dek-d.com/board/view/3537454/

http://www.dek-d.com/board/view/3528896/

http://www.dek-d.com/board/view/3354992/


ส่วนเรื่องเกรดไม่สำคัญมากเท่าไร หลายคนได้เกรด 4 ในโรงเรียนธรรมดาทั่วไป โรงเรียนที่ไม่มีคนแย่งเข้า หรือไม่อยากเข้า ทั้งใน กทม.หรือ ตจว. ยังสอบไม่ติด กสพท.เยอะแยะไป แต่ถ้าอยู่ ม.4-6 โรงเรียนธรรมดาได้เกรด 3.5 - 3.9 และขยันๆ เตรียมตัวดี ก็มีโอกาสลุ้นติด กสพท. ปีก่อนๆ ระบบเก่า ถ้าอยากรู้ว่าตัวเองอยู่ระดับไหน ตอน ม.6 ลองสอบแข่งขันนอกโรงเรียน(ก่อนสอบ กสพท.) มีสนามสอบตรงแพทย์หลายแห่ง เช่น

-สนามแรกแพทย์ขอนแก่น

-สนามที่สองแพทย์ ม.บูรพา 2 โครงการ

-สนามที่สามแพทย์จุฬา 4 โครงการ

ถ้าสอบติดสนามใด สนามหนึ่ง ก็เก่งมากๆ รับรองมีโอกาสสอบติด กสพท.อันดับสูงๆแน่นอน

แต่ถ้าไม่ติดรับตรงเลย เราอยู่ประมาณระดับไหน ต้นๆ กลางๆ ท้ายๆ เราก็จะสามารถประมาณตัวเองได้ ถ้าอยู่ท้ายๆ ก็ต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว


ปีนี้จะไม่มีการสอบดังกล่าวอีกแล้ว เพราะแบบทั่วประเทศ ที่ไม่ใช่โควตาพื้นที่ หรือโครงการพิเศษ เอาไปเข้าร่วมกับ กสพท.หมดแล้ว


ส่วนการเตรียมตัว ควรเตรียมตัวตั้งแต่เมื่อใด ผู้ปกครองที่ดูแลลูกดีๆ บางคน อาจจะมีการวางแผนการเรียนของลูกตั้งแต่อนุบาลจนถึง ป.4 แล้ว คือ ดูแล ให้คำแนะนำ สอน ตรวจดูการบ้านของลูกทุกวัน เพื่อทราบความเคลื่อนไหวการเรียนของลูกตลอดเวลาหลายปี และมีการทบทวน ติวให้ลูกก่อนสอบที่โรงเรียนด้วย ถ้าลูกหัวดี ไอคิวดี ลูกจะสอบได้ลำดับที่ดีๆ อันดับที่เลขตัวเดียว สมัยนี้ผู้ปกครองเอาจริง เอาจังมาก


แต่พอ ป.5 ป.6 ควรปล่อยให้ลูกรับผิดชอบทำการบ้านเองได้แล้ว ไม่ต้องไปตรวจการบ้านเหมือนเดิมอีกแล้ว แต่อาจจะช่วยติวสอบที่โรงเรียนให้ก็ได้ และเลือกสถาบันกวดวิชาให้ลูก ป.5 ป.6 เรียนพิเศษ เพื่อเตรียมตัวสอบเข้าโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงแห่งใหม่ ที่ไม่ไกลจากบ้านพักมากนัก(ไม่เสียเวลาเดินทาง) หรือถ้าพอมีเงิน อาจจะให้นิสิต นักศึกษามาสอนพิเศษบางวิชา เช่น เลข อังกฤษ วิทย์ ที่บ้านก็ดี(เด็กไม่เหนื่อย)


ม.1-ม.3 เลือกสถาบันกวดวิชาให้ลูก หรือให้ลูกเลือกเรียนพิเศษเอง หรือถ้าพอมีเงิน อาจจะให้นิสิต นักศึกษามาสอนพิเศษบางวิชา เช่น เลข อังกฤษ วิทย์ ที่บ้านก็ดี(ลูกไม่เหนื่อยเดินทาง) เพื่อเตรียมตัวสอบเข้าโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงแห่งใหม่ แต่ถ้าชอบโรงเรียนที่เดิม ก็อยู่ที่เดิม


ข้อสังเกตุ การเตรียมตัวตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึง ม.3 เป็นการเตรียมตัวเพื่อสอบเข้าโรงเรียนใหม่ และเป็นการปูพื้นฐานความรู้ ต่อยอดสู่อนาคตเท่านั้น แต่การเตรียมตัวตั้งแต่ชั้น ม.4-ม.6 เป็นการเตรียมตัวเพื่อเลือกอาชีพในอนาคต ซึ่งใช้ประโยชน์ได้จริงๆ


สรุป ถ้าเก่งตอนแรก(อนุบาล-ม.3) แต่ไม่เก่งตอนหลัง(ม.4-ม.6)ไม่ดี ถ้าไม่เก่งตอนแรก แต่เก่งตอนหลังดี(ได้อนาคตดี)


สำหรับการเตรียมตัว ม.4-ม.6 ควรเตรียมตั้งแต่ ม.4 แต่ไม่หนักมาก ควรอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มเกรดตัวเองในโรงเรียน หนังสือที่ควรมี เพิ่มจากหนังสือเนื้อหาของโรงเรียน


1.สรุปย่อทุกวิชา 7 วิชา(แยกวิชา) รวมเล่ม ม.4-6 (ถูกกว่าแยกเล่มชั้น ใช้ได้ 3 ปี)

2.โจทย์ ปัญหา แบบฝึกหัด ข้อสอบเก่าพร้อมเฉลย แยกบท แยกเรื่อง ทุกวิชา 7 วิชา(แยกวิชา) รวมเล่ม ม.4-6 (ถูกกว่าแยกเล่มชั้น ใช้ได้ 3 ปี)

3.หนังสือเนื้อหาวิชา ที่อธิบายเข้าใจดี ทันสมัย ถ้าไม่รู้เล่มไหนดี ดูยอดขายสูงสุด แสดงว่ามีคนสนใจเยอะ หรืออ่านจากกระทู้แนะนำต่างๆ ในเว็บเด็กดี

ส่วนเรียนพิเศษช่วงเปิดเทอม และปิดเทอม เรียนล่วงหน้าตามบทที่โรงเรียนสอน เรียนเฉพาะวิชาที่อ่อน ไม่เข้าใจหรือตก คะแนนไม่ดี เรียนเท่าที่จำเป็น เช่น เลข อังกฤษ เคมี ฟิสิกส์ ชีวะ ส่วนไทย สังคม น่าจะอ่านเองได้ หนังสือมีขายเยอะแยะไป


ส่วน ม.5 อ่านและเรียนพิเศษเหมือน ม.4 แต่อาจจะเรียนพิเศษเพิ่ม ล่วงหน้าของ ม.5 ควบ ม.6 บางวิชา เช่น เลข อังกฤษ เคมี ฟิสิกส์ ชีวะในช่วงปิดเทอม ม.5 เทอม1 และเรียนพิเศษเพิ่ม ล่วงหน้าของ ม.5 ควบ ม.6 บางวิชาที่ยังไม่ได้เรียนในช่วงปิดเทอมใหญ่(ม.5 ขึ้น ม.6) คนที่เก่งๆ ส่วนใหญ่อาจจะเรียนครอสเอ็นทรานซ์บางวิชาแล้ว ช่วงปิดเทอมใหญ่นี้จะเรียนหนักมาก เรียนพิเศษตั้งแต่เช้าจนถึง 2 ทุ่ม 3 ทุ่มเกือบทุกวัน ไม่มีวันหยุดเสาร์ อาทิตย์


ส่วน ม.6 เพิ่มหนังสือ ข้อสอบเก่าเอ็นทรานซ์/แอดมิชชั่น/7วิชาสามัญ/ความถนัดแพทย์ /GATไทย/GATอังกฤษ พร้อมเฉลยดีๆ รวมหลาย พ.ศ.หรือ 15 พ.ศ.เพื่อฝึกทำโจทย์ คละบทให้คล่อง เพิ่มความเร็ว

พอเปิดเทอม ม.6 เทอม 1 เรียนพิเศษครอสเอ็นฯ บางวิชาที่ยังไม่ได้เรียน และฝึกทำโจทย์ข้อสอบเก่า

ปิดเทอม ม.6 เทอม 1 (ตุลา) เรียนพิเศษบางวิชา ฝึกทำโจทย์ข้อสอบเก่าอย่างเดียว ฝึกทำข้อสอบความถนัดแพทย์(ถ้ามีของเตรียมอุดมฯยิ่งดี) เพราะรุ่นพี่แต่ละรุ่นได้จำข้อสอบจริงคนละ 2 ข้อเอาออกมาเฉลย รวบรวมข้อสอบจริงส่งมอบให้รุ่นน้องเตรียมสอบต่อๆกันไป ช่วงนี้อาจจะต้อง

เตรียมตัวสอบหลายแห่ง ที่ไหนมีสอบวิชา ไทย สังคม ก็ฝึกทำข้อสอบเก่าไว้บ้างตอนใกล้สอบ ควรใช้เวลาน้อยกว่าวิชาอื่นๆ


พอเปิดเทอม ม.6 เทอม 2 ไม่มีเรียนพิเศษแล้ว ฝึกทำโจทย์ข้อสอบเก่าอย่างเดียว พร้อมตระเวณสอบไปเรื่อยๆ ที่เปิดรับตรง โควตา

ความจริงมีรายละเอียดกว่านี้มาก ขอให้คำแนะนำคร่าวๆ สรุปให้เข้าใจแค่นี้ก่อน


สรุป ถ้าจะสอบให้ติด กสพท.จริงๆ ก็ควรเตรียมตัวตั้งแต่ ม.4 คิดว่าน่าจะดีที่สุด


คำแนะนำทั้งหมดเป็นความคิดเห็นส่วนตัว

ความเห็นส่วนตัวเรื่องเรียนพิเศษ เห็นว่าควรเดินสายกลาง เรียนพิเศษบ้าง แต่ไม่มาก เลือกเรียนเท่าที่จำเป็น


เคยได้ยินเรื่อง พ่อเป็นผู้พิพากษา มีลูกชายคนเดียวไม่ชอบเรียนพิเศษ และพ่อก็ไม่สนับสนุนเรียนพิเศษ ผลแอดมิสชั่นไม่ติดที่ไหนเลย ต้องเรียนรามฯ นิติศาสตร์


อีกคนหนึ่ง พ่อ แม่ เป็นหมอฟัน มีลูกสาว 2 คน เห็นว่า การเรียนที่โรงเรียนในวันธรรมดา วันจันทร์-ศุกร์ คือไปร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆที่โรงเรียน


ส่วนการพิเศษวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เด็กประถมฯ คือ การไปเรียนหนังสือจริงๆ ได้ความรู้จริงๆ ผลลูกติดแพทย์ศิริราช กับแพทย์จุฬาฯ


และผู้ปกครองอีกคน มีหลานอยู่ ป.6 เรียนพิเศษมากถึง 7 แห่ง แต่ละแห่งดังที่สุดในเมืองไทย เพื่อสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสตรีวิทย์ แต่ก็สอบไม่ติด ต้องจับฉลากเข้าโรงเรียนใกล้บ้าน ต่อมาย้ายเข้าโรงเรียนเอกชนเดิม ตอนหลังเรียนมหาวิทยาลัย ซิ่วออกจากปี 1 มศว ไปเรียนอยู่เอแบค ม.เอกชน


นี่คือเรื่องจริง ตัวอย่างจริง จึงมีความเห็น ควรเดินสายกลาง ไม่ตามกระแส

ยังมีเคสจริงๆอีกมาก แต่ขอเล่าเพียงเท่านีี้


มีผู้ปกครองหลายคนยังเชื่อถือระบการศึกษาไทยว่ามีมาตราฐานดี ไม่จำเป็นต้องเรียนพิเศษ ถ้าคิดว่าระบบมาตรฐานการศึกษาของไทยดี มีคุณภาพ และอยากให้คนไทยเชื่อมั่นว่า เด็กไทยไม่จำเป็นต้องเรียนพิเศษ ก็ควรออกประกาศ หรือออกกฎหมาย ห้ามมิให้ลูกผู้บริหารการศึกษาของไทยทุกคน ตั้งแต่รัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง ผู้อำนวยการ อาจารย์โรงเรียนหรือมหาลัย ลูกข้าราชการ บังคับไม่ให้ลูกไปเรียนพิเศษ หรือเรียนกวดวิชา แต่ความจริงคือ ลูกผู้บริหารการศึกษาไทย ลูกข้าราชการ ได้เรียนพิเศษมากกว่า เอาเปรียบลูกชาวบ้านที่ไม่มีเงินค่าเรียนพิเศษ


อังกฤษมีรัฐบาลพรรคแรงงาน ห้ามลูกรัฐมนตรี ผู้บริหารการศึกษา เรียนพิเศษหรือจ้างครูสอนพิเศษที่บ้าน และต้องเรียนในโรงเรียนของรัฐเท่านั้น ห้ามเรียนโรงเรียนเอกชนด้วย เพื่อให้คนอังกฤษเชื่อถือในมาตรฐานการศึกษาของรัฐ


ขอยกตัวอย่างอีกเคสหนึ่ง

ลูกชายของ จนท.ระดับเล็กๆ ศาล จว.สุรินทร์ เรียนดี ได้ที่ 1 ตลอด ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้น ม.6 ไม่เคยเรียนพิเศษเลย มีเรียนพิเศษ ครอสเอ็นทรานซ์เพียงครอสเดียว รวมหลายวิชา สมัยนั้นเกือบ 10กว่าปีแล้ว(ตั้งแต่ยังไม่แยกเก็บเงินค่าเรียนพิเศษรายวิชาเหมือนสมัยนี้) เรียนพิเศษตอนจบ ม.6 ปิดเทอมใหญ่แล้ว ต้องเดินทางจาก จว.สุรินทร์ มาเรียนที่เดอะเบรน จว.นครราชสีมา เรียนพิเศษน้อยมาก สอบติดแพทย์ศิริราช เรียกว่าเป็นช้างเผือกจาก ตจว.


ส่วนลูกหมอฟันที่ยกตัวอย่างไปแล้ว ขอเล่ารายละเอียดเพิ่มอีกนิดหนึ่ง ซึ่งคุณแม่หมอฟัน เอาจริง เอาจังมาก ดูแลเรื่องการศึกษาลูกตั้งแต่เล็กๆ ใกล้ชิดตลอดเวลา เช้าส่งลูกสาว 2 คนไปโรงเรียนใกล้บ้าน ช่วงเลิกเรียนก็รอรับลูก พอลูกเลิกเรียนลงมา ก็เตรียมอาหารการกินที่โต๊ะนัดพบ กินเสร็จ ทำการบ้านของโรงเรียน การบ้านโรงเรียนเสร็จ ก็ทำการบ้านพิเศษของคุณแม่ เป็นแบบฝึกหัดเลขคณิตคิดเร็ว ทำเสร็จค่อยถึงได้ไปเล่น ทำแบบนี้ทุกวันที่เรียน เป็นเวลาหลายปี ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึง ป.6 ได้ที่ 1 ตลอด จนสอบเข้า ม.1 สาธิตปทุมวันได้ และ ม.4 เข้าเตรียมอุดมฯได้ ตอนนี้คนโตเรียนจบแพทย์ศิริราชไปแล้ว อีกคนเรียนจบแพทย์จุฬาฯแล้ว ซึ่งคุณแม่เด็กมีแนวความคิดว่า เรียนที่โรงเรียนจันทร์-ศุกร์คือไปทำกิจกรรม เรียนพิเศษเสาร์-อาทิตย์คือเรียนจริงๆ เท่าที่สังเกต น่าจะเป็นเด็กเก่งอยู่แล้ว ถ้าเป็นเด็กธรรมดาอาจจะให้ทำการบ้านพิเศษยากมาก เด็กแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ขอให้พิจารณาด้วย


คำแนะนำดังกล่าว ได้ปรับมาจากผู้ปกครองที่มีแนวคิดว่า ไม่จำเป็นต้องเรียนกวดวิชา หรือเรียนพิเศษน้อย ไม่ตามกระแส ลูกสาว 2 คนจบแพทย์ทางภาคเหนือ


ขอเล่าการเรียนลูกแรกก่อน ตั้งแต่อนุบาลถึง ม.3 ได้เกรด 4 ตลอด ได้อันดับที่ เลขตัวเดียวของห้อง เก่งปานกลาง ไม่เคยได้ที่ 1 เลย ตอน ม.4-6 ได้เกรด 3.88 โรงเรียนรัฐสตรีล้วน ไม่ดังมาก อยู่ในซอยสุขุมวิท 22 ตอนอยู่ ม.6 เทอม 2 ได้เรียนพิเศษสำนักติวแถวบางนา ไม่มีคนรู้จัก ไม่ดัง เรียนทุกวิชาทั้งครอส ม.6 เทอม2 และครอสเอ็นฯ รวม 2 ครอส เหมาจ่ายค่าเรียน 5,000 บาท ไม่เคยเรียนโรงเรียนกวดวิชาดังๆ เช่น อ.อุ๊ อ.สมศรี เอ็นคอนเซ็บ แอ็บพลายฟิสิกส์ ซุบเค ฯลฯ

ไปลองสอบแพทย์ขอนแก่น ไม่ติด กลับมาทำให้รู้ว่า ยังอ่านหนังสือน้อยไป ถ้าอยากติดแพทย์ กสพท. ต้องขยันอ่านมากขึ้น ลองทำข้อสอบเก่า 15 พ.ศ.ก็ทำไม่ค่อยได้ เพราะเป็นแบบฝึกหัดคละบท ทำให้รู้ว่าพื้นฐานยังไม่แน่น เวลาอ่านหนังสือก็เหลือน้อยแล้ว จึงต้องซื้อหนังสือพวกสรุปย่อแต่ละวิชามาอ่าน และทำแบบฝึกท้ายบท เช่น มินิคัมภีร์ต่างๆ เมื่ออ่านจบวิชาหนึ่ง ก็ทำข้อสอบเก่า 15 พ.ศ. ผลปรากฏว่า พอเข้าใจทำข้อสอบเก่าได้ดีกว่าเดิม ไปสอบความถนัดแพทย์ได้ 19 กว่าๆ สอบเอเน็ตได้ 35 กว่า รวม 54 กว่า ติดแพทย์นเรศวร ปี 52


ความเห็นส่วนตัว เห็นว่าถ้าผู้ปกครองส่งเสริมการเรียนพิเศษมากกว่านี้ ไม่ประหยัดเกินไป อาจจะได้คะแนนมากกว่านี้

ขอเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับลูกคนแรกนิดหน่อย เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเป็นเคสกรณีศึกษา คือ ม.1-3 เรียนหลักสูตร 2 ภาษา รุ่นแรกของโรงเรียน เรียนกับครูต่างชาติ ทั้งยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย แต่ตอนหลังมีครูอินเดียสอนเลขเก่ง แต่สำเนียงภาษาอังกฤษแปลกๆ เด็กจึงมีพื้นฐานภาษาอังกฤษดี ดูหนังสือเตรียมสอบเอเน็ต จึงไม่ต้องเตรียมตัววิชาภาษาอังกฤษเลย ใช้ความรู้เก่าล้วนๆ คือ อ่านเนื้อเรื่องบทความเข้าใจ ก็สามารถทำข้อสอบได้ พวกสอบติดแพทย์เด็กส่วนใหญ่จบมาจากโรงเรียนดังๆ และเรียนพิเศษแต่ละวิชา จากสำนักติวที่มีชื่อเสียงอันดับ 1 ของเมืองไทยทั้งนั้น เมื่อเวลาเพื่อนๆ แม้เป็นเด็ก ตจว.ก็เรียนพิเศษหนักเหมือนกัน คุยเรื่องเรียนพิเศษสำนักโน้น สำนักนี้ เด็กที่ไม่ได้เรียนพิเศษก็คุยกับเค้าไม่รู้เรื่อง บางครั้งถูกเพื่อนถามว่า เรียนพิเศษที่ไหน เด็กบอกชื่อสำนักติวไป เพื่อนบอกว่าโนเนมไม่รู้จัก เรียกว่าเข้าสังคมเรื่องนี้ไม่ได้ คุยกันไม่รู้เรื่อง

ขอเล่าต่อ ลูกคนที่สอง ได้เรียนพิเศษมากกว่าคนแรก

ตอนอนุบาล 3 ได้รับรางวัลเด็กเรียนดี ตั้งแต่อนุบาล 1 ถึง ม.3 ได้เกรด 4 ตลอด ได้อันดับที่ เลขตัวเดียวของห้อง เก่งปานกลาง ไม่เคยได้ที่ 1 เหมือนกัน เรียนหลักสูตรปกติตลอด ตอน ม.4-6 ได้เกรด 3.88 เหมือนกัน อยู่โรงเรียนรัฐสตรีล้วน ไม่ดังมาก อยู่ในซอยสุขุมวิท 22 เหมือนพี่สาว ตอนอยู่ ม.4-5 เด็กขอเรียนพิเศษ อังกฤษครูสมศรี เคมีอาจารย์อุ๊ ไม่ได้เรียนพิเศษ วิชา ฟิสิกส์ ชีวะ ไทย สังคม และไม่ได้เรียนพิเศษครอสเอ็นฯ สำนักติวดังๆ เลย เพราะมันแพง

ม.4-6 ได้เรียนพิเศษสำนักติวแถวบางนา ไม่ดัง เหมือนพี่สาว

ตอน ม.6 มีเรียน DVD ส่วนตัว(เปิดเทปเอง) ครอสเอ็นฯ เลข ที่เดอะติวเตอร์ ส่วนความถนัดแพทย์ไม่ได้เรียนพิเศษ สอบครั้งที่ 2 ได้ 23.2093 และไม่ได้ไปสอบแพทย์ขอนแก่น

ปี 55 สอบความถนัดแพทย์ได้ 19 กว่าๆ สอบ 7 วิชาสามัญได้ 34 กว่าๆ รวม 53 กว่าๆ ไม่ติดแพทย์ 4 อันดับที่เลือก(คะแนนถึงแพทย์รังสิตไม่ได้เลือก ไม่มีเงิน)

แอดมิชชั่นติดกายภาพ จุฬาฯ (คะแนนถึงเทคนิคการแพทย์ไม่ชอบ) เรียนกายภาพ จุฬาฯ ได้เกรด 3.5 ระหว่างเรียนจุฬา ได้เรียนพิเศษ DVD ส่วนตัว(เปิดเทปเอง)เลข แพทย์ ที่เดอะติวเตอร์ สยามใกล้จุฬาฯ(ไม่เสียเวลาเดินทาง)

ปี 56 สอบความถนัดแพทย์ได้ 23 กว่าๆ สอบ 7 วิชาสามัญได้ 35 กว่าๆ รวม 58 กว่าๆ ไม่ติดแพทย์ 4 อันดับที่เลือก(คะแนนถึงทันตะสงขลา ทันตะ มช.ไม่ได้เลือก ไม่ชอบทันตะ)

ต่อมาได้ข่าวแพทย์แม่ฟ้าหลวงเปิดรับสมัครแพทย์ปีแรก(หากไม่ติดตามข่าว ก็หลุดแน่) ก็ยื่นสมัครไว้ ก็คิดว่าไม่ได้แล้ว ปรากฏว่ามีการสละสิทธิ์ เรียกติดรอบ 5 ถือว่าโชคดีมากๆ เฮงๆๆๆ

และแอดมิสชั่นด้วย ติดสัตวแพทย์ จุฬา(ไม่เอา) เพราะติดแพทย์แม่ฟ้าหลวงแล้ว

ปัจจุบัน ลูกคนแรกเรียนแพทย์เฉพาะทาง(เรสซิเด็นซ์ 3)ที่ รามา ลูกคนที่ 2 ทำงานแพทย์ใช้ทุนที่โรงพยาบาลในภาคเหนือ


สรุป จะติดแพทย์ หรือไม่ติดแพทย์ กสพท. ขึ้นอยู่กับตัวเด็กมากที่สุด คนที่เรียนพิเศษมากกว่าก็ยังไม่ติดแพทย์ กสพท.เลย และการติดตามข่าว ก็มีความสำคัญกับอนาคตเด็กมาก ๆ


ที่เล่ามาทั้งหมดเป็นเรื่องจริง ขอให้เป็นกรณีศึกษา นำไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน


ที่มา https://www.dek-d.com/board/view/3903938/

https://www.dek-d.com/board/view/3644839/

http://www.dek-d.com/board/view/3379779/ 


ตัวอย่างจริง

-เด็กเก่ง ม.3 เกรด 4 โรงเรียนสตรีวิทย์ราชดำเนิน สอบเข้า ม.4 ติดเตรียมอุดมฯ คณิต-วิทย์

ห้องคละ เก่งอังกฤษ ไม่เก่งเลข ขยันมาก ตอน ม.6 สอบ กสพท.2 ปี ปี 56 ไม่ติด

ปี 57 หยุดอยู่บ้าน อ่านหนังสืออย่างเดียว ติดแพทย์รังสิต

-เด็ก ม.6 คณิต-วิทย์ ห้องคละ โรงเรียนเตรียมอุดมฯ กลุ่มที่รู้จัก ประมาณสิบกว่าคน ขยันมาก เรียนพิเศษหลายแห่ง เรียนพิเศษเลข พี่ตุ้ย เดอะติวเตอร์สยาม สอบ กสพท.ประมาณปี 54 ทั้งกลุ่มสิบกว่าคน ไม่มีใครสอบติดแพทย์ กสพท.เลย แม้แต่คนเดียว

ถ้าเราเป็นเด็กเก่งธรรมดา หรือเด็กเก่งปานกลาง โรงเรียนไม่ดังใน กทม. หรือโรงเรียนต่างจังหวัด เปรียบเทียบกับเด็กเก่ง โรงเรียนเตรียมอุดมที่สอบไม่ติดแพทย์ กสพท.ข้างต้น

ถ้าเราไม่ขยันมากกว่าเขา เราจะมีโอกาสสอบติดแพทย์ กสพท.ได้หรือไม่

ลองคิดดู ว่ามันมีโอกาสที่จะสอบติดแพทย์ กสพท.ยากมากจริงๆ

นั่นเป็นเรื่องจริง ไม่มีฟลุ๊กแน่นอน


0
IzaBelle 1 ก.พ. 64 เวลา 19:55 น. 17

ต้องเรียนเก่ง ทำข้อสอบหลายๆ ที่ ซ้ำๆ ทำบ่อยๆ และที่สำคัญภาษาอังกฤษสำคัญมากๆๆๆๆๆ เน้นย้ำว่าสำคัญเพราะพี่เคยเห็นพี่สาวเรียนตำราเกือบทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ยิ่งแม่นอังกฤษยิ่งได้เปรียบ

0
หมอ 2 ก.พ. 64 เวลา 10:22 น. 18

สู้ๆค่าาาา เราไม่มีอะไรอยากแนะนำแต่อยากเป้นกำลังใจให้ สู้ๆค่าา ถ้าคนเรามีความพยายามเราก็จะทำมันให้เอง

0
แหะๆ 2 ก.พ. 64 เวลา 23:40 น. 19

เราเจอเป้าหมายที่แน่นอน ตั้งแต่เด็กถือว่าดีมากเลยนะ เพราะเราจะได้มีเวลาเตรียมตัวเร็วกว่าคนอื่นๆ ยิ่งเรามีไอดอลคนเก่งๆเยอะด้วยถือว่าดีมากๆเลย เราจะได้ปรับปรุงตัวเอง แต่ที่สำคัญเลยคือ อย่ากดดันตัวเอง อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น เพราะคนเราพื้นฐานไม่ได้เท่ากัน เรียนอย่างมีความสุข ค่อยๆปรับปรุงสิ่งที่เราผิดพลาด หาวิธีเรียนแบบของตัวเอง ที่สำคัญมากๆคือรักษาสุขภาพ อย่าให้ทุกอย่างพังเพียงเพราะป่วยวันสอบทำให้เราทำได้ไม่เต็มที่

ปล.ปกลจ.ให้จขกท.นะ พี่เชื่อว่าเราทำดีที่สุดแล้ว

0
Anonymous 3 ก.พ. 64 เวลา 11:53 น. 20

ตอนที่พี่อยู่ ม.2 สิ่งที่ทำตอนนั้นคือ

1. วางแผนชีวิตว่าระหว่างทางก่อนที่จะไปถึงจุดนั้นได้ต้องทำอะไรบ้าง อย่างของพี่ ตอนนั้นคือ ตั้งใจเก็็บเนื้อหาม. ต้นให้จบภายในม. 3 เทอมแรก เพื่อที่จะเก็บเทอม 2 ไว้ฝึกทำโจทย์เตรีียมสอบเข้า ม. 4 ก่อน โรงเรียนม.ปลาย อันนี้แล้วแต่่คนจะคิดนะ ตัวพี่เรียนต่างจังหวัดก็คิดว่าไม่ได้มีีปัญหาอะไร แต่แค่ต้องพยายามคิดตลอดเวลาว่าเราเรียนดีในต่่างจังหวัด แต่อาจจะสู้้เด็กในกทม.ไม่ได้ แต่ถ้าน้องได้เรียนโรงเรียนท็อปๆประเทศพวก ตอ. พี่ก็คิดว่าเป็นใบเบิกทางชั้นเยี่ยม หลังจากนั้นชีวิตม. ปลายส่วนใหญ่ก็หมดไปกับการเรียนให้มาก เทคนิคพี่ตอนนั้นคือ เรียนเนื้อหาให้หมดก่อนขึ้น ม.6 ทำสรุุปให้พร้อม

การตะลุยข้อสอบ

-​ รอบแรก พี่ทำจากปีล่าสุดไปปีเก่าย้อนหลังประมาณ 5-10 ฉบับ (อันนี้แล้วแต่เวลา และแล้วแต่วิิชาด้วยจ้า) แบบควบคู่ไปกับการอ่่านเนื้อหา

- รอบสองทำจากปีเก่ากลับขึ้นมาแบบคิดคะแนน เราจะพอรู้ว่าเราถนัดเรื่องไหน และจำ/ทำเรื่องไหนได้ดี ระหว่างที่ทำ+เฉลยพยายามเขียนสิ่งที่จำได้ลงไปให้มากที่สุด แล้วก็ประเมินสัดส่วนว่าในห้องสอบเราจะทำได้ประมาณประมาณกี่คะแนนคิดเป็นกี่เปอร์เซนต์​จะต้องทำอีกเท่าไหร่

- ลองจำลองสนามสอบทุกสนามไปเลยยยย ดูคะแนนตัวเอง เพราะเวลาสอบจริงเวลาในการทำมีผลมากๆๆๆ (พี่เจอมากับตัว)

2. เรื่องสำคัญที่ทุกคนที่เรียน/เป็นหมอแล้วชอบพูดกันคือ ให้ไปรู้มาก่อนว่าชีวิตหมอต้องเจออะไรบ้าง พี่ตอนนั้นก็รู้สึกแค่ว่าเหมือนคำขู่เฉยๆ+พี่ชอบทำตามคำท้าด้วย (พี่เคยตั้งกระทู้ทำนองนี้เหมือนกัน ตอนได้คะแนน o-net ม. 3 มาทำเอาพี่ี่เฟลไปเลย แล้วก็มีรุ่นพี่ที่คิดว่าน่าจะเป็นหมอแล้วมาพููดทำนองว่า เรียนยาก เรีียนเหนื่อย ไม่ชอบจริงๆไม่ต้้องมาเรียน etc.) แต่สำหรับพี่ถ้าย้อนกลับไปบอกตะวเองนั้นได้นะ จะบอกว่า ไปดูหลักสูตรก๊อนนนนนนน ทำซะตั้งแต่เนิ่นๆ ตัวพี่เองพวกวิชาการพี่สู้นะ แต่เรียนเวชจริยศาสตร์ทีไร หัวใจพี่สูบฉีดเลือดดีเว่อร์ กลัวโดนถามมาก เพราะตอนเข้ามาพี่สอบพาร์ทนี้ได้บ๊วยๆของประเทศเลยอ่ะ 555 อีกอย่างคือน้องจะต้องทำใจว่าน้องจะต้องใช้ชีวิตเหมือนเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยในทุกๆวัน เนื้อหาเยอะมากกกก เวลาเรียนน้อยมากกก สถาบันอื่นพี่ไม่รู้แต่ของพี่เป็นแบบนั้น

3. ชีวิตการเป็นแพทย์อันนี้พี่ก็ไม่แน่ใจว่าจะหนักขนาดไหน เพราะยังไม่ได้ขึ้นวอร์ดจริงๆ แต่เท่าที่ไปสัมผัสมาข้างต้น ก็เหมือนที่พี่ๆเค้าพูดกันนั่นแหละ

ปล.หาแรงบันดาลใจให้ตัวเองแบบดีๆนะ ของพี่เป็นซีรีย์เกาหลีเรื่อง brain อาจจะแปลกๆหน่อย แต่พี่ชอบเอาไว้เป็นแรงบันดาลใจเวลาอ่านหนังสือหนักๆ

0